เศรษฐกิจในเดือนกันยายนขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับเดือนก่อน ในขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนชะลอลงเล็กน้อย ด้านรายได้และรายจ่ายรัฐบาลยังคงขยายตัวดี ส่วนภาคการส่งออกยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่องตามอุปสงค์จากต่างประเทศ
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวของทั้งราคาและปริมาณ ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่มีการปิดซ่อมโรงงานหลายแห่งในเดือนก่อน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราการว่างงานทรงตัวเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำในด้านเสถียรภาพภายนอก การส่งออกที่ขยายตัวสูงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ในขณะที่หนี้ต่างประเทศทรงตัว
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 การใช้จ่ายในประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนทั้งจากปัจจัยเสี่ยงภายในและภายนอกประเทศ เช่น สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การระบาดของโรคไข้หวัดนก และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ลดลง อย่างไรก็ดี การส่งออกยังคงขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 3 เกินดุลสูงขึ้น ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้จะเริ่มมีแรงกดดันด้านราคา
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนเป็นร้อยละ 7.7 โดยหมวดยาสูบและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กซึ่งปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วนในเดือนก่อนๆ กลับมาผลิตได้ในเดือนนี้ หมวดเครื่องดื่มมีการผลิตเบียร์ผลิตภัณฑ์ใหม่ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประกอบกับการผลิตในหมวดอาหารเริ่มดีขึ้น เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเริ่มคลี่คลาย อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 70.1
ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ7.5 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 69.3
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ในเดือนกันยายนดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 114.7 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในเดือนก่อนหน้า โดยการอุปโภคบริโภคสินค้าคงทนมีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่การอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนยังมีแนวโน้มขยายตัวดี
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 66.0 ขยายตัวร้อยละ 8.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามการชะลอของการลงทุนทั้งในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรก หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องกัน 5 เดือน ซึ่งหากความเชื่อมั่นปรับดีขึ้นต่อเนื่องก็จะเป็นปัจจัยเสริมการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป
ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีการอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนตามการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคสินค้าคงทน ขณะที่การอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนขยายตัวเท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 65.9 ขยายตัวร้อยละ 9.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนตามการชะลอของการลงทุนทั้งในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ปรับลดลงตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากความกังวลในภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นและความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. ภาคการคลัง ในเดือนกันยายนรัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.9 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 ส่วนรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 12.2 เพราะรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจลดลง สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 9.0 ทำให้ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 26.2 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 11.1 พันล้านบาท รัฐบาลจึงเกินดุลเงินสด 15.1 พันล้านบาททั้งนี้ รัฐบาลได้กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ 39.5 พันล้านบาท และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 6.7 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นอีก 47.9 พันล้านบาท เป็น 145.3 พันล้านบาท
สำหรับปีงบประมาณ 2547 รายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0 รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 รัฐบาลเกินดุลในงบประมาณ 17.9 พันล้านบาท (ไม่รวมการชำระคืนต้นเงินกู้) และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 4.8 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดเกินดุล 13.1 พันล้านบาท
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนกันยายน 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็นผลจากราคาในหมวดผักและผลไม้ และหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ยังสูงขึ้นร้อยละ 13.2 และ 11.4 ตามลำดับ ตามอุปทานที่ยังคงขาดแคลน โดยเฉพาะผลไม้ ส่วนราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดพลังงานที่สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 15.8 จากการปรับขึ้นราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง หมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 12.1 และ 8.6 ตามลำดับ
ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ3.3 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ8.2
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนกันยายนมูลค่าการส่งออกเป็นประวัติการณ์ถึง 8,495 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 22.9 เนื่องจากเริ่มเข้าฤดูกาลส่งออกก่อนเทศกาลคริสต์มาส โดยสินค้าที่ส่งออกดีต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง เช่น ยานพาหนะและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ผลิตภัณฑ์เคมี และพลาสติก ส่วนการนำเข้าก็เร่งตัวขึ้นมากขยายตัวถึงร้อยละ 29.8 คิดเป็นมูลค่า 8,135 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องจักร และวัตถุดิบสำคัญ โดยเฉพาะเคมีภัณฑ์เหล็กและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะเดียวกันการนำเข้าน้ำมันดิบยังมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่องจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ดุลการค้าในเดือนนี้กลับมาเกินดุล 360 ล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากขาดดุลในเดือนก่อน ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 219 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากเป็นเดือนตกงวดของการส่งกลับกำไรและเงินปันผล การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยปัญหาจากการระบาดของไข้หวัดนกรอบ 2 ไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวมากนัก ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงเกินดุล 579 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 644 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 อยู่ที่ระดับ 44.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในไตรมาสที่ 3 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 25.4 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 29.