กรุงเทพ--16 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
สุนทรพจน์เปิดการประชุม โดย ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ในพิธีเปิดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ครั้งที่ 11 ณ นครเซาเปาโล สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล วันที่ 14 มิถุนายน 2547
ท่านประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ
ท่านประธานสมัชชาสหประชาชาติ
ท่านเลขาธิการอังค์ถัด
ท่านประมุขของรัฐ รัฐมนตรี และคณะผู้แทนผู้ทรงเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทั้งหลาย
เมื่อปี 2543 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ สี่ปีให้หลัง ความท้าทายของการค้า การพัฒนา และโลกาภิวัฒน์ ซึ่งได้หารือในการประชุมครั้งนั้นก็ยังคงอยู่กับเรามาถึงทุกวันนี้
แต่โลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปยิ่งกว่าที่เราจินตนาการในครั้งนั้น นับตั้งแต่การประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 ความหวังของเราว่าทุกอย่างจะดีขึ้นก็ถูกบดบังโดยเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน วิกฤตการณ์ในอิรัก และความล้มเหลวของการเจรจาระดับรัฐมนตรีที่แคนคูน
มาถึงวันนี้ เรายังดูห่างไกลเช่นเดิมจากการทำความฝันแห่งโลกที่สงบสุขและรุ่งเรืองให้เป็นจริง โลกาภิวัตน์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นความหวังของผู้คนจำนวนมาก กำลังถูกท้าทายจากผู้ไม่พอใจเนื่องจากไม่สามารถทำให้โลกยุติธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกเราจำนวนมากที่ยากจนกว่า โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่มนุษย์ก่อขึ้นมา จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องบริหารเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ แม้จะมีทัศนคติใหม่และการบริหารจัดการที่ดีขึ้น แต่เราก็ยังไม่เห็นโลกาภิวัตน์ที่เอื้ออาทรต่อมนุษย์มากกว่าเดิม
นอกจากนั้น แนวคิด “ฉันทามติวอชิงตัน” ก็กลับกลายว่าเป็นภาพลวงตา ประเทศกำลังพัฒนายังคงต้องดิ้นรนเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐาน เช่นความยากจนและอดอยาก อาชญากรรมและโรคภัยไข้เจ็บ ในขณะเดียวกัน ประเทศที่พัฒนาแล้วก็เชื่องช้าในการผ่อนปรนให้เหล่าประเทศกำลังพัฒนาในด้านที่ประเทศเหล่านั้นต้องการมากที่สุด นั่นคือ การยกเลิกพิกัดศุลกากรและการอุดหนุนสำหรับสินค้าเกษตร จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใดโลกาภิวัตน์จึงถูกหลายฝ่ายมองว่าประสบความล้มเหลวในการทำสิ่งที่สัญญาไว้ให้เป็นจริง
สถาบันพหุภาคี อาทิ องค์การสหประชาชาติ และสถาบันเบรตตันวูดส์ ต่างก็กำลังถูกกดดันอย่างมากจากประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าการปฏิรูปเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้สถาบันเหล่านี้ยังคงความสำคัญต่อความคาดหวังและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้มีส่วนได้เสีย
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปสถาบันเพียงเท่านั้นอาจไม่เพียงพอที่จะกอบกู้ระบบพหุภาคีนิยม แนวคิดพหุภาคีนิยมกำลังถูกกัดกร่อน ประเทศจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ หันมาฝากความหวังไว้กับความร่วมมือในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และทวิภาคี ถึงแม้ว่าหลายประเทศจะตระหนักดีว่ากรอบความร่วมมือลักษณะนี้อย่างมากที่สุดก็เป็นเพียงทางเลือกรอง แต่ในสภาวะที่ไร้ความคืบหน้าด้านพหุภาคี เราคงจะเห็นความร่วมมือในลักษณะนี้เพิ่มขึ้น ดังนั้น ตราบใดที่ความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับกฏระเบียบขององค์การการค้าโลก และส่งเสริมไม่บั่นทอนระบบการค้าพหุภาคี การแก้ปัญหาโดยทางเลือกรองก็ยังดีกว่าการไม่มีการแก้ปัญหาเลย
ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ ความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศใต้ จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนมากกว่าที่เคย การกล่าวโทษประเทศที่พัฒนาแล้วอาจจะเป็นทางเลือกที่ยั่วยวนและสะใจ แต่ก็คงไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น เพราะถึงอย่างไร กฏระเบียบต่างๆ ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ประเทศกำลังพัฒนาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว หากเราจะมามัวแต่กล่าวโทษกันและกันก็รังแต่จะเบี่ยงเบนความสนใจจากเป้าหมายแท้จริงของเรา หากเราไม่สามารถขจัดความยากจนและพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัยการเข้าถึงตลาดประเทศพัฒนาแล้วได้มากขึ้น ก็อาจจะถึงเวลาที่เราต้องหาทางเลือกอื่น
