กรุงเทพ--19 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การเจรจาความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 2 ในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 คณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายยังคงหารือต่อไปเป็นรายกลุ่ม โดยประเด็นที่ถือว่าสำคัญและเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของไทยอย่างมากคือเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตร ซึ่งคณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องระบบภาษีและมาตรการป้องกัน (safeguard measures) ของกันและกันและมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการหารือครั้งต่อไปควรจะแบ่งการลดอัตราภาษีสินค้าเกษตรเป็นกลุ่มย่อย (buckets) โดยใช้เกณฑ์ความอ่อนไหวของตัวสินค้าเป็นตัวกำหนด ซึ่งแต่ละฝ่ายจะหารือเพิ่มเติมต่อไป ว่าการแบ่งกลุ่มดังกล่าวควรกระทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมและในแต่ละกลุ่มย่อยนั้นควรจะประกอบด้วยสินค้าเกษตรประเภทใดบ้าง ทั้งนี้ ประโยชน์สำคัญที่ไทยจะได้จากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ นอกเหนือจากการลดภาษีและการแก้ไขปัญหามาตรการสุขภาพอนามัยคือการที่สหรัฐฯ จะยกเลิกการใช้มาตรการอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรที่ส่งมายังประเทศคู่ภาคี ซึ่งจะทำให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าเกษตรสหรัฐฯ ที่ส่งมาขายได้
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือเรื่องอุปสรรคทางการค้าซึ่งเพิ่มเริ่มการเจรจาฯ ในรอบนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเบื้องต้นในเรื่องมาตรการยอมรับมาตรฐานระหว่างกัน โดยไทยเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อดูแลเรื่องนี้ โอกาสนี้ฝ่ายไทยได้สอบถามระเบียบปฏิบัติของสหรัฐฯ ในเรื่องการกำหนดข้อจำกัดทางการค้าและกลไกการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระดับรัฐบาลกลางและมลรัฐ ทั้งนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ แจ้งด้วยว่ากำลังยกร่างข้อบทเจรจาในเรื่องนี้และคาดว่าคงจะสามารถเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาได้ในการเจรจาฯ รอบที่ 3 ในสาขาเกี่ยวกับสินค้า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างระบบภาษี ข้อมูลการค้าเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้า สถิติการค้ากับต่างประเทศระหว่างปี 2544-2546 ภายใน 2 สัปดาห์ โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีการจัดกลุ่มสินค้าเป็น 3 กลุ่มหลักประกอบด้วยสิ่งทอ สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ในสาขาการบริการ คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับ ร่างข้อบทที่แต่ละฝ่ายเสนอ โดยประเด็นที่มีการพูดกันมากคือเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคลทางธุรกิจ ซึ่งไทยต้องการให้ทางสหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปทำธุรกิจได้สะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี
ในชั้นนี้ฝ่ายสหรัฐฯ มิได้ปฏิเสธที่จะให้มีการหารือเรื่องการยอมรับมาตรฐานวิชาชีพ (professional qualifications) ระหว่างกันในสาขาสิ่งแวดล้อม ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือที่เป็นไปได้ระหว่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหามลภาวะที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประเด็นความร่วมมือด้านนี้ภายใต้กรอบ FTA ที่ไทยให้ความสนใจเป็นพิเศษคือการพิทักษ์ระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง การฟื้นฟูสภาพทะเลสาบ และการกำจัดของเสียจากภาคอุตสาหกรรม ขณะที่สหรัฐฯ สนใจเรื่องปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชอย่างผิดกฎหมาย ปัญหาเสื่อมโทรมของป่าชายเลนและปะการัง
ในการหารือสาขาทรัพย์สินทางปัญญาด้านการบังคับใช้กฎหมาย ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมาย การค้า ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับท่าทีของกันและกันในเรื่องนี้ โดยสหรัฐฯ ต้องการให้ฝ่ายไทยปรับปรุงการออกกฎระเบียบเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งลิขสิทธิ์ใน สินค้าและบริการประเภทต่างๆ ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอเวลาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอดังกล่าวไปหารือกันอีกครั้ง เนื่องจากเป็นประเด็นทางเทคนิค
สำหรับการเจรจาฯ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2547ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเจรจาฯ ในรอบที่ 2 คณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายมีกำหนดจะหารือกันต่อในสาขาทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ ซึ่งทีมเจรจาไทยจะรายงานสรุปให้ทราบ ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
