ประวัติความเป็นมา
องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิโด (United Nations Industrial Development Organization - UNIDO) เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 21 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2509 เมื่อแรกตั้งจึงมีสถานะเป็นองค์การภายใต้สมัชชาสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ Vienna International Center กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ต่อมา ยูนิโดได้ดำเนินการเปลี่ยนสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ (Specialized Agency) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2529 ทำให้องค์การฯ มีความคล่องตัวในการบริหารแผนงาน งบประมาณ และการปฏิบัติภารกิจของตนมากขึ้น โดยเงินงบประมาณปกติขององค์การฯ จะได้รับจากประเทศสมาชิก ในรูปของเงินค่าบำรุงตามอัตราส่วนการประเมินของระบบสหประชาชาติ ปัจจุบันยูนิโดมีจำนวนสมาชิก รวมทั้งสิ้น 171 ประเทศ (สิงหาคม 2546)
องค์กรบริหารของยูนิโด
1. ที่ประชุมใหญ่ (General Conference - GC) เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ซึ่งมีกำหนดจัดทุก 2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักการ นโยบาย แผนงานต่าง ๆ และงบประมาณขององค์การ ทั้งนี้ประเทศไทยเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2 ณ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2530
2. คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development Board - IDB) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่ จำนวน 53 ประเทศ มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และมีหน้าที่สำคัญในการบริหารนโยบาย และพิจารณาทบทวนการปฏิบัติตามแผนที่ได้รับอนุมัติและตามงบประมาณที่กำหนด ปัจจุบันไทยได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการใน IDB โดยมีวาระดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2548
3. คณะกรรมการแผนงานและงบประมาณ (Planning and Budget Committee - PBC) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่ จำนวน 27 ประเทศ มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และมีหน้าที่สำคัญในการพิจารณาจัดทำงบประมาณ และแผนงานราย 2 ปีขององค์การ เสนอต่อ IDB และที่ประชุมใหญ่
4. สำนักเลขาธิการองค์การ UNIDO มีผู้บริหารสูงสุด คือ ผู้อำนวยการใหญ่ (Director-General) ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งนี้ คือ นาย Carlos Magarinos ชาวอาร์เจนตินา ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อเป็นสมัยที่สอง(พ.ศ. 2545-2548)
นอกจากนี้ ยูนิโดยังมีสำนักงานผู้แทนระดับประเทศตั้งอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 22 แห่ง สำนักงานผู้แทนระดับภูมิภาค 9 แห่ง และสำนักงานส่งเสริมการลงทุนตั้งอยู่ในประเทศพัฒนาแล้วอีก 14 แห่ง งบประมาณของยูนิโด
1. งบประมาณปกติ (Regular Budget) หรืองบประมาณบริหารองค์กร ได้มาจากเงินบำรุงที่ประเทศสมาชิกมีข้อผูกพันต้องชำระเป็นรายปี โดยชำระเป็นอัตราส่วนร้อยละของงบประมาณ ทั้งสิ้นขององค์การฯ ตามเกณฑ์การประเมินของ สหประชาชาติ นอกจากนี้ ยังมีรายได้มาจากการ จัดพิมพ์และจำหน่ายเอกสาร ดอกเบี้ยเงินฝาก และค่าบริการต่าง ๆ
2. งบประมาณปฏิบัติการ (Operational Budget) ได้มาจากองค์กรที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP) เงินกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development Fund - IDF) โครงการ Trust Fund และการบริการอื่น ๆ สถานะของยูนิโดในปัจจุบัน
องค์การยูนิโดได้ประสบกับภาวะวิกฤตทางการเงิน มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 สืบเนื่องมาจากการถอนตัวของประเทศสมาชิกสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ชำระเงินบำรุงให้องค์การฯ ถึงร้อยละ 25 ของงบประมาณปกติทั้งหมด ทำให้ยูนิโดต้องปฏิรูปโครงสร้าง ปรับแผนการดำเนินงาน และลดจำนวนบุคลากรลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อนำเงินงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาโครงการให้กับประเทศสมาชิกได้มากขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ทั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องมีส่วนร่วมในการแบ่งปันภาระความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากขึ้น และจะมิได้อยู่ในฐานะที่ได้รับความช่วยเหลือแต่เพียงผ่ายเดียวเช่นแต่เดิม