ข้าพเจ้าไม่ได้สนับสนุนการถอนตัวจากการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับประเทศพัฒนาแล้ว ตรงกันข้ามเสียอีก เราควรประสานสัมพันธ์กับพวกเขาต่อไปในการเจรจารอบการพัฒนาโดฮา เพราะถึงอย่างไรระบบพหุภาคีนิยมก็ยังคงเป็นความหวังที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
แต่ในขณะที่ความหวังที่ดีที่สุดนั้นยังไม่อยู่ใกล้เอื้อม ข้าพเจ้าขอเสนอแนะว่าเราควรพยายามลดการพึ่งพาอันมากล้นที่เรามีต่อตลาดประเทศพัฒนาแล้ว ในเมื่อประเทศพัฒนาแล้วมีทัศนคติที่มองอะไรๆ เป็นเรื่องของการแพ้ชนะมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ควรกระจายความเสี่ยงโดยการสำรวจหาโอกาสในประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาอาจเพิ่มขึ้นแต่ยังห่างไกลจากศักยภาพนัก เราพูดกันเรื่องความร่วมมือในกลุ่มประเทศใต้มานานพอแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราจะทำอย่างที่พูด
ได้มีผู้วิจารณ์ตั้งข้อสังเกตมานานแล้วว่าความหลากหลายของประเทศกำลังพัฒนาเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือในกลุ่มประเทศใต้ ข้าพเจ้าว่าเราควรเห็นคุณค่าของความหลากหลายของเราและทำให้มันเป็นประโยชน์มากที่สุด
หากเราจะจริงจังต่อความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา เราคงจะต้องมีศรัทธาพอที่จะกล้าเสี่ยง เพราะมันจะหมายถึงการทำในสิ่งที่ไม่เคยมีการวางแบบแผน และอาจต้องทดลองทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาเป็นพันๆ ปีแล้ว และยิ่งกว่านั้นคือ ไม่มีหลักประกันอะไรว่าความร่วมมือใต้-ใต้ จะได้ผลดีกว่าความร่วมมือเหนือ-ใต้
แต่ทางเลือกที่มีอยู่ก็คือการเล่นเกมเดิมต่อไป โดยทุกครั้งที่เราพยายามยิงประตูทำคะแนน ประตูนั้นก็ถูกจับเคลื่อนย้าย แน่นอน เราอาจจะหวังว่าสักวันหนึ่งเราจะโน้มน้าวสำเร็จให้ผู้เล่นอีกฝ่ายเลิกเคลื่อนที่ประตูชัย แต่ตราบใดที่เรายังไม่สามารถโน้มน้าวพวกเขาได้ หากเราจะไปเริ่มเล่นเกมใหม่ที่ทุกคนมีสิทธิชนะก็อาจจะดีกว่า
ประเทศไทยและอีกหลายประเทศในเอเชียได้เริ่มดำเนินการเช่นนั้นแล้ว เราใช้หลักการของความเป็นหุ้นส่วนและการพึ่งพาตนเอง ริเริ่มกรอบความร่วมมือใหม่ๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน ไม่เพียงแต่เฉพาะกับภูมิภาคของเราเท่านั้น แม้แต่กับแอฟริกาเราก็ทำเช่นกัน กรอบการหารือความร่วมมือเอเชียหรือเอซีดี ซึ่งไทยริเริ่มเมื่อสองปีที่แล้ว เป็นตัวอย่างที่สำคัญของความร่วมมือลักษณะนี้ นอกจากนั้น สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาซึ่งก่อตั้งขึ้นระหว่างการประชุมเพื่อประเมินและติดตามผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
ข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 นี้จะช่วยทำให้โลกาภิวัตน์เอื้ออาทรต่อมนุษย์ต่อไป ข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 นี้จะเสนอทางเลือกที่ปฏิบัติได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการขจัดความยากจนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 นี้จะเป็นเวทีให้ประเทศต่างๆ ในโลก ไม่ว่ารวยหรือจน ร่วมกันวางอนาคตอย่างรับผิดชอบสำหรับลูกหลานของเรา และข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 นี้จะส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้มแข็งขึ้น และประเทศที่พัฒนาแล้วมีความเข้าใจและผ่อนปรนต่อประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีกับบราซิลสำหรับการเตรียมการเป็นเจ้าภาพการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 อย่างดีเยี่ยม ข้าพเจ้าเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าภายใต้การดูแลของบราซิล การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 11 จะช่วยให้เราบรรลุถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศใต้ที่ปฏิบัติได้อย่างจริงจังต่อไป
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
