ภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือเดือนกันยายน 2547 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคยังคงขยายตัวดีแต่ในอัตราที่ชะลอลง ขณะที่มูลค่าส่งออกเร่งตัวจากเดือนก่อนตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทำให้ผลผลิตอุตสาหกรรมส่งออกขยายตัวสูงและบางอุตสาหกรรมลงทุนขยายการผลิต รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวทั้งราคาและปริมาณ ภาคบริการยังได้รับผลดีจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดประชุมสัมมนาตลอดจนการขยายเส้นทางบินและการแข่งขันด้านราคาของสายการบินราคาถูก (Low cost Airlines) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่วนเงินให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.0 ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวได้ดี จากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการก่อสร้างและการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้รายจ่ายภาครัฐก็มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่ 3 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปัจจัยเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ลดลง ทางด้านอุปทานปรากฏว่ารายได้เกษตรกรจากพืชหลักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากตามการส่งออกและทำให้มีการลงทุนขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ภาคบริการขยายตัวดีตั้งแต่ต้นปี จากการจัดกิจกรรมสนับสนุน เช่น การจัดประชุมสัมมนาภาครัฐและเอกชน สายการบินต้นทุนต่ำ รวมทั้งไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรค SARS เช่นปีก่อน ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัว
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนกันยายน และในช่วง 9 เดือน ปี 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 8.6 ตามผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หอมแดง ข้าวเหนียวนาปี ถั่วเหลือง และลำไย เนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจ ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก และสภาพอากาศเอื้ออำนวย ด้านราคาผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ตามราคาข้าวเหนียวนาปี ถั่วเหลือง และลำไยเป็นสำคัญ ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 ผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด หอมแดง ลำไย และข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ตามแรงจูงใจด้านราคา ทำให้มีการขยายเนื้อที่เพาะปลูกและสภาพอากาศเหมาะสม แม้ว่าราคาพืชผลสำคัญลดลงร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตและส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เป็น 134.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมีการนำเครื่องจักรผลิตสินค้าใหม่มาทดแทนเครื่องจักรเก่า และขยายกำลังการผลิตเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในหมวดเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟและสายเคเบิล แต่ลดลงในหมวดสินค้าอัญมณี
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง ตามการผลิตเพื่อส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เป็น 1,207.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามอุปสงค์ที่เร่งตัวสูงโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกที่มีการแข่งขันฟุตบอลยูโรและกีฬาโอลิมปิก แต่เริ่มชะลอตัวใน 2 เดือนหลัง สินค้าที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ตามลำดับ
3. ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามฤดูกาล (Low Season) เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการและเอกชน การขยายเส้นทางบินและการแข่งขันด้านราคาของสายการบินราคาถูก (Low cost Airlines) ส่งผลให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.5 สูงกว่าร้อยละ 42.4 ระยะเดียวกันปีก่อน ราคาห้องพักเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 743.05 บาทต่อห้องในปีก่อน เป็น 765.17 บาทต่อห้อง และจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.1 อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นก็มีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวไทยบ้าง
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากโรค SARS เช่นในปีก่อน นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว (Low Season) การจัดประชุม/สัมมนาของภาครัฐและเอกชน และปัจจัยเสริมจากการเข้าชมหมีแพนดา สำหรับอัตราการเข้าพัก เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 53.5 เทียบกับร้อยละ 48.3 ช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ย 863.33 บาทต่อห้อง ปรับสูงขึ้นจาก 791.4 บาทต่อห้อง ในช่วงเดียวกันปีก่อน ทางด้านจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เป็น 2.7 ล้านคน สูงกว่าจำนวน 1.9 ล้านคนในปีก่อน เนื่องจากการเข้ามาแข่งขันของสายการบินราคาถูก (Low Cost Airlines) รวมทั้งการเพิ่มเส้นทางและเที่ยวบินทั้งในประเทศ ระหว่างประเทศและการเช่าเหมาลำ
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกอบกับอยู่ในช่วงการรอรถยนต์รุ่นใหม่ที่ออกมาในช่วงนี้ ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 ชะลอลงจากร้อยละ 11.6 เดือนก่อน สำหรับยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 สูงกว่าร้อยละ 4.4 เดือนก่อน ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภาคเหนือตอนบน ด้านการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในเดือนสิงหาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เดือนก่อน ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนที่ชะลอตัวในเกือบทุกจังหวัด