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 173 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการฯ ที่เกินดุล 1,231 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 1,404 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 1,083 ล้านดอลลาร์ สรอ.รวม 9 เดือนแรกดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 4,197 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.5 7.4 และ 6.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากเดือนสิงหาคม โดยเงินฝากที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของภาคธุรกิจ สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือน กันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อจากภาคธุรกิจของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ควบรวมกิจการกับธนาคารทหารไทยและธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน ในเดือนกันยายนปรับตัวสูงขึ้น ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.43 และ 1.45 ต่อปี ตามลำดับ เป็นผลจากสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นเนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต้องกันสำรองเพื่อรองรับการเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี และการเบิกถอนของลูกค้าเพื่อชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์
ในไตรมาสที่ 3 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.20 และ 1.22 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่ง เนื่องจาก ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 กอปรกับสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นเพื่อกันสำรองสำหรับการเบิกถอน
7. เงินบาท ค่าเงินบาทเฉลี่ยในเดือนกันยายนอยู่ที่ 41.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ทรงตัวจากค่าเฉลี่ยในเดือนก่อน โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือนค่าเงินบาทโน้มอ่อนลงจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทน้ำมัน กอปรกับได้รับปัจจัยลบจากการปรับลด ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทปรับแข็งขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนจากการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการปรับแข็งขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
ในไตรมาสที่ 3 เงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 41.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 40.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่ 2 เป็นผลจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1) sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ 2) ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทน้ำมันเพิ่มขึ้น 3) การปรับลดของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่มีการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างมาก และ 4) ความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ในช่วงวันที่ 1-26 ตุลาคม 2547 เงินบาทแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 41.36 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.แต่ค่อนข้างผันผวนโดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ ทั้งดัชนีความเชื่อมั่น การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งข่าวลือจากการที่จีนจะปรับค่าเงินหยวน ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทในเดือนนี้ยังคงได้รับปัจจัยลบจากราคาน้ำมัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลักขยายตัวร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการขยายตัวของทั้งราคาและปริมาณ ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมเร่งตัวขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่มีการปิดซ่อมโรงงานหลายแห่งในเดือนก่อน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี
เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ อัตราการว่างงานทรงตัวเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับต่ำในด้านเสถียรภาพภายนอก การส่งออกที่ขยายตัวสูงทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้น เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ในขณะที่หนี้ต่างประเทศทรงตัว
สำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2547 การใช้จ่ายในประเทศขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนทั้งจากปัจจัยเสี่ยงภายในและภายนอกประเทศ เช่น สถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การระบาดของโรคไข้หวัดนก และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักธุรกิจที่ลดลง อย่างไรก็ดี การส่งออกยังคงขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 3 เกินดุลสูงขึ้น ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี แม้จะเริ่มมีแรงกดดันด้านราคา
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนเป็นร้อยละ 7.7 โดยหมวดยาสูบและหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กซึ่งปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางส่วนในเดือนก่อนๆ กลับมาผลิตได้ในเดือนนี้ หมวดเครื่องดื่มมีการผลิตเบียร์ผลิตภัณฑ์ใหม่ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประกอบกับการผลิตในหมวดอาหารเริ่มดีขึ้น เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบเริ่มคลี่คลาย อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 70.1
ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.8 ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ7.5 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ร้อยละ 69.3
2. การใช้จ่ายภายในประเทศ ในเดือนกันยายนดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 114.7 ขยายตัวร้อยละ 3.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวในเดือนก่อนหน้า โดยการอุปโภคบริโภคสินค้าคงทนมีแนวโน้มชะลอลง ขณะที่การอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนยังมีแนวโน้มขยายตัวดี
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 66.0 ขยายตัวร้อยละ 8.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามการชะลอของการลงทุนทั้งในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรก หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องกัน 5 เดือน ซึ่งหากความเชื่อมั่นปรับดีขึ้นต่อเนื่องก็จะเป็นปัจจัยเสริมการลงทุนภาคเอกชนในระยะต่อไป
ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีการอุปโภคบริโภค ภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนตามการชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคสินค้าคงทน ขณะที่การอุปโภคบริโภคสินค้าไม่คงทนขยายตัวเท่ากับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 65.9 ขยายตัวร้อยละ 9.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนตามการชะลอของการลงทุนทั้งในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและการก่อสร้าง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ปรับลดลงตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากความกังวลในภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นและความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. ภาคการคลัง ในเดือนกันยายนรัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 31.9 โดยรายได้ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 ส่วนรายได้ที่มิใช่ภาษีลดลงร้อยละ 12.2 เพราะรายได้นำส่งของรัฐวิสาหกิจลดลง สำหรับรายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 อัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 9.0 ทำให้ดุลเงินในงบประมาณเกินดุล 26.2 พันล้านบาท ขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 11.1 พันล้านบาท รัฐบาลจึงเกินดุลเงินสด 15.1 พันล้านบาททั้งนี้ รัฐบาลได้กู้ยืมเงินในประเทศสุทธิ 39.5 พันล้านบาท และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิ 6.7 พันล้านบาท ส่งผลให้ยอดเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นอีก 47.9 พันล้านบาท เป็น 145.3 พันล้านบาท