สุนทรพจน์เปิดการประชุม โดย ฯพณฯ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ในพิธีเปิดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ครั้งที่ 11 ณ นครเซาเปาโล สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล วันที่ 14 มิถุนายน 2547
ท่านประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล
ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ
ท่านประธานสมัชชาสหประชาชาติ
ท่านเลขาธิการอังค์ถัด
ท่านประมุขของรัฐ รัฐมนตรี และคณะผู้แทนผู้ทรงเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทั้งหลาย
เมื่อปี 2543 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ สี่ปีให้หลัง ความท้าทายของการค้า การพัฒนา และโลกาภิวัฒน์ ซึ่งได้หารือในการประชุมครั้งนั้นก็ยังคงอยู่กับเรามาถึงทุกวันนี้
แต่โลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปยิ่งกว่าที่เราจินตนาการในครั้งนั้น นับตั้งแต่การประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 10 ความหวังของเราว่าทุกอย่างจะดีขึ้นก็ถูกบดบังโดยเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน วิกฤตการณ์ในอิรัก และความล้มเหลวของการเจรจาระดับรัฐมนตรีที่แคนคูน
มาถึงวันนี้ เรายังดูห่างไกลเช่นเดิมจากการทำความฝันแห่งโลกที่สงบสุขและรุ่งเรืองให้เป็นจริง โลกาภิวัตน์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นความหวังของผู้คนจำนวนมาก กำลังถูกท้าทายจากผู้ไม่พอใจเนื่องจากไม่สามารถทำให้โลกยุติธรรมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกเราจำนวนมากที่ยากจนกว่า โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่มนุษย์ก่อขึ้นมา จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องบริหารเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ แม้จะมีทัศนคติใหม่และการบริหารจัดการที่ดีขึ้น แต่เราก็ยังไม่เห็นโลกาภิวัตน์ที่เอื้ออาทรต่อมนุษย์มากกว่าเดิม
นอกจากนั้น แนวคิด “ฉันทามติวอชิงตัน” ก็กลับกลายว่าเป็นภาพลวงตา ประเทศกำลังพัฒนายังคงต้องดิ้นรนเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐาน เช่นความยากจนและอดอยาก อาชญากรรมและโรคภัยไข้เจ็บ ในขณะเดียวกัน ประเทศที่พัฒนาแล้วก็เชื่องช้าในการผ่อนปรนให้เหล่าประเทศกำลังพัฒนาในด้านที่ประเทศเหล่านั้นต้องการมากที่สุด นั่นคือ การยกเลิกพิกัดศุลกากรและการอุดหนุนสำหรับสินค้าเกษตร จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใดโลกาภิวัตน์จึงถูกหลายฝ่ายมองว่าประสบความล้มเหลวในการทำสิ่งที่สัญญาไว้ให้เป็นจริง
สถาบันพหุภาคี อาทิ องค์การสหประชาชาติ และสถาบันเบรตตันวูดส์ ต่างก็กำลังถูกกดดันอย่างมากจากประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าการปฏิรูปเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้สถาบันเหล่านี้ยังคงความสำคัญต่อความคาดหวังและความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของผู้มีส่วนได้เสีย
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปสถาบันเพียงเท่านั้นอาจไม่เพียงพอที่จะกอบกู้ระบบพหุภาคีนิยม แนวคิดพหุภาคีนิยมกำลังถูกกัดกร่อน ประเทศจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ หันมาฝากความหวังไว้กับความร่วมมือในระดับภูมิภาค อนุภูมิภาค และทวิภาคี ถึงแม้ว่าหลายประเทศจะตระหนักดีว่ากรอบความร่วมมือลักษณะนี้อย่างมากที่สุดก็เป็นเพียงทางเลือกรอง แต่ในสภาวะที่ไร้ความคืบหน้าด้านพหุภาคี เราคงจะเห็นความร่วมมือในลักษณะนี้เพิ่มขึ้น ดังนั้น ตราบใดที่ความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องกับกฏระเบียบขององค์การการค้าโลก และส่งเสริมไม่บั่นทอนระบบการค้าพหุภาคี การแก้ปัญหาโดยทางเลือกรองก็ยังดีกว่าการไม่มีการแก้ปัญหาเลย
ท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้ ความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศใต้ จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนมากกว่าที่เคย การกล่าวโทษประเทศที่พัฒนาแล้วอาจจะเป็นทางเลือกที่ยั่วยวนและสะใจ แต่ก็คงไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น เพราะถึงอย่างไร กฏระเบียบต่างๆ ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้ประเทศกำลังพัฒนาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว หากเราจะมามัวแต่กล่าวโทษกันและกันก็รังแต่จะเบี่ยงเบนความสนใจจากเป้าหมายแท้จริงของเรา หากเราไม่สามารถขจัดความยากจนและพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัยการเข้าถึงตลาดประเทศพัฒนาแล้วได้มากขึ้น ก็อาจจะถึงเวลาที่เราต้องหาทางเลือกอื่น