โครงสร้างปัจจุบันของยูนิโด ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายพัฒนาแผนงานและความร่วมมือทางวิชาการ (Programme Development and Technical Cooperation Division - PTC)
- ส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
- ส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรและรายสาขา
- ส่วนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- ส่วนการผลิตที่สะอาดและการจัดการสิ่งแวดล้อม
- ส่วนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่วนพิธีสารมอนทรีออล
2. ฝ่ายประสานงานโครงการและสำนักงานภาคสนาม (Programme Coordination and Field Operations Division - PCF)
- ส่วนวิจัยยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ
- ส่วนประสานงานโครงการ
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นแอฟริกา
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นตะวันออกกลาง
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นละตินอเมริกาและแคริบเบียน
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นยุโรปและประเทศอุตสาหกรรมใหม่
- สำนักงานส่งเสริมการลงทุนและเทคโนโลยี (ภาคสนาม)
- สำนักงานผู้แทนภาคสนาม
3.1 ฝ่ายบริหาร (Division of Administration - ADM)
- ส่วนบริหารงานบุคคล
- ส่วนบริการด้านการเงิน
- ส่วนกลาง
- ส่วนประเมินผล
Mr. Carlos Magarinos ผู้อำนวยการใหญ่ยูนิโดได้เสนอแผนงาน Integrated Programme ต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 21 เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 และกล่าวให้ความสำคัญต่อแผนดังกล่าวเป็นลำดับสูง เนื่องจากถือว่าเป็นการปฏิรูปการดำเนินงานของยูนิโดครั้งใหญ่ นับแต่ยูนิโดได้ประกาศที่จะปฏิรูปองค์กรตั้งแต่เมื่อปี 2537 เป็นต้นมา โดยเป็นการปฏิรูปทั้งด้านการเงินและโครงสร้าง การดำเนินงานของยูนิโด ให้มีความชัดเจน ซึ่งเป็น new approach ของการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิก การปฏิรูปนี้จะทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเห็นบทบาทของยูนิโดในทศวรรษหน้า และชี้ให้เห็นว่า แนวทางใหม่สำหรับความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น คือ ประเทศกำลังพัฒนาต้องหันมาร่วมมือกันมากขึ้น การจำกัดบทบาทและภารกิจของยูนิโดให้แคบลงและตรงตามเป้าประสงค์ของประเทศผู้รับมากขึ้นและ สอดคล้องกับงบประมาณที่ UNIDO ได้รับในแต่ละปี
แผนงาน Integrated Program ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี ทั้งจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิเช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ได้ประกาศต่อที่ประชุมที่จะบริจาคเงินสนับสนุนแก่แผนงานดังกล่าวด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับการปฏิรูปของยูนิโดที่มีประสิทธิภาพมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง มีขนาดองค์กรเล็กลง และสามารถให้บริการความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกได้มากขึ้น
ในเดือนพฤษภาคม 2543 UNIDO ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Executing Agency ของกองทุน สิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility - GEF) ในด้านการจัดการสารมลพิษอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants - POPs) ทั้งนี้เนื่องจาก UNIDO มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ระยะยาวเกี่ยวกับ POPs ซึ่งทำให้ UNIDO มีแหล่งเงินทุนในการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกยูนิโด
ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การยูนิโดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยได้เริ่มชำระเงินบำรุงงบประมาณปกติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันชำระเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.251 ของงบประมาณทั้งหมด และได้บริจาคเงินโดยสมัครใจให้กับกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม (IDF) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึงปี 2540 ปัจจุบัน ได้งดการบริจาคเงินชั่วคราวเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย รายละเอียดการชำระเงินบำรุงและเงินบริจาคปรากฏตามเอกสารแนบ
