กรุงเทพ--23 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
สุนทรพจน์ของ ฯพณฯ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการพบกับกงสุลกิตติมศักดิ์ของประเทศไทย วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
ฯพณฯ
ท่านกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ และกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหลาย
แขกผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ก่อนอื่นในนามของรัฐบาลไทย ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยมในการเป็นตัวแทนของประเทศไทยในเมืองต่าง ๆ ขอขอบคุณที่ท่านได้ทำงานหนักและอุทิศตนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทยและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ และขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นเมื่อตอนที่ข้าพเจ้าได้เดินทางไปเยือนประเทศของท่าน หลายท่านอาศัยและทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ประเทศไทยไม่ได้มีผู้แทนทางการทูต และท่านก็ได้ทำงานอย่างดีเยี่ยม ขอขอขอบคุณในบทบาทด้านกงสุล พิธีการทูตและภารกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือที่มีค่ายิ่งซึ่งท่านได้ให้แก่คนไทยเสมอมาในพื้นที่ของท่าน ข้าพเจ้าขอแสดงความชื่นชมในบทบาทอันสำคัญซึ่งท่านได้ทำหน้าที่กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์และกงสุลกิตติมศักดิ์ พวกเรารู้สึกภูมิใจที่มีพวกท่านทำหน้าที่แทนประเทศไทย
ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจที่ได้ทราบว่าในช่วงสิบวันที่ผ่านมา ท่านได้เยี่ยมชมโครงการที่สำคัญหลายโครงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังทราบว่าท่านได้รับฟังเกี่ยวกับพัฒนาการและความเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย
ข้าพเจ้าทราบดีว่าท่านทั้งหลายมีความรอบรู้อย่างดีเยี่ยมเกี่ยวกับคนไทยและประเทศไทย บางท่านในที่นี้ได้เดินทางมาเยี่ยมประเทศไทยอย่างเป็นประจำทั้งในฐานะกงสุลกิตติมศักดิ์และในฐานะส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าหวังว่าตลอดการประชุมที่ผ่านมานี้ ท่านจะยังคงได้พบสิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับประเทศไทยและประชาชนชาวไทย
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในการประชุมครั้งที่แล้วเมื่อเจ็ดปีที่ผ่านมา คือในปี 2540 ประเทศไทยอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ในวันนี้การเปลี่ยนแปลงอย่างมากได้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเหล่านี้เป็นผลโดยตรงจากนโยบายรัฐบาลข้าพเจ้า บางอย่างอาจจะเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยรัฐบาลของข้าพเจ้าเองหรือโดยกระแสโลกาภิวัตน์ จะต้องนำมาประสานสอดคล้องกันเพื่อลดผลลบของโลกาภิวัตน์และส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด
กระแสโลกาภิวัตน์หมายถึงโอกาสและในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งท้าทาย โลกาภิวัตน์หมายถึงการเคลื่อนไหวอย่างเสรีของประชาชน สินค้า เงินทุน ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ การที่จะแปลงโลกาภิวัตน์ให้เป็นประโยชน์ต่อพวกเรา เราต้องเข้าใจถึงกระแสเคลื่อนไหวเสรีสี่ประการ เราต้องเรียนรู้และเข้าใจที่จะใช้ประโยชน์จากมัน เราต้องเข้าใจจุดยืนของเราและแสวงหาโอกาสที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นแก่พวกเรา
ขอให้ข้าพเจ้าได้ยกตัวอย่างบางประการ ในเรื่องการลื่นไหลอย่างเสรีของประชาชน นักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และคนงานที่มีความรู้ทั้งหลาย การเคลื่อนไหวเหล่านี้ได้ช่วยสร้างรายได้ ดังนั้น นักบริหารจัดการที่ดีจะต้องรู้ว่ากำลังจะเดินทางไปที่ใด อะไรคือสิ่งที่ตนเองขาด และจะพัฒนาของมีค่าที่ตนเองมีอยู่ต่อไปอย่างไร ในขณะที่เราต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เราก็ต้องเปิดรับต่อกระแสการลื่นไหลของทรัพยากรมนุษย์และวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งประเทศไทยขาดและมีความจำเป็นไม่ว่าจะเป็นวิศวกร แพทย์ ครูสอนภาษาอังกฤษ นักดนตรี ครูฝึกนักกีฬาและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในเรื่องของการท่องเที่ยว ถ้าเราต้องการนักท่องเที่ยวมากขึ้น เราต้องสนับสนุนการลื่นไหลอย่างเสรีของประชาชน นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมประเทศไทยจึงมีนโยบายในการเปิดน่านฟ้าเสรีที่ก้าวหน้ามากที่สุดในภูมิภาค น่านฟ้าเสรีหมายถึงการลื่นไหลของประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน ก็หมายถึงการแข่งขันและการได้รับผลประโยชน์ร่วมกันด้วย ประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะออกวีซ่าในลักษณะเดียวกับ schengen กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อที่จะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลจากประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เรายังวางแผนที่จะออก e-passport ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เพื่อที่จะรับมือกับข้อกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็เตรียมการไปสู่การมีสนามบินนานาชาติที่สวยงามและใช้เทคโนโลยีสูง ซึ่งกำหนดจะเปิดในปลายปีหน้า
