นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่สหรัฐอเมริกาประกาศ
บังคับใช้กฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ เมื่อปี 2545 (Bioterrorism Act of 2002) โดย
ภายใต้กฎหมายดังกล่าวมีระเบียบย่อย 4 ฉบับที่กระทบต่อผู้ส่งออกอาหารของไทยที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่ง 2 ฉบับ
แรกได้บังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 คือ การจดทะเบียนสถานที่ประกอบการอาหารและการแจ้ง
ข้อมูลสินค้าล่วงหน้าก่อนนำเข้า ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 หน่วยงานอาหารและยาสหรัฐฯ (US
Food and Drug Administration: USFDA) ได้เผยแพร่ข้อมูล เรื่องระเบียบสุดท้ายการกักสินค้าโดย
ฝ่ายบริหาร (Final Rule : Administrative Detention) ซึ่งสาระสำคัญของระเบียบสุดท้ายนี้ไม่แตก
ต่างจากร่างระเบียบที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ ส่วนระเบียบการจัดเก็บ บันทึกข้อมูลประวัติการรับส่งสินค้า สหรัฐฯ
แจ้งว่าจะประกาศตามออกมาเร็วๆ นี้
สาระสำคัญของระเบียบการกักสินค้าโดยฝ่ายบริหารฉบับสุดท้ายซึ่งผู้ประกอบการไทยควรศึกษาเพื่อ
เตรียมความพร้อมเมื่อถูกสั่งกักสินค้ากล่าวคือ ระเบียบนี้ครอบคลุมสินค้าอาหารและยาทุกประเภทที่อยู่ภายใต้
การดูแลของ US FDA ยกเว้นสินค้าที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ดูแลคือ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่
รวมทั้งผลิตภัณฑ์ของสินค้าดังกล่าวเมื่อเจ้าหน้าที่ US FDA มีหลักฐานข้อสงสัยหรือข่าวสารที่น่าเชื่อถือได้ว่า
สินค้าอาจมีความเสี่ยง ส่งผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพชีวิตมนุษย์หรือสัตว์ จะทำการ
1. สั่งกักสินค้าโดยทันที
2. มีระยะเวลาการกัก ไม่เกิน 30 วัน
3. สินค้าที่ถูกสั่งกักจะไม่มีการส่งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้นำเข้า เจ้าของสินค้า หรือผู้ขนส่ง
4. จะไม่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่ที่ได้สั่งกัก หรือสถานที่ที่สินค้าถูกย้ายไปเก็บจนกว่าจะได้
รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าหน้าที่ US FDA โดยจะทำการติดป้าย หรือทำเครื่องหมายไว้ กับ
สินค้าที่ถูกกักนั้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อ US FDA สั่งกักสินค้า จะสำเนาคำสั่งกักไปยัง
เจ้าของ(Owner) หรือผู้ดำเนินการ(Operator) หรือตัวแทนตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้กับ US FDA ซึ่งผู้ที่ได้รับคำ
สั่งกัก สามารถอุทธรณ์ได้ โดยสินค้าที่เน่าเสียง่าย ต้องยื่นคำร้องขออุทธรณ์ ภายใน 2 วันปฏิทิน นับตั้งแต่
วันที่ได้รับคำสั่งกักสินค้า สำหรับสินค้าอื่นๆ ภายใน 10 วันปฏิทิน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งกักสินค้ากล่าวจะมี
ผลบังคับใช้ทันทีหลังจากลงตีพิมพ์ใน Federal Register ภายใน 30 วัน
อนึ่ง ในปี 2546 ไทยส่งออกสินค้าอาหาร ไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 78,182 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
19 ของการส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากปี 2545 คิดเป็นร้อยละ 5 และในช่วงเดือน
มกราคม - เมษายน 2547 ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐฯ 24,580 ล้านบาท สำหรับสินค้าส่งออกอาหาร
5 อันดับแรกของไทยคือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ข้าว
และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
ผู้ประกอบการที่ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่เว็ปไซต์ของหน่วยงานอาหาร
และยาสหรัฐฯ คือ http://www.fda.gov/oc/bioterrorism/bioact.html
หรือที่เว็ปไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.moc.go.th
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักมาตรการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ
โทร 0 2547 5118 โทรสาร 0 2547 4802 และ e-mail: [email protected] หรือสอบ
