ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. แนวโน้มเอ็นพีแอลมีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้อำนวยการสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีลูกหนี้ที่สถาบันการเงินได้ยื่นความจำนงมาเพื่อ
ให้ คปน.ช่วยทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 2,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้
ประมาณ 22,000 ล.บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายย่อยที่มียอดหนี้ต่ำกว่า 5 ล.บาท โดย คปน.จะดำเนิน
การให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด สำหรับแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยรวมมีทิศทางที่จะลด
ลงได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีเอ็นพีแอลเกิดใหม่บ้างประมาณ 30,000 ล.บาท เมื่อสิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
แต่ถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับอดีตที่มีอยู่ในระดับ 40,000 ล.บาท ส่วนเอ็นพีแอลที่มีการปรับปรุงโครงสร้าง
หนี้แล้วมีการไหลย้อนกลับ (Re-entry) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสแรกปี 47 ประมาณ 10,000 ล.บาท
หรือประมาณเดือนละ 3,000 ล.บาท ซึ่งไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติที่เมื่อมีการปล่อยสินเชื่อย่อมมีเอ็นพีแอลเกิดขึ้น
บ้าง (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. เดือน มิ.ย.47 ดัชนีอุตสาหกรรมค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อน ผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย.47 โดยทำการ
สำรวจจาก 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการขนาด
ใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) พบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 136.47
จุด ทรงตัวจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 136.94 จุด แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.08% ขณะ
ที่ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 128.78 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 131.40 หรือ
ลดลง 2.49% ทั้งนี้ สาเหตุที่ดัชนีภาพรวมค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากในเดือน พ.ค.47 แรงซื้อค่อนข้างสูงมาก
โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากเป็นช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร ทำให้แรงซื้อ
ในเดือน มิ.ย.แผ่วลง ประกอบกับในหลายอุตสาหกรรมมีการผลิตสต็อกไว้จำนวนมาก (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้น 0.1% เทียบต่อเดือน ปลัด ก.พาณิชย์ เปิด
เผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือน ก.ค.47 ว่าอยู่ที่ระดับ 109.2 เพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคา
สินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม 0.3% โดยสินค้าที่ราคาสูงขึ้นคือ น้ำมันเบนซิน เนื่องจาก
รัฐบาลปรับเพิ่มราคาน้ำมันขายปลีก ส่วนสินค้าที่ราคาลดลงคือของใช้ส่วนบุคคล เนื่องจากภาวะการแข่งขันใน
ตลาดค่อนข้างสูง สำหรับเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.47) ดัชนีอยู่ที่ระดับ 108.3 เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.4% และคาดว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 2.5-3% โดยเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ
คือ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งคาดว่าในปีนี้
จะปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10% รวมถึงค่าเงินบาทที่คาดว่าจะอ่อนตัวลงอีกประมาณ 1-2% และค่าเอฟทีที่จะ
ปรับเพิ่มขึ้นอีก 10 สตางค์/หน่วยในช่วงเดือน ต.ค.47 (โลกวันนี้, สยามรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ฐานะการคลังเดือน มิ.ย.47 ยังคงแข็งแกร่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยรายงานฐานะการคลังเดือน มิ.ย.47 ว่า ตัวชี้วัดทางการคลังตาม
ระบบ สศค. และตามระบบกระแสเงินสด ยังสะท้อนฐานะการคลังที่แข็งแกร่งและภาคเอกชนที่มีการขยาย
ตัวอย่างมาก ขณะที่รายจ่ายภาครัฐยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคเอกชนอยู่
โดยเดือน มิ.ย.47 รัฐบาลเกินดุลเงินสด 4.86 หมื่น ล.บาท (สยามรัฐ, ข่าวสด)
5. ผู้ว่าการ ธปท.ชี้แจงกรณีนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการนโยบาย
การเงิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ได้ยื่นหนังสือลา
ออกจากตำแหน่งคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ก่อน สาเหตุจากการที่ได้รับการแต่งตั้งจาก รมว.
