กรุงเทพ--3 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC ขึ้นที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยภายหลังการประชุมดังกล่าว นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อสื่อมวลชน ที่กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เพิ่งเสร็จสิ้นในบ่ายวันนี้ มีประเด็นหลักสำคัญ คือ ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าของความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว พลังงาน เทคโนโลยี ประมง การขนส่ง และคมนาคม โดยที่ประชุมได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเตรียมการประชุมระดับผู้นำ BIMST-EC ในวันพรุ่งนี้ ทั้งในเรื่องระเบียบวาระการประชุมของระดับ ผู้นำ ซึ่งจะเป็นการประชุมในรูปแบบ Retreat เฉพาะผู้นำบวกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น โดยจะเปิดให้ผู้นำได้หารือกันอย่างกว้างขวางทั้งในด้านการทบทวนความร่วมมือที่ได้ดำเนินการระหว่างกันมา และการแสวงหาแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต จึงไม่มีการวางระเบียบวาระการประชุมที่เป็นลักษณะรายละเอียดมาก เพื่อเป็นการเปิดกว้างและให้ผู้นำได้แสดงวิสัยทัศน์
2. ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเอกสารปฏิญญากรุงเทพฯ อันจะเป็นผลจากการประชุมระดับผู้นำของวันพรุ่งนี้เพื่อให้ผู้นำประเทศสมาชิกรับรอง โดยต่อจากนั้น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะแถลงข่าวและสรุปสาระสำคัญอันเป็นผลจากการประชุม ระดับผู้นำ
3. ส่วนความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC จะเน้นสาขาใดบ้างนั้น นอกจากความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกันที่ได้มีการลงนามไปแล้วเพื่อให้การเจรจาที่จะเริ่มขึ้นสามารถดำเนินการได้ตามกำหนดระยะเวลา ยังได้มีการหารือกันในเรื่องการเชื่อมเส้นทางคมนาคมระหว่างกัน และการสื่อสารระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อการส่งเสริมด้านการค้าและการท่องเที่ยว รวมทั้งการเชื่อมเส้นทางถนน และยังได้มีการหารือถึงความร่วมมือในสาขาพลังงาน สาขาการท่องเที่ยว รวมทั้งสาขาประมง ตลอดจนได้มีการหารือถึงบทบาทของภาคเอกชนภายใต้กรอบของ BIMST-EC ในด้านต่างๆ เพื่อให้มีความร่วมมือที่รวดเร็วขึ้น
4. นอกจากการหารือระดับผู้นำในวันพรุ่งนี้ซึ่งจะเน้นประเด็นหลักในเรื่องปฏิญญากรุงเทพฯ แล้ว ผู้นำต่างๆ คงจะได้มีการหารือกันในเรื่องปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาโรคระบาดร้ายแรงรวมทั้ง HIV/AIDS และการเน้นโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน
5. ในอีกประเด็นซึ่งจะมีการหารือกันในระดับผู้นำก็คือ ประเด็นชื่อของ BIMST-EC เพราะขณะนี้เป็นการใช้ตัวอักษรตัวแรกของแต่ละประเทศมาตั้งชื่อขององค์กรหรือกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งยังไม่ได้รวมสมาชิกใหม่อีก 2 ประเทศ ได้แก่ เนปาล และภูฏาน โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่ จะใช้หลักชื่อประเทศหรือหลักภูมิศาสตร์อย่างไร ก็คงต้องติดตามดูผลการหารือของการประชุมระดับผู้นำ ทั้งนี้ ทุกฝ่ายต่างเห็นว่าชื่อ BIMST-EC เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว และมีความเป็นไปได้ที่อาจจะดัดแปลงชื่อเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมาชิกภาพของ BIMST-EC ก็เป็นได้ อีกประเด็นก็คือความถี่ของการจัดประชุมระดับผู้นำว่าจะเป็นปีละครั้ง หรือ 2-3 ปีต่อครั้ง
6. ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีในวันนี้ ทุกฝ่ายต่างเห็นว่าความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC มีความคืบหน้า แต่แม้จะมาถึงจุดนี้ทุกฝ่ายยังคงต้องใช้ความพยายามต่อไปเพื่อยกระดับให้เข้มข้นมากขึ้นและมีระดับที่สูงขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งนี้ ได้มีการหารือกันถึงการเน้นเรื่องสำคัญที่ควรเดินหน้าต่อไป เช่น ประเด็นเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งจะเริ่มการเจรจาในรายละเอียดในเดือนกันยายนศกนี้ โดยจะสิ้นสุดการเจรจาในเดือนธันวาคมศกหน้า การเชื่อมเส้นทางคมนาคมซึ่งขณะนี้มีโครงการเชื่อมเส้นทางถนน 2 โครงการ กล่าวคือ (1) เส้นทางไทย-พม่า-อินเดีย ซึ่งได้มีการหารือในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไป รอบหนึ่งแล้ว และ (2) เส้นทางไทย-พม่า-บังกลาเทศ ซึ่งบังกลาเทศให้ความสำคัญและเสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่เทคนิค การพัฒนาการเดินเรือซึ่งมีโครงการอยู่แล้วกล่าวคือการเดินเรือระหว่างกันตามแนวชายฝั่งรอบอ่าวเบงกอล เพื่อการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมด้านการค้า
7. ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเห็นว่า ควรมีการศึกษาให้มากขึ้นในความร่วมมือด้าน Biotechnology โดยเฉพาะด้านสมุนไพร เนื่องจากประเทศในภูมิภาคแถบนี้มี ศักยภาพอย่างมากในการใช้สมุนไพรผลิตเป็นยารักษาโรค รวมทั้งการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาต่อยาสมุนไพรเหล่านี้ด้วย โดยยกตัวอย่างความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในการค้นคว้าเรื่องยาต่อต้านเชื้อโรคเอดส์ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยกขึ้นหารือเมื่อเช้านี้ ซึ่งประเทศใน ภูมิภาคแถบนี้ก็ควรมีความร่วมมือในลักษณะนี้ด้วย ซึ่งในเรื่องยาสมุนไพรศรีลังกาได้เสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระดับเทคนิคโดยเร็วที่สุด 8. นอกจากนี้ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ไปศึกษาว่า BIMST-EC ควรจะก้าวต่อไปอย่างไร และควรจะยกระดับความร่วมมือระหว่างกันอย่างไร โดยให้ทาง SOM มองในภาพรวมทั้งหมดของ BIMST-EC
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC ขึ้นที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยภายหลังการประชุมดังกล่าว นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อสื่อมวลชน ที่กระทรวงการต่างประเทศ ดังนี้
1. การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่เพิ่งเสร็จสิ้นในบ่ายวันนี้ มีประเด็นหลักสำคัญ คือ ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าของความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC ในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว พลังงาน เทคโนโลยี ประมง การขนส่ง และคมนาคม โดยที่ประชุมได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเตรียมการประชุมระดับผู้นำ BIMST-EC ในวันพรุ่งนี้ ทั้งในเรื่องระเบียบวาระการประชุมของระดับ ผู้นำ ซึ่งจะเป็นการประชุมในรูปแบบ Retreat เฉพาะผู้นำบวกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น โดยจะเปิดให้ผู้นำได้หารือกันอย่างกว้างขวางทั้งในด้านการทบทวนความร่วมมือที่ได้ดำเนินการระหว่างกันมา และการแสวงหาแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต จึงไม่มีการวางระเบียบวาระการประชุมที่เป็นลักษณะรายละเอียดมาก เพื่อเป็นการเปิดกว้างและให้ผู้นำได้แสดงวิสัยทัศน์
2. ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเอกสารปฏิญญากรุงเทพฯ อันจะเป็นผลจากการประชุมระดับผู้นำของวันพรุ่งนี้เพื่อให้ผู้นำประเทศสมาชิกรับรอง โดยต่อจากนั้น พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะแถลงข่าวและสรุปสาระสำคัญอันเป็นผลจากการประชุม ระดับผู้นำ