ในส่วนของการลื่นไหลอย่างเสรีของสินค้า ประเทศไทยส่งเสริมการค้าเสรีโดยการเสริมสร้างหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับคู่ค้าทางเศรษฐกิจทั้งหลายทั้งในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เรามีข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีในอาเซียน มี FTA กับบาห์เรน จีน ออสเตรเลีย อินเดียและกรอบความตกลง FTA กับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม BIMST-EC ก็กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันประเทศไทยก็กำลังอยู่ในกระบวนการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีกับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เปรูและนิวซีแลนด์ โดยมุ่งที่จะลงนามกับประเทศเหล่านี้ เราเห็นว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีซึ่งสอดคล้องกับหลักการขององค์การการค้าโลก เป็นสิ่งที่ ช่วยเสริมให้ระบบการค้าของโลกเข้มแข็งและดีขึ้น ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยในฐานะประเทศเกษตรกรรม เราได้มีบทบาทเชิงรุกและมีข้อริเริ่มใหม่ ๆ ในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในหลายรูปแบบ เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้าและการค้าต่างตอบแทน ประเทศไทยยังเปิดและขยายสินเชื่อให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ
องค์ประกอบประการที่สามของโลกาภิวัตน์ ก็คือการลื่นไหลอย่างเสรีของเงินทุน ทุกวันนี้เราได้เห็นกระแสไหลเวียนอย่างเสรีของเงินทุนในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตร กองทุน ตราสารหนี้ และเงินสด ในปัจจุบัน พวกเราในทวีปเอเชียฝากเงินทุนสำรองของพวกเราไว้ในรูปแบบของพันธบัตรหลักสองตระกูล คือ U.S. Treasury Bond และพันธบัตรยุโรป ก็เพราะเหตุนี้เอง พวกเราในเอเชียจึงมักพบอยู่บ่อย ๆ ว่าเงินทุนของเรามักจะขาดหายไปในเวลาที่เราจำเป็นต้องใช้มัน วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ได้ให้บทเรียนแก่เรา และเราจะต้องไม่หวนกลับไปทำซ้ำอีก นั่นเป็นเพราะว่าประเทศไทยได้ริเริ่มที่จะพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียภายใต้กรอบของความร่วมมือเอเชียหรือ ACD กับประเทศเพื่อน ๆ ของเราในเอเชียทั้งหลาย เพื่อที่ตลาดพันธบัตรเอเชียนี้จะได้เป็นตัวเลือกให้แก่นักลงทุนและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอเชีย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เราสนับสนุนทุกมาตรการที่จะเปลี่ยนสังคมไทยให้เป็นสังคมเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ การเข้าถึงข้อมูลและความรู้ในระดับโลก จะต้องเปิดกว้างตั้งแต่ระดับบนสุดถึงระดับล่างสุดของสังคมไทย เราเห็นว่าสิ่งที่ท่านเลขาธิการอังค์ถัด นาย Rubens Ricupero ได้กล่าวไว้เป็นสิ่งที่ให้กำลังใจอย่างสำคัญ ซึ่งท่านได้กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศที่ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ ก็เพราะว่าข้าพเจ้าเชื่อว่าเรายังต้องอยู่คู่กับกระแสโลกาภิวัตน์ ก็เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าบทบาทของรัฐบาลที่จะทำเพื่อประชาชนของตนก็คือ การได้ประโยชน์สูงสุดและลดผลลบของกระแสโลกาภิวัตน์ และก็เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าเราต้องวิ่งดักหน้าอนาคตและเราจะต้องไม่สะดุด นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่ารัฐบาลของข้าพเจ้าได้กำหนดและดำเนินนโยบายที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดจากกระแสเคลื่อนไหวเสรีทั้งสี่ประการ และเตรียมระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยและของประชาชนชาวไทยให้สามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์และสิ่งท้าทายในอนาคต
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2544 เมื่อรัฐบาลของข้าพเจ้าได้เข้ามารับหน้าที่ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงอยู่ในสภาวะที่เปราะบาง ภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนั้น สิ่งที่กดดันรัฐบาลมากที่สุดก็คือการฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคู่ขนานของรัฐบาลคือนโยบายที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยที่ใช้มุมมองจากภายนอก ซึ่งพรรคไทยรักไทยของข้าพเจ้าได้ทำการวิจัยไว้ก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่ง เพื่อให้การพัฒนาที่แท้จริงได้เกิดขึ้น หูตาของรัฐบาลจะต้องเปิดกว้างเพื่อรับฟังและมองเห็นในสิ่งที่ประชาชนต้องการอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะในวงการธุรกิจหรือในภาครัฐ วิธีการที่ใช้มุมมองจากภายนอกจะนำเราไปถูกทางเสมอ เพราะว่าเรากำลังตอบสนองกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าในวงการธุรกิจและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในเขตการเลือกตั้ง