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 ขยายตัวในอัตราที่ลดลง โดยในช่วงครึ่งปีแรกได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยต่ำการส่งเสริมการขายและเงินดาวน์ต่ำ ตลอดจนรายได้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือตอนล่างเพิ่มขึ้นจากการขายพืชผลเกษตร แต่ในไตรมาส 3 กิจกรรมทางด้านการใช้จ่ายเริ่มชะลอลง เนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมัน การชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์เพื่อรอความชัดเจนเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิตและรอรถรุ่นใหม่ที่จะออกมาตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 3 ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 ชะลอลงเทียบกับร้อยละ 40.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ชะลอลงมากเทียบกับร้อยละ 39.0 ในช่วงเดียวกันปีก่อน การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเร่งตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับร้อยละ 4.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าจะชะลอลงตามลำดับในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าขยายตัวของครัวเรือนทุกจังหวัด
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อขยายการผลิตยังมีเกณฑ์ขยายตัวดี แต่ความสนใจลงทุนด้านก่อสร้างชะลอลง โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.0 เนื่องจากปีก่อนมีการขออนุญาตก่อสร้างโรงแรมรายใหญ่ โดยลดลงในหลายจังหวัดภาคเหนือ อย่างไรก็ตามค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เร่งตัวจากร้อยละ 7.4 เดือนก่อน ตามธุรกรรมซื้อขายที่ดิน ทางด้านการลงทุนผลิตเร่งตัวขึ้นตามมูลค่านำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบร้อยละ 52.8 โดยเฉพาะการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ขณะที่เงินลงทุนของอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร และเครื่องเคลือบดินเผา ด้านเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าสองเท่าตัว สะท้อนความสนใจลงทุนผลิตสินค้าเกษตรกรรมและผลผลิตเกษตรเป็นสำคัญ
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 การลงทุนทางด้านผลิตเร่งตัว ส่วนการลงทุนก่อสร้างเป็นการดำเนินการในส่วนของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างไว้แล้ว ขณะที่ความสนใจลงทุนก่อสร้างชะลอลง โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 จากประเภทพาณิชยกรรม ประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทบริการ อย่างไรก็ตามค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 เร่งตัวจากร้อยละ 26.4 ช่วงเดียวกันปีก่อน จากการซื้อขายที่ดินช่วงไตรมาสแรกของธุรกรรมรายใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญ การลงทุนทางด้านผลิตขยายตัวดี จากมูลค่านำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.0 เร่งตัวจากร้อยละ 24.3 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ขณะที่เงินลงทุนของอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4 ส่วนใหญ่จากอุตสาหกรรมประเภทระบบบำบัดน้ำเสีย ด้านเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.4 สูงสุดในรอบ 4 ปี โดยเฉพาะการลงทุนผลิตสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ผลผลิตเกษตร และชิ้นส่วนยานพาหนะ
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 เป็น 12,581.7 ล้านบาท ชะลอลงเล็กน้อย จากการลดลงของรายจ่ายประจำร้อยละ 12.7 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการเบิกจ่ายงบประมาณหมวดค่าตอบแทนและงบกลางไปที่ส่วนกลาง ขณะที่งบลงทุนยังเพิ่มขึ้นจากหมวดครุภัณฑ์เป็นหลัก โดยการเบิกจ่ายลดลงมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ และพิจิตร ทางด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล เร่งตัวโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 เป็น 1,788.0 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินเหลื่อมนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเดือนก่อน การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 และร้อยละ 17.3 โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และพิษณุโลก ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลในงบประมาณขาดดุล 10,793.7 ล้านบาท เทียบกับ 9,999.1 ล้านบาท เดือนก่อนและ 10,697.2 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 การใช้จ่ายของภาครัฐบาลผ่านคลังจังหวัด/คลังอำเภอในภาคเหนือ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.6 ปีก่อน เป็น 96,733.3 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นมากจากงบประจำร้อยละ 7.3 ในหมวดเงินเดือนและค่าจ้างชั่วคราว ส่วนงบลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 จากหมวดครุภัณฑ์ ทางด้านการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เป็น 13,040.5 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกว่าเท่าตัว ภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 24.4 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 13.8 ส่งผลให้ขาดดุลเงินในงบประมาณ 83,692.8 ล้านบาท เทียบกับ 76,747.6 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 เป็น 183.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เป็น 134.