คลัง ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ธ.กรุงไทยเมื่อประมาณต้นปี 47 ซึ่งทำให้เกิดการวิพากษ์
วิจารณ์ว่าเป็น conflict of interest หรือผลประโยชน์ทับซ้อน และอาจเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบใน
การทำธุรกิจ จากการทำหน้าที่เป็นกรรมการ 2 แห่ง เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงินเป็นหน่วยงาน
สำคัญของ ธปท. ที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศ (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
6. ธปท.จัดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ผู้อำนวยการอาวุโส สายทรัพยากรบุคคล เปิดเผย
ว่า ธปท.ได้จัดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด โดยใช้ชื่อ “โครงการร่วมใจจาก” เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.47
— ม.ค.50 ซึ่งกำหนดเป้าหมายพนักงานที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 436 คน สำหรับปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่
ผ่านมา มีพนักงานเข้าโครงการจำนวน 70 คน ทั้งนี้ พนักงานที่ร่วมโครงการจะได้รับผลตอบแทน 30 เท่า
ของเงินเดือนล่าสุด (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน มิ.ย.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 ไม่
เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 3 ส.ค.47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า
อัตราการว่างงานของเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ) ในเดือน มิ.ย.47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะมีอัตราการ
ว่างงานที่ระดับร้อยละ 8.9 โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้นประมาณ 12.7 ล้านคน ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานของ
กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 25 ประเทศอยู่ที่จำนวน 19.4 ล้านคน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่า รัฐบาลของเขต
เศรษฐกิจยุโรปล้มเหลวในแผนการสร้างงานใหม่ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคหยุดชะงัก อันเป็นอุปสรรคต่อ
การเร่งขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(OECD) ได้ประมาณการทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปเมื่อเดือนก่อนว่า จะขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปี
47 จากร้อยละ 0.5 ในปีก่อน และคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ในปี 48
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอัตราการว่างงานของเขตเศรษฐกิจยุโรปและอัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปที่สูง
กว่าเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 9.1 นั้น ยังสูงกว่าประเทศ สรอ. และญี่ปุ่นที่มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ
5.6 และ 4.6 ตามลำดับ และหากเปรียบเทียบตัวเลขของเดือน มิ.ย.กับเดือน พ.ค. แล้ว ตัวเลขอัตรา
การว่างงานของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 25 ประเทศนั้น แบ่งเป็น 11 ประเทศมีตัวเลขเพิ่มขึ้น 12
ประเทศลดลง และอีก 2 ประเทศไม่เปลี่ยนแปลง โดยประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำสุด คือ ลักเซมเบอร์ก
และออสเตรียที่มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.2 ส่วนไอร์แลนด์ อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์มีอัตรา
การว่างงานที่ระดับร้อยละ 4.5 4.7 และ 4.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราการว่างงานโดยทั่วไปของกลุ่ม
ประเทศสมาชิกใหม่ยังคงอยู่ในระดับสูง เช่น โปแลนด์มีตัวเลขอยู่ที่ระดับร้อยละ 18.9 สโลวาเกียร้อยละ
16.2 และ ลิทัวเนียอยู่ที่ระดับ 11.4 (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ค.47 ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 4 เดือน รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 3 ส.ค.47 สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษ (Confederation of British Industry)
หรือ CBI รายงานผลสำรวจยอดขายของร้านค้าปลีกในเดือน ก.ค.47 โดยร้อยละ 48 แจ้งว่ายอดขายเพิ่ม
ขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ร้อยละ 24 แจ้งว่ายอดขายลดลงจากปีที่แล้ว ทำให้มีผู้ที่
ตอบว่ายอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่ตอบว่ายอดขายลดลงร้อยละ 24 ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.47
ซึ่งมีผู้ที่ตอบว่าเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่ตอบว่าลดลงร้อยละ 17 และต่ำกว่าร้อยละ 43 ของเดือนก่อนและร้อยละ
38 ที่คาดไว้จากผลสำรวจเมื่อเดือน มิ.ย.47 เช่นเดียวกับยอดขายในเดือน ส.ค.47 ที่ผลสำรวจคาดว่าตัว
เลขจะเป็นร้อยละ +18 ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.ปีที่แล้ว อันเป็นผลจากโปรโมชั่นที่เกี่ยวกับการแข่งขัน
ฟุตบอลยุโรป 2004 ได้สิ้นสุดลงประกอบกับการที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง แต่
อย่างไรก็ตามแนวโน้มยอดค้าปลีกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ที่คาดว่ายอดขายเฉลี่ย 3 เดือนในเดือน