ในฐานะประเทศสมาชิก ประเทศไทยได้เข้าร่วมและมีบทบาทอย่างใกล้ชิดในองค์กรบริหารของยูนิโดอย่างต่อเนื่องหลายสมัย ได้แก่ การเข้าร่วมในคณะกรรมการ IDB และ PBC สำหรับผลประโยชน์ที่ไทยได้รับคือ ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งในรูปของเครื่องจักร เครื่องมือผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำ การจัดสัมมนา การให้ทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ในโครงการสำคัญหลายสาขาของกระทรวงอุตสาหกรรมและของหลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งตั้งแต่ปี 2515 ถึง 2540 สามารถคิดมูลค่าความช่วยเหลือได้ทั้งสิ้น 14,872,959 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 372 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 25 บาท) โดยแบ่งเป็นรอบวงจรความช่วยเหลือของ UNDP/UNIDO ดังนี้
1. รอบวงจรที่ 1 (2515 - 2519) มูลค่า 3,650,969 เหรียญสหรัฐฯ
2. รอบวงจรที่ 2 (2520 - 2524) มูลค่า 2,225,889 เหรียญสหรัฐฯ
3. รอบวงจรที่ 3 (2521 - 2529) มูลค่า 2,366,762 เหรียญสหรัฐฯ
4. รอบวงจรที่ 4 (2530 - 2534) มูลค่า 4,609,312 เหรียญสหรัฐฯ
5. รอบวงจรที่ 5 (2535 - 2540) มูลค่า 2,020,000 เหรียญสหรัฐฯ
ตัวอย่างโครงการความช่วยเหลือในอดีตที่ผ่านมา ที่สำคัญได้แก่
- โครงการ Assistance to Office of Eastern Seaboard ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- โครงการ Feasibility Study on the Production of Plastic Molding and Application for automotive and electric appliances ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- โครงการ Development of Food Industry through Standardization ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
- โครงการ Assessment of Master Plan for Development of Iron and Steel Industry และ Establishment of an Industrial Project Development and Evaluation Unit in the MOI ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- โครงการการร่วมมือวิจัยและพัฒนาบริการทดสอบ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวัสดุ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- โครงการ Clean Production : Policies and Measures Formulations ของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- โครงการห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเขตกรุงเทพฯ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- โครงการ Investment Promotion Delegate to IPS, Paris and Vienna ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- โครงการ Southeast Asian Centre for Training in Energy for Development ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- โครงการ Assistance to the Pharmaceutical Industry และโครงการ Strengthening of the Air-Conditioning Industry of Thailand ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในช่วงตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา จำนวนโครงการความช่วยเหลือของประเทศไทยได้ลดลงมาเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากไทยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และระดับการพัฒนาประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความเชี่ยวชาญในบางสาขา รัฐบาลไทย จึงได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของไทยในองค์การยูนิโด จากฐานะที่เป็นผู้รับมาเป็นผู้ให้มากขึ้น โดยร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดให้การฝึกอบรม หรือให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่า และโดยการบริจาคเงินเข้ากองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development Fund - IDF) เพื่อให้องค์การยูนิโดนำไปใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ในปี 2540 ไทยได้บริจาคเงินสมทบกองทุน IDF จำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยระบุวัตถุประสงค์ที่จะให้ความ ช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้าน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในโครงการ National Industrial Statistics Programme (NISP)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2539 - 2540 ภาคอุตสาหกรรมของไทยเริ่มประสบปัญหาเนื่องจากขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในตลาดโลกลดลง อันเกิดจากการปรับปรุงและพัฒนาความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่อง กระทรวงอุตสาหกรรมจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและจริงจัง