1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ การผลิต ไต้หวันบุกเลี้ยงกุ้งในไทย
นายนิธิศ ภัทรกุลชัย นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มทุนผู้เลี้ยงกุ้งจากประเทศไต้หวันจะเข้ามาเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นซึ่งเป็นกุ้งที่ประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการนำเข้าจำนวนมาก และที่ผ่านมาได้นำเข้าจากประเทศไต้หวัน แต่เวลาที่ผู้เลี้ยงกุ้งจากไต้หวันได้ประสบปัญหาต้นทุนการเลี้ยงที่นับวันจะสูงขึ้น จึงหวั่นว่าในอนาคตหากราคากุ้งแพงเกินไปผู้ซื้อไม่รับซื้อ จึงเตรียมการป้องกันโดยย้ายฐานการเลี้ยงเข้ามายังประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนการเลี้ยงแล้วส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสำหรับเกษตรกรเห็นว่าเป็นเป็นเรื่องที่ดีเพราะทางไต้หวันมีตลาดรองรับกุ้งลายเสือที่แน่นอนคือตลาดญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อเข้ามาเลี้ยงในไทยไต้หวันต้องใช้วิธีจ้างเกษตรกรเลี้ยงและซื้อในราคาประกัน ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีตลาดรองรับกุ้งที่แน่นอนด้วย ทั้งนี้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งจำนวนมากได้หันมาเลี้ยงกุ้งขาว จนทำให้ไม่มีกุ้งกุลาดำส่งให้กับลูกค้า โดยกุ้งกุลาดำมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือตลาดญี่ปุ่น และเวลานี้ญี่ปุ่นมีความต้องการกุ้งกุลาดำ แต่จากการที่กุ้งกุลาดำมีน้อยทำให้เกษตรกรฉวยโอกาสเสนอราคาขายที่ค่อนข้างสูง เช่น กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. เสนอขายถึงกิโลกรัมละ 370 บาท ซึ่งราคานี้ญี่ปุ่นยังลังเลที่จะซื้อ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 - 21 พ.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,429.13 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 761.86 ตัน สัตว์น้ำจืด 667.27 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.76 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.74 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 98.78 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 108.44 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 32.32 ตัน
การตลาด
ตรังขยายเวลารับจำนำกุ้ง
นายวิศว ศะศิสมิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า เพื่อแก้ไขปัญหาราคากุ้งกุลาดำปี 2547 โดยมีเป้าหมายรับจำนำกุ้งจำนวน 10,000 ตัน ทางคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร มีมติขยายระยะเวลารับจำนำกุ้งกุลาดำ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547 ให้สิ้นสุดวันที่ 30 ธันวาคม 2547 โดยกำหนดราคารับจำนำตามขนาดดังนี้ กุ้งขนาด 30 ตัว/กก. ราคา 280 บาท ขนาด 40 ตัว/กก. ราคา 240 บาท ขนาด 50 ตัว/กก. ราคา 200 บาท ขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 160 บาท ขนาด 70 ตัว/กก. ราคา 140 บาท ขนาด 80 ตัว/กก. ราคา 120 บาท ขนาด 90 ตัว/กก. ราคา 100 บาท และขนาด 100 ตัว/กก. ราคา 80 บาท มีเวลาไถ่ถอนภายใน 4 เดือน นับจากเดือนที่รับจำนำ สำหรับผู้มีสิทธิจำนำจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำกับกรมประมง และต้องเป็นกุ้งที่เลี้ยงจากบ่อของตนเองที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. รวมทั้งได้แจ้งความจำนงขอกู้เงินตามโครงการรับจำนำกุ้งกุลาดำปี 2547 เท่านั้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.76 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.49 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 138.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 143.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.43
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงาน
ราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.43
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.95 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 พ.ย. — 3 ธ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.28 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 47 ประจำวันที่ 29 พ.ย.-5 ธ.ค.2547--
-พห-