ปรัชญาพื้นฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนาคู่ขนานก็คือการมุ่งไปที่คุณภาพ ความมั่นคง และความสมดุลระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางและเศรษฐกิจฐานรากในทางหนึ่ง กับเศรษฐกิจในลักษณะดั้งเดิมที่เน้นภาคการส่งออกในอีกทางหนึ่ง ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางคือตัวผลักดันหลักของเศรษฐกิจของประเทศ สามปีครึ่งในการบริหารงานของรัฐบาล ส่วนแบ่งของ SMEs ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนแบ่งการส่งออกสินค้าโรงงานของประเทศไทยในขณะนี้มีมากกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่เราได้ผลักดันอย่างเต็มที่ในการส่งเสริม SMEs ยุทธศาสตร์การพัฒนาในลักษณะคู่ขนานก็ได้ดำเนินควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อที่จะสร้างความมั่นคั่งแก่ประชาชนในระดับรากหญ้าโดยผ่านโครงการให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งรวมถึงกองทุนหมู่บ้าน การให้สินเชื่อรายย่อยรวมทั้งการพักค้างการชำระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย รัฐบาลได้ตั้งธนาคารประชาชนเพื่อส่งเสริมความสามารถของประชาชนในการสร้างรายได้จากการเป็นเจ้าของกิจการและลดการพึ่งพาจากตลาดที่ให้เงินกู้อย่างผิดกฎหมาย หลังจากผ่านมากว่าสามปี สินเชื่อรายย่อยเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดการเข้าถึงเงินทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนในระดับรากหญ้าต้องการอย่างแท้จริง และเนื่องจากสิ่งนี้คือความต้องการอย่างแท้จริง อัตราหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่สินเชื่อรายย่อยเหล่านี้ ได้ลดต่ำลงเหลือเพียงร้อยละ 2-3
จนถึงบัดนี้ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าท่านทั้งหลายคงคุ้นเคยกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือ OTOP โครงการ OTOP ได้มีส่วนช่วยให้แต่ละชุมชนสามารถพัฒนาและขายผลิตภัณฑ์ของพวกเขาโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แม้ว่าเพิ่งจะเริ่ม OTOP ได้เพียงสามปีเศษ ประเทศไทยได้ทำให้เห็นว่าโครงการ OTOP เป็นความสำเร็จในการช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานราก ก่อนที่โครงการ OTOP จะเริ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสร้างรายได้คิดเป็นมูลค่า 215.5 ล้านบาทในปี 2544 และมีมูลค่าเกือบ 22,300 ล้านบาท ในปี 2545 และขึ้นไปถึง 3 หมื่นล้านบาทในปลายปี 2546 ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ OTOP มีขายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำหลายแห่งได้ทำความตกลงกับคณะกรรมการ OTOP ที่จะขายผลิตภัณฑ์คุณภาพห้าดาวที่โตเกียว ลอนดอนและเมืองชั้นนำต่าง ๆ ของโลกอีกหลายแห่ง ข้าพเจ้ามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีคุณภาพของไทยขายอยู่ในตลาดในประเทศของท่านทั้งหลายในอนาคตอันใกล้นี้
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ทุกวันนี้ เราสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยได้กลับคืนสู่สภาวะปกติและมีพลัง มีเสถียรภาพและเจริญอย่างยั่งยืน จากการที่เรามีนโยบายที่เหมาะสม เป็นระบบและมีการปฏิบัติอย่างก้าวหน้า สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยก็พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อปีที่แล้ว อัตราการเจริญเติบโตของประเทศ คือร้อยละ 6.7 ในปีนี้ เรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์น้ำมันของโลก อย่างไรก็ตาม เราหวังว่าอัตราการเจริญเติบโตจะอยู่ในราวร้อยละ 6-7 หนี้ต่างประเทศและอัตราขาดดุลงบประมาณกำลังลดลงในขณะที่อัตราการส่งออกก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายได้ภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนเราสามารถบรรลุการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว รัฐบาลได้ชำระเงินกู้คืนแก่ IMF ทั้งหมด ซึ่งเป็นการชำระล่วงหน้าก่อนสองปี และแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยกลับสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำ ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยก็ดูดีขึ้นมาก การที่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในลักษณะโดดเด่นได้ช่วยสร้างโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนในการที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีอยู่และการเสริมสร้างหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจรายใหม่ ๆ
เรามีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศสามารถที่จะรักษาสภาพที่ดีต่อไปได้ นี่ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเราเร่งรีบการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยใช้นโยบายและมาตรการปฏิรูปใหม่ ๆ แต่ยังเป็นเพราะว่าเรามีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้เพิ่มเสถียรภาพทางการเมืองในการทำให้นโยบายต่าง ๆ มีความต่อเนื่องทั้ง ๆ ที่พรรคฝ่ายค้านได้ท้าทายให้มีการยุบสภาซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นปกติในรัฐบาลที่ผ่านมาในอดีต แต่ข้าพเจ้าตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่มีทางยุบสภาเพียงเพื่อเหตุผลที่ว่ามันจะเป็นประโยชน์มากที่สุดแก่พรรคการเมืองของข้าพเจ้า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นการเมืองแบบเก่าไม่ใช่การทำการเมืองของข้าพเจ้า เราพบว่าจะมีประโยชน์มากกว่าที่จะใช้ทุก ๆ วันไปจนถึงวันสุดท้ายของเทอมรัฐบาลเพื่อปฏิบัตินโยบายในการสร้างความกินดูอยู่ดีให้แก่ประชาชน และเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ประเทศชาติ