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเริ่มผลิตได้เต็มกำลังการผลิต ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟและสายเคเบิล เพื่อการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และฮ่องกง ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 2.9 เหลือ 12.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 เป็น 36.4 ล้านบาท โดยการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากการส่งออกน้ำมันพืช รถยนต์ และโพลิโพพีลีน ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นลำไยอบแห้งที่ส่งผ่านไปจีน ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 75.2 เนื่องจากสามารถส่งออกผ่านช่องทางอื่นๆ มูลค่านำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 เป็น 120.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคม ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 เป็น 111.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตมากขึ้น ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 เป็น 7.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.9 จากการนำเข้าอาหารทะเลประเภทปูและปลา การนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 แต่การนำเข้าจากลาวลดลงร้อยละ 21.6 ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ เกินดุล 63.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 48.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 เป็น 1,629 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เป็น 1,207.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่มีเพิ่มขึ้น ก่อนชะลอลงใน 2 เดือนหลัง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.0 เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 และอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.0 แต่สำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ไม้และพืชสวน ลดลงร้อยละ 28.1 และร้อยละ 17.8 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง ตามลำดับ ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ ลดลงร้อยละ 0.2 เหลือ 110.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 เป็น 311.9 ล้านบาท จากการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทน้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน และผงชูรส การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.5 ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 43.9 เนื่องจากสินค้าประเภทผักและผลไม้ เปลี่ยนไปขนส่งทางทะเลมากขึ้น มูลค่านำเข้าผ่านด่านศุลกากรขยายตัวตามการส่งออก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เป็น 1,022.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการนำเข้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 เป็น 957.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อการผลิตมากขึ้น การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.0 เป็น 52.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากการนำเข้าโค-กระบือและสินค้าประมง ขณะที่การนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น และการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.0 จากการนำเข้าลิกไนต์และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้น ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากร เกินดุล 606.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 409.0 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 เร่งตัวจากร้อยละ 2.8 เดือนก่อนตามราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์ และค่าหน่วยไฟฟ้าสูงขึ้นเป็นสำคัญซึ่งส่งผลให้ราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สำหรับราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.2 เนื่องจากราคาเนื้อสุกร ปลา และสัตว์ทะเลอยู่ในเกณฑ์สูง ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 เร่งตัวเทียบกับที่ไม่มีอัตราการเพิ่มเดือนก่อน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกที่ส่งผลกระทบด้านราคาเนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำเพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อไก่ และไข่ ส่งผลให้ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เร่งตัวจากร้อยละ 3.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.1 เนื่องจากค่าเช่าบ้านยังคงลดลงต่อเนื่อง แม้ว่าได้มีการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและค่าไฟฟ้า ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.1
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนสิงหาคม 2547 พบว่ากำลังแรงงานรวมของภาคเหนือมีจำนวน 6.9 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.8 ล้านคน หรือเท่ากับร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 98.8 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการจ้างงานในภาคเกษตรลดลง โดยส่วนหนึ่งเคลื่อนย้ายไปทำงานนอกภาคเกษตร ทำให้การจ้างงานนอกภาคเกษตรสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 ตามความต้องการจ้างงานของภาคบริการ ภาคก่อสร้าง สถานศึกษา ภาคการค้า และภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดีภาวะการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 สูงกว่าร้อยละ 1.2 เดือนเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 เป็น 292,795 