กรุงเทพ--3 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ฯพณฯ ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
ฯพณฯ รัฐมนตรี
แขกผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่จะต้อนรับทุกท่านที่เข้าร่วมการประชุมผู้นำบิมสเทคครั้งที่หนึ่งและครั้งประวัติศาสตร์นี้ ข้าพเจ้ายิ่งมีความยินดีที่ความริเริ่มซึ่งเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ได้เติบโตมาถึงจุดนี้ ที่มีสมาชิกเพิ่มเป็น 7 ประเทศและผู้นำของประเทศสมาชิกทั้ง 7 ก็ได้มาร่วมประชุมกันเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพ ฯ อีกเช่นกัน
ในปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกรอบนี้ และได้มีการเปลี่ยนชื่อจากบิสเทค (BIST-EC) เป็นบิมสเทค (BIMST-EC) ในปีเดียวกัน ทุกฝ่ายมีจุดมุ่งหมายให้กรอบความร่วมมือนี้เป็นสะพานเชื่อมเอเซียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน และเป็นที่รวบรวมพลวัตรและศักยภาพของทั้งสองภูมิภาค และวันนี้เราจะได้เห็นรากฐานอันมั่นคงของสะพานแห่งนี้ได้รับการเสริมความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นอีก
ในปีที่กลุ่มของเราก่อตั้งขึ้นวิกฤตเศรษฐกิจได้โถมกระหน่ำเอเชีย และส่งผลกระทบไปทั่วโลก และโอกาสในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็ยังไม่มีความแน่นอน รูปแบบการพัฒนาของเอเชียในสายตาของหลายๆ คนได้เปลี่ยนจากปาฏิหาริย์ไปเป็นภาพลวงตา แนวทางการแก้ไขปัญหาในแบบฉบับสถาบันการเงินได้ถูกกำหนดเป็นแม่บทใหม่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศที่กำลังต่อสู้เพื่อให้พ้นจากวิกฤตนั้น
หกปีต่อมา ทิศทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ได้ฟื้นตัวจากวิกฤตแล้ว พร้อมกับได้ความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นจากบทเรียนที่ได้มาด้วยความยากลำบาก เราได้เรียนรู้ว่าปรัชญาเศรษฐศาสตร์ที่ยอมรับกันทั่วไปไม่ได้ถูกต้องหรือมีความเหมาะสมเสมอไป และการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดยังคงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แม้ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการเกี่ยวโยงและพึ่งพาซึ่งกันและกันที่ซับซ้อนนี้
เพียงหกปีภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 การเริ่มต้นของศตวรรษใหม่ของเอเชียได้กลายมาเป็นเรื่องที่กล่าวขวัญถึงอีกครั้ง แต่ครั้งนี้อินเดียได้เข้าสู่สมการนี้อย่างเต็มภาคภูมิ Jeffrey Sachs ได้คาดการณ์ไว้ในนิตยสารฟอร์จูนเมื่อต้นปีนี้ว่า ขนาดเศรษฐกิจของจีนจะสามารถเติบโตจนแซงหน้าเศรษฐกิจอเมริกาได้ในปี 2593 และในขณะเดียวกันนั้น เศรษฐกิจอินเดียจะมีขนาดเทียบเท่ากับสหรัฐอเมริกา สัญญาณดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้ว ดังสะท้อนให้เห็นได้จากการที่บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ทั้งหลายไม่เพียงแต่ได้ย้ายฐานการผลิตมาสู่เอเชีย แต่ยังได้พึ่งพาการบริการในบางด้านของเอเชียด้วย ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้ไม่ได้ตกอยู่กับแต่กับเอเชียเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีถึงผู้บริโภคทั่วโลก ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกกำลังจับตามองมายังเอเชียและแสวงหาแนวทางที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับภูมิภาคให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
