กรุงเทพ--22 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนกับเอกอัครรราชทูตแบบบูรณาการ (CEO) ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของไทย ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ ดังมีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เป้าหมายสำคัญของการประชุมครั้งนี้ คือ การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ และเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการ ซึ่งต่างก็มีหัวหน้าหน่วยราชการอื่นๆ จากส่วนกลางอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาทั้งในจังหวัดและสถานเอกอัครราชทูต ได้มีโอกาสมาพบปะหารือ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อที่จะได้สามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยเน้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมองภาพการต่างประเทศมากขึ้น และในขณะเดียวกันเอกอัครราชทูตก็ต้องมองภาพภายในประเทศมากขึ้นด้วยเช่นกัน
2. ทั้งนี้ ภายในกรอบความร่วมมือระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และเอกอัครราชทูต CEO นั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องรับทราบเรื่องนโยบายการต่างประเทศ และกรอบความร่วมมือและความตกลงระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ มากขึ้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลภายในจังหวัดของตนเองว่าจังหวัดของตนมีความพร้อมและความประสงค์อย่างไร อาทิ ต้องการให้จังหวัดของตนเองมีความเชื่อมโยงด้านอะไรกับประเทศไหน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเป็นผู้ที่ติดตามแนวนโยบายและการปฏิบัติของกรอบความร่วมมือต่างๆ ที่ไทยมีกับประเทศต่างๆ อาทิ ภายในกรอบความร่วมมือที่ระบุว่าต้องมีการลดภาษีสินค้าต่างๆ นั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องกำกับดูแลเรื่องกระบวนการลดภาษี และการค้าชายแดนในจังหวัดของตน ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และหากมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในพื้นที่ ก็สามารถหารือกับเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้ทันที ซึ่งถือเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาระดับปฏิบัติ
3. เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ เสนอว่า 1) ควรมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ อาทิ แบบพิธีทางการทูต และการจัดทำบันทึกความเข้าใจกับต่างประเทศ เป็นต้น 2) ควรมีเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศมาเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ประจำจังหวัด เพื่อช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องที่เกี่ยวข้อง อาทิ เมื่อมีกงสุลใหญ่ประเทศต่างๆ มาเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะสามารถให้ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นด้านนโยบายต่างประเทศแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ โดยในช่วงแรกอาจเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ประจำกลุ่มจังหวัดก่อน 3) นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ เสนอว่าการดำเนินการของจังหวัดกับต่างประเทศ อาทิ การสถาปนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศในระดับจังหวัด เช่น การสถาปนาความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง นั้น ต้องรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบด้วย เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงาน หากมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตัวบุคคล
4. ในกรณีเกิดปัญหาขึ้นในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องหารือกับเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้น เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาได้เลย โดยไม่ต้องรอการตัดสินใจในระดับรัฐบาล
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ด้วยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนกับเอกอัครรราชทูตแบบบูรณาการ (CEO) ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านของไทย ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่ ดังมีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. เป้าหมายสำคัญของการประชุมครั้งนี้ คือ การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ และเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการ ซึ่งต่างก็มีหัวหน้าหน่วยราชการอื่นๆ จากส่วนกลางอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาทั้งในจังหวัดและสถานเอกอัครราชทูต ได้มีโอกาสมาพบปะหารือ และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น เพื่อที่จะได้สามารถทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้ โดยเน้นให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมองภาพการต่างประเทศมากขึ้น และในขณะเดียวกันเอกอัครราชทูตก็ต้องมองภาพภายในประเทศมากขึ้นด้วยเช่นกัน
2. ทั้งนี้ ภายในกรอบความร่วมมือระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และเอกอัครราชทูต CEO นั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องรับทราบเรื่องนโยบายการต่างประเทศ และกรอบความร่วมมือและความตกลงระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ มากขึ้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องเป็นผู้ให้ข้อมูลภายในจังหวัดของตนเองว่าจังหวัดของตนมีความพร้อมและความประสงค์อย่างไร อาทิ ต้องการให้จังหวัดของตนเองมีความเชื่อมโยงด้านอะไรกับประเทศไหน เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเป็นผู้ที่ติดตามแนวนโยบายและการปฏิบัติของกรอบความร่วมมือต่างๆ ที่ไทยมีกับประเทศต่างๆ อาทิ ภายในกรอบความร่วมมือที่ระบุว่าต้องมีการลดภาษีสินค้าต่างๆ นั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องกำกับดูแลเรื่องกระบวนการลดภาษี และการค้าชายแดนในจังหวัดของตน ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และหากมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในพื้นที่ ก็สามารถหารือกับเอกอัครราชทูตไทย ประจำประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้ทันที ซึ่งถือเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาระดับปฏิบัติ
3. เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ เสนอว่า 1) ควรมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ อาทิ แบบพิธีทางการทูต และการจัดทำบันทึกความเข้าใจกับต่างประเทศ เป็นต้น 2) ควรมีเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศมาเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ประจำจังหวัด เพื่อช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องที่เกี่ยวข้อง อาทิ เมื่อมีกงสุลใหญ่ประเทศต่างๆ มาเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะสามารถให้ข้อมูลหรือข้อคิดเห็นด้านนโยบายต่างประเทศแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ โดยในช่วงแรกอาจเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ประจำกลุ่มจังหวัดก่อน 3) นอกจากนี้ ดร. สุรเกียรติ์ฯ เสนอว่าการดำเนินการของจังหวัดกับต่างประเทศ อาทิ การสถาปนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศในระดับจังหวัด เช่น การสถาปนาความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง นั้น ต้องรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบด้วย เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการทำงาน หากมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายตัวบุคคล
4. ในกรณีเกิดปัญหาขึ้นในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องหารือกับเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้น เพื่อจะได้สามารถแก้ปัญหาได้เลย โดยไม่ต้องรอการตัดสินใจในระดับรัฐบาล
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-