และเนื่องจากยูนิโดเป็นองค์กรของสหประชาชาติที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านอุตสาห-กรรมอย่างสูง ได้แก่ เรื่องการเพิ่มผลผลิต มาตรฐาน การบริหารการจัดการ การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและเครื่องจักร การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากยูนิโด และได้รับอนุมัติตามแผนงาน Industry Support Program (Integrated Program) พร้อมเงินสนับสนุนจำนวน 105,000 เหรียญสหรัฐฯ ให้กับประเทศไทยในการจัดทำ Preparatory Assistance ปัจจุบัน โครงการที่ได้ดำเนินการแล้วตามแผนงาน คือ โครงการ Tracking Manufacturing Performance Towards an Early Warning Mechanism Geared to the Real Economy ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในวงเงิน 440,000 เหรียญสหรัฐฯ และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติได้จัดสรรงบประมาณสมทบฝ่ายไทยจำนวน 70,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งสิ้น 24 เดือน (มิถุนายน 2543 - พฤษภาคม 2545)
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือในลักษณะของแผนงานบูรณาการ (Integrated Programme) ดังกล่าวแม้ว่าจะมีประโยชน์มากแต่การดำเนินโครงการก็มีความซับซ้อนและต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการมาก และเนื่องจากยังไม่มีการดำเนินโครงการอื่นเพิ่มเติมภายใต้แผนงาน Industry Support Programme ยูนิโดจึงเห็นว่าโครงการความร่วมมือของไทยสามารถขอเป็นโครงการเดี่ยวได้ (project-by-project approach) และโดยที่ไทยเป็นประเทศที่พัฒนาไปในระดับหนึ่งแล้ว ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นลักษณะของ cost - sharing คือ ฝ่ายไทยจะต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งในลักษณะ in cash ด้วย
สำนักงานภูมิภาคของยูนิโด ณ กรุงเทพมหานคร
ภายใต้แผนงานที่จะปรับบทบาทของยูนิโดให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น ยูนิโดมีแผนงานที่จะขยายการบริหารงานจากส่วนกลางไปสู่ภาคสนามโดยการจัดตั้งสำนักงานผู้แทนขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งยูนิโดได้อนุมัติให้จัดตั้งสำนักงานในระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรก ณ กรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ประเทศไทยมีความโดดเด่นหลายประการ เช่น บทบาทของไทยในฐานะประเทศสมาชิก การมีส่วนร่วมสนับสนุนกับกิจกรรมของยูนิโด การให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า รวมทั้งจำนวนโครงการความร่วมมือที่มีอยู่กับยูนิโด ตลอดจนการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางที่ตั้งของสำนักงานสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก หรือ เอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific -ESCAP)
สำนักงานภูมิภาคยูนิโดประจำกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก โครงการรายประเทศมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย และสำหรับโครงการระดับภูมิภาคจะครอบคลุมทุกประเทศในอาเซียน ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทยและประเทศสมาชิกในภูมิภาค นอกจากนี้ สำนักงานภูมิภาคยังทำหน้าที่เป็นหน่วยงาน (Country office) ที่จะดูแลโครงการความร่วมมือของประเทศไทย การจัดตั้งสำนักงานในระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรกของยูนิโด ณ กรุงเทพมหานคร นอกจากจะเป็นการเสริมฐานะและบทบาทของประเทศไทยในภูมิภาคนี้แล้ว ยังมีส่วนช่วยเสริมต่อความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับยูนิโดเพื่อพัฒนาและสนับสนุนบทบาทของไทยในฐานะประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศ เพื่อนบ้านตามนโยบายของรัฐบาลด้วย และประเทศไทยยังสามารถใช้ประโยชน์จากสำนักงานภูมิภาคฯ ดังกล่าวในการแสดงบทบาทเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า การลงทุนและเทคโนโลยีต่อไปสำนักงานภูมิภาค (UNIDO Regional Office in Bangkok) ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543 ปัจจุบัน สำนักงานฯ มีที่ทำการตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม เลขที่ 57 ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2280-8691 โทรสาร 0-2280-8695 E-mail : [email protected]
