แท็ก
ตลาดหลักทรัพย์
1.ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน
-ผลประกอบการ
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีผลประกอบการอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยยอดขายขยายตัวร้อยละ 18 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และความสามารถทำกำไรซึ่งแสดงโดยอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.2 จากร้อยละ 9.7 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน
เมื่อพิจารณาอัตรากำไรสุทธิเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนของกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่ม (จัดประเภทตาม International Standard Industrial Classification หรือ ISIC) พบว่า กลุ่มการผลิตเพิ่มเป็นร้อยละ 40.1 จากร้อยละ 30 กลุ่มพาณิชย์เพิ่มเป็นร้อยละ 6.7 จากร้อยละ 5.8 และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเพิ่มเป็นร้อยละ 17.4 จากร้อยละ 1.7 ในขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ร้อยละ 3.7 เทียบกับร้อยละ 4.6
-การปรับตัวทางการเงิน
บริษัทจดทะเบียนฯ มีโครงสร้างทางการเงินที่มีคุณภาพมากขึ้น แสดงได้จากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio หรือ D/E)ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ค่า D/E ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 1.33 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตเศรษฐกิจที่ 1.7 เท่า ส่วนหนึ่งเพราะบริษัทจดทะเบียน ฯ มีผลประกอบการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นมีกำไรสะสม (Retained Earnings) เพิ่มขึ้นจนสามารถล้างขาดทุนสะสมได้หมด อีกทั้งได้มีการระดมทุนเพิ่มขึ้นด้วย
-แนวโน้มการลงทุน
บริษัทจดทะเบียน ฯ ในกลุ่มการผลิตมีสัญญาณการลงทุนที่ค่อนข้างชัดเจน สะท้อนจากการสะสมทรัพย์สินถาวรอยางต่อเนื่องนับจากต้นปี 2546
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ-/-ดพ-
-ผลประกอบการ
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีผลประกอบการอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยยอดขายขยายตัวร้อยละ 18 จากไตรมาสเดียวกันปีก่อน และความสามารถทำกำไรซึ่งแสดงโดยอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 11.2 จากร้อยละ 9.7 ในไตรมาสเดียวกันปีก่อน
เมื่อพิจารณาอัตรากำไรสุทธิเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนของกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก 4 กลุ่ม (จัดประเภทตาม International Standard Industrial Classification หรือ ISIC) พบว่า กลุ่มการผลิตเพิ่มเป็นร้อยละ 40.1 จากร้อยละ 30 กลุ่มพาณิชย์เพิ่มเป็นร้อยละ 6.7 จากร้อยละ 5.8 และกลุ่มรับเหมาก่อสร้างเพิ่มเป็นร้อยละ 17.4 จากร้อยละ 1.7 ในขณะที่กลุ่มอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ร้อยละ 3.7 เทียบกับร้อยละ 4.6
-การปรับตัวทางการเงิน
บริษัทจดทะเบียนฯ มีโครงสร้างทางการเงินที่มีคุณภาพมากขึ้น แสดงได้จากอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio หรือ D/E)ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2547 ค่า D/E ปรับตัวลดลงเหลือเพียง 1.33 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนวิกฤตเศรษฐกิจที่ 1.7 เท่า ส่วนหนึ่งเพราะบริษัทจดทะเบียน ฯ มีผลประกอบการดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ส่วนผู้ถือหุ้นมีกำไรสะสม (Retained Earnings) เพิ่มขึ้นจนสามารถล้างขาดทุนสะสมได้หมด อีกทั้งได้มีการระดมทุนเพิ่มขึ้นด้วย
-แนวโน้มการลงทุน
บริษัทจดทะเบียน ฯ ในกลุ่มการผลิตมีสัญญาณการลงทุนที่ค่อนข้างชัดเจน สะท้อนจากการสะสมทรัพย์สินถาวรอยางต่อเนื่องนับจากต้นปี 2546
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชบ-/-ดพ-