กรุงเทพ--2 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดเพื่อโลกที่ปราศจากทุ่นระเบิด สังหารบุคคล ซึ่งรัฐบาลเคนยาได้จัดขึ้นในโอกาสที่มีการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยมีนาย Mwai Kibaki ประธานาธิบดีของเคนยาเป็นประธานและกล่าวเปิด
ในพิธีดังกล่าว ดร.สรจักรฯ ได้กล่าวถ้อยแถลงเป็นลำดับแรกในนามของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานของการ ประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 5 โดยในถ้อยแถลง ดร.สรจักรฯ ได้กล่าวชื่นชมถึงบทบาท ของเคนยาโดยเฉพาะของประธานาธิบดี Kibaki ซึ่งได้เห็นความสำคัญของการดำเนินการในเรื่อง การกำจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยการยกระดับการประชุมทบทวนเป็นระดับการประชุม สุดยอด และจัดกิจกรรมสำคัญขึ้นในโอกาสเดียวกัน เช่น การประชุมสุดยอดของผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากทุ่นระเบิด ซึ่งประเทศไทยได้ส่งผู้แทนมาร่วม 3 คน ที่ได้รับเคราะห์กรรมจาก ทุ่นระเบิด และยังมีกิจกรรมกีฬาของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อด้วย ซึ่งช่วยให้การเข้าใจถึงปัญหาและ ผลกระทบของทุ่นระเบิดได้รับความสนใจจากประชาคมโลกมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการ ดำเนินการของไทยในการที่จะทำให้เรื่องของทุ่นระเบิดเป็นปัญหาในระดับสากล รวมทั้ง การระดมทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการจัดการกับปัญหาทุ่นระเบิด และการ ประชุมทบทวนนับว่าเป็นก้าวสำคัญในการที่จะวางแผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินการ ร่วมกันในอีก 5 ปีข้างหน้า
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ กระทรวงการต่างประเทศ ในนามของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ ในฐานะประธานการประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 5 ได้ทำหน้าที่ประธาน การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
ครั้งที่ 1 และได้อ่านถ้อยแถลงของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ เพื่อเปิดการประชุม ในถ้อยแถลงของ ดร.สุรเกียรติ์ฯ โดยได้เน้นถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ของประธานการประชุม ครั้งที่ 5 ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมจากประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกันยายน 2546 ซึ่งมีความคืบหน้าไปมากโดยเฉพาะในด้าน การเก็บกู้ทุ่นระเบิด โดยประเทศภาคี อย่างไรก็ดี การดำเนินการยังมีอุปสรรคเนื่องจากขาด บุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์และงบประมาณ ซึ่งในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหารัฐมนตรี ต่างประเทศไทยพร้อมด้วยคณะทำงานด้านการระดมทรัพยากรได้ริเริ่มการติดต่อกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศโดยเฉพาะธนาคารโลก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบกับ ประธานธนาคารโลกและได้มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การกำจัดทุ่นระเบิดมีความเกี่ยวโยงกับ การพัฒนาและธนาคารโลกก็พร้อมจะให้การสนับสนุนความคืบหน้าในด้านอื่นๆ ได้แก่ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยของทุ่นระเบิด การดำเนินการเพื่อเพิ่มขยายภาคีของอนุสัญญา โดยในการดำเนินการของไทยเป็นผลให้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคี หรือได้ให้สัตยาบัน เพิ่มขึ้นเป็นผลให้ขณะนี้มีภาคีถึง 143 ประเทศ และอีกหลายประเทศมีความสนใจที่จะเข้าร่วม หรือสนับสนุนด้านอื่นๆ ปัจจัยสำคัญที่ไทยได้ให้การสนับสนุนได้แก่ ความร่วมมือในระดับ ภูมิภาค ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ถ้อยแถลงของดร.สุรเกียรติ์ ฯ ยังได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่ขอให้มีการพิจารณา เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องทุ่นระเบิดเป็นผลสำเร็จ อาทิ การจัดตั้ง Global Fund for Humanitarian Mine Action เพื่อช่วยให้การระดมทุน การส่งเสริมบทบาทของสหประชาชาติ ในการดำเนินการตามอนุสัญญาสนับสนุนความร่วมมือในระดับภูมิภาค การดำเนินการเพื่อให้ องค์การระดับภูมิภาค สถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะธนาคารโลกมีเรื่องทุ่นระเบิด ในแผนดำเนินการ การเร่งดำเนินการในเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศภาคี โดยเฉพาะประเทศที่ยากจน และเพิ่มขยายความร่วมมือและประสานงานและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศภาคีกับองค์การเอกชน (NGO) และองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นกุญแจ สำคัญที่จะทำให้อนุสัญญาฯ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายใน 5 ปีข้างหน้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมสุดยอดเพื่อโลกที่ปราศจากทุ่นระเบิด สังหารบุคคล ซึ่งรัฐบาลเคนยาได้จัดขึ้นในโอกาสที่มีการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยมีนาย Mwai Kibaki ประธานาธิบดีของเคนยาเป็นประธานและกล่าวเปิด