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิโด (United Nations Industrial Development Organization - UNIDO) เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 21 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2509 เมื่อแรกตั้งจึงมีสถานะเป็นองค์การภายใต้สมัชชาสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อส่งเสริมและเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ Vienna International Center กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ต่อมา ยูนิโดได้ดำเนินการเปลี่ยนสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ (Specialized Agency) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2529 ทำให้องค์การฯ มีความคล่องตัวในการบริหารแผนงาน งบประมาณ และการปฏิบัติภารกิจของตนมากขึ้น โดยเงินงบประมาณปกติขององค์การฯ จะได้รับจากประเทศสมาชิก ในรูปของเงินค่าบำรุงตามอัตราส่วนการประเมินของระบบสหประชาชาติ ปัจจุบันยูนิโดมีจำนวนสมาชิก รวมทั้งสิ้น 171 ประเทศ (สิงหาคม 2546)
องค์กรบริหารของยูนิโด
1. ที่ประชุมใหญ่ (General Conference - GC) เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ซึ่งมีกำหนดจัดทุก 2 ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักการ นโยบาย แผนงานต่าง ๆ และงบประมาณขององค์การ ทั้งนี้ประเทศไทยเคยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2 ณ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2530
2. คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development Board - IDB) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่ จำนวน 53 ประเทศ มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และมีหน้าที่สำคัญในการบริหารนโยบาย และพิจารณาทบทวนการปฏิบัติตามแผนที่ได้รับอนุมัติและตามงบประมาณที่กำหนด ปัจจุบันไทยได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการใน IDB โดยมีวาระดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2548
3. คณะกรรมการแผนงานและงบประมาณ (Planning and Budget Committee - PBC) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งในที่ประชุมใหญ่ จำนวน 27 ประเทศ มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และมีหน้าที่สำคัญในการพิจารณาจัดทำงบประมาณ และแผนงานราย 2 ปีขององค์การ เสนอต่อ IDB และที่ประชุมใหญ่
4. สำนักเลขาธิการองค์การ UNIDO มีผู้บริหารสูงสุด คือ ผู้อำนวยการใหญ่ (Director-General) ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งนี้ คือ นาย Carlos Magarinos ชาวอาร์เจนตินา ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อเป็นสมัยที่สอง(พ.ศ. 2545-2548)
นอกจากนี้ ยูนิโดยังมีสำนักงานผู้แทนระดับประเทศตั้งอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 22 แห่ง สำนักงานผู้แทนระดับภูมิภาค 9 แห่ง และสำนักงานส่งเสริมการลงทุนตั้งอยู่ในประเทศพัฒนาแล้วอีก 14 แห่ง งบประมาณของยูนิโด
1. งบประมาณปกติ (Regular Budget) หรืองบประมาณบริหารองค์กร ได้มาจากเงินบำรุงที่ประเทศสมาชิกมีข้อผูกพันต้องชำระเป็นรายปี โดยชำระเป็นอัตราส่วนร้อยละของงบประมาณ ทั้งสิ้นขององค์การฯ ตามเกณฑ์การประเมินของ สหประชาชาติ นอกจากนี้ ยังมีรายได้มาจากการ จัดพิมพ์และจำหน่ายเอกสาร ดอกเบี้ยเงินฝาก และค่าบริการต่าง ๆ
2. งบประมาณปฏิบัติการ (Operational Budget) ได้มาจากองค์กรที่สำคัญ ได้แก่ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP) เงินกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development Fund - IDF) โครงการ Trust Fund และการบริการอื่น ๆ สถานะของยูนิโดในปัจจุบัน
องค์การยูนิโดได้ประสบกับภาวะวิกฤตทางการเงิน มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2539 สืบเนื่องมาจากการถอนตัวของประเทศสมาชิกสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ชำระเงินบำรุงให้องค์การฯ ถึงร้อยละ 25 ของงบประมาณปกติทั้งหมด ทำให้ยูนิโดต้องปฏิรูปโครงสร้าง ปรับแผนการดำเนินงาน และลดจำนวนบุคลากรลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อนำเงินงบประมาณไปใช้ในการพัฒนาโครงการให้กับประเทศสมาชิกได้มากขึ้น โดยมุ่งเน้นให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ทั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาจะต้องมีส่วนร่วมในการแบ่งปันภาระความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากขึ้น และจะมิได้อยู่ในฐานะที่ได้รับความช่วยเหลือแต่เพียงผ่ายเดียวเช่นแต่เดิม