นายนิธิศ ภัทรกุลชัย นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืด เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มทุนผู้เลี้ยงกุ้งจากประเทศไต้หวันจะเข้ามาเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นซึ่งเป็นกุ้งที่ประเทศญี่ปุ่นมีความต้องการนำเข้าจำนวนมาก และที่ผ่านมาได้นำเข้าจากประเทศไต้หวัน แต่เวลาที่ผู้เลี้ยงกุ้งจากไต้หวันได้ประสบปัญหาต้นทุนการเลี้ยงที่นับวันจะสูงขึ้น จึงหวั่นว่าในอนาคตหากราคากุ้งแพงเกินไปผู้ซื้อไม่รับซื้อ จึงเตรียมการป้องกันโดยย้ายฐานการเลี้ยงเข้ามายังประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาต้นทุนการเลี้ยงแล้วส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสำหรับเกษตรกรเห็นว่าเป็นเป็นเรื่องที่ดีเพราะทางไต้หวันมีตลาดรองรับกุ้งลายเสือที่แน่นอนคือตลาดญี่ปุ่น ดังนั้นเมื่อเข้ามาเลี้ยงในไทยไต้หวันต้องใช้วิธีจ้างเกษตรกรเลี้ยงและซื้อในราคาประกัน ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีตลาดรองรับกุ้งที่แน่นอนด้วย ทั้งนี้เกษตรกรเลี้ยงกุ้งจำนวนมากได้หันมาเลี้ยงกุ้งขาว จนทำให้ไม่มีกุ้งกุลาดำส่งให้กับลูกค้า โดยกุ้งกุลาดำมีตลาดส่งออกที่สำคัญคือตลาดญี่ปุ่น และเวลานี้ญี่ปุ่นมีความต้องการกุ้งกุลาดำ แต่จากการที่กุ้งกุลาดำมีน้อยทำให้เกษตรกรฉวยโอกาสเสนอราคาขายที่ค่อนข้างสูง เช่น กุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัว/กก. เสนอขายถึงกิโลกรัมละ 370 บาท ซึ่งราคานี้ญี่ปุ่นยังลังเลที่จะซื้อ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 - 21 พ.ย. 47) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,429.13 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 761.86 ตัน สัตว์น้ำจืด 667.27 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.76 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.74 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 98.78 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 108.44 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 32.32 ตัน
การตลาด
ตรังขยายเวลารับจำนำกุ้ง
นายวิศว ศะศิสมิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า เพื่อแก้ไขปัญหาราคากุ้งกุลาดำปี 2547 โดยมีเป้าหมายรับจำนำกุ้งจำนวน 10,000 ตัน ทางคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร มีมติขยายระยะเวลารับจำนำกุ้งกุลาดำ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547 ให้สิ้นสุดวันที่ 30 ธันวาคม 2547 โดยกำหนดราคารับจำนำตามขนาดดังนี้ กุ้งขนาด 30 ตัว/กก. ราคา 280 บาท ขนาด 40 ตัว/กก. ราคา 240 บาท ขนาด 50 ตัว/กก. ราคา 200 บาท ขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 160 บาท ขนาด 70 ตัว/กก. ราคา 140 บาท ขนาด 80 ตัว/กก. ราคา 120 บาท ขนาด 90 ตัว/กก. ราคา 100 บาท และขนาด 100 ตัว/กก. ราคา 80 บาท มีเวลาไถ่ถอนภายใน 4 เดือน นับจากเดือนที่รับจำนำ สำหรับผู้มีสิทธิจำนำจะต้องขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำกับกรมประมง และต้องเป็นกุ้งที่เลี้ยงจากบ่อของตนเองที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. รวมทั้งได้แจ้งความจำนงขอกู้เงินตามโครงการรับจำนำกุ้งกุลาดำปี 2547 เท่านั้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.76 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.49 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.49 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 95.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.71
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 138.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 143.00 บาทของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.43
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงาน
ราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 93.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.43
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.95 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 พ.ย. — 3 ธ.ค. 2547) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 20.28 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.28 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 47 ประจำวันที่ 29 พ.ย.-5 ธ.ค.2547--
-พห-