ก.ค.47 จะเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะลดลงถึงร้อยละ 39 ต่ำกว่าร้อยละ 41 ของเดือน มิ.ย.47 ซึ่งเป็น
ตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.44 เพียงเล็กน้อย จากรายงานดังกล่าวข้างต้นทำให้คาดว่า ธ.กลาง
อังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ทำให้อัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 4.75 ในการประชุมวันที่ 4 — 5
ส.ค.47 นี้ (รอยเตอร์)
3. PMI ของสิงคโปร์เดือน ก.ค.47 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 43 รายงานจากประเทศสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 3 ส.ค.47 Institute of Purchasing Materials Management ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า
Purchasing Managers’ Index (PMI) เดือน ก.ค.47 ลดลง 3.3 จุด อยู่ที่ระดับ 53.5 นับเป็นการ
ลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.พ.47 และเป็นการลดลงที่มีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.43 ที่ดัชนีลด
ลงถึง 7 จุด และลดลงมากกว่าเดือน ก.ย.44 ที่ลดลง 2.2 จุด หลังจากเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายขับ
เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ของ สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย.44 โดยดัชนีลดลงจากสัดส่วนสำคัญ
หลายอย่างที่ใช้ในการคิดดัชนี เช่น คำสั่งซื้อสินค้ารายใหม่ ผลิตผล การนำเข้า สินค้าคงคลัง และภาค
อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เป็นต้น ทั้งนี้ การที่ดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 จุด แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตยังคงขยาย
ตัวแต่อยู่ในลักษณะช้าลง โดยดัชนีภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการส่งออกที่ไม่
ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ก.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.9 จากระดับ 56.2 ในเดือน มิ.ย.47 อย่าง
ไรก็ตาม นักวิเคราะห์โดยทั่วไปคาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะเริ่มชะลอตัวลงบ้างหลังจากที่เติบโตอย่างรวด
เร็วมาตลอด 4 ไตรมาสที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 หลังจากการสิ้นสุดการเกิดโรค SARS
(รอยเตอร์)
4. เดือนมิ.ย.47มาเลเซียนำเข้าสินค้าทำสิถิติสูงสุดถึง 34.6 พัน ล.ริงกิต รายงานจากกัวลา
ลัมเปอร์เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 47 รัฐบาลมาเลเซียเปิดเผยว่าในเดือนมิ.ย.มาเลเซียนำเข้าสินค้าสูงถึง 34.6
พันล.ริงกิต (9.1 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.)เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
9.6 จากเดือนที่แล้ว ซึ่งเกือบ 3 ใน 4 ของสินค้านำเข้าของมาเลเซีย นำมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อ
การส่งออก นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการขยายตัวของการส่งออกเป็นไปตามคาดเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ
โลกและความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของมาเลเซีย นาย Wong Chee Seng
เศรษฐกรจากธนาคาร DBS กล่าวว่าปัจจุบันอุปสงค์สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกอยู่ในจุดสูงสุดแล้วซึ่ง
มากกว่าครึ่งของสินค้าส่งออกของมาเลเซียเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จึงคาดว่าในไม่ช้าการส่งออกในภาคดัง
กล่าวจะชะลอลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของมาเลเซียที่
ชะลอการนำเข้าทำให้ความวิตกว่าในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ภาคเทคโนโลยี่จะชะลอตัว ทั้งนี้นรม.ของมาเลเซีย
กล่าวว่าเศรษฐกิจมาเลเซียในปีนี้จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 6.0 — ร้อยละ 6.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.3
ในปีที่แล้ว สำหรับตัวเลขการส่งออกในเดือนมิ.ย. ขยายตัวอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปี
ก่อนหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากเดือนก่อน (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล)อยู่ที่ระดับ 39.75 พัน ล.ริงกิตมากกว่า
ที่คาดไว้เนื่องจากอุปสงค์จากสรอ. และฮ่องกง( รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 ส.ค. 47 3 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.349 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1433/41.4227 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 630.81/9.63 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,650/7,750 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.39 36.71 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.39*/14.59 19.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 29 ก.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. แนวโน้มเอ็นพีแอลมีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้อำนวยการสายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.)
