กรุงเทพ--14 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในภูมิภาคแอฟริกา ว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ เมื่อวันที่ 22 - 24 มิถุนายน 2548 ที่กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ในหัวข้อ “การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แบบบูรณาการ” (Comprehensive Responses to HIV/AIDS Prevention and Care) เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ความก้าวหน้าของไทย และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาในเรื่องดังกล่าว สรุปผลได้ ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมการประชุม มีประเทศแอฟริกา 10 ประเทศ ได้แก่ บูร์กินาฟาโซ จิบูติ กาบอง กานา เคนยา มาลี ไนจีเรีย โซมาเลีย ซูดาน และยูกันดา โดยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโส ผู้ที่รับผิดชอบด้านนโยบาย โรคเอดส์ ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในส่วนกลาง และผู้ที่มีบทบาทเสริมทั้งหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรการกุศลเอกชนที่สำคัญในแต่ละประเทศ นอกจากนั้น ยังมีผู้แทนของประเทศและองค์กรผู้บริจาค ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติเข้าร่วมด้วย
2. การกล่าวถ้อยแถลงเปิดการประชุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ) ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยเน้นประเด็นความร่วมมือระหว่างไทยกับแอฟริกาในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ซึ่งมีความรุนแรงในภูมิภาคนี้ และคุกคามต่อความมั่นคงของมนุษย์ ไทยในฐานะที่เป็นประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network) อยู่ขณะนี้ จึงได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และได้ผลักดันให้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเองในเรื่องนี้ และหวังว่าจะเป็นการปูทางสำหรับความร่วมมือระหว่างไทยกับแอฟริกาในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ต่อไป
3. การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) การดำเนินงานในระดับชาติ (National Response) ซึ่งได้เน้นประเด็นการจัดให้ผู้ป่วยเข้าถึงยารักษา การป้องกันการแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก และการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัย และ (2) ในระดับชุมชน (Community Response) เน้นเรื่องการป้องกันและดูแลรักษาในพื้นที่ การอยู่ร่วมกับผู้ป่วย และการรณรงค์ป้องกันในกลุ่มเยาวชน
4. แนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับแอฟริกา ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ที่สำคัญ อาทิ (1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกันให้มากขึ้น (2) การกำหนดยุทธศาสตร์ในการขอรับเงินทุนความช่วยเหลือจากองค์กร/ประเทศผู้บริจาค (3) การรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัย (4) การสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม (civil society) ในประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ (5) การแลกเปลี่ยนการเยือนและการดูงานในประเทศไทย (6) การนำภาคการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งต่อไป (7) การใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในภูมิภาคแอฟริกา 8) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน (9) การใช้ประโยชน์จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากสำนักงาน UNDP ประจำแต่ละประเทศ
5. การบริจาคถุงยางอนามัย ไทยได้แจ้งความประสงค์ในการบริจาคถุงยางอนามัยให้กับประเทศที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประเทศละ 50,000 ชิ้น ซึ่งการบริจาคดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงไมตรีของไทยที่จะให้ความร่วมมือกับภูมิภาคแอฟริกา
6. ข้อสรุป การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันและแก้ไขโรคเอดส์ใน แอฟริกา นับเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวรุกของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่นๆ ในสาขาที่ไทยมีประสบการณ์ความชำนาญ อันเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศ และเสริมสร้างการดำเนินการในเชิงมนุษยธรรมของไทย ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่กรุงพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ในช่วงปลายปี 2548
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ประเทศไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) ในภูมิภาคแอฟริกา ว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ เมื่อวันที่ 22 - 24 มิถุนายน 2548 ที่กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ในหัวข้อ “การป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์แบบบูรณาการ” (Comprehensive Responses to HIV/AIDS Prevention and Care) เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ความก้าวหน้าของไทย และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศในภูมิภาคแอฟริกาในเรื่องดังกล่าว สรุปผลได้ ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมการประชุม มีประเทศแอฟริกา 10 ประเทศ ได้แก่ บูร์กินาฟาโซ จิบูติ กาบอง กานา เคนยา มาลี ไนจีเรีย โซมาเลีย ซูดาน และยูกันดา โดยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่อาวุโส ผู้ที่รับผิดชอบด้านนโยบาย โรคเอดส์ ผู้ควบคุมการปฏิบัติงานในส่วนกลาง และผู้ที่มีบทบาทเสริมทั้งหน่วยงานของรัฐหรือองค์กรการกุศลเอกชนที่สำคัญในแต่ละประเทศ นอกจากนั้น ยังมีผู้แทนของประเทศและองค์กรผู้บริจาค ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติเข้าร่วมด้วย
2. การกล่าวถ้อยแถลงเปิดการประชุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ) ได้กล่าวเปิดการประชุม โดยเน้นประเด็นความร่วมมือระหว่างไทยกับแอฟริกาในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ซึ่งมีความรุนแรงในภูมิภาคนี้ และคุกคามต่อความมั่นคงของมนุษย์ ไทยในฐานะที่เป็นประธานเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network) อยู่ขณะนี้ จึงได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และได้ผลักดันให้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเองในเรื่องนี้ และหวังว่าจะเป็นการปูทางสำหรับความร่วมมือระหว่างไทยกับแอฟริกาในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ต่อไป
3. การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) การดำเนินงานในระดับชาติ (National Response) ซึ่งได้เน้นประเด็นการจัดให้ผู้ป่วยเข้าถึงยารักษา การป้องกันการแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก และการรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัย และ (2) ในระดับชุมชน (Community Response) เน้นเรื่องการป้องกันและดูแลรักษาในพื้นที่ การอยู่ร่วมกับผู้ป่วย และการรณรงค์ป้องกันในกลุ่มเยาวชน
4. แนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับแอฟริกา ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ที่สำคัญ อาทิ (1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกันให้มากขึ้น (2) การกำหนดยุทธศาสตร์ในการขอรับเงินทุนความช่วยเหลือจากองค์กร/ประเทศผู้บริจาค (3) การรณรงค์ให้ใช้ถุงยางอนามัย (4) การสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม (civil society) ในประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ (5) การแลกเปลี่ยนการเยือนและการดูงานในประเทศไทย (6) การนำภาคการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งต่อไป (7) การใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วในภูมิภาคแอฟริกา 8) การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน (9) การใช้ประโยชน์จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากสำนักงาน UNDP ประจำแต่ละประเทศ
5. การบริจาคถุงยางอนามัย ไทยได้แจ้งความประสงค์ในการบริจาคถุงยางอนามัยให้กับประเทศที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ประเทศละ 50,000 ชิ้น ซึ่งการบริจาคดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงไมตรีของไทยที่จะให้ความร่วมมือกับภูมิภาคแอฟริกา
6. ข้อสรุป การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการป้องกันและแก้ไขโรคเอดส์ใน แอฟริกา นับเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวรุกของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่นๆ ในสาขาที่ไทยมีประสบการณ์ความชำนาญ อันเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศ และเสริมสร้างการดำเนินการในเชิงมนุษยธรรมของไทย ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่กรุงพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้ ในช่วงปลายปี 2548
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-