3. ส่วนความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC จะเน้นสาขาใดบ้างนั้น นอกจากความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกันที่ได้มีการลงนามไปแล้วเพื่อให้การเจรจาที่จะเริ่มขึ้นสามารถดำเนินการได้ตามกำหนดระยะเวลา ยังได้มีการหารือกันในเรื่องการเชื่อมเส้นทางคมนาคมระหว่างกัน และการสื่อสารระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อการส่งเสริมด้านการค้าและการท่องเที่ยว รวมทั้งการเชื่อมเส้นทางถนน และยังได้มีการหารือถึงความร่วมมือในสาขาพลังงาน สาขาการท่องเที่ยว รวมทั้งสาขาประมง ตลอดจนได้มีการหารือถึงบทบาทของภาคเอกชนภายใต้กรอบของ BIMST-EC ในด้านต่างๆ เพื่อให้มีความร่วมมือที่รวดเร็วขึ้น
4. นอกจากการหารือระดับผู้นำในวันพรุ่งนี้ซึ่งจะเน้นประเด็นหลักในเรื่องปฏิญญากรุงเทพฯ แล้ว ผู้นำต่างๆ คงจะได้มีการหารือกันในเรื่องปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาโรคระบาดร้ายแรงรวมทั้ง HIV/AIDS และการเน้นโครงการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน
5. ในอีกประเด็นซึ่งจะมีการหารือกันในระดับผู้นำก็คือ ประเด็นชื่อของ BIMST-EC เพราะขณะนี้เป็นการใช้ตัวอักษรตัวแรกของแต่ละประเทศมาตั้งชื่อขององค์กรหรือกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งยังไม่ได้รวมสมาชิกใหม่อีก 2 ประเทศ ได้แก่ เนปาล และภูฏาน โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหรือไม่ จะใช้หลักชื่อประเทศหรือหลักภูมิศาสตร์อย่างไร ก็คงต้องติดตามดูผลการหารือของการประชุมระดับผู้นำ ทั้งนี้ ทุกฝ่ายต่างเห็นว่าชื่อ BIMST-EC เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว และมีความเป็นไปได้ที่อาจจะดัดแปลงชื่อเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมาชิกภาพของ BIMST-EC ก็เป็นได้ อีกประเด็นก็คือความถี่ของการจัดประชุมระดับผู้นำว่าจะเป็นปีละครั้ง หรือ 2-3 ปีต่อครั้ง
6. ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีในวันนี้ ทุกฝ่ายต่างเห็นว่าความร่วมมือในกรอบ BIMST-EC มีความคืบหน้า แต่แม้จะมาถึงจุดนี้ทุกฝ่ายยังคงต้องใช้ความพยายามต่อไปเพื่อยกระดับให้เข้มข้นมากขึ้นและมีระดับที่สูงขึ้นในทุกๆ ด้าน ทั้งนี้ ได้มีการหารือกันถึงการเน้นเรื่องสำคัญที่ควรเดินหน้าต่อไป เช่น ประเด็นเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งจะเริ่มการเจรจาในรายละเอียดในเดือนกันยายนศกนี้ โดยจะสิ้นสุดการเจรจาในเดือนธันวาคมศกหน้า การเชื่อมเส้นทางคมนาคมซึ่งขณะนี้มีโครงการเชื่อมเส้นทางถนน 2 โครงการ กล่าวคือ (1) เส้นทางไทย-พม่า-อินเดีย ซึ่งได้มีการหารือในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไป รอบหนึ่งแล้ว และ (2) เส้นทางไทย-พม่า-บังกลาเทศ ซึ่งบังกลาเทศให้ความสำคัญและเสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่เทคนิค การพัฒนาการเดินเรือซึ่งมีโครงการอยู่แล้วกล่าวคือการเดินเรือระหว่างกันตามแนวชายฝั่งรอบอ่าวเบงกอล เพื่อการอำนวยความสะดวกและส่งเสริมด้านการค้า
7. ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเห็นว่า ควรมีการศึกษาให้มากขึ้นในความร่วมมือด้าน Biotechnology โดยเฉพาะด้านสมุนไพร เนื่องจากประเทศในภูมิภาคแถบนี้มี ศักยภาพอย่างมากในการใช้สมุนไพรผลิตเป็นยารักษาโรค รวมทั้งการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาต่อยาสมุนไพรเหล่านี้ด้วย โดยยกตัวอย่างความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนในการค้นคว้าเรื่องยาต่อต้านเชื้อโรคเอดส์ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ยกขึ้นหารือเมื่อเช้านี้ ซึ่งประเทศใน ภูมิภาคแถบนี้ก็ควรมีความร่วมมือในลักษณะนี้ด้วย ซึ่งในเรื่องยาสมุนไพรศรีลังกาได้เสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระดับเทคนิคโดยเร็วที่สุด 8. นอกจากนี้ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรียังได้มอบหมายให้ที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ไปศึกษาว่า BIMST-EC ควรจะก้าวต่อไปอย่างไร และควรจะยกระดับความร่วมมือระหว่างกันอย่างไร โดยให้ทาง SOM มองในภาพรวมทั้งหมดของ BIMST-EC
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-