ทุกวันนี้ สำหรับพวกท่านทั้งหลายซึ่งไม่ได้มาเมืองไทยบ่อยนัก จะพบว่าระบบสาธารณูปโภคของไทยได้พัฒนาอย่างดีเป็นตัวจักรที่สำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เราได้ให้ความสำคัญสูงสุดแก่การพัฒนาสาธารณูปโภคในการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงทางคมนาคม ระบบผลิตและแจกจ่ายพลังงาน ตลอดจนในส่วนที่เกี่ยวกับโทรคมนาคมและสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ ระบบเครือข่ายขนส่งมวลชนจะต้องพัฒนาไปสู่การมีระบบเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบทั่วทั้งกรุงเทพฯ ภายในหกปี
อย่างไรก็ตาม การสร้างความมั่นคั่งโดยปราศจากความยุติธรรมทางสังคมและการปกป้องสิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ดังนั้น รัฐบาลของข้าพเจ้ากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนคนไทยสามารถมีอายุยืนยาว มีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ สุขสบายในสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ โครงการหลักประกันสุขภาพ 30 บาทและการส่งเสริมการพัฒนาคนได้นำไปปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลาดชีวิตผ่านระบบการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ตลอดจนการพัฒนาทักษะต่าง ๆ นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้วางโครงข่ายความมั่นคงทางสังคมที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้หลักประกันการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า สวัสดิการและความมั่นคงทางสังคม
ความสำเร็จได้บังเกิดขึ้นในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาชนบทและในการต่อสู้กับความไม่รู้ ความยากจน และโรคเอดส์ เมื่อเดื่อนที่แล้ว ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ครั้งที่ 15 เพื่อช่วยผลักดันกระแสโลกต่อโรคเอดส์และเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษา เรารู้สึกยินดีต่อผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากการประชุมระหว่างประเทศซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง 25,000 คน
ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนจะต้องควบคู่ไปกับการมีนโยบายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ดีและปฏิบัติได้จริง รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การมีเป้าหมายที่จะพัฒนาการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
นโยบายการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถ้าได้นำมาปฏิบัติอย่างสมบูรณ์แล้ว ประเทศไทยจะสามารถกำจัดความยากจนได้หมดไปภายในปี 2552
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ยังมีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นโยบายของประเทศไทยที่ได้รับความสำคัญในระดับสูง ซึ่งข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ท่าน ในเดือนเมษายน 2547 ผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติของกลุ่มประเทศเอเชีย 52 ประเทศ ได้ตกลงกันว่าตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติปัจจุบันของนาย Kofi Annan ซึ่งกำลังจะครบวาระการดำรงตำแหน่งนั้น วาระถัดไปควรเป็นของคนเอเชีย กลุ่มเอเชียได้แสดงเจตน์จำนงเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงและประธานสมัชชาสหประชาชาติ ในช่วง 61 ปีขององค์การสหประชาชาติ ขณะที่เลขาธิการ Kofi Annan กำลังจะครบวาระนี้ เรามีคนเอเชียเพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ คือ นายอู ถั่น เมื่อ 35 ปีที่แล้ว
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับทัศนะที่กลุ่มเอเชียในสหประชาชาติได้แสดงออกมา และหากประเทศไทยสามารถที่จะมีส่วนร่วมที่มีคุณค่าแก่องค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในขณะนี้ เราก็จะทำ นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมรัฐบาลไทยจึงได้ตัดสินใจที่จะเสนอนามรัฐมนตรีต่างประเทศ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าแข่งขันในตำแหน่งนี้
ท่านกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์และท่านกงสุลกิตติมศักดิ์ ผู้มีเกียรติทั้งหลาย ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า เราจะได้รับการสนับสนุน ความช่วยเหลือและความร่วมมือจากพวกท่านทั้งหลายอย่างเต็มที่
ในท้ายที่สุดนี้ ข้าพเจ้าหวังว่าเมื่อท่านได้เดินทางกลับประเทศหลังจากการประชุมนี้ ท่านจะนำความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับประเทศไทยกลับไปยังประเทศของท่านด้วย และมีพลังที่จะดำเนินภารกิจและมีความรับผิดชอบให้แก่ประเทศไทย ดังที่ท่านได้ทำมาอย่างดีโดยตลอด ข้าพเจ้าขออวยพรให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขและเดินทางกลับบ้านโดยปลอดภัย
ขอขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
