เวียดนามเป็นประเทศคู่ค้าหรือประเทศคู่แข่งของไทย ? ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) เป็นประเทศคู่ค้าของไทยที่มีรูปแบบการค้าทั้งแบบปกติและการค้าผ่านแดน การค้าปกติคือผู้นำเข้าและผู้ส่งออกเป็นบริษัทการค้าของรัฐ โดยผู้นำเข้าและผู้ส่งออกต้องดำเนินการผ่านบริษัทการค้าของรัฐบาล และการค้าผ่านแดนซึ่งผู้ส่งออกของไทยจะจำหน่ายสินค้าให้กับผู้นำเข้ารายใหญ่ของลาวและกัมพูชาที่อยู่ตามชายแดนลาวและกัมพูชา เพื่อส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกของเวียดนาม เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคในเมืองต่างๆ ของเวียดนาม
แม้ว่าเวียดนามจะบอบช้ำจากสภาวะสงครามในประเทศมายาวนาน แต่ก็สามารถปรับปรุงและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ต้องเผชิญกับความอดอยาก ภาวะการว่างงาน การผลิตภายในประเทศไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากขาดแคลนทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น และเครื่องจักร/อุปกรณ์การผลิตในอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีปัจจัยเอื้อที่สร้างความได้เปรียบในการปรับปรุงและผลิตจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจนสามารถกลายเป็นประเทศคู่แข่งของไทย เวียดนามเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับ 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้า โดยมีลาวและกัมพูชาเป็นประตูการค้าสู่ไทย และเนื่องจากเวียดนามมีชายฝั่งทะเลยาวติดกับทะเลจีนใต้และอ่าวไทย จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำ นอกจากนั้น เวียดนามยังมีแหล่งเกษตรกรรมในพื้นที่ราบลุ่ม บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง และแม่น้ำโขง จึงมีผลิตผลทางการเกษตรคล้ายคลึงกับประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้เข้าประเทศเวียดนามได้เป็นจำนวนมาก
การค้าและการลงทุนกับไทย
ข้อตกลงในภาครัฐระหว่างไทย-เวียดนาม นั้นได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้าไทย-เวียดนาม ในปี 2533 ณ นครโฮจิมินห์ และในภาคเอกชน มีการตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างสองประเทศ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการค้าและเศรษฐกิจระหว่างกัน เมื่อปี 2536 ณ กรุงฮานอย ซึ่งรูปแบบการค้าระหว่างไทย-เวียดนามมีทั้งการค้าปกติ และการค้าผ่านแดน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการค้าผ่านแดน ซึ่งเวียดนามมีการลักลอบนำเข้าสินค้าไทย โดยผ่านตามแนวชายแดนของลาวและกัมพูชา โดยผู้ส่งออกไทยจะจำหน่ายสินค้าให้กับผู้นำเข้ารายใหญ่ของลาวและกัมพูชาที่อยู่ตามชายแดน เพื่อส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกของเวียดนามและจะกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคในเมืองต่างๆ ของเวียดนามอีกทอดหนึ่ง โดยผู้นำเข้าของเวียดนามมี 1)บริษัทของรัฐบาล ซึ่งจะควบคุมการทำธุรกิจทุกชนิดในเวียดนาม 2) บริษัทเอกชน คือบริษัทที่สั่งสินค้าเพื่อนำมาจำหน่าย และ 3) บริษัทที่เป็นผู้ผลิตและมีการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้เป็นปัจจัยในการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น ในส่วนของช่องทางการจำหน่ายและการกระจายตัวของสินค้าไทย จำแนกได้เป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรและวัตถุดิบทางการเกษตร กลุ่มสินค้าวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเบา สินค้าวัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะและอุปกรณ์ สินค้าอุปโภคบริโภค ในกลุ่มสินค้าอาหารสำเร็จรูปและของใช้ประจำวัน ส่วนใหญ่จะมีการลักลอบผ่านทางชายแดนลาวและกัมพูชาเข้าสู่เวียดนาม จุดการค้าระหว่างไทยกับเวียดนามส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทางทะเล โดยท่าเรือที่สำคัญที่สุดคือท่าเรือไซ่ง่อน และเมืองที่มีการติดต่อค้าขายหลักๆ ในเวียดนามได้แก่ โฮจิมินห์ ฮานอย และดานัง สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกสำคัญจากไทยไปเวียดนาม เช่น เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป เหล็กและเหล็กกล้า ก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว ปูนซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ ฯลฯ