ถามที่ Call Center 1385
--กรมการค้าต่างประเทศ มิถุนายน 2547--
-สส-
บังคับใช้กฎหมายป้องกันการก่อการร้ายทางชีวภาพ เมื่อปี 2545 (Bioterrorism Act of 2002) โดย
ภายใต้กฎหมายดังกล่าวมีระเบียบย่อย 4 ฉบับที่กระทบต่อผู้ส่งออกอาหารของไทยที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่ง 2 ฉบับ
แรกได้บังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 คือ การจดทะเบียนสถานที่ประกอบการอาหารและการแจ้ง
ข้อมูลสินค้าล่วงหน้าก่อนนำเข้า ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 หน่วยงานอาหารและยาสหรัฐฯ (US
Food and Drug Administration: USFDA) ได้เผยแพร่ข้อมูล เรื่องระเบียบสุดท้ายการกักสินค้าโดย
ฝ่ายบริหาร (Final Rule : Administrative Detention) ซึ่งสาระสำคัญของระเบียบสุดท้ายนี้ไม่แตก
ต่างจากร่างระเบียบที่ประกาศมาก่อนหน้านี้ ส่วนระเบียบการจัดเก็บ บันทึกข้อมูลประวัติการรับส่งสินค้า สหรัฐฯ
แจ้งว่าจะประกาศตามออกมาเร็วๆ นี้
สาระสำคัญของระเบียบการกักสินค้าโดยฝ่ายบริหารฉบับสุดท้ายซึ่งผู้ประกอบการไทยควรศึกษาเพื่อ
เตรียมความพร้อมเมื่อถูกสั่งกักสินค้ากล่าวคือ ระเบียบนี้ครอบคลุมสินค้าอาหารและยาทุกประเภทที่อยู่ภายใต้
การดูแลของ US FDA ยกเว้นสินค้าที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ดูแลคือ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ไข่
รวมทั้งผลิตภัณฑ์ของสินค้าดังกล่าวเมื่อเจ้าหน้าที่ US FDA มีหลักฐานข้อสงสัยหรือข่าวสารที่น่าเชื่อถือได้ว่า
สินค้าอาจมีความเสี่ยง ส่งผลเป็นอันตรายต่อสุขภาพชีวิตมนุษย์หรือสัตว์ จะทำการ
1. สั่งกักสินค้าโดยทันที
2. มีระยะเวลาการกัก ไม่เกิน 30 วัน
3. สินค้าที่ถูกสั่งกักจะไม่มีการส่งไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้นำเข้า เจ้าของสินค้า หรือผู้ขนส่ง
4. จะไม่มีการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่ที่ได้สั่งกัก หรือสถานที่ที่สินค้าถูกย้ายไปเก็บจนกว่าจะได้
รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าหน้าที่ US FDA โดยจะทำการติดป้าย หรือทำเครื่องหมายไว้ กับ
สินค้าที่ถูกกักนั้น
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อ US FDA สั่งกักสินค้า จะสำเนาคำสั่งกักไปยัง
เจ้าของ(Owner) หรือผู้ดำเนินการ(Operator) หรือตัวแทนตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้กับ US FDA ซึ่งผู้ที่ได้รับคำ
สั่งกัก สามารถอุทธรณ์ได้ โดยสินค้าที่เน่าเสียง่าย ต้องยื่นคำร้องขออุทธรณ์ ภายใน 2 วันปฏิทิน นับตั้งแต่
วันที่ได้รับคำสั่งกักสินค้า สำหรับสินค้าอื่นๆ ภายใน 10 วันปฏิทิน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำสั่งกักสินค้ากล่าวจะมี
ผลบังคับใช้ทันทีหลังจากลงตีพิมพ์ใน Federal Register ภายใน 30 วัน
อนึ่ง ในปี 2546 ไทยส่งออกสินค้าอาหาร ไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 78,182 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
19 ของการส่งออกสินค้าอาหารทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นจากปี 2545 คิดเป็นร้อยละ 5 และในช่วงเดือน
มกราคม - เมษายน 2547 ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐฯ 24,580 ล้านบาท สำหรับสินค้าส่งออกอาหาร
5 อันดับแรกของไทยคือ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ข้าว
และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
ผู้ประกอบการที่ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่เว็ปไซต์ของหน่วยงานอาหาร
และยาสหรัฐฯ คือ http://www.fda.gov/oc/bioterrorism/bioact.html
หรือที่เว็ปไซต์กรมการค้าต่างประเทศ www.dft.moc.go.th
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักมาตรการนำเข้าส่งออกสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ
โทร 0 2547 5118 โทรสาร 0 2547 4802 และ e-mail: [email protected] หรือสอบ
ถามที่ Call Center 1385
--กรมการค้าต่างประเทศ มิถุนายน 2547--
-สส-