สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎรการรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี ฉบับที่ ๔

ข่าวการเมือง Friday May 28, 2004 15:59 —รัฐสภา

ฉบับที่ ๔
สรุปการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
การรายงานแสดงผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี
ตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๘๘ วรรคสอง
วันพุธที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๗
เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ นาฬิกา
นายอมรเทพ สมหมาย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดศรีสะเกษ พรรค ชาติพัฒนา ได้มีการอภิปรายตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ด้านศาสนา สังคม การศึกษา และ สาธารณสุข ดังนี้
- ด้านการศึกษา
- เครื่องคอมพิวเตอร์ มีไม่เพียงพอต่อการใช้งานของนักเรียนและอาจารย์ ภายในโรงเรียน
- อาคารและห้องเรียน ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณในการสร้างอาคารและห้องเรียนให้พอเพียง รวมทั้งจัดสรรงบประมาณการสร้างเสาธงให้กับ โรงเรียนทั่วประเทศ
- ต้องการให้สร้างถนนไร้ฝุ่น เพื่อให้นักเรียนสะดวกต่อการเดินทางมา โรงเรียน เนื่องจากถนนที่เดินทางมาโรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อฝนตก ก็น้ำท่วมไม่สามารถเดินทางมาโรงเรียนได้
- การทำผลงานของครูและอาจารย์ เพื่อเลื่อนตำแหน่งเป็นอาจารย์ ๓ ซึ่งในการพิจารณามีคณะกรรมการถึง ๓ ชุด ทำให้มีความล่าช้าในการเลื่อนตำแหน่ง การพิจารณาควรมีความรวดเร็วเพื่อให้เกิดขวัญและ กำลังใจในการทำงาน ส่วนอาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้ เงินประจำตำแหน่ง แต่ยังไม่ได้รับเงิน ก็ขอให้รัฐบาลติดตามเงินประจำตำแหน่งให้เร็วขึ้น
- ๒ -
- ด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว ควรมีการแก้ไขกฎหมายในการให้ประชาชนตาม
ชายแดนสามารถนำสินค้ามาขายตามชายแดนได้
- ด้านเกษตร ให้รัฐบาลส่งเสริมสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านไฟฟ้าและน้ำให้กับ
เกษตรกรด้วย
- วาตภัย ให้รัฐบาลช่วยเหลือโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากวาตภัยในขณะนี้ด้วย
ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา พรรคไทยรักไทย ได้มีการอภิปรายตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ด้านศาสนา สังคม การศึกษา และสาธารณสุข และชื่นชมรัฐบาลในเรื่อง
- การใช้หนี้ IMF ก่อนกำหนด
- เงินทุนสำรองที่มีเพิ่มมากขึ้น
- นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในเรื่องกองทุนหมู่บ้าน ๓๐ บาทรักษาทุกโรค การพักชำระหนี้
ในด้านการแก้ไขปัญหาราคายางพารา มีการสนับสนุนให้ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการปลูกยางพารา ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ส่วนเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลตรวจสอบ คือ การตรวจสอบการทุจริตราคายางพารา ในกระทรวงพาณิชย์ ปี ๒๕๓๘ ซึ่งจะต้องใช้เงินเข้าไปแทรกแซง ราคาไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท
ในกรณีเรื่องการประมูลที่ดินบริเวณศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่อยู่ในความดูแลของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาสถาบันการเงินมีความโปร่งใส

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