ล้านบาท อย่างไรก็ดี เงินฝากในจังหวัดหลักของภาคเช่น จังหวัดนครสวรรค์ ลำปาง และเชียงราย ลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากมีการถอนเงินฝากเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ออกจำหน่ายในเดือนสิงหาคม แต่เงินฝากที่จังหวัดลำพูนเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากมีเงินโอนของลูกค้าชำระเงินให้แก่บริษัทในนิคมฯ เงินให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 9.0 เป็น 208,937 ล้านบาท ชะลอลงจากร้อยละ 9.6 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อยังมีการขยายตัวมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง จากการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปพืชผลเกษตร เช่น โรงสีข้าว โรงงานแปรรูปขิงดองส่งออกที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร ส่วนสินเชื่อบริเวณภาคเหนือตอนบนเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้สินเชื่อของธุรกิจส่งออกลำไยและ SMEs ประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้ และบางส่วนเพื่อซื้ออาคารเพื่อการขยายธุรกิจ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 71.4 สูงกว่าร้อยละ 68.4 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 เศรษฐกิจภาคเหนือขยายตัวได้ดี จากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชนโดยเฉพาะการก่อสร้างและการส่งออกเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ นอกจากนี้รายจ่ายภาครัฐก็มีส่วนช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ในไตรมาสที่ 3 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปัจจัยเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ลดลง ทางด้านอุปทานปรากฏว่ารายได้เกษตรกรจากพืชหลักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.4 ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวมากตามการส่งออกและทำให้มีการลงทุนขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ภาคบริการขยายตัวดีตั้งแต่ต้นปี จากการจัดกิจกรรมสนับสนุน เช่น การจัดประชุมสัมมนาภาครัฐและเอกชน สายการบินต้นทุนต่ำ รวมทั้งไม่ประสบปัญหาความกังวลเกี่ยวกับโรค SARS เช่นปีก่อน ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัว
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจในเดือนกันยายน และในช่วง 9 เดือน ปี 2547 มีดังนี้
1. ภาคเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 8.6 ตามผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หอมแดง ข้าวเหนียวนาปี ถั่วเหลือง และลำไย เนื่องจากราคาปีก่อนจูงใจ ทำให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูก และสภาพอากาศเอื้ออำนวย ด้านราคาผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ตามราคาข้าวเหนียวนาปี ถั่วเหลือง และลำไยเป็นสำคัญ ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 ผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด หอมแดง ลำไย และข้าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ตามแรงจูงใจด้านราคา ทำให้มีการขยายเนื้อที่เพาะปลูกและสภาพอากาศเหมาะสม แม้ว่าราคาพืชผลสำคัญลดลงร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตและส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เป็น 134.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากมีการนำเครื่องจักรผลิตสินค้าใหม่มาทดแทนเครื่องจักรเก่า และขยายกำลังการผลิตเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในหมวดเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟและสายเคเบิล แต่ลดลงในหมวดสินค้าอัญมณี
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวต่อเนื่อง ตามการผลิตเพื่อส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เป็น 1,207.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามอุปสงค์ที่เร่งตัวสูงโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกที่มีการแข่งขันฟุตบอลยูโรและกีฬาโอลิมปิก แต่เริ่มชะลอตัวใน 2 เดือนหลัง สินค้าที่เพิ่มขึ้นมากได้แก่ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตา ตามลำดับ
3. ภาคบริการ ภาวะการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่ชะลอลงจากเดือนก่อนตามฤดูกาล (Low Season) เนื่องจากมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการจัดประชุมสัมมนาของส่วนราชการและเอกชน การขยายเส้นทางบินและการแข่งขันด้านราคาของสายการบินราคาถูก (Low cost Airlines) ส่งผลให้อัตราการเข้าพักของโรงแรมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 45.5 สูงกว่าร้อยละ 42.4 ระยะเดียวกันปีก่อน ราคาห้องพักเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 743.05 บาทต่อห้องในปีก่อน เป็น 765.17 บาทต่อห้อง และจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.1 อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นก็มีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวไทยบ้าง
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 ขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากโรค SARS เช่นในปีก่อน นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว (Low Season) การจัดประชุม/สัมมนาของภาครัฐและเอกชน และปัจจัยเสริมจากการเข้าชมหมีแพนดา สำหรับอัตราการเข้าพัก เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 53.5 เทียบกับร้อยละ 48.3 ช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนราคาห้องพักเฉลี่ย 863.33 บาทต่อห้อง ปรับสูงขึ้นจาก 791.4 บาทต่อห้อง ในช่วงเดียวกันปีก่อน ทางด้านจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เป็น 2.7 ล้านคน สูงกว่าจำนวน 1.9 ล้านคนในปีก่อน เนื่องจากการเข้ามาแข่งขันของสายการบินราคาถูก (Low Cost Airlines) รวมทั้งการเพิ่มเส้นทางและเที่ยวบินทั้งในประเทศ ระหว่างประเทศและการเช่าเหมาลำ