เป็นที่ชัดเจนว่าเอเชียกำลังเป็นผู้นำการฟื้นตัวของกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา แต่ทุกวันนี้ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนามิได้เป็นเพียงการประณามความอยุติธรรมของเศรษฐกิจโลกเท่านั้น นิยามของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาของเราจำเป็นต้องถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมในทางปฏิบัติ โดยไม่ถูกผูกติดไว้กับความคิดดั้งเดิม ความสำเร็จของเราในความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในรูปแบบใหม่จำเป็นต้องได้รับการผลักดันด้วยการลงมือปฏิบัติร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เราสามารถที่จะเผชิญกับสิ่งท้าทายและโอกาสที่จะมาพร้อมกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ในลักษณะที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง
พวกเราต้องนำแนวทางที่กล่าวถึงนี้มาสู่บิมสเทค บิมสเทคมีความโดดเด่นอยู่แล้วในฐานะที่เป็นเพียงกรอบความร่วมมือเพียงกรอบเดียวที่เชื่อมเอเชียใต้เข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ประเทศในกลุ่มบิมสเทคทำให้เห็นแล้วว่าประเทศจากสองภูมิภาคบนทวีปของเรา แม้จะแตกต่างกันในด้านต่างๆ ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้เสมือนเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ในบิมสเทคการมีความร่วมมือระหว่างกันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จเพราะมีพื้นฐานอยู่บนความสร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ความร่วมมือในบิมสเทคยังแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดของความร่วมมือ คือการมีความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันในด้านการพัฒนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรือง
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เราได้มีการเริ่มต้นที่ดีในการที่จะนำไปสู่การสร้างเขตการค้าเสรีบิมสเทคด้วยการลงนามในกรอบความตกลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และการที่บังกลาเทศก็ได้เข้าเป็นภาคีเมื่อเดือนที่แล้ว แม้กระนั้น ยังคงมีปัญหาที่เราเผชิญอยู่ จากช่วงที่บิมสเทคก่อตั้งขึ้นจนถึงทุกวันนี้ เช่น การบรรเทาภาวะความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน พวกเรายังคงให้ความสำคัญกับสาขาความร่วมมือที่จะยกระดับของความสามารถในการแข่งขันของพวกเราให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว การคมนาคมและการสื่อสาร การประมง พลังงาน และ เทคโนโลยี และพวกเราจะต้องมุ่งมั่นเพื่อให้มีการดำเนินการในสาขาความร่วมมือนี้ต่อไป
ดังนั้น ฯพณฯ ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล การประชุมของเราในวันนี้จึงมีขึ้นในจังหวะที่เหมาะสม ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เรามาประชุมกันวันนี้ เพราะในฐานะผู้นำเราต่างตระหนักถึงพันธะผูกพันที่เรามีร่วมกันต่อประชาชน ในฐานะผู้นำเราประสงค์ให้เจตนารมย์ทางการเมืองทำให้พันธะผูกพันของเราเป็นความจริงขึ้นมา เรามาประชุมในวันนี้ เพราะในฐานะผู้นำเราสามารถมองเห็นถึงคลื่นการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่ศตวรรษของเอเชีย และเราต้องฉวยโอกาสจากความเปลี่ยนแปลงนี้ การมาพบกันวันนี้ทั้งผู้นำและทุกท่านในที่นี้มีความคาดหวังอย่างสูงที่จะมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และต้องการให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความก้าวหน้าสำหรับทุกประเทศในกลุ่มของเรา
เมื่อเรามองกลับมายังตัวของเราเองแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าผลการพัฒนาโดยรวมทางด้านเศรษฐกิจของบิมสเทคไม่อยู่ในกลุ่มที่อยู่แถวหน้าในโลก นั่นเป็นเรื่องที่รู้กันดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่อันตรายคือ หากปล่อยให้เวลาผ่านไปอาจทำให้เรามีความเคยชินกับการอยู่อันดับท้ายๆ
เราจะต้องไม่จมอยู่กับที่อย่างแน่นอน เราต้องมองไปที่จุดสูงสุดเพื่อหาหนทางขึ้นไปสู่จุดนั้น ถึงจะไกลเพียงใดเราจะไปให้ถึงจุดนั้น ดังเช่นในการแข่งขัน นักวิ่งใหม่จะได้เปรียบจากก้าวที่ยาวและเร็วกว่าเสมอ ในการพัฒนาก็เช่นเดียวกัน จากจุดที่เราอยู่ขณะนี้ก็เปรียบเสมือนนักวิ่งใหม่ เราจึงมีโอกาสที่จะเติบโตมากกว่าและเร็วกว่า ขอเพียงแค่เรามีความมุ่งมั่น ขอเพียงแค่เรามีวิถีทาง ดังนั้น เราจึงต้องค้นหาในบิมสเทคทั้งความมุ่งมั่นและวิถีทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เราต้องค้นหาในบิมสเทคทั้งความมุ่งมั่น และวิถีทางที่จะเติบโตไปด้วยกันอย่างรวดเร็วสู่ความสำเร็จร่วมกัน