การเจรจาความตกลง FTA ไทย-สหรัฐฯ รอบที่ 2 ในวันที่ 14 ตุลาคม 2547 คณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายยังคงหารือต่อไปเป็นรายกลุ่ม โดยประเด็นที่ถือว่าสำคัญและเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของไทยอย่างมากคือเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตร ซึ่งคณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่องระบบภาษีและมาตรการป้องกัน (safeguard measures) ของกันและกันและมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการหารือครั้งต่อไปควรจะแบ่งการลดอัตราภาษีสินค้าเกษตรเป็นกลุ่มย่อย (buckets) โดยใช้เกณฑ์ความอ่อนไหวของตัวสินค้าเป็นตัวกำหนด ซึ่งแต่ละฝ่ายจะหารือเพิ่มเติมต่อไป ว่าการแบ่งกลุ่มดังกล่าวควรกระทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมและในแต่ละกลุ่มย่อยนั้นควรจะประกอบด้วยสินค้าเกษตรประเภทใดบ้าง ทั้งนี้ ประโยชน์สำคัญที่ไทยจะได้จากการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ นอกเหนือจากการลดภาษีและการแก้ไขปัญหามาตรการสุขภาพอนามัยคือการที่สหรัฐฯ จะยกเลิกการใช้มาตรการอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรที่ส่งมายังประเทศคู่ภาคี ซึ่งจะทำให้สินค้าเกษตรของไทยสามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าเกษตรสหรัฐฯ ที่ส่งมาขายได้
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งคือเรื่องอุปสรรคทางการค้าซึ่งเพิ่มเริ่มการเจรจาฯ ในรอบนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเบื้องต้นในเรื่องมาตรการยอมรับมาตรฐานระหว่างกัน โดยไทยเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อดูแลเรื่องนี้ โอกาสนี้ฝ่ายไทยได้สอบถามระเบียบปฏิบัติของสหรัฐฯ ในเรื่องการกำหนดข้อจำกัดทางการค้าและกลไกการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระดับรัฐบาลกลางและมลรัฐ ทั้งนี้ ฝ่ายสหรัฐฯ แจ้งด้วยว่ากำลังยกร่างข้อบทเจรจาในเรื่องนี้และคาดว่าคงจะสามารถเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาได้ในการเจรจาฯ รอบที่ 3 ในสาขาเกี่ยวกับสินค้า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างระบบภาษี ข้อมูลการค้าเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกสินค้า สถิติการค้ากับต่างประเทศระหว่างปี 2544-2546 ภายใน 2 สัปดาห์ โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีการจัดกลุ่มสินค้าเป็น 3 กลุ่มหลักประกอบด้วยสิ่งทอ สินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ในสาขาการบริการ คณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับ ร่างข้อบทที่แต่ละฝ่ายเสนอ โดยประเด็นที่มีการพูดกันมากคือเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคลทางธุรกิจ ซึ่งไทยต้องการให้ทางสหรัฐฯ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าไปทำธุรกิจได้สะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี
ในชั้นนี้ฝ่ายสหรัฐฯ มิได้ปฏิเสธที่จะให้มีการหารือเรื่องการยอมรับมาตรฐานวิชาชีพ (professional qualifications) ระหว่างกันในสาขาสิ่งแวดล้อม ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือที่เป็นไปได้ระหว่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับปัญหามลภาวะที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประเด็นความร่วมมือด้านนี้ภายใต้กรอบ FTA ที่ไทยให้ความสนใจเป็นพิเศษคือการพิทักษ์ระบบนิเวศวิทยาชายฝั่ง การฟื้นฟูสภาพทะเลสาบ และการกำจัดของเสียจากภาคอุตสาหกรรม ขณะที่สหรัฐฯ สนใจเรื่องปัญหาการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพันธุ์พืชอย่างผิดกฎหมาย ปัญหาเสื่อมโทรมของป่าชายเลนและปะการัง
ในการหารือสาขาทรัพย์สินทางปัญญาด้านการบังคับใช้กฎหมาย ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมาย การค้า ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับท่าทีของกันและกันในเรื่องนี้ โดยสหรัฐฯ ต้องการให้ฝ่ายไทยปรับปรุงการออกกฎระเบียบเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งลิขสิทธิ์ใน สินค้าและบริการประเภทต่างๆ ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอเวลาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอดังกล่าวไปหารือกันอีกครั้ง เนื่องจากเป็นประเด็นทางเทคนิค
สำหรับการเจรจาฯ ในวันที่ 15 ตุลาคม 2547ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการเจรจาฯ ในรอบที่ 2 คณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายมีกำหนดจะหารือกันต่อในสาขาทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ ซึ่งทีมเจรจาไทยจะรายงานสรุปให้ทราบ ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-