โครงสร้างปัจจุบันของยูนิโด ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายพัฒนาแผนงานและความร่วมมือทางวิชาการ (Programme Development and Technical Cooperation Division - PTC)
- ส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
- ส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรและรายสาขา
- ส่วนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- ส่วนการผลิตที่สะอาดและการจัดการสิ่งแวดล้อม
- ส่วนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่วนพิธีสารมอนทรีออล
2. ฝ่ายประสานงานโครงการและสำนักงานภาคสนาม (Programme Coordination and Field Operations Division - PCF)
- ส่วนวิจัยยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ
- ส่วนประสานงานโครงการ
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นแอฟริกา
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นตะวันออกกลาง
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นละตินอเมริกาและแคริบเบียน
- ส่วนสำนักงานภาคพื้นยุโรปและประเทศอุตสาหกรรมใหม่
- สำนักงานส่งเสริมการลงทุนและเทคโนโลยี (ภาคสนาม)
- สำนักงานผู้แทนภาคสนาม
3.1 ฝ่ายบริหาร (Division of Administration - ADM)
- ส่วนบริหารงานบุคคล
- ส่วนบริการด้านการเงิน
- ส่วนกลาง
- ส่วนประเมินผล
Mr. Carlos Magarinos ผู้อำนวยการใหญ่ยูนิโดได้เสนอแผนงาน Integrated Programme ต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 21 เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 และกล่าวให้ความสำคัญต่อแผนดังกล่าวเป็นลำดับสูง เนื่องจากถือว่าเป็นการปฏิรูปการดำเนินงานของยูนิโดครั้งใหญ่ นับแต่ยูนิโดได้ประกาศที่จะปฏิรูปองค์กรตั้งแต่เมื่อปี 2537 เป็นต้นมา โดยเป็นการปฏิรูปทั้งด้านการเงินและโครงสร้าง การดำเนินงานของยูนิโด ให้มีความชัดเจน ซึ่งเป็น new approach ของการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิก การปฏิรูปนี้จะทำให้ประเทศสมาชิกสามารถเห็นบทบาทของยูนิโดในทศวรรษหน้า และชี้ให้เห็นว่า แนวทางใหม่สำหรับความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น คือ ประเทศกำลังพัฒนาต้องหันมาร่วมมือกันมากขึ้น การจำกัดบทบาทและภารกิจของยูนิโดให้แคบลงและตรงตามเป้าประสงค์ของประเทศผู้รับมากขึ้นและ สอดคล้องกับงบประมาณที่ UNIDO ได้รับในแต่ละปี
แผนงาน Integrated Program ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี ทั้งจากประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิเช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ ได้ประกาศต่อที่ประชุมที่จะบริจาคเงินสนับสนุนแก่แผนงานดังกล่าวด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับการปฏิรูปของยูนิโดที่มีประสิทธิภาพมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีการจัดการที่มีประสิทธิภาพสูง มีขนาดองค์กรเล็กลง และสามารถให้บริการความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกได้มากขึ้น
ในเดือนพฤษภาคม 2543 UNIDO ได้รับแต่งตั้งให้เป็น Executing Agency ของกองทุน สิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility - GEF) ในด้านการจัดการสารมลพิษอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน (Persistent Organic Pollutants - POPs) ทั้งนี้เนื่องจาก UNIDO มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ระยะยาวเกี่ยวกับ POPs ซึ่งทำให้ UNIDO มีแหล่งเงินทุนในการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิกยูนิโด
ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การยูนิโดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยได้เริ่มชำระเงินบำรุงงบประมาณปกติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจุบันชำระเป็นอัตราส่วนร้อยละ 0.251 ของงบประมาณทั้งหมด และได้บริจาคเงินโดยสมัครใจให้กับกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม (IDF) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 ถึงปี 2540 ปัจจุบัน ได้งดการบริจาคเงินชั่วคราวเนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย รายละเอียดการชำระเงินบำรุงและเงินบริจาคปรากฏตามเอกสารแนบ