สุนทรพจน์ของ ฯพณฯ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการพบกับกงสุลกิตติมศักดิ์ของประเทศไทย วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ
ฯพณฯ
ท่านกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ และกงสุลกิตติมศักดิ์ทั้งหลาย
แขกผู้มีเกียรติ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ก่อนอื่นในนามของรัฐบาลไทย ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยมในการเป็นตัวแทนของประเทศไทยในเมืองต่าง ๆ ขอขอบคุณที่ท่านได้ทำงานหนักและอุทิศตนในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศไทยและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ และขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นเมื่อตอนที่ข้าพเจ้าได้เดินทางไปเยือนประเทศของท่าน หลายท่านอาศัยและทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ประเทศไทยไม่ได้มีผู้แทนทางการทูต และท่านก็ได้ทำงานอย่างดีเยี่ยม ขอขอขอบคุณในบทบาทด้านกงสุล พิธีการทูตและภารกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือที่มีค่ายิ่งซึ่งท่านได้ให้แก่คนไทยเสมอมาในพื้นที่ของท่าน ข้าพเจ้าขอแสดงความชื่นชมในบทบาทอันสำคัญซึ่งท่านได้ทำหน้าที่กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์และกงสุลกิตติมศักดิ์ พวกเรารู้สึกภูมิใจที่มีพวกท่านทำหน้าที่แทนประเทศไทย
ข้าพเจ้ารู้สึกดีใจที่ได้ทราบว่าในช่วงสิบวันที่ผ่านมา ท่านได้เยี่ยมชมโครงการที่สำคัญหลายโครงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และยังทราบว่าท่านได้รับฟังเกี่ยวกับพัฒนาการและความเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย
ข้าพเจ้าทราบดีว่าท่านทั้งหลายมีความรอบรู้อย่างดีเยี่ยมเกี่ยวกับคนไทยและประเทศไทย บางท่านในที่นี้ได้เดินทางมาเยี่ยมประเทศไทยอย่างเป็นประจำทั้งในฐานะกงสุลกิตติมศักดิ์และในฐานะส่วนตัว อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าหวังว่าตลอดการประชุมที่ผ่านมานี้ ท่านจะยังคงได้พบสิ่งใหม่ ๆ เกี่ยวกับประเทศไทยและประชาชนชาวไทย
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ในการประชุมครั้งที่แล้วเมื่อเจ็ดปีที่ผ่านมา คือในปี 2540 ประเทศไทยอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ในวันนี้การเปลี่ยนแปลงอย่างมากได้เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเหล่านี้เป็นผลโดยตรงจากนโยบายรัฐบาลข้าพเจ้า บางอย่างอาจจะเป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์ แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยรัฐบาลของข้าพเจ้าเองหรือโดยกระแสโลกาภิวัตน์ จะต้องนำมาประสานสอดคล้องกันเพื่อลดผลลบของโลกาภิวัตน์และส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด
กระแสโลกาภิวัตน์หมายถึงโอกาสและในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งท้าทาย โลกาภิวัตน์หมายถึงการเคลื่อนไหวอย่างเสรีของประชาชน สินค้า เงินทุน ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ การที่จะแปลงโลกาภิวัตน์ให้เป็นประโยชน์ต่อพวกเรา เราต้องเข้าใจถึงกระแสเคลื่อนไหวเสรีสี่ประการ เราต้องเรียนรู้และเข้าใจที่จะใช้ประโยชน์จากมัน เราต้องเข้าใจจุดยืนของเราและแสวงหาโอกาสที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นแก่พวกเรา
ขอให้ข้าพเจ้าได้ยกตัวอย่างบางประการ ในเรื่องการลื่นไหลอย่างเสรีของประชาชน นักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และคนงานที่มีความรู้ทั้งหลาย การเคลื่อนไหวเหล่านี้ได้ช่วยสร้างรายได้ ดังนั้น นักบริหารจัดการที่ดีจะต้องรู้ว่ากำลังจะเดินทางไปที่ใด อะไรคือสิ่งที่ตนเองขาด และจะพัฒนาของมีค่าที่ตนเองมีอยู่ต่อไปอย่างไร ในขณะที่เราต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เราก็ต้องเปิดรับต่อกระแสการลื่นไหลของทรัพยากรมนุษย์และวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งประเทศไทยขาดและมีความจำเป็นไม่ว่าจะเป็นวิศวกร แพทย์ ครูสอนภาษาอังกฤษ นักดนตรี ครูฝึกนักกีฬาและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในเรื่องของการท่องเที่ยว ถ้าเราต้องการนักท่องเที่ยวมากขึ้น เราต้องสนับสนุนการลื่นไหลอย่างเสรีของประชาชน นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมประเทศไทยจึงมีนโยบายในการเปิดน่านฟ้าเสรีที่ก้าวหน้ามากที่สุดในภูมิภาค น่านฟ้าเสรีหมายถึงการลื่นไหลของประชาชน แต่ในขณะเดียวกัน ก็หมายถึงการแข่งขันและการได้รับผลประโยชน์ร่วมกันด้วย ประเทศไทยกำลังวางแผนที่จะออกวีซ่าในลักษณะเดียวกับ schengen กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อที่จะกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลจากประเทศไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เรายังวางแผนที่จะออก e-passport ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เพื่อที่จะรับมือกับข้อกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันก็เตรียมการไปสู่การมีสนามบินนานาชาติที่สวยงามและใช้เทคโนโลยีสูง ซึ่งกำหนดจะเปิดในปลายปีหน้า