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ชะลอลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อประกอบกับอยู่ในช่วงการรอรถยนต์รุ่นใหม่ที่ออกมาในช่วงนี้ ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.2 ชะลอลงจากร้อยละ 11.6 เดือนก่อน สำหรับยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.7 สูงกว่าร้อยละ 4.4 เดือนก่อน ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภาคเหนือตอนบน ด้านการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนในเดือนสิงหาคม 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 ชะลอลงเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เดือนก่อน ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนที่ชะลอตัวในเกือบทุกจังหวัด
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 ขยายตัวในอัตราที่ลดลง โดยในช่วงครึ่งปีแรกได้รับผลดีจากอัตราดอกเบี้ยต่ำการส่งเสริมการขายและเงินดาวน์ต่ำ ตลอดจนรายได้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือตอนล่างเพิ่มขึ้นจากการขายพืชผลเกษตร แต่ในไตรมาส 3 กิจกรรมทางด้านการใช้จ่ายเริ่มชะลอลง เนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมัน การชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์เพื่อรอความชัดเจนเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิตและรอรถรุ่นใหม่ที่จะออกมาตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 3 ทำให้ยอดจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 ชะลอลงเทียบกับร้อยละ 40.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ชะลอลงมากเทียบกับร้อยละ 39.0 ในช่วงเดียวกันปีก่อน การใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเร่งตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับร้อยละ 4.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าจะชะลอลงตามลำดับในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ตามความต้องการใช้ไฟฟ้าขยายตัวของครัวเรือนทุกจังหวัด
5. การลงทุนภาคเอกชน การลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์เพื่อขยายการผลิตยังมีเกณฑ์ขยายตัวดี แต่ความสนใจลงทุนด้านก่อสร้างชะลอลง โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.0 เนื่องจากปีก่อนมีการขออนุญาตก่อสร้างโรงแรมรายใหญ่ โดยลดลงในหลายจังหวัดภาคเหนือ อย่างไรก็ตามค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เร่งตัวจากร้อยละ 7.4 เดือนก่อน ตามธุรกรรมซื้อขายที่ดิน ทางด้านการลงทุนผลิตเร่งตัวขึ้นตามมูลค่านำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบร้อยละ 52.8 โดยเฉพาะการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ขณะที่เงินลงทุนของอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร และเครื่องเคลือบดินเผา ด้านเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าสองเท่าตัว สะท้อนความสนใจลงทุนผลิตสินค้าเกษตรกรรมและผลผลิตเกษตรเป็นสำคัญ
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 การลงทุนทางด้านผลิตเร่งตัว ส่วนการลงทุนก่อสร้างเป็นการดำเนินการในส่วนของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างไว้แล้ว ขณะที่ความสนใจลงทุนก่อสร้างชะลอลง โดยพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 จากประเภทพาณิชยกรรม ประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทบริการ อย่างไรก็ตามค่าธรรมเนียมขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 เร่งตัวจากร้อยละ 26.4 ช่วงเดียวกันปีก่อน จากการซื้อขายที่ดินช่วงไตรมาสแรกของธุรกรรมรายใหญ่ที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นสำคัญ การลงทุนทางด้านผลิตขยายตัวดี จากมูลค่านำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.0 เร่งตัวจากร้อยละ 24.3 ในช่วงเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวของการลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ ขณะที่เงินลงทุนของอุตสาหกรรมจดทะเบียนตั้งใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.4 ส่วนใหญ่จากอุตสาหกรรมประเภทระบบบำบัดน้ำเสีย ด้านเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.4 สูงสุดในรอบ 4 ปี โดยเฉพาะการลงทุนผลิตสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ผลผลิตเกษตร และชิ้นส่วนยานพาหนะ
6. การคลัง การเบิกจ่ายงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.3 เป็น 12,581.7 ล้านบาท ชะลอลงเล็กน้อย จากการลดลงของรายจ่ายประจำร้อยละ 12.7 เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการเบิกจ่ายงบประมาณหมวดค่าตอบแทนและงบกลางไปที่ส่วนกลาง ขณะที่งบลงทุนยังเพิ่มขึ้นจากหมวดครุภัณฑ์เป็นหลัก โดยการเบิกจ่ายลดลงมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ และพิจิตร ทางด้านการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล เร่งตัวโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 เป็น 1,788.0 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินเหลื่อมนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเดือนก่อน การจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากการจ้างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 