ในการเติบโตไปด้วยกันนั้น เราจำเป็นต้องใช้ความชาญฉลาดในการย่างก้าวให้ทันกับโลกาภิวัตน์ ต้องเปิดกว้างกับความเป็นไปได้ต่างๆ ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและกลไกตลาด เราต้องส่งเสริมให้การเมืองเกื้อหนุนต่อการเพิ่มพลังให้กับสังคมในระดับรากหญ้า โดยให้อำนาจแก่พวกเขาที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ของเราจะเกิดประโยชน์เพียงน้อยนิดหากเราขาดความชาญฉลาดด้านการบริหารจัดการ เราต้องสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่มีอยู่ และมีความชัดเจนในการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด
ตัวอย่างเช่น ในการต่อสู้กับ HIV/AIDS ไทยทำงานอย่างใกล้ชิดกับจีนในการพัฒนาการรักษาโรคเอดส์ด้วยสมุนไพรในราคาที่ไม่สูงนัก โดยอาศัยความสมบูรณ์ในความหลากหลายทางชีวภาพของเราเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาที่มาจากธรรมชาติ การบำบัดรักษาโดยการใช้ส่วนประกอบ SH ของจีนร่วมกับ GPOvir ของไทยแสดงถึงความสำเร็จที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว เช่นเดียวกันอินเดียก็มีความก้าวหน้าในการต่อสู้กับโรคเอดส์อย่างมากก็สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพวกเราในที่นี้ได้เช่นกัน และประเทศอื่นๆ ก็สามารถนำทรัพยากรจากความหลากหลายทางชีวภาพมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้การบำบัดรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าแม้เราจะมีความหลากหลายแต่ถ้าเราสร้างความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างกันยิ่งขึ้น เราจะสามารถค้นหาความแข็งแกร่งจากความหลากหลายนั้นได้ และสามารถแปลงความด้อยไปสู่ความรุ่งเรืองได้ ในสายตาของประชาคมโลกบิมสเทคจะเป็นตัวอย่างของความก้าวหน้าในความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาแทนที่จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ ในจอเรดาร์ของโลก
ฯพณฯ ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล
ฯพณฯ รัฐมนตรี
แขกผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
เอกลักษณ์เฉพาะของบิมสเทคยังทำให้กลุ่มความร่วมมือนี้เป็นจุดเชื่อมต่อที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่มีขอบเขตกว้างขวางขึ้น เช่น โดยอาศัยในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ซึ่งได้มีการจัดการประชุมครั้งที่ 3 ไปเมื่อเร็วๆ นี้ที่เมืองชิงต่าวในประเทศจีน ACD เป็นแบบอย่างของความร่วมมือที่อาจเป็นประโยชน์ต่อบิมสเทค ACD มีวัตถุประสงค์ที่จะรวมเอาความแข็งแกร่งของเอเชียมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของเอเชียเอง ด้วยการดึงจุดแข็งจากความหลากหลายของประเทศสมาชิก ACD ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความร่วมมือที่สามารถปฏิบัติได้ผ่านกลไกการหารือระดับรัฐมนตรีที่จัดขึ้นทุกปีและโครงการร่วมต่างๆ โดยอาศัยวิธีการสร้างความร่วมมือในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป การเพิ่มพูนส่งเสริมระดับความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งการเน้นในสิ่งที่สามารถดำเนินการได้จริง ข้าพเจ้าจึงเห็นแนวทางดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำมาปรับใช้กับบิมสเทคได้