ในส่วนของการลื่นไหลอย่างเสรีของสินค้า ประเทศไทยส่งเสริมการค้าเสรีโดยการเสริมสร้างหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับคู่ค้าทางเศรษฐกิจทั้งหลายทั้งในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เรามีข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีในอาเซียน มี FTA กับบาห์เรน จีน ออสเตรเลีย อินเดียและกรอบความตกลง FTA กับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่ม BIMST-EC ก็กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันประเทศไทยก็กำลังอยู่ในกระบวนการเจรจาความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีกับญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เปรูและนิวซีแลนด์ โดยมุ่งที่จะลงนามกับประเทศเหล่านี้ เราเห็นว่าข้อตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีซึ่งสอดคล้องกับหลักการขององค์การการค้าโลก เป็นสิ่งที่ ช่วยเสริมให้ระบบการค้าของโลกเข้มแข็งและดีขึ้น ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยในฐานะประเทศเกษตรกรรม เราได้มีบทบาทเชิงรุกและมีข้อริเริ่มใหม่ ๆ ในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในหลายรูปแบบ เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้าและการค้าต่างตอบแทน ประเทศไทยยังเปิดและขยายสินเชื่อให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกัน รวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ
องค์ประกอบประการที่สามของโลกาภิวัตน์ ก็คือการลื่นไหลอย่างเสรีของเงินทุน ทุกวันนี้เราได้เห็นกระแสไหลเวียนอย่างเสรีของเงินทุนในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตร กองทุน ตราสารหนี้ และเงินสด ในปัจจุบัน พวกเราในทวีปเอเชียฝากเงินทุนสำรองของพวกเราไว้ในรูปแบบของพันธบัตรหลักสองตระกูล คือ U.S. Treasury Bond และพันธบัตรยุโรป ก็เพราะเหตุนี้เอง พวกเราในเอเชียจึงมักพบอยู่บ่อย ๆ ว่าเงินทุนของเรามักจะขาดหายไปในเวลาที่เราจำเป็นต้องใช้มัน วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ได้ให้บทเรียนแก่เรา และเราจะต้องไม่หวนกลับไปทำซ้ำอีก นั่นเป็นเพราะว่าประเทศไทยได้ริเริ่มที่จะพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียภายใต้กรอบของความร่วมมือเอเชียหรือ ACD กับประเทศเพื่อน ๆ ของเราในเอเชียทั้งหลาย เพื่อที่ตลาดพันธบัตรเอเชียนี้จะได้เป็นตัวเลือกให้แก่นักลงทุนและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเอเชีย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอย่างเสรีของข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เราสนับสนุนทุกมาตรการที่จะเปลี่ยนสังคมไทยให้เป็นสังคมเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้ การเข้าถึงข้อมูลและความรู้ในระดับโลก จะต้องเปิดกว้างตั้งแต่ระดับบนสุดถึงระดับล่างสุดของสังคมไทย เราเห็นว่าสิ่งที่ท่านเลขาธิการอังค์ถัด นาย Rubens Ricupero ได้กล่าวไว้เป็นสิ่งที่ให้กำลังใจอย่างสำคัญ ซึ่งท่านได้กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศที่ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ ก็เพราะว่าข้าพเจ้าเชื่อว่าเรายังต้องอยู่คู่กับกระแสโลกาภิวัตน์ ก็เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าบทบาทของรัฐบาลที่จะทำเพื่อประชาชนของตนก็คือ การได้ประโยชน์สูงสุดและลดผลลบของกระแสโลกาภิวัตน์ และก็เพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าเราต้องวิ่งดักหน้าอนาคตและเราจะต้องไม่สะดุด นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่ารัฐบาลของข้าพเจ้าได้กำหนดและดำเนินนโยบายที่จะสร้างประโยชน์สูงสุดจากกระแสเคลื่อนไหวเสรีทั้งสี่ประการ และเตรียมระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยและของประชาชนชาวไทยให้สามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายจากกระแสโลกาภิวัตน์และสิ่งท้าทายในอนาคต
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2544 เมื่อรัฐบาลของข้าพเจ้าได้เข้ามารับหน้าที่ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยยังคงอยู่ในสภาวะที่เปราะบาง ภายใต้สถานการณ์วิกฤตเช่นนั้น สิ่งที่กดดันรัฐบาลมากที่สุดก็คือการฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคู่ขนานของรัฐบาลคือนโยบายที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยที่ใช้มุมมองจากภายนอก ซึ่งพรรคไทยรักไทยของข้าพเจ้าได้ทำการวิจัยไว้ก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่ง เพื่อให้การพัฒนาที่แท้จริงได้เกิดขึ้น หูตาของรัฐบาลจะต้องเปิดกว้างเพื่อรับฟังและมองเห็นในสิ่งที่ประชาชนต้องการอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะในวงการธุรกิจหรือในภาครัฐ วิธีการที่ใช้มุมมองจากภายนอกจะนำเราไปถูกทางเสมอ เพราะว่าเรากำลังตอบสนองกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าในวงการธุรกิจและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในเขตการเลือกตั้ง