ภาวะการแข่งขันและปัญหาทางการค้าของไทย
ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับที่ 6 ในเวียดนาม และไทยเป็นประเทศที่มีแนวโน้มจะมีบทบาทในการเป็นคู่ค้ากับเวียดนามเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไทยยังมีประเทศคู่แข่งทางการค้าอีกมากมายเช่น ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค คู่แข่งคือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน สิ่งที่ทำให้ไทยยังครองตลาดในเวียดนามได้เพราะไทยได้เปรียบในหลายๆ ด้าน เช่น สินค้าไทยมีราคาต่ำกว่าสินค้าจากคู่แข่ง สินค้ามีคุณภาพดี ส่วนข้อเสียเปรียบและเป็นปัญหา ซึ่งปัญหานั้นมีทั้งที่มาจากทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเวียดนาม คือ (1) ค่าขนส่งทางทะเลของไทยมีราคาสูง (2) สินค้าที่มีการลักลอบสินค้าผ่านแดนเป็นสินค้าไม่มีคุณภาพ และมักมีผู้นิยมปลอมแปลงสินค้าไทยในเวียดนาม ทำให้ในระยะยาวผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในสินค้าไทย (3) สินค้าไทยและเวียดนามที่ผลิตได้ใกล้เคียงกัน (4) การคืนภาษีอากรของไทยล่าช้า ทำให้ผู้ส่งออกขาดสภาพคล่อง (4) ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านการส่งออก (5) การแข่งขันทางการค้าในเวียดนามสูงขึ้น (6) ระบบการเงินของธนาคารในเวียดนามไม่น่าเชื่อถือ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำการค้าด้วย (7) นักธุรกิจไทยขาดข้อมูลการตลาดที่สำคัญ ทำให้เสียโอกาสในการทำธุรกิจร่วมกัน
สถิติการค้าต่างๆ ระหว่างไทย-เวียดนาม
ไทยกับเวียดนามไม่มีการค้าชายแดน เนื่องจากไม่มีชายแดนติดต่อกัน จะมีเพียงการค้าผ่านแดน โดยผ่านลาวและกัมพูชา โดยการลักลอบ และจากสถิติการลงทุนปี 2545 ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนในเวียดนามสูงเป็นอันดับ 11 จากผู้ลงทุนทั้งหมดและเป็นลำดับที่ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีจำนวนโครงการลงทุนรวมทั้งสิ้น 101 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,099 ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งสำคัญที่มีการลงทุน ได้แก่เมืองสำคัญทางธุรกิจการค้าและเขตส่งเสริมการลงทุน เช่น นครโฮจิมินห์ ฮานอย ดองนาย และไฮฟอง โดยสาขาสำคัญที่มีการลงทุนจากนักธุรกิจไทย ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมด้านการเกษตร อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
แม้ว่าเวียดนามจะบอบช้ำจากสภาวะสงครามในประเทศมายาวนาน แต่ก็สามารถปรับปรุงและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจากการเป็นประเทศด้อยพัฒนาที่ต้องเผชิญกับความอดอยาก ภาวะการว่างงาน การผลิตภายในประเทศไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากขาดแคลนทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จำเป็น และเครื่องจักร/อุปกรณ์การผลิตในอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เวียดนามมีปัจจัยเอื้อที่สร้างความได้เปรียบในการปรับปรุงและผลิตจากประเทศด้อยพัฒนาเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็วจนสามารถกลายเป็นประเทศคู่แข่งของไทย เวียดนามเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับ 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ลาว และกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้า โดยมีลาวและกัมพูชาเป็นประตูการค้าสู่ไทย และเนื่องจากเวียดนามมีชายฝั่งทะเลยาวติดกับทะเลจีนใต้และอ่าวไทย จึงอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทางน้ำ นอกจากนั้น เวียดนามยังมีแหล่งเกษตรกรรมในพื้นที่ราบลุ่ม บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง และแม่น้ำโขง จึงมีผลิตผลทางการเกษตรคล้ายคลึงกับประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้เข้าประเทศเวียดนามได้เป็นจำนวนมาก
การค้าและการลงทุนกับไทย