เพื่อเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายและใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่เหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งที่บิมสเทคจะต้องสร้างความแข็งแกร่งจากภายในก่อน ในการนี้ ข้าพเจ้ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่รับทราบว่าศูนย์บิมสเทค (BIMST-EC Center) ซึ่งเป็นศูนย์อำนวยความสะดวกทางด้านเทคนิคสำหรับการทำงานของบิมสเทค ได้เปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่นี้ โดยการเสนอให้จัดตั้งและจัดสรรงบประมาณให้ศูนย์ดังกล่าวในระยะทดลองเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่เราจะพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะจัดตั้งให้เป็นสำนักเลขาธิการแบบถาวรต่อไป ข้าพเจ้าหวังว่าสมาชิกแต่ละประเทศจะใช้ประโยชน์จากการให้บริการของศูนย์ดังกล่าว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
โลกได้เปลี่ยนไปมากจนสิ่งต่างๆ ที่เคยใช้งานได้ในอดีต อาจไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้ต่อไปแล้ว ความร่วมมือของเราภายใต้บิมสเทคจำเป็นต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งในบริบทของภูมิภาคและของโลก และความต้องการและจุดแข็งของเราเองที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่บิมสเทคได้เริ่มต้นทำไปนับว่าน้อยนิด เมื่อเทียบกับขีดความสามารถที่บิมสเทคมีอยู่
ในการประชุมผู้นำครั้งแรกนี้เป็นโอกาสสำหรับเราในการที่จะเร่งให้บิมสเทคสามารถก้าวไปได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่ฉับไวในโลก ด้วยจำนวนประชากรเกือบหนึ่งในสี่ของโลกบิมสเทคมีศักยภาพที่ทำให้บทบาทของกลุ่มเป็นที่ยอมรับไปกว้างไกลเกินกว่าในเอเชีย ความสำเร็จนี้ขึ้นอยู่กับเราที่จะสามารถคว้าโอกาสนี้ เพื่อที่จะทำงานร่วมกัน ในการนำสิ่งที่ดีที่สุดที่เรามีออกมา และเป็นในสิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะเป็นได้ ด้วยเจตจำนงค์ที่มีร่วมกันในการเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ เราจะสามารถสร้างอนาคตที่ดีขึ้นให้กับชีวิตของประชาชนเราได้
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ฯพณฯ ประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
ฯพณฯ รัฐมนตรี
แขกผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและยินดีอย่างยิ่งที่จะต้อนรับทุกท่านที่เข้าร่วมการประชุมผู้นำบิมสเทคครั้งที่หนึ่งและครั้งประวัติศาสตร์นี้ ข้าพเจ้ายิ่งมีความยินดีที่ความริเริ่มซึ่งเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ได้เติบโตมาถึงจุดนี้ ที่มีสมาชิกเพิ่มเป็น 7 ประเทศและผู้นำของประเทศสมาชิกทั้ง 7 ก็ได้มาร่วมประชุมกันเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพ ฯ อีกเช่นกัน
ในปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่ก่อตั้งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกรอบนี้ และได้มีการเปลี่ยนชื่อจากบิสเทค (BIST-EC) เป็นบิมสเทค (BIMST-EC) ในปีเดียวกัน ทุกฝ่ายมีจุดมุ่งหมายให้กรอบความร่วมมือนี้เป็นสะพานเชื่อมเอเซียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน และเป็นที่รวบรวมพลวัตรและศักยภาพของทั้งสองภูมิภาค และวันนี้เราจะได้เห็นรากฐานอันมั่นคงของสะพานแห่งนี้ได้รับการเสริมความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นอีก
ในปีที่กลุ่มของเราก่อตั้งขึ้นวิกฤตเศรษฐกิจได้โถมกระหน่ำเอเชีย และส่งผลกระทบไปทั่วโลก และโอกาสในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็ยังไม่มีความแน่นอน รูปแบบการพัฒนาของเอเชียในสายตาของหลายๆ คนได้เปลี่ยนจากปาฏิหาริย์ไปเป็นภาพลวงตา แนวทางการแก้ไขปัญหาในแบบฉบับสถาบันการเงินได้ถูกกำหนดเป็นแม่บทใหม่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศที่กำลังต่อสู้เพื่อให้พ้นจากวิกฤตนั้น