ปรัชญาพื้นฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนาคู่ขนานก็คือการมุ่งไปที่คุณภาพ ความมั่นคง และความสมดุลระหว่างธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางและเศรษฐกิจฐานรากในทางหนึ่ง กับเศรษฐกิจในลักษณะดั้งเดิมที่เน้นภาคการส่งออกในอีกทางหนึ่ง ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางคือตัวผลักดันหลักของเศรษฐกิจของประเทศ สามปีครึ่งในการบริหารงานของรัฐบาล ส่วนแบ่งของ SMEs ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนแบ่งการส่งออกสินค้าโรงงานของประเทศไทยในขณะนี้มีมากกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่เราได้ผลักดันอย่างเต็มที่ในการส่งเสริม SMEs ยุทธศาสตร์การพัฒนาในลักษณะคู่ขนานก็ได้ดำเนินควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ เพื่อที่จะสร้างความมั่นคั่งแก่ประชาชนในระดับรากหญ้าโดยผ่านโครงการให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งรวมถึงกองทุนหมู่บ้าน การให้สินเชื่อรายย่อยรวมทั้งการพักค้างการชำระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อย รัฐบาลได้ตั้งธนาคารประชาชนเพื่อส่งเสริมความสามารถของประชาชนในการสร้างรายได้จากการเป็นเจ้าของกิจการและลดการพึ่งพาจากตลาดที่ให้เงินกู้อย่างผิดกฎหมาย หลังจากผ่านมากว่าสามปี สินเชื่อรายย่อยเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดการเข้าถึงเงินทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนในระดับรากหญ้าต้องการอย่างแท้จริง และเนื่องจากสิ่งนี้คือความต้องการอย่างแท้จริง อัตราหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่สินเชื่อรายย่อยเหล่านี้ ได้ลดต่ำลงเหลือเพียงร้อยละ 2-3
จนถึงบัดนี้ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าท่านทั้งหลายคงคุ้นเคยกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือ OTOP โครงการ OTOP ได้มีส่วนช่วยให้แต่ละชุมชนสามารถพัฒนาและขายผลิตภัณฑ์ของพวกเขาโดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แม้ว่าเพิ่งจะเริ่ม OTOP ได้เพียงสามปีเศษ ประเทศไทยได้ทำให้เห็นว่าโครงการ OTOP เป็นความสำเร็จในการช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานราก ก่อนที่โครงการ OTOP จะเริ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสร้างรายได้คิดเป็นมูลค่า 215.5 ล้านบาทในปี 2544 และมีมูลค่าเกือบ 22,300 ล้านบาท ในปี 2545 และขึ้นไปถึง 3 หมื่นล้านบาทในปลายปี 2546 ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ OTOP มีขายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ห้างสรรพสินค้าชั้นนำหลายแห่งได้ทำความตกลงกับคณะกรรมการ OTOP ที่จะขายผลิตภัณฑ์คุณภาพห้าดาวที่โตเกียว ลอนดอนและเมืองชั้นนำต่าง ๆ ของโลกอีกหลายแห่ง ข้าพเจ้ามุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีคุณภาพของไทยขายอยู่ในตลาดในประเทศของท่านทั้งหลายในอนาคตอันใกล้นี้
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ทุกวันนี้ เราสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยได้กลับคืนสู่สภาวะปกติและมีพลัง มีเสถียรภาพและเจริญอย่างยั่งยืน จากการที่เรามีนโยบายที่เหมาะสม เป็นระบบและมีการปฏิบัติอย่างก้าวหน้า สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยก็พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อปีที่แล้ว อัตราการเจริญเติบโตของประเทศ คือร้อยละ 6.7 ในปีนี้ เรากำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์น้ำมันของโลก อย่างไรก็ตาม เราหวังว่าอัตราการเจริญเติบโตจะอยู่ในราวร้อยละ 6-7 หนี้ต่างประเทศและอัตราขาดดุลงบประมาณกำลังลดลงในขณะที่อัตราการส่งออกก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายได้ภายในประเทศได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนเราสามารถบรรลุการจัดทำงบประมาณแบบสมดุลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว รัฐบาลได้ชำระเงินกู้คืนแก่ IMF ทั้งหมด ซึ่งเป็นการชำระล่วงหน้าก่อนสองปี และแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้น เงินทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยกลับสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ต่ำ ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยก็ดูดีขึ้นมาก การที่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในลักษณะโดดเด่นได้ช่วยสร้างโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนในการที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มีอยู่และการเสริมสร้างหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจรายใหม่ ๆ
เรามีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจของประเทศสามารถที่จะรักษาสภาพที่ดีต่อไปได้ นี่ไม่ใช่เป็นเพราะว่าเราเร่งรีบการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดยใช้นโยบายและมาตรการปฏิรูปใหม่ ๆ แต่ยังเป็นเพราะว่าเรามีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้เพิ่มเสถียรภาพทางการเมืองในการทำให้นโยบายต่าง ๆ มีความต่อเนื่องทั้ง ๆ ที่พรรคฝ่ายค้านได้ท้าทายให้มีการยุบสภาซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นปกติในรัฐบาลที่ผ่านมาในอดีต แต่ข้าพเจ้าตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่มีทางยุบสภาเพียงเพื่อเหตุผลที่ว่ามันจะเป็นประโยชน์มากที่สุดแก่พรรคการเมืองของข้าพเจ้า สิ่งเหล่านั้นมันเป็นการเมืองแบบเก่าไม่ใช่การทำการเมืองของข้าพเจ้า เราพบว่าจะมีประโยชน์มากกว่าที่จะใช้ทุก ๆ วันไปจนถึงวันสุดท้ายของเทอมรัฐบาลเพื่อปฏิบัตินโยบายในการสร้างความกินดูอยู่ดีให้แก่ประชาชน และเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ประเทศชาติ