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีลูกหนี้ที่สถาบันการเงินได้ยื่นความจำนงมาเพื่อ
ให้ คปน.ช่วยทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 2,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้
ประมาณ 22,000 ล.บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายย่อยที่มียอดหนี้ต่ำกว่า 5 ล.บาท โดย คปน.จะดำเนิน
การให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด สำหรับแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยรวมมีทิศทางที่จะลด
ลงได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีเอ็นพีแอลเกิดใหม่บ้างประมาณ 30,000 ล.บาท เมื่อสิ้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
แต่ถือว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับอดีตที่มีอยู่ในระดับ 40,000 ล.บาท ส่วนเอ็นพีแอลที่มีการปรับปรุงโครงสร้าง
หนี้แล้วมีการไหลย้อนกลับ (Re-entry) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในไตรมาสแรกปี 47 ประมาณ 10,000 ล.บาท
หรือประมาณเดือนละ 3,000 ล.บาท ซึ่งไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติที่เมื่อมีการปล่อยสินเชื่อย่อมมีเอ็นพีแอลเกิดขึ้น
บ้าง (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. เดือน มิ.ย.47 ดัชนีอุตสาหกรรมค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อน ผู้อำนวยการสำนักงาน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้จัดทำดัชนีอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย.47 โดยทำการ
สำรวจจาก 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งในกลุ่มผู้ประกอบการขนาด
ใหญ่และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) พบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 136.47
จุด ทรงตัวจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 136.94 จุด แต่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10.08% ขณะ
ที่ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ระดับ 128.78 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 131.40 หรือ
ลดลง 2.49% ทั้งนี้ สาเหตุที่ดัชนีภาพรวมค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากในเดือน พ.ค.47 แรงซื้อค่อนข้างสูงมาก
โดยเฉพาะในส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากเป็นช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร ทำให้แรงซื้อ
ในเดือน มิ.ย.แผ่วลง ประกอบกับในหลายอุตสาหกรรมมีการผลิตสต็อกไว้จำนวนมาก (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ก.ค.47 เพิ่มขึ้น 0.1% เทียบต่อเดือน ปลัด ก.พาณิชย์ เปิด
เผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือน ก.ค.47 ว่าอยู่ที่ระดับ 109.2 เพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคา
สินค้าหมวดอื่นๆ ที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม 0.3% โดยสินค้าที่ราคาสูงขึ้นคือ น้ำมันเบนซิน เนื่องจาก
รัฐบาลปรับเพิ่มราคาน้ำมันขายปลีก ส่วนสินค้าที่ราคาลดลงคือของใช้ส่วนบุคคล เนื่องจากภาวะการแข่งขันใน
ตลาดค่อนข้างสูง สำหรับเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วง 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.47) ดัชนีอยู่ที่ระดับ 108.3 เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.4% และคาดว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 2.5-3% โดยเป็นผลจากปัจจัยต่างๆ
คือ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งคาดว่าในปีนี้
จะปรับเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 10% รวมถึงค่าเงินบาทที่คาดว่าจะอ่อนตัวลงอีกประมาณ 1-2% และค่าเอฟทีที่จะ
ปรับเพิ่มขึ้นอีก 10 สตางค์/หน่วยในช่วงเดือน ต.ค.47 (โลกวันนี้, สยามรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. ฐานะการคลังเดือน มิ.ย.47 ยังคงแข็งแกร่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) ในฐานะโฆษก ก.คลัง เปิดเผยรายงานฐานะการคลังเดือน มิ.ย.47 ว่า ตัวชี้วัดทางการคลังตาม
ระบบ สศค. และตามระบบกระแสเงินสด ยังสะท้อนฐานะการคลังที่แข็งแกร่งและภาคเอกชนที่มีการขยาย
ตัวอย่างมาก ขณะที่รายจ่ายภาครัฐยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคเอกชนอยู่
โดยเดือน มิ.ย.47 รัฐบาลเกินดุลเงินสด 4.86 หมื่น ล.บาท (สยามรัฐ, ข่าวสด)
5. ผู้ว่าการ ธปท.ชี้แจงกรณีนายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการนโยบาย
การเงิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ได้ยื่นหนังสือลา
ออกจากตำแหน่งคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อสัปดาห์ก่อน สาเหตุจากการที่ได้รับการแต่งตั้งจาก รมว.