หกปีต่อมา ทิศทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไป ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ได้ฟื้นตัวจากวิกฤตแล้ว พร้อมกับได้ความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นจากบทเรียนที่ได้มาด้วยความยากลำบาก เราได้เรียนรู้ว่าปรัชญาเศรษฐศาสตร์ที่ยอมรับกันทั่วไปไม่ได้ถูกต้องหรือมีความเหมาะสมเสมอไป และการช่วยตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดยังคงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แม้ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการเกี่ยวโยงและพึ่งพาซึ่งกันและกันที่ซับซ้อนนี้
เพียงหกปีภายหลังจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 การเริ่มต้นของศตวรรษใหม่ของเอเชียได้กลายมาเป็นเรื่องที่กล่าวขวัญถึงอีกครั้ง แต่ครั้งนี้อินเดียได้เข้าสู่สมการนี้อย่างเต็มภาคภูมิ Jeffrey Sachs ได้คาดการณ์ไว้ในนิตยสารฟอร์จูนเมื่อต้นปีนี้ว่า ขนาดเศรษฐกิจของจีนจะสามารถเติบโตจนแซงหน้าเศรษฐกิจอเมริกาได้ในปี 2593 และในขณะเดียวกันนั้น เศรษฐกิจอินเดียจะมีขนาดเทียบเท่ากับสหรัฐอเมริกา สัญญาณดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้ว ดังสะท้อนให้เห็นได้จากการที่บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ทั้งหลายไม่เพียงแต่ได้ย้ายฐานการผลิตมาสู่เอเชีย แต่ยังได้พึ่งพาการบริการในบางด้านของเอเชียด้วย ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้ไม่ได้ตกอยู่กับแต่กับเอเชียเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีถึงผู้บริโภคทั่วโลก ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกกำลังจับตามองมายังเอเชียและแสวงหาแนวทางที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับภูมิภาคให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
เป็นที่ชัดเจนว่าเอเชียกำลังเป็นผู้นำการฟื้นตัวของกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา แต่ทุกวันนี้ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนามิได้เป็นเพียงการประณามความอยุติธรรมของเศรษฐกิจโลกเท่านั้น นิยามของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาของเราจำเป็นต้องถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมในทางปฏิบัติ โดยไม่ถูกผูกติดไว้กับความคิดดั้งเดิม ความสำเร็จของเราในความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในรูปแบบใหม่จำเป็นต้องได้รับการผลักดันด้วยการลงมือปฏิบัติร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เราสามารถที่จะเผชิญกับสิ่งท้าทายและโอกาสที่จะมาพร้อมกับกระบวนการโลกาภิวัตน์ในลักษณะที่สร้างสรรค์อย่างแท้จริง
พวกเราต้องนำแนวทางที่กล่าวถึงนี้มาสู่บิมสเทค บิมสเทคมีความโดดเด่นอยู่แล้วในฐานะที่เป็นเพียงกรอบความร่วมมือเพียงกรอบเดียวที่เชื่อมเอเชียใต้เข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบคลุมอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ประเทศในกลุ่มบิมสเทคทำให้เห็นแล้วว่าประเทศจากสองภูมิภาคบนทวีปของเรา แม้จะแตกต่างกันในด้านต่างๆ ก็สามารถที่จะร่วมมือกันได้เสมือนเป็นประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน ในบิมสเทคการมีความร่วมมือระหว่างกันจะนำมาซึ่งผลสำเร็จเพราะมีพื้นฐานอยู่บนความสร้างสรรค์และเป็นรูปธรรม ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ความร่วมมือในบิมสเทคยังแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดของความร่วมมือ คือการมีความมุ่งมั่นและเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันในด้านการพัฒนาและการสร้างความเจริญรุ่งเรือง
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เราได้มีการเริ่มต้นที่ดีในการที่จะนำไปสู่การสร้างเขตการค้าเสรีบิมสเทคด้วยการลงนามในกรอบความตกลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และการที่บังกลาเทศก็ได้เข้าเป็นภาคีเมื่อเดือนที่แล้ว แม้กระนั้น ยังคงมีปัญหาที่เราเผชิญอยู่ จากช่วงที่บิมสเทคก่อตั้งขึ้นจนถึงทุกวันนี้ เช่น การบรรเทาภาวะความยากจนและการพัฒนาอย่างยั่งยืน พวกเรายังคงให้ความสำคัญกับสาขาความร่วมมือที่จะยกระดับของความสามารถในการแข่งขันของพวกเราให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว การคมนาคมและการสื่อสาร การประมง พลังงาน และ เทคโนโลยี และพวกเราจะต้องมุ่งมั่นเพื่อให้มีการดำเนินการในสาขาความร่วมมือนี้ต่อไป