ในฐานะประเทศสมาชิก ประเทศไทยได้เข้าร่วมและมีบทบาทอย่างใกล้ชิดในองค์กรบริหารของยูนิโดอย่างต่อเนื่องหลายสมัย ได้แก่ การเข้าร่วมในคณะกรรมการ IDB และ PBC สำหรับผลประโยชน์ที่ไทยได้รับคือ ความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งในรูปของเครื่องจักร เครื่องมือผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำ การจัดสัมมนา การให้ทุนศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ในโครงการสำคัญหลายสาขาของกระทรวงอุตสาหกรรมและของหลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งตั้งแต่ปี 2515 ถึง 2540 สามารถคิดมูลค่าความช่วยเหลือได้ทั้งสิ้น 14,872,959 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 372 ล้านบาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 25 บาท) โดยแบ่งเป็นรอบวงจรความช่วยเหลือของ UNDP/UNIDO ดังนี้
1. รอบวงจรที่ 1 (2515 - 2519) มูลค่า 3,650,969 เหรียญสหรัฐฯ
2. รอบวงจรที่ 2 (2520 - 2524) มูลค่า 2,225,889 เหรียญสหรัฐฯ
3. รอบวงจรที่ 3 (2521 - 2529) มูลค่า 2,366,762 เหรียญสหรัฐฯ
4. รอบวงจรที่ 4 (2530 - 2534) มูลค่า 4,609,312 เหรียญสหรัฐฯ
5. รอบวงจรที่ 5 (2535 - 2540) มูลค่า 2,020,000 เหรียญสหรัฐฯ
ตัวอย่างโครงการความช่วยเหลือในอดีตที่ผ่านมา ที่สำคัญได้แก่
- โครงการ Assistance to Office of Eastern Seaboard ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- โครงการ Feasibility Study on the Production of Plastic Molding and Application for automotive and electric appliances ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
- โครงการ Development of Food Industry through Standardization ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
- โครงการ Assessment of Master Plan for Development of Iron and Steel Industry และ Establishment of an Industrial Project Development and Evaluation Unit in the MOI ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- โครงการการร่วมมือวิจัยและพัฒนาบริการทดสอบ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวัสดุ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
- โครงการ Clean Production : Policies and Measures Formulations ของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
- โครงการห้องปฏิบัติการทดสอบผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเขตกรุงเทพฯ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- โครงการ Investment Promotion Delegate to IPS, Paris and Vienna ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
- โครงการ Southeast Asian Centre for Training in Energy for Development ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- โครงการ Assistance to the Pharmaceutical Industry และโครงการ Strengthening of the Air-Conditioning Industry of Thailand ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในช่วงตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา จำนวนโครงการความช่วยเหลือของประเทศไทยได้ลดลงมาเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากไทยมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และระดับการพัฒนาประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความเชี่ยวชาญในบางสาขา รัฐบาลไทย จึงได้ปรับเปลี่ยนบทบาทของไทยในองค์การยูนิโด จากฐานะที่เป็นผู้รับมาเป็นผู้ให้มากขึ้น โดยร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดให้การฝึกอบรม หรือให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่า และโดยการบริจาคเงินเข้ากองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม (Industrial Development Fund - IDF) เพื่อให้องค์การยูนิโดนำไปใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ในปี 2540 ไทยได้บริจาคเงินสมทบกองทุน IDF จำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยระบุวัตถุประสงค์ที่จะให้ความ ช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้าน คือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในโครงการ National Industrial Statistics Programme (NISP)
