นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. เศรษฐกิจใน 9 เดือนแรกของปีขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เฉลี่ยร้อยละ 6.4 ต่อปี ทั้งจากการส่งออก และการใช้จ่ายในประเทศ ข้อมูลล่าสุดในเดือนตุลาคม แม้การใช้จ่ายในประเทศเริ่มแสดงการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่แรงขับเคลื่อนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในด้านอื่นยังคงดีอยู่ โดยเฉพาะการส่งออก คณะกรรมการฯ ประเมินว่ายังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงบ้าง แต่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่โน้มต่ำลง ทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวลดลงเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน
2. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องในเดือนพฤศจิกายนแต่ในอัตราที่ลดลง คือ ร้อยละ 3.0 คณะกรรมการฯ ประเมินว่า การปรับลดของราคาน้ำมันและการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทจะช่วยทำให้แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปผ่อนคลายลงจากที่ประเมินไว้เดิม สำหรับเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลในปีนี้ และมีแนวโน้มที่จะเกินดุลต่อเนื่องในปีหน้า อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นเป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนเกินไป
3. แม้แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นมีแนวโน้มผ่อนคลายลงจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่อาจเป็นภาวะชั่วคราวและยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ จึงมีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศควรปรับเข้าสู่ระดับที่สูงขึ้นเพื่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นปัจจุบันจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสเร่งตัวขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 2 ต่อปี โดยมีผลทันทีในวันนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/15 ธันวาคม 2547--
1. เศรษฐกิจใน 9 เดือนแรกของปีขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เฉลี่ยร้อยละ 6.4 ต่อปี ทั้งจากการส่งออก และการใช้จ่ายในประเทศ ข้อมูลล่าสุดในเดือนตุลาคม แม้การใช้จ่ายในประเทศเริ่มแสดงการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง แต่แรงขับเคลื่อนของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในด้านอื่นยังคงดีอยู่ โดยเฉพาะการส่งออก คณะกรรมการฯ ประเมินว่ายังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงบ้าง แต่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่โน้มต่ำลง ทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวลดลงเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน
2. ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องในเดือนพฤศจิกายนแต่ในอัตราที่ลดลง คือ ร้อยละ 3.0 คณะกรรมการฯ ประเมินว่า การปรับลดของราคาน้ำมันและการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทจะช่วยทำให้แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงต่อไปผ่อนคลายลงจากที่ประเมินไว้เดิม สำหรับเสถียรภาพต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลในปีนี้ และมีแนวโน้มที่จะเกินดุลต่อเนื่องในปีหน้า อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นเป็นสิ่งที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนเกินไป
3. แม้แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อในระยะสั้นมีแนวโน้มผ่อนคลายลงจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่อาจเป็นภาวะชั่วคราวและยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ จึงมีความเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศควรปรับเข้าสู่ระดับที่สูงขึ้นเพื่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเช่นปัจจุบันจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสเร่งตัวขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วันอีกร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 2 ต่อปี โดยมีผลทันทีในวันนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/15 ธันวาคม 2547--