ดังนั้น ฯพณฯ ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล การประชุมของเราในวันนี้จึงมีขึ้นในจังหวะที่เหมาะสม ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจที่เรามาประชุมกันวันนี้ เพราะในฐานะผู้นำเราต่างตระหนักถึงพันธะผูกพันที่เรามีร่วมกันต่อประชาชน ในฐานะผู้นำเราประสงค์ให้เจตนารมย์ทางการเมืองทำให้พันธะผูกพันของเราเป็นความจริงขึ้นมา เรามาประชุมในวันนี้ เพราะในฐานะผู้นำเราสามารถมองเห็นถึงคลื่นการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่ศตวรรษของเอเชีย และเราต้องฉวยโอกาสจากความเปลี่ยนแปลงนี้ การมาพบกันวันนี้ทั้งผู้นำและทุกท่านในที่นี้มีความคาดหวังอย่างสูงที่จะมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และต้องการให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความก้าวหน้าสำหรับทุกประเทศในกลุ่มของเรา
เมื่อเรามองกลับมายังตัวของเราเองแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าผลการพัฒนาโดยรวมทางด้านเศรษฐกิจของบิมสเทคไม่อยู่ในกลุ่มที่อยู่แถวหน้าในโลก นั่นเป็นเรื่องที่รู้กันดีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่อันตรายคือ หากปล่อยให้เวลาผ่านไปอาจทำให้เรามีความเคยชินกับการอยู่อันดับท้ายๆ
เราจะต้องไม่จมอยู่กับที่อย่างแน่นอน เราต้องมองไปที่จุดสูงสุดเพื่อหาหนทางขึ้นไปสู่จุดนั้น ถึงจะไกลเพียงใดเราจะไปให้ถึงจุดนั้น ดังเช่นในการแข่งขัน นักวิ่งใหม่จะได้เปรียบจากก้าวที่ยาวและเร็วกว่าเสมอ ในการพัฒนาก็เช่นเดียวกัน จากจุดที่เราอยู่ขณะนี้ก็เปรียบเสมือนนักวิ่งใหม่ เราจึงมีโอกาสที่จะเติบโตมากกว่าและเร็วกว่า ขอเพียงแค่เรามีความมุ่งมั่น ขอเพียงแค่เรามีวิถีทาง ดังนั้น เราจึงต้องค้นหาในบิมสเทคทั้งความมุ่งมั่นและวิถีทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เราต้องค้นหาในบิมสเทคทั้งความมุ่งมั่น และวิถีทางที่จะเติบโตไปด้วยกันอย่างรวดเร็วสู่ความสำเร็จร่วมกัน
ในการเติบโตไปด้วยกันนั้น เราจำเป็นต้องใช้ความชาญฉลาดในการย่างก้าวให้ทันกับโลกาภิวัตน์ ต้องเปิดกว้างกับความเป็นไปได้ต่างๆ ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและกลไกตลาด เราต้องส่งเสริมให้การเมืองเกื้อหนุนต่อการเพิ่มพลังให้กับสังคมในระดับรากหญ้า โดยให้อำนาจแก่พวกเขาที่จะกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรมนุษย์ของเราจะเกิดประโยชน์เพียงน้อยนิดหากเราขาดความชาญฉลาดด้านการบริหารจัดการ เราต้องสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพที่มีอยู่ และมีความชัดเจนในการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด
ตัวอย่างเช่น ในการต่อสู้กับ HIV/AIDS ไทยทำงานอย่างใกล้ชิดกับจีนในการพัฒนาการรักษาโรคเอดส์ด้วยสมุนไพรในราคาที่ไม่สูงนัก โดยอาศัยความสมบูรณ์ในความหลากหลายทางชีวภาพของเราเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของตัวยาที่มาจากธรรมชาติ การบำบัดรักษาโดยการใช้ส่วนประกอบ SH ของจีนร่วมกับ GPOvir ของไทยแสดงถึงความสำเร็จที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว เช่นเดียวกันอินเดียก็มีความก้าวหน้าในการต่อสู้กับโรคเอดส์อย่างมากก็สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพวกเราในที่นี้ได้เช่นกัน และประเทศอื่นๆ ก็สามารถนำทรัพยากรจากความหลากหลายทางชีวภาพมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อให้การบำบัดรักษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าเชื่อว่าแม้เราจะมีความหลากหลายแต่ถ้าเราสร้างความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างกันยิ่งขึ้น เราจะสามารถค้นหาความแข็งแกร่งจากความหลากหลายนั้นได้ และสามารถแปลงความด้อยไปสู่ความรุ่งเรืองได้ ในสายตาของประชาคมโลกบิมสเทคจะเป็นตัวอย่างของความก้าวหน้าในความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาแทนที่จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ ในจอเรดาร์ของโลก