และร้อยละ 17.3 โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และพิษณุโลก ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลในงบประมาณขาดดุล 10,793.7 ล้านบาท เทียบกับ 9,999.1 ล้านบาท เดือนก่อนและ 10,697.2 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 การใช้จ่ายของภาครัฐบาลผ่านคลังจังหวัด/คลังอำเภอในภาคเหนือ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.6 ปีก่อน เป็น 96,733.3 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นมากจากงบประจำร้อยละ 7.3 ในหมวดเงินเดือนและค่าจ้างชั่วคราว ส่วนงบลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 จากหมวดครุภัณฑ์ ทางด้านการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 เป็น 13,040.5 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากจากการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะกว่าเท่าตัว ภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 24.4 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 13.8 ส่งผลให้ขาดดุลเงินในงบประมาณ 83,692.8 ล้านบาท เทียบกับ 76,747.6 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 เป็น 183.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.5 เป็น 134.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการขยายกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมเริ่มผลิตได้เต็มกำลังการผลิต ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน เครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟและสายเคเบิล เพื่อการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และฮ่องกง ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 2.9 เหลือ 12.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 เป็น 36.4 ล้านบาท โดยการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากการส่งออกน้ำมันพืช รถยนต์ และโพลิโพพีลีน ส่วนการส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นลำไยอบแห้งที่ส่งผ่านไปจีน ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 75.2 เนื่องจากสามารถส่งออกผ่านช่องทางอื่นๆ มูลค่านำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 เป็น 120.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าผ่านด่านนิคม ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 เป็น 111.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตมากขึ้น ส่วนการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดน เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 เป็น 7.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.9 จากการนำเข้าอาหารทะเลประเภทปูและปลา การนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 แต่การนำเข้าจากลาวลดลงร้อยละ 21.6 ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือ เกินดุล 63.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 48.2 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 มูลค่าส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.0 เป็น 1,629 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เป็น 1,207.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามอุปสงค์ต่างประเทศที่มีเพิ่มขึ้น ก่อนชะลอลงใน 2 เดือนหลัง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.0 เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 63.6 และอุปกรณ์เกี่ยวกับสายตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.0 แต่สำหรับสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ไม้และพืชสวน ลดลงร้อยละ 28.1 และร้อยละ 17.8 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง ตามลำดับ ส่วนการส่งออกผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ ลดลงร้อยละ 0.2 เหลือ 110.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. การส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 เป็น 311.9 ล้านบาท จากการส่งออกไปพม่าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทน้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์โลหะขั้นมูลฐาน และผงชูรส การส่งออกไปลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.5 ขณะที่การส่งออกไปจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 43.9 เนื่องจากสินค้าประเภทผักและผลไม้ เปลี่ยนไปขนส่งทางทะเลมากขึ้น มูลค่านำเข้าผ่านด่านศุลกากรขยายตัวตามการส่งออก โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.6 เป็น 1,022.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็นการนำเข้าผ่านด่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 เป็น 957.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อการผลิตมากขึ้น การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.0 เป็น 52.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าสินค้าจากพม่าที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว จากการนำเข้าโค-กระบือและสินค้าประมง ขณะที่การนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.2 จากการนำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น และการนำเข้าจากลาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.0 จากการนำเข้าลิกไนต์และผลิตภัณฑ์ไม้เพิ่มขึ้น ดุลการค้า ผ่านด่านศุลกากร เกินดุล 606.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 409.0 ล้านดอลลาร์ สรอ.
