สศอ. ชี้ผู้ประกอบการไทย ต้องเร่งวิจัยและพัฒนา ผลิตสินค้าให้ตรงความต้องการตลาด เน้นเครื่องจักรสมัยใหม่ในกระบวนการผลิต ให้ทันกับประเทศคู่แข่งรายใหญ่ มั่นใจผลศึกษาข้อมูลอุตสาหกรรมไทยเทียบต่างประเทศ [Competitive Benchmarking
]เป็นกลไกสำคัญหนุนผู้ประกอบการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจได้ตรงจุด
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ผลที่ได้จากการจัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) ในอุตสาหกรรม 14 สาขา โดยผลการวิเคราะห์ล่าสุดใน 3 สาขาอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และยา พบว่าทั้ง 3 อุตสาหกรรมของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง แต่จำเป็นจะต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตและการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดรับกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่คู่แข่งขันกำลังมีการปรับตัวค่อนข้างสูง
ในการเปรียบเทียบขีดความสามารถการแข่งขันของไทยกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกันและในตลาดโลก ได้ข้อสรุปในแต่ละอุตสาหกรรมดังนี้
1. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอิตาลี และอินเดีย ไทยยังเสียเปรียบขาดแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิต โดยเฉพาะเพชร และพลอยสี และยังขาดเครื่องจักรที่ทันสมัย ซึ่งทำให้ชิ้นงานที่ผลิตออกมายังไม่ตรงกับความต้องการของตลาดในระดับบนมากนัก โดยเมื่อเทียบกับประเทศอิตาลี จะเห็นได้ว่ามีเครื่องจักรที่ทันสมัยกว่าไทย มีการดีไซน์ชิ้นงาน และมีตราสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ขณะเดียวกันยังมีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนการผลิตอย่างครบวงจรภายในประเทศ
ทั้งนี้เมื่อเทียบกับอินเดีย พบว่าเป็นประเทศที่ได้เปรียบทั้งในเรื่องค่าจ้างแรงงานถูกว่าไทยมาก และมีเครือข่ายทางการตลาดอยู่ทั่วโลก มีตราสินค้าของตนเองและมีชื่อเสียงในการเจียระไนเพชรขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นประเทศคู่แข่งรายสำคัญของไทย อย่างไรก็ตามจุดเด่นของไทยยังมีความได้เปรียบในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อัญมณี โดยเฉพาะเครื่องประดับเงิน มีฝีมือในการเจียระไนพลอยสีที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตพลอยสีที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งพัฒนาระบบการจัดหาวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ การวิจัยและพัฒนารูปแบบที่เพิ่มมูลค่าขึ้นอีก และการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ที่มีจำนวนมากให้เข้มแข็งเนื่องจากปัจจุบันยังรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเฉพาะรายใหญ่เท่านั้น
2.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ในครัวเรือน และชิ้นส่วนอุตสาหกรรม โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ทำให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยยังขาดความสามารถในการออกแบบสินค้าระดับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อป้อนอุตสาหกรรมกลุ่มไฮเทค เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และแม่พิมพ์ เป็นต้น ขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วน OEM ที่ต้องอิงแบบจากบริษัทแม่เป็นหลัก ซึ่งยังต้องเพิ่มการวิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าในกลุ่มนี้ให้มากขึ้น ในขณะที่กลุ่มประเทศคู่แข่งใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยแทนการใช้แรงงานคน ทำให้มีคุณภาพในการผลิต ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าโดยเปรียบเทียบ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้อย่างแท้จริง
ดังนั้นเห็นว่าผู้ประกอบการไทยควรใช้จุดแข็งและโอกาสของการมีพันธมิตรทางการค้าในเขตเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียนเพื่อการขยายตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกระหว่างประเทศมากขึ้น โดยการจัดตั้งศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกในอาเซียนด้วย เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
3. อุตสาหกรรมยา ได้แก่ ยาสามัญแผนปัจจุบัน ประเภทยาแอสไพริน ยาต้านไวรัส และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เมื่อเทียบกับประเทศอินเดียและเกาหลีใต้ พบว่าไทยเสียเปรียบในเรื่องการวิจัยและพัฒนาในการสกัดตัวยาชนิดต่างๆ เพื่อการรักษาโรคเฉพาะทาง
ประเทศอินเดียมีศักยภาพทางด้านการตลาด เนื่องจากเป็นประเทศมีระบบการการวิจัยและพัฒนาตัวยาที่มีคุณภาพ ทำให้ยาของประเทศอินเดียเป็นที่นิยมและมีการนำเข้าจากหลายๆประเทศ และเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ จะเห็นว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีข้อได้เปรียบด้านวัตถุดิบซึ่งเป็นสารวัตถุดิบตัวยาของกระบวนการผลิตยาหลักที่มีคุณภาพ เนื่องจากมีสถาบันเฉพาะทางทำการวิจัยและพัฒนา รวมถึงมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างนวัตกรรมการผลิตยาใหม่ๆ [ innovative drug
] มากกว่าไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