คลัง ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ธ.กรุงไทยเมื่อประมาณต้นปี 47 ซึ่งทำให้เกิดการวิพากษ์
วิจารณ์ว่าเป็น conflict of interest หรือผลประโยชน์ทับซ้อน และอาจเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบใน
การทำธุรกิจ จากการทำหน้าที่เป็นกรรมการ 2 แห่ง เนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงินเป็นหน่วยงาน
สำคัญของ ธปท. ที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศ (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
6. ธปท.จัดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ผู้อำนวยการอาวุโส สายทรัพยากรบุคคล เปิดเผย
ว่า ธปท.ได้จัดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด โดยใช้ชื่อ “โครงการร่วมใจจาก” เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.47
— ม.ค.50 ซึ่งกำหนดเป้าหมายพนักงานที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 436 คน สำหรับปีนี้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ที่
ผ่านมา มีพนักงานเข้าโครงการจำนวน 70 คน ทั้งนี้ พนักงานที่ร่วมโครงการจะได้รับผลตอบแทน 30 เท่า
ของเงินเดือนล่าสุด (ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราการว่างงานของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน มิ.ย.47 อยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 ไม่
เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 3 ส.ค.47 สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า
อัตราการว่างงานของเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ) ในเดือน มิ.ย.47 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน
โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.0 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งใกล้เคียงกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะมีอัตราการ
ว่างงานที่ระดับร้อยละ 8.9 โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้นประมาณ 12.7 ล้านคน ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานของ
กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 25 ประเทศอยู่ที่จำนวน 19.4 ล้านคน ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่า รัฐบาลของเขต
เศรษฐกิจยุโรปล้มเหลวในแผนการสร้างงานใหม่ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคหยุดชะงัก อันเป็นอุปสรรคต่อ
การเร่งขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก ซึ่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
(OECD) ได้ประมาณการทางเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรปเมื่อเดือนก่อนว่า จะขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปี
47 จากร้อยละ 0.5 ในปีก่อน และคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวร้อยละ 2.4 ในปี 48
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขอัตราการว่างงานของเขตเศรษฐกิจยุโรปและอัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปที่สูง
กว่าเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 9.1 นั้น ยังสูงกว่าประเทศ สรอ. และญี่ปุ่นที่มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ
5.6 และ 4.6 ตามลำดับ และหากเปรียบเทียบตัวเลขของเดือน มิ.ย.กับเดือน พ.ค. แล้ว ตัวเลขอัตรา
การว่างงานของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 25 ประเทศนั้น แบ่งเป็น 11 ประเทศมีตัวเลขเพิ่มขึ้น 12
ประเทศลดลง และอีก 2 ประเทศไม่เปลี่ยนแปลง โดยประเทศที่มีอัตราการว่างงานต่ำสุด คือ ลักเซมเบอร์ก
และออสเตรียที่มีอัตราการว่างงานอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.2 ส่วนไอร์แลนด์ อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์มีอัตรา
การว่างงานที่ระดับร้อยละ 4.5 4.7 และ 4.8 ตามลำดับ ทั้งนี้ อัตราการว่างงานโดยทั่วไปของกลุ่ม
ประเทศสมาชิกใหม่ยังคงอยู่ในระดับสูง เช่น โปแลนด์มีตัวเลขอยู่ที่ระดับร้อยละ 18.9 สโลวาเกียร้อยละ
16.2 และ ลิทัวเนียอยู่ที่ระดับ 11.4 (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ค.47 ขยายตัวในอัตราต่ำสุดในรอบ 4 เดือน รายงาน
จากลอนดอน เมื่อ 3 ส.ค.47 สภาอุตสาหกรรมของอังกฤษ (Confederation of British Industry)
หรือ CBI รายงานผลสำรวจยอดขายของร้านค้าปลีกในเดือน ก.ค.47 โดยร้อยละ 48 แจ้งว่ายอดขายเพิ่ม
ขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ร้อยละ 24 แจ้งว่ายอดขายลดลงจากปีที่แล้ว ทำให้มีผู้ที่
ตอบว่ายอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่ตอบว่ายอดขายลดลงร้อยละ 24 ซึ่งเป็นตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.47
ซึ่งมีผู้ที่ตอบว่าเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่ตอบว่าลดลงร้อยละ 17 และต่ำกว่าร้อยละ 43 ของเดือนก่อนและร้อยละ
38 ที่คาดไว้จากผลสำรวจเมื่อเดือน มิ.ย.47 เช่นเดียวกับยอดขายในเดือน ส.ค.47 ที่ผลสำรวจคาดว่าตัว
เลขจะเป็นร้อยละ +18 ซึ่งต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค.ปีที่แล้ว อันเป็นผลจากโปรโมชั่นที่เกี่ยวกับการแข่งขัน
ฟุตบอลยุโรป 2004 ได้สิ้นสุดลงประกอบกับการที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลง แต่