ทุกวันนี้ สำหรับพวกท่านทั้งหลายซึ่งไม่ได้มาเมืองไทยบ่อยนัก จะพบว่าระบบสาธารณูปโภคของไทยได้พัฒนาอย่างดีเป็นตัวจักรที่สำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน เราได้ให้ความสำคัญสูงสุดแก่การพัฒนาสาธารณูปโภคในการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงทางคมนาคม ระบบผลิตและแจกจ่ายพลังงาน ตลอดจนในส่วนที่เกี่ยวกับโทรคมนาคมและสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ ระบบเครือข่ายขนส่งมวลชนจะต้องพัฒนาไปสู่การมีระบบเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบทั่วทั้งกรุงเทพฯ ภายในหกปี
อย่างไรก็ตาม การสร้างความมั่นคั่งโดยปราศจากความยุติธรรมทางสังคมและการปกป้องสิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ดังนั้น รัฐบาลของข้าพเจ้ากำลังทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนคนไทยสามารถมีอายุยืนยาว มีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ สุขสบายในสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ โครงการหลักประกันสุขภาพ 30 บาทและการส่งเสริมการพัฒนาคนได้นำไปปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ตลาดชีวิตผ่านระบบการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ ตลอดจนการพัฒนาทักษะต่าง ๆ นอกจากนั้น รัฐบาลยังได้วางโครงข่ายความมั่นคงทางสังคมที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้หลักประกันการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า สวัสดิการและความมั่นคงทางสังคม
ความสำเร็จได้บังเกิดขึ้นในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาชนบทและในการต่อสู้กับความไม่รู้ ความยากจน และโรคเอดส์ เมื่อเดื่อนที่แล้ว ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยโรคเอดส์ครั้งที่ 15 เพื่อช่วยผลักดันกระแสโลกต่อโรคเอดส์และเพื่อส่งเสริมให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษา เรารู้สึกยินดีต่อผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมจากการประชุมระหว่างประเทศซึ่งมีผู้เข้าร่วมถึง 25,000 คน
ความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนจะต้องควบคู่ไปกับการมีนโยบายคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ดีและปฏิบัติได้จริง รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การมีเป้าหมายที่จะพัฒนาการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
นโยบายการพัฒนาต่าง ๆ ซึ่งข้าพเจ้าได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ถ้าได้นำมาปฏิบัติอย่างสมบูรณ์แล้ว ประเทศไทยจะสามารถกำจัดความยากจนได้หมดไปภายในปี 2552
ฯพณฯ
ท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ
ยังมีอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นโยบายของประเทศไทยที่ได้รับความสำคัญในระดับสูง ซึ่งข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ท่าน ในเดือนเมษายน 2547 ผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติของกลุ่มประเทศเอเชีย 52 ประเทศ ได้ตกลงกันว่าตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติปัจจุบันของนาย Kofi Annan ซึ่งกำลังจะครบวาระการดำรงตำแหน่งนั้น วาระถัดไปควรเป็นของคนเอเชีย กลุ่มเอเชียได้แสดงเจตน์จำนงเป็นลายลักษณ์อักษรยื่นต่อประธานคณะมนตรีความมั่นคงและประธานสมัชชาสหประชาชาติ ในช่วง 61 ปีขององค์การสหประชาชาติ ขณะที่เลขาธิการ Kofi Annan กำลังจะครบวาระนี้ เรามีคนเอเชียเพียงคนเดียวที่เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ คือ นายอู ถั่น เมื่อ 35 ปีที่แล้ว
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับทัศนะที่กลุ่มเอเชียในสหประชาชาติได้แสดงออกมา และหากประเทศไทยสามารถที่จะมีส่วนร่วมที่มีคุณค่าแก่องค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญในขณะนี้ เราก็จะทำ นี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมรัฐบาลไทยจึงได้ตัดสินใจที่จะเสนอนามรัฐมนตรีต่างประเทศ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เข้าแข่งขันในตำแหน่งนี้
ท่านกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์และท่านกงสุลกิตติมศักดิ์ ผู้มีเกียรติทั้งหลาย ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า เราจะได้รับการสนับสนุน ความช่วยเหลือและความร่วมมือจากพวกท่านทั้งหลายอย่างเต็มที่
ในท้ายที่สุดนี้ ข้าพเจ้าหวังว่าเมื่อท่านได้เดินทางกลับประเทศหลังจากการประชุมนี้ ท่านจะนำความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับประเทศไทยกลับไปยังประเทศของท่านด้วย และมีพลังที่จะดำเนินภารกิจและมีความรับผิดชอบให้แก่ประเทศไทย ดังที่ท่านได้ทำมาอย่างดีโดยตลอด ข้าพเจ้าขออวยพรให้ท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสุขและเดินทางกลับบ้านโดยปลอดภัย
ขอขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-