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 เร่งตัวจากร้อยละ 2.8 เดือนก่อนตามราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์ และค่าหน่วยไฟฟ้าสูงขึ้นเป็นสำคัญซึ่งส่งผลให้ราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สำหรับราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.2 เนื่องจากราคาเนื้อสุกร ปลา และสัตว์ทะเลอยู่ในเกณฑ์สูง ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.5 เร่งตัวเทียบกับที่ไม่มีอัตราการเพิ่มเดือนก่อน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากค่าบริการบำรุงรักษายานยนต์
ช่วง 9 เดือน ปี 2547 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ในช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากข่าวการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกที่ส่งผลกระทบด้านราคาเนื้อสุกร ปลาและสัตว์น้ำเพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อไก่ และไข่ ส่งผลให้ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เร่งตัวจากร้อยละ 3.8 ในช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับราคาหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.1 เนื่องจากค่าเช่าบ้านยังคงลดลงต่อเนื่อง แม้ว่าได้มีการปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและค่าไฟฟ้า ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานลดลงร้อยละ 0.1
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือนสิงหาคม 2547 พบว่ากำลังแรงงานรวมของภาคเหนือมีจำนวน 6.9 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.8 ล้านคน หรือเท่ากับร้อยละ 98.5 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากร้อยละ 98.8 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการจ้างงานในภาคเกษตรลดลง โดยส่วนหนึ่งเคลื่อนย้ายไปทำงานนอกภาคเกษตร ทำให้การจ้างงานนอกภาคเกษตรสูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.5 ตามความต้องการจ้างงานของภาคบริการ ภาคก่อสร้าง สถานศึกษา ภาคการค้า และภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดีภาวะการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.5 สูงกว่าร้อยละ 1.2 เดือนเดียวกันปีก่อนเล็กน้อย
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2547 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 เป็น 292,795 ล้านบาท อย่างไรก็ดี เงินฝากในจังหวัดหลักของภาคเช่น จังหวัดนครสวรรค์ ลำปาง และเชียงราย ลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากมีการถอนเงินฝากเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ออกจำหน่ายในเดือนสิงหาคม แต่เงินฝากที่จังหวัดลำพูนเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากมีเงินโอนของลูกค้าชำระเงินให้แก่บริษัทในนิคมฯ เงินให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 9.0 เป็น 208,937 ล้านบาท ชะลอลงจากร้อยละ 9.6 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อยังมีการขยายตัวมากบริเวณภาคเหนือตอนล่าง จากการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปพืชผลเกษตร เช่น โรงสีข้าว โรงงานแปรรูปขิงดองส่งออกที่จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร ส่วนสินเชื่อบริเวณภาคเหนือตอนบนเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้สินเชื่อของธุรกิจส่งออกลำไยและ SMEs ประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปผักผลไม้ และบางส่วนเพื่อซื้ออาคารเพื่อการขยายธุรกิจ สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ระดับร้อยละ 71.4 สูงกว่าร้อยละ 68.4 ระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-