สำหรับปีงบประมาณ 2547 รายได้รัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.0 รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 รัฐบาลเกินดุลในงบประมาณ 17.9 พันล้านบาท (ไม่รวมการชำระคืนต้นเงินกู้) และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 4.8 พันล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดเกินดุล 13.1 พันล้านบาท
4. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนกันยายน 2547 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เป็นผลจากราคาในหมวดผักและผลไม้ และหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมที่ยังสูงขึ้นร้อยละ 13.2 และ 11.4 ตามลำดับ ตามอุปทานที่ยังคงขาดแคลน โดยเฉพาะผลไม้ ส่วนราคาหมวดที่ไม่รวมอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดพลังงานที่สูงกว่าระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 15.8 จากการปรับขึ้นราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6 สูงขึ้นจากร้อยละ 0.5 ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาในทุกหมวด ได้แก่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง หมวดผลผลิตเกษตรกรรมและหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 12.1 และ 8.6 ตามลำดับ
ในไตรมาสที่ 3 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นร้อยละ3.3 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 2 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ8.2
5. ภาคต่างประเทศ ในเดือนกันยายนมูลค่าการส่งออกเป็นประวัติการณ์ถึง 8,495 ล้านดอลลาร์ สรอ.หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 22.9 เนื่องจากเริ่มเข้าฤดูกาลส่งออกก่อนเทศกาลคริสต์มาส โดยสินค้าที่ส่งออกดีต่อเนื่อง ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง เช่น ยานพาหนะและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะสามัญ ผลิตภัณฑ์เคมี และพลาสติก ส่วนการนำเข้าก็เร่งตัวขึ้นมากขยายตัวถึงร้อยละ 29.8 คิดเป็นมูลค่า 8,135 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องจักร และวัตถุดิบสำคัญ โดยเฉพาะเคมีภัณฑ์เหล็กและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะเดียวกันการนำเข้าน้ำมันดิบยังมีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่องจากปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ ดุลการค้าในเดือนนี้กลับมาเกินดุล 360 ล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากขาดดุลในเดือนก่อน ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน เกินดุล 219 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากเป็นเดือนตกงวดของการส่งกลับกำไรและเงินปันผล การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยปัญหาจากการระบาดของไข้หวัดนกรอบ 2 ไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวมากนัก ดุลบัญชีเดินสะพัด จึงเกินดุล 579 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 644 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 อยู่ที่ระดับ 44.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 4.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ในไตรมาสที่ 3 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 25.4 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 29.8 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 173 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการฯ ที่เกินดุล 1,231 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 1,404 ล้านดอลลาร์ สรอ. และดุลการชำระเงินเกินดุล 1,083 ล้านดอลลาร์ สรอ.รวม 9 เดือนแรกดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล 4,197 ล้านดอลลาร์ สรอ.
6. ภาวะการเงิน ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.5 7.4 และ 6.5 ตามลำดับ ซึ่งเป็นอัตราที่ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยเงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 3.8 ชะลอลงจากเดือนสิงหาคม โดยเงินฝากที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของภาคธุรกิจ สำหรับสินเชื่อภาคเอกชน (รวมการถือหลักทรัพย์ของเอกชน) ของธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือน กันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อจากภาคธุรกิจของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่ควบรวมกิจการกับธนาคารทหารไทยและธนาคารดีบีเอสไทยทนุ
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน ในเดือนกันยายนปรับตัวสูงขึ้น ทั้งอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.43 และ 1.45 ต่อปี ตามลำดับ เป็นผลจากสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้นเนื่องจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต้องกันสำรองเพื่อรองรับการเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลงวดครึ่งปี และการเบิกถอนของลูกค้าเพื่อชำระค่าพันธบัตรออมทรัพย์
ในไตรมาสที่ 3 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.20 และ 1.22 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่ง เนื่องจาก ธปท. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547 กอปรกับสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ตึงตัวขึ้นเพื่อกันสำรองสำหรับการเบิกถอน
7. เงินบาท ค่าเงินบาทเฉลี่ยในเดือนกันยายนอยู่ที่ 41.47 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ทรงตัวจากค่าเฉลี่ยในเดือนก่อน โดยในช่วงครึ่งแรกของเดือนค่าเงินบาทโน้มอ่อนลงจากความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ของบริษัทน้ำมัน กอปรกับได้รับปัจจัยลบจากการปรับลด ประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยอย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทปรับแข็งขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนจากการที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นการปรับแข็งขึ้นตามค่าเงินในภูมิภาค
ในไตรมาสที่ 3 เงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 41.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 40.30 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสที่ 2 เป็นผลจากปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1) sentiment ของเงินดอลลาร์ สรอ. ที่ปรับดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ 2) ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. จากบริษัทน้ำมันเพิ่มขึ้น 3) การปรับลดของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่มีการขายสุทธิของนักลงทุนต่างชาติค่อนข้างมาก และ 4) ความกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ในช่วงวันที่ 1-26 ตุลาคม 2547 เงินบาทแข็งค่าขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 41.36 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.แต่ค่อนข้างผันผวนโดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ ทั้งดัชนีความเชื่อมั่น การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งข่าวลือจากการที่จีนจะปรับค่าเงินหยวน ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทในเดือนนี้ยังคงได้รับปัจจัยลบจากราคาน้ำมัน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--