อย่างไรก็ตามแนวโน้มยอดค้าปลีกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ที่คาดว่ายอดขายเฉลี่ย 3 เดือนในเดือน
ก.ค.47 จะเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้ที่คาดว่าจะลดลงถึงร้อยละ 39 ต่ำกว่าร้อยละ 41 ของเดือน มิ.ย.47 ซึ่งเป็น
ตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.44 เพียงเล็กน้อย จากรายงานดังกล่าวข้างต้นทำให้คาดว่า ธ.กลาง
อังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 ทำให้อัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 4.75 ในการประชุมวันที่ 4 — 5
ส.ค.47 นี้ (รอยเตอร์)
3. PMI ของสิงคโปร์เดือน ก.ค.47 ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 43 รายงานจากประเทศสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 3 ส.ค.47 Institute of Purchasing Materials Management ของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า
Purchasing Managers’ Index (PMI) เดือน ก.ค.47 ลดลง 3.3 จุด อยู่ที่ระดับ 53.5 นับเป็นการ
ลดลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.พ.47 และเป็นการลดลงที่มีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.43 ที่ดัชนีลด
ลงถึง 7 จุด และลดลงมากกว่าเดือน ก.ย.44 ที่ลดลง 2.2 จุด หลังจากเกิดเหตุการณ์ผู้ก่อการร้ายขับ
เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ของ สรอ. เมื่อวันที่ 11 ก.ย.44 โดยดัชนีลดลงจากสัดส่วนสำคัญ
หลายอย่างที่ใช้ในการคิดดัชนี เช่น คำสั่งซื้อสินค้ารายใหม่ ผลิตผล การนำเข้า สินค้าคงคลัง และภาค
อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ เป็นต้น ทั้งนี้ การที่ดัชนีอยู่เหนือระดับ 50 จุด แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตยังคงขยาย
ตัวแต่อยู่ในลักษณะช้าลง โดยดัชนีภาคอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญซึ่งมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการส่งออกที่ไม่
ใช่น้ำมันของสิงคโปร์ในเดือน ก.ค.47 ลดลงอยู่ที่ระดับ 51.9 จากระดับ 56.2 ในเดือน มิ.ย.47 อย่าง
ไรก็ตาม นักวิเคราะห์โดยทั่วไปคาดว่าเศรษฐกิจของสิงคโปร์จะเริ่มชะลอตัวลงบ้างหลังจากที่เติบโตอย่างรวด
เร็วมาตลอด 4 ไตรมาสที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือน มิ.ย.46 หลังจากการสิ้นสุดการเกิดโรค SARS
(รอยเตอร์)
4. เดือนมิ.ย.47มาเลเซียนำเข้าสินค้าทำสิถิติสูงสุดถึง 34.6 พัน ล.ริงกิต รายงานจากกัวลา
ลัมเปอร์เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 47 รัฐบาลมาเลเซียเปิดเผยว่าในเดือนมิ.ย.มาเลเซียนำเข้าสินค้าสูงถึง 34.6
พันล.ริงกิต (9.1 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.)เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
9.6 จากเดือนที่แล้ว ซึ่งเกือบ 3 ใน 4 ของสินค้านำเข้าของมาเลเซีย นำมาผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อ
การส่งออก นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการขยายตัวของการส่งออกเป็นไปตามคาดเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ
โลกและความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักของมาเลเซีย นาย Wong Chee Seng
เศรษฐกรจากธนาคาร DBS กล่าวว่าปัจจุบันอุปสงค์สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกอยู่ในจุดสูงสุดแล้วซึ่ง
มากกว่าครึ่งของสินค้าส่งออกของมาเลเซียเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ จึงคาดว่าในไม่ช้าการส่งออกในภาคดัง
กล่าวจะชะลอลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของมาเลเซียที่
ชะลอการนำเข้าทำให้ความวิตกว่าในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ภาคเทคโนโลยี่จะชะลอตัว ทั้งนี้นรม.ของมาเลเซีย
กล่าวว่าเศรษฐกิจมาเลเซียในปีนี้จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 6.0 — ร้อยละ 6.5 จากที่ขยายตัวร้อยละ 5.3
ในปีที่แล้ว สำหรับตัวเลขการส่งออกในเดือนมิ.ย. ขยายตัวอย่างรวดเร็วถึงร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปี
ก่อนหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากเดือนก่อน (ตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล)อยู่ที่ระดับ 39.75 พัน ล.ริงกิตมากกว่า
ที่คาดไว้เนื่องจากอุปสงค์จากสรอ. และฮ่องกง( รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 ส.ค. 47 3 ส.ค. 47 30 ม.ค. 47 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 41.349 39.263 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 41.1433/41.4227 39.0915/39.3765 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 1.1000-1.2800 1.1875 - 1.2800 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 630.81/9.63 698.90/29.26 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 7,650/7,750 7,600/7,700 7,400/7,500 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 37.39 36.71 28.18 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 19.39*/14.59 19.39*/14.59 16.99/14.59 ปตท.
* ปรับเพิ่ม ลิตรละ 60 สตางค์ เมื่อ 29 ก.ค.47
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-