]เป็นกลไกสำคัญหนุนผู้ประกอบการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจได้ตรงจุด
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ผลที่ได้จากการจัดทำข้อมูลอุตสาหกรรมเชิงเปรียบเทียบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน (Competitive Benchmarking) ในอุตสาหกรรม 14 สาขา โดยผลการวิเคราะห์ล่าสุดใน 3 สาขาอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พลาสติก และยา พบว่าทั้ง 3 อุตสาหกรรมของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง แต่จำเป็นจะต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตและการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมาใช้เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดรับกับภาวะการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่คู่แข่งขันกำลังมีการปรับตัวค่อนข้างสูง
ในการเปรียบเทียบขีดความสามารถการแข่งขันของไทยกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกันและในตลาดโลก ได้ข้อสรุปในแต่ละอุตสาหกรรมดังนี้
1. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอิตาลี และอินเดีย ไทยยังเสียเปรียบขาดแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิต โดยเฉพาะเพชร และพลอยสี และยังขาดเครื่องจักรที่ทันสมัย ซึ่งทำให้ชิ้นงานที่ผลิตออกมายังไม่ตรงกับความต้องการของตลาดในระดับบนมากนัก โดยเมื่อเทียบกับประเทศอิตาลี จะเห็นได้ว่ามีเครื่องจักรที่ทันสมัยกว่าไทย มีการดีไซน์ชิ้นงาน และมีตราสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ขณะเดียวกันยังมีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรมเพื่อสนับสนุนการผลิตอย่างครบวงจรภายในประเทศ
ทั้งนี้เมื่อเทียบกับอินเดีย พบว่าเป็นประเทศที่ได้เปรียบทั้งในเรื่องค่าจ้างแรงงานถูกว่าไทยมาก และมีเครือข่ายทางการตลาดอยู่ทั่วโลก มีตราสินค้าของตนเองและมีชื่อเสียงในการเจียระไนเพชรขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นประเทศคู่แข่งรายสำคัญของไทย อย่างไรก็ตามจุดเด่นของไทยยังมีความได้เปรียบในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อัญมณี โดยเฉพาะเครื่องประดับเงิน มีฝีมือในการเจียระไนพลอยสีที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยเฉพาะในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตพลอยสีที่เป็นเอกลักษณ์ ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ผู้ผลิตไทยจะต้องเร่งพัฒนาระบบการจัดหาวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำ การวิจัยและพัฒนารูปแบบที่เพิ่มมูลค่าขึ้นอีก และการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ที่มีจำนวนมากให้เข้มแข็งเนื่องจากปัจจุบันยังรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเฉพาะรายใหญ่เท่านั้น
2.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ในครัวเรือน และชิ้นส่วนอุตสาหกรรม โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี ทำให้เห็นว่าผู้ประกอบการไทยยังขาดความสามารถในการออกแบบสินค้าระดับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อป้อนอุตสาหกรรมกลุ่มไฮเทค เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ และแม่พิมพ์ เป็นต้น ขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วน OEM ที่ต้องอิงแบบจากบริษัทแม่เป็นหลัก ซึ่งยังต้องเพิ่มการวิจัยและพัฒนาการผลิตสินค้าในกลุ่มนี้ให้มากขึ้น ในขณะที่กลุ่มประเทศคู่แข่งใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยแทนการใช้แรงงานคน ทำให้มีคุณภาพในการผลิต ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าโดยเปรียบเทียบ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้อย่างแท้จริง
ดังนั้นเห็นว่าผู้ประกอบการไทยควรใช้จุดแข็งและโอกาสของการมีพันธมิตรทางการค้าในเขตเศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียนเพื่อการขยายตลาดผลิตภัณฑ์พลาสติกระหว่างประเทศมากขึ้น โดยการจัดตั้งศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกในอาเซียนด้วย เพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
3. อุตสาหกรรมยา ได้แก่ ยาสามัญแผนปัจจุบัน ประเภทยาแอสไพริน ยาต้านไวรัส และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เมื่อเทียบกับประเทศอินเดียและเกาหลีใต้ พบว่าไทยเสียเปรียบในเรื่องการวิจัยและพัฒนาในการสกัดตัวยาชนิดต่างๆ เพื่อการรักษาโรคเฉพาะทาง
ประเทศอินเดียมีศักยภาพทางด้านการตลาด เนื่องจากเป็นประเทศมีระบบการการวิจัยและพัฒนาตัวยาที่มีคุณภาพ ทำให้ยาของประเทศอินเดียเป็นที่นิยมและมีการนำเข้าจากหลายๆประเทศ และเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ จะเห็นว่ามีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีข้อได้เปรียบด้านวัตถุดิบซึ่งเป็นสารวัตถุดิบตัวยาของกระบวนการผลิตยาหลักที่มีคุณภาพ เนื่องจากมีสถาบันเฉพาะทางทำการวิจัยและพัฒนา รวมถึงมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสร้างนวัตกรรมการผลิตยาใหม่ๆ [ innovative drug
] มากกว่าไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-