ในพิธีดังกล่าว ดร.สรจักรฯ ได้กล่าวถ้อยแถลงเป็นลำดับแรกในนามของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานของการ ประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 5 โดยในถ้อยแถลง ดร.สรจักรฯ ได้กล่าวชื่นชมถึงบทบาท ของเคนยาโดยเฉพาะของประธานาธิบดี Kibaki ซึ่งได้เห็นความสำคัญของการดำเนินการในเรื่อง การกำจัดทุ่นระเบิดสังหารบุคคล โดยการยกระดับการประชุมทบทวนเป็นระดับการประชุม สุดยอด และจัดกิจกรรมสำคัญขึ้นในโอกาสเดียวกัน เช่น การประชุมสุดยอดของผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากทุ่นระเบิด ซึ่งประเทศไทยได้ส่งผู้แทนมาร่วม 3 คน ที่ได้รับเคราะห์กรรมจาก ทุ่นระเบิด และยังมีกิจกรรมกีฬาของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อด้วย ซึ่งช่วยให้การเข้าใจถึงปัญหาและ ผลกระทบของทุ่นระเบิดได้รับความสนใจจากประชาคมโลกมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการ ดำเนินการของไทยในการที่จะทำให้เรื่องของทุ่นระเบิดเป็นปัญหาในระดับสากล รวมทั้ง การระดมทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการจัดการกับปัญหาทุ่นระเบิด และการ ประชุมทบทวนนับว่าเป็นก้าวสำคัญในการที่จะวางแผนปฏิบัติการสำหรับการดำเนินการ ร่วมกันในอีก 5 ปีข้างหน้า
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ กระทรวงการต่างประเทศ ในนามของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ ในฐานะประธานการประชุมประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 5 ได้ทำหน้าที่ประธาน การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของการประชุมทบทวนอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
ครั้งที่ 1 และได้อ่านถ้อยแถลงของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ เพื่อเปิดการประชุม ในถ้อยแถลงของ ดร.สุรเกียรติ์ฯ โดยได้เน้นถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ของประธานการประชุม ครั้งที่ 5 ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมจากประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกันยายน 2546 ซึ่งมีความคืบหน้าไปมากโดยเฉพาะในด้าน การเก็บกู้ทุ่นระเบิด โดยประเทศภาคี อย่างไรก็ดี การดำเนินการยังมีอุปสรรคเนื่องจากขาด บุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์และงบประมาณ ซึ่งในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหารัฐมนตรี ต่างประเทศไทยพร้อมด้วยคณะทำงานด้านการระดมทรัพยากรได้ริเริ่มการติดต่อกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศโดยเฉพาะธนาคารโลก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบกับ ประธานธนาคารโลกและได้มีความเห็นสอดคล้องกันว่า การกำจัดทุ่นระเบิดมีความเกี่ยวโยงกับ การพัฒนาและธนาคารโลกก็พร้อมจะให้การสนับสนุนความคืบหน้าในด้านอื่นๆ ได้แก่ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยของทุ่นระเบิด การดำเนินการเพื่อเพิ่มขยายภาคีของอนุสัญญา โดยในการดำเนินการของไทยเป็นผลให้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคี หรือได้ให้สัตยาบัน เพิ่มขึ้นเป็นผลให้ขณะนี้มีภาคีถึง 143 ประเทศ และอีกหลายประเทศมีความสนใจที่จะเข้าร่วม หรือสนับสนุนด้านอื่นๆ ปัจจัยสำคัญที่ไทยได้ให้การสนับสนุนได้แก่ ความร่วมมือในระดับ ภูมิภาค ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อเดือนสิงหาคม 2547 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ถ้อยแถลงของดร.สุรเกียรติ์ ฯ ยังได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่ขอให้มีการพิจารณา เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องทุ่นระเบิดเป็นผลสำเร็จ อาทิ การจัดตั้ง Global Fund for Humanitarian Mine Action เพื่อช่วยให้การระดมทุน การส่งเสริมบทบาทของสหประชาชาติ ในการดำเนินการตามอนุสัญญาสนับสนุนความร่วมมือในระดับภูมิภาค การดำเนินการเพื่อให้ องค์การระดับภูมิภาค สถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะธนาคารโลกมีเรื่องทุ่นระเบิด ในแผนดำเนินการ การเร่งดำเนินการในเรื่องการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศภาคี โดยเฉพาะประเทศที่ยากจน และเพิ่มขยายความร่วมมือและประสานงานและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศภาคีกับองค์การเอกชน (NGO) และองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นกุญแจ สำคัญที่จะทำให้อนุสัญญาฯ ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายใน 5 ปีข้างหน้า
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-