ข้าพเจ้าไม่ได้สนับสนุนการถอนตัวจากการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับประเทศพัฒนาแล้ว ตรงกันข้ามเสียอีก เราควรประสานสัมพันธ์กับพวกเขาต่อไปในการเจรจารอบการพัฒนาโดฮา เพราะถึงอย่างไรระบบพหุภาคีนิยมก็ยังคงเป็นความหวังที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย
แต่ในขณะที่ความหวังที่ดีที่สุดนั้นยังไม่อยู่ใกล้เอื้อม ข้าพเจ้าขอเสนอแนะว่าเราควรพยายามลดการพึ่งพาอันมากล้นที่เรามีต่อตลาดประเทศพัฒนาแล้ว ในเมื่อประเทศพัฒนาแล้วมีทัศนคติที่มองอะไรๆ เป็นเรื่องของการแพ้ชนะมากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ควรกระจายความเสี่ยงโดยการสำรวจหาโอกาสในประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศกำลังพัฒนาอาจเพิ่มขึ้นแต่ยังห่างไกลจากศักยภาพนัก เราพูดกันเรื่องความร่วมมือในกลุ่มประเทศใต้มานานพอแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เราจะทำอย่างที่พูด
ได้มีผู้วิจารณ์ตั้งข้อสังเกตมานานแล้วว่าความหลากหลายของประเทศกำลังพัฒนาเป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือในกลุ่มประเทศใต้ ข้าพเจ้าว่าเราควรเห็นคุณค่าของความหลากหลายของเราและทำให้มันเป็นประโยชน์มากที่สุด
หากเราจะจริงจังต่อความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา เราคงจะต้องมีศรัทธาพอที่จะกล้าเสี่ยง เพราะมันจะหมายถึงการทำในสิ่งที่ไม่เคยมีการวางแบบแผน และอาจต้องทดลองทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาเป็นพันๆ ปีแล้ว และยิ่งกว่านั้นคือ ไม่มีหลักประกันอะไรว่าความร่วมมือใต้-ใต้ จะได้ผลดีกว่าความร่วมมือเหนือ-ใต้
แต่ทางเลือกที่มีอยู่ก็คือการเล่นเกมเดิมต่อไป โดยทุกครั้งที่เราพยายามยิงประตูทำคะแนน ประตูนั้นก็ถูกจับเคลื่อนย้าย แน่นอน เราอาจจะหวังว่าสักวันหนึ่งเราจะโน้มน้าวสำเร็จให้ผู้เล่นอีกฝ่ายเลิกเคลื่อนที่ประตูชัย แต่ตราบใดที่เรายังไม่สามารถโน้มน้าวพวกเขาได้ หากเราจะไปเริ่มเล่นเกมใหม่ที่ทุกคนมีสิทธิชนะก็อาจจะดีกว่า
ประเทศไทยและอีกหลายประเทศในเอเชียได้เริ่มดำเนินการเช่นนั้นแล้ว เราใช้หลักการของความเป็นหุ้นส่วนและการพึ่งพาตนเอง ริเริ่มกรอบความร่วมมือใหม่ๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน ไม่เพียงแต่เฉพาะกับภูมิภาคของเราเท่านั้น แม้แต่กับแอฟริกาเราก็ทำเช่นกัน กรอบการหารือความร่วมมือเอเชียหรือเอซีดี ซึ่งไทยริเริ่มเมื่อสองปีที่แล้ว เป็นตัวอย่างที่สำคัญของความร่วมมือลักษณะนี้ นอกจากนั้น สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนาซึ่งก่อตั้งขึ้นระหว่างการประชุมเพื่อประเมินและติดตามผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง
ข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 นี้จะช่วยทำให้โลกาภิวัตน์เอื้ออาทรต่อมนุษย์ต่อไป ข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 นี้จะเสนอทางเลือกที่ปฏิบัติได้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการขจัดความยากจนโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 นี้จะเป็นเวทีให้ประเทศต่างๆ ในโลก ไม่ว่ารวยหรือจน ร่วมกันวางอนาคตอย่างรับผิดชอบสำหรับลูกหลานของเรา และข้าพเจ้าหวังว่าการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 นี้จะส่งเสริมให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้มแข็งขึ้น และประเทศที่พัฒนาแล้วมีความเข้าใจและผ่อนปรนต่อประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีกับบราซิลสำหรับการเตรียมการเป็นเจ้าภาพการประชุมอังค์ถัดครั้งที่ 11 อย่างดีเยี่ยม ข้าพเจ้าเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าภายใต้การดูแลของบราซิล การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 11 จะช่วยให้เราบรรลุถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างกลุ่มประเทศใต้ที่ปฏิบัติได้อย่างจริงจังต่อไป
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-