กรุงเทพ--25 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคในหัวข้อ "Development Challenges of Mine Clearance and Victim Assistance in South East Asia"
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคในหัวข้อ " ความเชื่องโยงระหว่างการเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลกับการพัฒนา" (Development Challenges of Mine Clearance and Victim Assistance in South East Asia) ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 1 กันยายน 2547 ณ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ โดยวันที่ 1 กันยายน 2547 จะเป็นการเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ฝึกตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิด ที่จังหวัดราชบุรี
การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดในภูมิภาคอื่น และแสวงหาแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดระหว่างประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดและประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดในภูมิภาค เพื่อจะได้รับทราบปัญหาและสามารถวางแผนการสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เพื่อเป็นการผลักดันประเด็นเชื่อมโยงด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคกับการช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด โดยมุ่งเน้นการต่อยอดเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคต่อไป
การที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้เป็นเพราะไทยให้ความสำคัญกับกิจกรรมด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเพื่อการพัฒนา รวมทั้งการมีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ของไทยในฐานะที่ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนกันยายน 2547 ที่กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้จะประกอบด้วยผู้แทนของประเทศและองค์กรต่างๆ ดังนี้
1. ประเทศสมาชิกอาเซียน
2. ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดในภูมิภาค และอนุภูมิภาคอื่น อันได้แก่ อัฟกานิสถาน จีน เคนยา โมซัมบิก และติมอร์เลสเต
3. ประเทศผู้บริจาคที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหา ทุ่นระเบิดในภูมิภาค ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สหรัฐฯ
4. องค์กรเอกชนและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ International Committee of the Red Cross, Geneva International Center for Humanitarian Demining, International Campaign to Ban Landmines, Thailand Campaign to Ban Landmines, United Nations Development Programme, United Nations Mine Action Service, United Nations Children's Fund.
การประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินส่วนหนึ่งจากประเทศ ออสเตรเลีย แคนาดา และนอร์เวย์ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 70 คน จาก 21 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศและองค์กรเอกชนต่างๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคในหัวข้อ "Development Challenges of Mine Clearance and Victim Assistance in South East Asia"
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคในหัวข้อ " ความเชื่องโยงระหว่างการเก็บกู้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคลกับการพัฒนา" (Development Challenges of Mine Clearance and Victim Assistance in South East Asia) ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม - 1 กันยายน 2547 ณ โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ โดยวันที่ 1 กันยายน 2547 จะเป็นการเดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ฝึกตรวจค้นและทำลายทุ่นระเบิด ที่จังหวัดราชบุรี
การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดในภูมิภาคอื่น และแสวงหาแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดระหว่างประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดและประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาทุ่นระเบิดในภูมิภาค เพื่อจะได้รับทราบปัญหาและสามารถวางแผนการสนับสนุนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เพื่อเป็นการผลักดันประเด็นเชื่อมโยงด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคกับการช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบในการเก็บกู้ทุ่นระเบิด รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด โดยมุ่งเน้นการต่อยอดเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคต่อไป
การที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้เป็นเพราะไทยให้ความสำคัญกับกิจกรรมด้านทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเพื่อการพัฒนา รวมทั้งการมีบทบาทในเชิงสร้างสรรค์ของไทยในฐานะที่ ฯพณฯ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งประธานการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนกันยายน 2547 ที่กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้จะประกอบด้วยผู้แทนของประเทศและองค์กรต่างๆ ดังนี้
1. ประเทศสมาชิกอาเซียน
2. ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดในภูมิภาค และอนุภูมิภาคอื่น อันได้แก่ อัฟกานิสถาน จีน เคนยา โมซัมบิก และติมอร์เลสเต
3. ประเทศผู้บริจาคที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหา ทุ่นระเบิดในภูมิภาค ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สหรัฐฯ
4. องค์กรเอกชนและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ International Committee of the Red Cross, Geneva International Center for Humanitarian Demining, International Campaign to Ban Landmines, Thailand Campaign to Ban Landmines, United Nations Development Programme, United Nations Mine Action Service, United Nations Children's Fund.
การประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนทางการเงินส่วนหนึ่งจากประเทศ ออสเตรเลีย แคนาดา และนอร์เวย์ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 70 คน จาก 21 ประเทศและองค์การระหว่างประเทศและองค์กรเอกชนต่างๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-