คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2547 ได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทยและเห็นชอบแผนการดำเนินการที่ควรได้รับการผลักดันในช่วงปี 2547 - 2547 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอเพื่อที่จะได้มีการผลักดันให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว สรุปได้ดังนี้
ความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ
โดยที่ในการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนได้หยิบยกมาตรการที่สำคัญและเร่งด่วนมากำหนดเป็นมาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพตลาดทุนไทย โดยแยกเป็น 6 ด้าน ซึ่งสรุปความคืบหน้าของการดำเนินการของแต่ละด้านสรุปได้ดังนี้
1. มุ่งสู่การเป็นตลาดทุนที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และได้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำหนดมาตรการส่งเสริมบรรษัทภิบาลในบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์และสถาบันตัวกลาง นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแก้ไขและออกกฎหมายเพื่อรองรับในเรื่องนี้ ได้แก่ 1) การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับบรรษัทภิบาลของบริษัทที่มีการระดมทุนในตลาดทุน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันอังคารที่ 27 เมษายน 2547 และ 2) การออกกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มในการฟ้องคดีที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ (Class Action) เพื่อเพิ่มช่องทางในการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ลงทุนรายย่อย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2. เพิ่มปริมาณและคุณภาพตราสารเพื่อการลงทุน
ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสรรหากิจการที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ และจัดตั้งศูนย์ระดมทุนขึ้นภายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการตลาดเชิงรุก และได้เร่งรัดการออกกฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (อนุพันธ์) จนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2547
3. สร้างฐานผู้ลงทุนให้กว้างขวาง เข้มแข็ง และสมดุล
ในปี 2546 ได้มีการจัด Road Show ในต่างประเทศ จำนวน 3 ครั้ง เพื่อส่งเสริมสถาบันต่างประเทศมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ การร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อบรรจุความรู้เกี่ยวกับการออมและการลงทุนในหลักสูตรการศึกษา การพัฒนามาตรฐานและความเชื่อมั่นในการลงทุนผ่านสถาบันโดยการจัดให้มีการจัดอันดับกองทุนและบริษัทจัดการลงทุน และการสนับสนุนให้ลูกจ้างที่มีเงินออมในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถรักษาการออมระยะยาวไว้ได้ต่อเนื่องแม้เปลี่ยนงาน
4. เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันตัวกลาง
ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการให้ระบบสถาบันการเงินมีเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนมีองค์ประกอบของระบบการเงินที่สมดุลทั้งในส่วนของสถาบันการเงิน ตลาดตราสารหนี้ และตลาดตราสารทุน นอกจากนี้ ได้มีนโยบายที่จะเพิ่มจำนวนบริษัทจัดการกองทุน โดยได้เสนอร่างกฎกระทรวงเพื่ออนุญาตให้สถาบันการเงินที่มีอยู่สามารถขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ซึ่งขณะนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว รวมทั้งได้มีการอนุมัติวงเงินจำนวน 200 ล้านเหรียญ สรอ. เพื่อให้กองทุนรวมนำไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงและขยายโอกาสในการหาผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย
5. ปรับโครงสร้างระบบการกำกับดูแลและการพัฒนาตลาดทุน
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการในการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
6. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนการทำธุรกรรม
ได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการซื้อขายเพื่อให้ตลาดตราสารต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกันทั้งด้าน Front-offiice และ Back-office และมีการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบการชำระราคาและส่งมอบไปสู่ระบบ Straight through processing (STP) นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาศูนย์รวมข้อมูลการลงทุน(Investment Portal)เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูล ข่าวสาร และบทวิเคราะห์จากหน่วยงานต่าง ๆ
แผนการดำเนินการที่ควรได้รับการผลักดันในช่วงปี 2547-2548 ได้แก่
1. การจัดตั้งตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการซื้อขายได้ภายในปี 2548 ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแกนนำในการดำเนินการจัดตั้งตลาดดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับภาษีควบคู่กันไปด้วย
2. การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานในตลาดทุน
โดยการสนับสนุนบทบาท Thai BDC ให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลตราสารหนี้ และการสนับสนุนธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending : SBL)
3. การออกและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ กฎหมาย Class Action และกฎหมายหลักทรัพย์ส่วนที่เกี่ยวกับบรรษัทภิบาล
4. การสร้างฐานผู้ลงทุนให้กว้างขวาง เข้มแข็งและสมดุล
โดยให้คณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลในเรื่องนี้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นในการขยายฐานผู้ลงทุน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง
5. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้
โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่าตลาดตราสารหนี้ยังมีปัญหาอยู่ในหลายด้าน ทั้งในด้านอุปสงค์ ซึ่งฐานผู้ลงทุนยังอยู่ในวงจำกัด การซื้อขายส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนมีพฤติกรรมลงทุนระยะสั้น ในขณะที่ผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนระยะยาวมีอยู่น้อย และในด้านอุปทานซึ่งตราสารหนี้ยังไม่มีความหลากหลายทั้งด้านอายุและประเภทตราสาร และปัญหาอื่น ๆ เช่น ขาดข้อมูลราคาเสนอซื้อเสนอขายที่เป็น real time ความล่าช้าของการพัฒนาตลาดซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo Market) จึงเห็นควรที่จะผนวกมาตรการด้านตลาดตราสารหนี้ไว้ในแผนแม่บทฯ เพื่อให้ได้รับการผลักดันไว้ด้วยโดยเฉพาะในเรื่อง (1) เพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐในการออกตราสารหนี้ โดยการผลักดันกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว (2) เพิ่มสภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้ (3) พัฒนาประเภทตราสารที่หลากหลาย (4) การจัดให้มี Trading Platform เพื่อพัฒนาให้ตลาดตราสารหนี้มีลักษณะคล้ายตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น การจัดให้มี Real Time Pricing และการพัฒนาระบบ Clearing and Settlement ที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ (5) เพิ่มฐานของนักลงทุนและทางเลือกในการลงทุน (6) สนับสนุนบทบาทของ Thai BDC ให้เป็นองค์กรกำกับดูแลประเภท Self Regulatory Organization (SRO) ที่เข้มแข็ง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 60/2547 11 สิงหาคม 2547--
ความคืบหน้าของการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ
โดยที่ในการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนได้หยิบยกมาตรการที่สำคัญและเร่งด่วนมากำหนดเป็นมาตรการเชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพตลาดทุนไทย โดยแยกเป็น 6 ด้าน ซึ่งสรุปความคืบหน้าของการดำเนินการของแต่ละด้านสรุปได้ดังนี้
1. มุ่งสู่การเป็นตลาดทุนที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และได้มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอเพื่อกำหนดมาตรการส่งเสริมบรรษัทภิบาลในบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์และสถาบันตัวกลาง นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงแก้ไขและออกกฎหมายเพื่อรองรับในเรื่องนี้ ได้แก่ 1) การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับบรรษัทภิบาลของบริษัทที่มีการระดมทุนในตลาดทุน ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันอังคารที่ 27 เมษายน 2547 และ 2) การออกกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มในการฟ้องคดีที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ (Class Action) เพื่อเพิ่มช่องทางในการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ลงทุนรายย่อย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
2. เพิ่มปริมาณและคุณภาพตราสารเพื่อการลงทุน
ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสรรหากิจการที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดหลักทรัพย์ใหม่ และจัดตั้งศูนย์ระดมทุนขึ้นภายในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการตลาดเชิงรุก และได้เร่งรัดการออกกฎหมายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (อนุพันธ์) จนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2547
3. สร้างฐานผู้ลงทุนให้กว้างขวาง เข้มแข็ง และสมดุล
ในปี 2546 ได้มีการจัด Road Show ในต่างประเทศ จำนวน 3 ครั้ง เพื่อส่งเสริมสถาบันต่างประเทศมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ การร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อบรรจุความรู้เกี่ยวกับการออมและการลงทุนในหลักสูตรการศึกษา การพัฒนามาตรฐานและความเชื่อมั่นในการลงทุนผ่านสถาบันโดยการจัดให้มีการจัดอันดับกองทุนและบริษัทจัดการลงทุน และการสนับสนุนให้ลูกจ้างที่มีเงินออมในระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถรักษาการออมระยะยาวไว้ได้ต่อเนื่องแม้เปลี่ยนงาน
4. เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันตัวกลาง
ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักที่ต้องการให้ระบบสถาบันการเงินมีเสถียรภาพและความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนมีองค์ประกอบของระบบการเงินที่สมดุลทั้งในส่วนของสถาบันการเงิน ตลาดตราสารหนี้ และตลาดตราสารทุน นอกจากนี้ ได้มีนโยบายที่จะเพิ่มจำนวนบริษัทจัดการกองทุน โดยได้เสนอร่างกฎกระทรวงเพื่ออนุญาตให้สถาบันการเงินที่มีอยู่สามารถขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม ซึ่งขณะนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว รวมทั้งได้มีการอนุมัติวงเงินจำนวน 200 ล้านเหรียญ สรอ. เพื่อให้กองทุนรวมนำไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยงและขยายโอกาสในการหาผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นด้วย
5. ปรับโครงสร้างระบบการกำกับดูแลและการพัฒนาตลาดทุน
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการในการแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
6. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดต้นทุนการทำธุรกรรม
ได้มีการพัฒนาระบบปฏิบัติการซื้อขายเพื่อให้ตลาดตราสารต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกันทั้งด้าน Front-offiice และ Back-office และมีการศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบการชำระราคาและส่งมอบไปสู่ระบบ Straight through processing (STP) นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาศูนย์รวมข้อมูลการลงทุน(Investment Portal)เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านข้อมูล ข่าวสาร และบทวิเคราะห์จากหน่วยงานต่าง ๆ
แผนการดำเนินการที่ควรได้รับการผลักดันในช่วงปี 2547-2548 ได้แก่
1. การจัดตั้งตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
เพื่อให้สามารถเปิดดำเนินการซื้อขายได้ภายในปี 2548 ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแกนนำในการดำเนินการจัดตั้งตลาดดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับภาษีควบคู่กันไปด้วย
2. การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโครงสร้างพื้นฐานในตลาดทุน
โดยการสนับสนุนบทบาท Thai BDC ให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลตราสารหนี้ และการสนับสนุนธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending : SBL)
3. การออกและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ กฎหมาย Class Action และกฎหมายหลักทรัพย์ส่วนที่เกี่ยวกับบรรษัทภิบาล
4. การสร้างฐานผู้ลงทุนให้กว้างขวาง เข้มแข็งและสมดุล
โดยให้คณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลในเรื่องนี้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นในการขยายฐานผู้ลงทุน และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ความรู้แก่ผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง
5. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้
โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่าตลาดตราสารหนี้ยังมีปัญหาอยู่ในหลายด้าน ทั้งในด้านอุปสงค์ ซึ่งฐานผู้ลงทุนยังอยู่ในวงจำกัด การซื้อขายส่วนใหญ่เป็นการซื้อขายระหว่างผู้ลงทุนสถาบัน ผู้ลงทุนมีพฤติกรรมลงทุนระยะสั้น ในขณะที่ผู้ลงทุนที่เป็นกองทุนระยะยาวมีอยู่น้อย และในด้านอุปทานซึ่งตราสารหนี้ยังไม่มีความหลากหลายทั้งด้านอายุและประเภทตราสาร และปัญหาอื่น ๆ เช่น ขาดข้อมูลราคาเสนอซื้อเสนอขายที่เป็น real time ความล่าช้าของการพัฒนาตลาดซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo Market) จึงเห็นควรที่จะผนวกมาตรการด้านตลาดตราสารหนี้ไว้ในแผนแม่บทฯ เพื่อให้ได้รับการผลักดันไว้ด้วยโดยเฉพาะในเรื่อง (1) เพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐในการออกตราสารหนี้ โดยการผลักดันกฎหมายบริหารหนี้สาธารณะให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว (2) เพิ่มสภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้ (3) พัฒนาประเภทตราสารที่หลากหลาย (4) การจัดให้มี Trading Platform เพื่อพัฒนาให้ตลาดตราสารหนี้มีลักษณะคล้ายตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น การจัดให้มี Real Time Pricing และการพัฒนาระบบ Clearing and Settlement ที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ (5) เพิ่มฐานของนักลงทุนและทางเลือกในการลงทุน (6) สนับสนุนบทบาทของ Thai BDC ให้เป็นองค์กรกำกับดูแลประเภท Self Regulatory Organization (SRO) ที่เข้มแข็ง
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 60/2547 11 สิงหาคม 2547--