ฯพณฯ ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล
ฯพณฯ รัฐมนตรี
แขกผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
เอกลักษณ์เฉพาะของบิมสเทคยังทำให้กลุ่มความร่วมมือนี้เป็นจุดเชื่อมต่อที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่มีขอบเขตกว้างขวางขึ้น เช่น โดยอาศัยในกรอบความร่วมมือเอเชีย (ACD) ซึ่งได้มีการจัดการประชุมครั้งที่ 3 ไปเมื่อเร็วๆ นี้ที่เมืองชิงต่าวในประเทศจีน ACD เป็นแบบอย่างของความร่วมมือที่อาจเป็นประโยชน์ต่อบิมสเทค ACD มีวัตถุประสงค์ที่จะรวมเอาความแข็งแกร่งของเอเชียมาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของเอเชียเอง ด้วยการดึงจุดแข็งจากความหลากหลายของประเทศสมาชิก ACD ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความร่วมมือที่สามารถปฏิบัติได้ผ่านกลไกการหารือระดับรัฐมนตรีที่จัดขึ้นทุกปีและโครงการร่วมต่างๆ โดยอาศัยวิธีการสร้างความร่วมมือในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป การเพิ่มพูนส่งเสริมระดับความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก รวมทั้งการเน้นในสิ่งที่สามารถดำเนินการได้จริง ข้าพเจ้าจึงเห็นแนวทางดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำมาปรับใช้กับบิมสเทคได้
เพื่อเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายและใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่เหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งที่บิมสเทคจะต้องสร้างความแข็งแกร่งจากภายในก่อน ในการนี้ ข้าพเจ้ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่รับทราบว่าศูนย์บิมสเทค (BIMST-EC Center) ซึ่งเป็นศูนย์อำนวยความสะดวกทางด้านเทคนิคสำหรับการทำงานของบิมสเทค ได้เปิดอย่างเป็นทางการไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่นี้ โดยการเสนอให้จัดตั้งและจัดสรรงบประมาณให้ศูนย์ดังกล่าวในระยะทดลองเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่เราจะพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะจัดตั้งให้เป็นสำนักเลขาธิการแบบถาวรต่อไป ข้าพเจ้าหวังว่าสมาชิกแต่ละประเทศจะใช้ประโยชน์จากการให้บริการของศูนย์ดังกล่าว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
โลกได้เปลี่ยนไปมากจนสิ่งต่างๆ ที่เคยใช้งานได้ในอดีต อาจไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้ต่อไปแล้ว ความร่วมมือของเราภายใต้บิมสเทคจำเป็นต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งในบริบทของภูมิภาคและของโลก และความต้องการและจุดแข็งของเราเองที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่บิมสเทคได้เริ่มต้นทำไปนับว่าน้อยนิด เมื่อเทียบกับขีดความสามารถที่บิมสเทคมีอยู่
ในการประชุมผู้นำครั้งแรกนี้เป็นโอกาสสำหรับเราในการที่จะเร่งให้บิมสเทคสามารถก้าวไปได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่ฉับไวในโลก ด้วยจำนวนประชากรเกือบหนึ่งในสี่ของโลกบิมสเทคมีศักยภาพที่ทำให้บทบาทของกลุ่มเป็นที่ยอมรับไปกว้างไกลเกินกว่าในเอเชีย ความสำเร็จนี้ขึ้นอยู่กับเราที่จะสามารถคว้าโอกาสนี้ เพื่อที่จะทำงานร่วมกัน ในการนำสิ่งที่ดีที่สุดที่เรามีออกมา และเป็นในสิ่งที่ดีที่สุดที่เราจะเป็นได้ ด้วยเจตจำนงค์ที่มีร่วมกันในการเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ เราจะสามารถสร้างอนาคตที่ดีขึ้นให้กับชีวิตของประชาชนเราได้
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-