ข้อตกลงในภาครัฐระหว่างไทย-เวียดนาม นั้นได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการด้านการค้าไทย-เวียดนาม ในปี 2533 ณ นครโฮจิมินห์ และในภาคเอกชน มีการตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างสองประเทศ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการค้าและเศรษฐกิจระหว่างกัน เมื่อปี 2536 ณ กรุงฮานอย ซึ่งรูปแบบการค้าระหว่างไทย-เวียดนามมีทั้งการค้าปกติ และการค้าผ่านแดน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการค้าผ่านแดน ซึ่งเวียดนามมีการลักลอบนำเข้าสินค้าไทย โดยผ่านตามแนวชายแดนของลาวและกัมพูชา โดยผู้ส่งออกไทยจะจำหน่ายสินค้าให้กับผู้นำเข้ารายใหญ่ของลาวและกัมพูชาที่อยู่ตามชายแดน เพื่อส่งต่อไปยังผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกของเวียดนามและจะกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคในเมืองต่างๆ ของเวียดนามอีกทอดหนึ่ง โดยผู้นำเข้าของเวียดนามมี 1)บริษัทของรัฐบาล ซึ่งจะควบคุมการทำธุรกิจทุกชนิดในเวียดนาม 2) บริษัทเอกชน คือบริษัทที่สั่งสินค้าเพื่อนำมาจำหน่าย และ 3) บริษัทที่เป็นผู้ผลิตและมีการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อนำมาใช้เป็นปัจจัยในการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น ในส่วนของช่องทางการจำหน่ายและการกระจายตัวของสินค้าไทย จำแนกได้เป็นกลุ่มๆ เช่น กลุ่มสินค้าเกษตรและวัตถุดิบทางการเกษตร กลุ่มสินค้าวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเบา สินค้าวัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะและอุปกรณ์ สินค้าอุปโภคบริโภค ในกลุ่มสินค้าอาหารสำเร็จรูปและของใช้ประจำวัน ส่วนใหญ่จะมีการลักลอบผ่านทางชายแดนลาวและกัมพูชาเข้าสู่เวียดนาม จุดการค้าระหว่างไทยกับเวียดนามส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทางทะเล โดยท่าเรือที่สำคัญที่สุดคือท่าเรือไซ่ง่อน และเมืองที่มีการติดต่อค้าขายหลักๆ ในเวียดนามได้แก่ โฮจิมินห์ ฮานอย และดานัง สินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกสำคัญจากไทยไปเวียดนาม เช่น เม็ดพลาสติก น้ำมันสำเร็จรูป เหล็กและเหล็กกล้า ก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว ปูนซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ ฯลฯ
ภาวะการแข่งขันและปัญหาทางการค้าของไทย
ไทยเป็นประเทศคู่ค้าที่มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับที่ 6 ในเวียดนาม และไทยเป็นประเทศที่มีแนวโน้มจะมีบทบาทในการเป็นคู่ค้ากับเวียดนามเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไทยยังมีประเทศคู่แข่งทางการค้าอีกมากมายเช่น ในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค คู่แข่งคือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน สิ่งที่ทำให้ไทยยังครองตลาดในเวียดนามได้เพราะไทยได้เปรียบในหลายๆ ด้าน เช่น สินค้าไทยมีราคาต่ำกว่าสินค้าจากคู่แข่ง สินค้ามีคุณภาพดี ส่วนข้อเสียเปรียบและเป็นปัญหา ซึ่งปัญหานั้นมีทั้งที่มาจากทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเวียดนาม คือ (1) ค่าขนส่งทางทะเลของไทยมีราคาสูง (2) สินค้าที่มีการลักลอบสินค้าผ่านแดนเป็นสินค้าไม่มีคุณภาพ และมักมีผู้นิยมปลอมแปลงสินค้าไทยในเวียดนาม ทำให้ในระยะยาวผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในสินค้าไทย (3) สินค้าไทยและเวียดนามที่ผลิตได้ใกล้เคียงกัน (4) การคืนภาษีอากรของไทยล่าช้า ทำให้ผู้ส่งออกขาดสภาพคล่อง (4) ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ด้านการส่งออก (5) การแข่งขันทางการค้าในเวียดนามสูงขึ้น (6) ระบบการเงินของธนาคารในเวียดนามไม่น่าเชื่อถือ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำการค้าด้วย (7) นักธุรกิจไทยขาดข้อมูลการตลาดที่สำคัญ ทำให้เสียโอกาสในการทำธุรกิจร่วมกัน
สถิติการค้าต่างๆ ระหว่างไทย-เวียดนาม
ไทยกับเวียดนามไม่มีการค้าชายแดน เนื่องจากไม่มีชายแดนติดต่อกัน จะมีเพียงการค้าผ่านแดน โดยผ่านลาวและกัมพูชา โดยการลักลอบ และจากสถิติการลงทุนปี 2545 ไทยเป็นประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนในเวียดนามสูงเป็นอันดับ 11 จากผู้ลงทุนทั้งหมดและเป็นลำดับที่ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมีจำนวนโครงการลงทุนรวมทั้งสิ้น 101 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 1,099 ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งสำคัญที่มีการลงทุน ได้แก่เมืองสำคัญทางธุรกิจการค้าและเขตส่งเสริมการลงทุน เช่น นครโฮจิมินห์ ฮานอย ดองนาย และไฮฟอง โดยสาขาสำคัญที่มีการลงทุนจากนักธุรกิจไทย ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมด้านการเกษตร อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-