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2539 - 2540 ภาคอุตสาหกรรมของไทยเริ่มประสบปัญหาเนื่องจากขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในตลาดโลกลดลง อันเกิดจากการปรับปรุงและพัฒนาความสามารถในการผลิตอย่างต่อเนื่อง กระทรวงอุตสาหกรรมจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนและจริงจัง และเนื่องจากยูนิโดเป็นองค์กรของสหประชาชาติที่มีความรู้และประสบการณ์ในด้านอุตสาห-กรรมอย่างสูง ได้แก่ เรื่องการเพิ่มผลผลิต มาตรฐาน การบริหารการจัดการ การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและเครื่องจักร การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากยูนิโด และได้รับอนุมัติตามแผนงาน Industry Support Program (Integrated Program) พร้อมเงินสนับสนุนจำนวน 105,000 เหรียญสหรัฐฯ ให้กับประเทศไทยในการจัดทำ Preparatory Assistance ปัจจุบัน โครงการที่ได้ดำเนินการแล้วตามแผนงาน คือ โครงการ Tracking Manufacturing Performance Towards an Early Warning Mechanism Geared to the Real Economy ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นในวงเงิน 440,000 เหรียญสหรัฐฯ และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติได้จัดสรรงบประมาณสมทบฝ่ายไทยจำนวน 70,000 เหรียญสหรัฐฯ โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งสิ้น 24 เดือน (มิถุนายน 2543 - พฤษภาคม 2545)
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือในลักษณะของแผนงานบูรณาการ (Integrated Programme) ดังกล่าวแม้ว่าจะมีประโยชน์มากแต่การดำเนินโครงการก็มีความซับซ้อนและต้องใช้งบประมาณในการดำเนินการมาก และเนื่องจากยังไม่มีการดำเนินโครงการอื่นเพิ่มเติมภายใต้แผนงาน Industry Support Programme ยูนิโดจึงเห็นว่าโครงการความร่วมมือของไทยสามารถขอเป็นโครงการเดี่ยวได้ (project-by-project approach) และโดยที่ไทยเป็นประเทศที่พัฒนาไปในระดับหนึ่งแล้ว ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นลักษณะของ cost - sharing คือ ฝ่ายไทยจะต้องร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งในลักษณะ in cash ด้วย
สำนักงานภูมิภาคของยูนิโด ณ กรุงเทพมหานคร
ภายใต้แผนงานที่จะปรับบทบาทของยูนิโดให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น ยูนิโดมีแผนงานที่จะขยายการบริหารงานจากส่วนกลางไปสู่ภาคสนามโดยการจัดตั้งสำนักงานผู้แทนขึ้นในภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งยูนิโดได้อนุมัติให้จัดตั้งสำนักงานในระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรก ณ กรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ประเทศไทยมีความโดดเด่นหลายประการ เช่น บทบาทของไทยในฐานะประเทศสมาชิก การมีส่วนร่วมสนับสนุนกับกิจกรรมของยูนิโด การให้ความช่วยเหลือกับประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า รวมทั้งจำนวนโครงการความร่วมมือที่มีอยู่กับยูนิโด ตลอดจนการที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางที่ตั้งของสำนักงานสหประชาชาติในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เช่น คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียแปซิฟิก หรือ เอสแคป (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific -ESCAP)
สำนักงานภูมิภาคยูนิโดประจำกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการด้านวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก โครงการรายประเทศมีอาณาเขตครอบคลุมประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า มาเลเซีย และสำหรับโครงการระดับภูมิภาคจะครอบคลุมทุกประเทศในอาเซียน ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศในภูมิภาคเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศไทยและประเทศสมาชิกในภูมิภาค นอกจากนี้ สำนักงานภูมิภาคยังทำหน้าที่เป็นหน่วยงาน (Country office) ที่จะดูแลโครงการความร่วมมือของประเทศไทย การจัดตั้งสำนักงานในระดับภูมิภาคเป็นแห่งแรกของยูนิโด ณ กรุงเทพมหานคร นอกจากจะเป็นการเสริมฐานะและบทบาทของประเทศไทยในภูมิภาคนี้แล้ว ยังมีส่วนช่วยเสริมต่อความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับยูนิโดเพื่อพัฒนาและสนับสนุนบทบาทของไทยในฐานะประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศ เพื่อนบ้านตามนโยบายของรัฐบาลด้วย และประเทศไทยยังสามารถใช้ประโยชน์จากสำนักงานภูมิภาคฯ ดังกล่าวในการแสดงบทบาทเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้า การลงทุนและเทคโนโลยีต่อไปสำนักงานภูมิภาค (UNIDO Regional Office in Bangkok) ได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2543 ปัจจุบัน สำนักงานฯ มีที่ทำการตั้งอยู่ที่ชั้น 5 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม เลขที่ 57 ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 0-2280-8691 โทรสาร 0-2280-8695 E-mail : [email protected]
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-