กรุงเทพ--30 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยเมื่อวานนี้ (29 ธันวาคม 2547) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินการให้ความช่วยเหลือคนไทยและชาวต่างประเทศที่ประสบภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ในประเทศไทยและต่างประเทศ สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ โดยได้พบและหารือกับฝ่ายปกครองของจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ และได้ไปตรวจเยี่ยมการทำงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศจำนวน 22 ราย ที่ได้ปฏิบัติงานที่ศูนย์ประสานงาน ณ จังหวัดภูเก็ต โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ 36 ประเทศ และได้มีการเยี่ยม ผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตด้วย
2. คณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ แสดงความขอบคุณที่รัฐบาลไทยดำเนินการประสานงานและอำนวยสะดวกต่างๆ ทำให้การประสานงานระหว่างคณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตกับฝ่ายไทยดำเนินไปอย่างราบรื่น ในการให้ความช่วยเหลือชาวต่างประเทศที่ประสบภัยพิบัติ
3. สำหรับการให้ความช่วยเหลือชาวต่างประเทศที่ประสบภัยพิบัติ และต้องการเดินทางกลับนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกด้านเอกสารการเดินทางกลับประเทศตน และสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางมาพำนัก ณ กรุงเทพฯ เพื่อรอคอยการเดินทางกลับต่างประเทศนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ขอความร่วมมือโรงแรมในกรุงเทพฯ จำนวน 35 แห่ง จัดเตรียม ห้องพักสำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางมาจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติ จำนวน 520 ราย นอกจากนี้ หน่วยราชการไทยได้ประสานกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในการสำรองห้องพัก ณ หอพัก สำหรับชาวต่างประเทศ 300 คน
4. สำหรับปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในขณะนี้ คือ การชันสูตรศพ การพิสูจน์สัญชาติ และการเก็บรักษาศพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดแคลนตู้เก็บศพ ซึ่งได้มีการแจ้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดหามาในโอกาสแรก ทั้งนี้ ประเทศออสเตรเลียได้ให้ความ ช่วยเหลือจัดส่งตู้เย็นสำหรับเก็บศพจำนวน 2 ตู้ ซึ่งมาถึงประเทศไทยด้วยแล้ว นอกจากนี้ การลำเลียงศพ เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนประการหนึ่ง ดังนั้น ความต้องการโลงศพที่ทำจากโลหะ จึงเป็นความต้องการสำคัญ ทั้งนี้ หากรัฐบาลของประเทศต่างๆ จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
5. กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดตั้งระบบบริหารจัดการแบบ One Stop Service ณ ที่ทำการของจังหวัดภูเก็ต โดยจะมีการทำระบบการรายงานผู้บาดเจ็บ สูญหายและเสียชีวิต แยกแสดงแต่ละโรงพยาบาลและสถานที่เก็บศพที่ชัดเจน รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับศพเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และสถานเอกอัครราชทูต และญาติ พี่น้องของผู้ที่เสียชีวิต
6. นาย Michel Banier รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ได้เดินทางโดยเครื่องบิน พิเศษไปยัง จ. ภูเก็ต เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2547 พร้อมทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัย และได้พบกับ ดร. โภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยแสดงความขอบคุณที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการช่วยเหลือชาวต่างประเทศอย่างเต็มที่ และฝรั่งเศสพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือกับฝ่ายไทยต่อไป รวมทั้งได้เดินทางไปดูพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติด้วย
7. นาง Laila Freivalds รัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดน ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยวันนี้ และได้พบปะหารือกับ ดร. โภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และไปตรวจเยี่ยมการดำเนินการงานของคณะเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต และเดินทางไปตรวจ พื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ
8. สำหรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในขณะนี้ สรุปได้ ดังนี้
- ฝรั่งเศส : หน่วยกู้ภัย 12 คน พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ เดินทางถึงจังหวัดภูเก็ตแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ทั้งนี้ จะส่งเครื่องบินตรวจการณ์และเครื่องบิน ขนส่งพร้อมทีมค้นหามาอีก
- สวีเดน : ทีมกู้ภัยมาถึงแล้ววันนี้ (29 ธันวาคม 2547)
- เยอรมัน :ทีมค้นหาและกู้ภัยพร้อมเครื่องบินพิเศษ มาถึงเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547
- อิตาลี : ทีมแพทย์ และเครื่องบินพิเศษ มาถึงเมื่อวันที่ 28 และ 29 ธันวาคม 2547
- สวิตเซอร์แลนด์ : ทีมแพทย์ พร้อมเครื่องบินพิเศษ มาถึงแล้ว เมื่อวันที่ 28 และ 29 ธันวาคม 2547
- ตุรกี : ยาจำนวน 11 กล่อง โดยมอบให้หน่วยงานของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
- กรีซ : เครื่องบินพิเศษพร้อมยารักษาโรค จะเดินทางถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2547
- จีน : เอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย ได้มอบเงินบริจาคจำนวน 3 แสนเหรียญสหรัฐฯ แก่ ดร. สุรเกียรติ์ฯ แล้วในวันนี้
- ญี่ปุ่น : ทีมค้นหาและทีมแพทย์พร้อมด้วยเรือกู้ภัยและเฮลิคอปเตอร์จะเดินทางถึงประเทศไทยในวันนี้
- เกาหลีใต้ : เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ ประจำประเทศไทย ได้มอบเงินบริจาคจำนวน 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ แก่ ดร. สุรเกียรติ์ฯ แล้วในวันนี้ และจะส่งทีมกู้ภัยมาด้วย
- ไต้หวัน : ได้ส่งทีมกู้ภัยมาแล้ว
- สหรัฐฯ : เครื่องบินกู้ภัยและเครื่องบินขนส่ง เดินทางถึงประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 27 และ 28 ธันวาคม 2547 และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย จะมอบเงิน 1 แสนเหรียญแก่สภากาชาดไทย
- ออสเตรเลีย : ส่งตู้เย็นสำหรับเก็บศพ 2 ตู้ มาถึงประเทศไทยวันนี้
- อิสราเอล : ทีมแพทย์ จำนวน 15 ราย เดินทางถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547
- อิหร่าน : ส่งเวชภัณฑ์ เครื่องนุ่งห่ม และยา จำนวน 23 ตัน ถึงประเทศไทยแล้ว ในวันนี้
- UNDP : มอบเงินจำนวน 1 แสนเหรียญสหรัฐให้กระทรวงการต่างประเทศแล้ว และได้ส่งทีมบรรเทาทุกข์ไปในพื้นที่แล้ววันนี้
- นอกจากนี้ ยังมีองค์การระหว่างประเทศ และประเทศอื่นๆ ได้แสดงความจำนงที่จะให้ความช่วยเหลืออีก
- ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของมนุษยธรรม และรัฐบาลไทยได้แสดงความขอบคุณในไมตรีจิตเหล่านั้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ด้วยเมื่อวานนี้ (29 ธันวาคม 2547) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินการให้ความช่วยเหลือคนไทยและชาวต่างประเทศที่ประสบภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ในประเทศไทยและต่างประเทศ สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้
1. เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ โดยได้พบและหารือกับฝ่ายปกครองของจังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ และได้ไปตรวจเยี่ยมการทำงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศจำนวน 22 ราย ที่ได้ปฏิบัติงานที่ศูนย์ประสานงาน ณ จังหวัดภูเก็ต โดยร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตประเทศต่างๆ 36 ประเทศ และได้มีการเยี่ยม ผู้บาดเจ็บที่โรงพยาบาลในจังหวัดภูเก็ตด้วย
2. คณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตต่างๆ แสดงความขอบคุณที่รัฐบาลไทยดำเนินการประสานงานและอำนวยสะดวกต่างๆ ทำให้การประสานงานระหว่างคณะผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตกับฝ่ายไทยดำเนินไปอย่างราบรื่น ในการให้ความช่วยเหลือชาวต่างประเทศที่ประสบภัยพิบัติ
3. สำหรับการให้ความช่วยเหลือชาวต่างประเทศที่ประสบภัยพิบัติ และต้องการเดินทางกลับนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกด้านเอกสารการเดินทางกลับประเทศตน และสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางมาพำนัก ณ กรุงเทพฯ เพื่อรอคอยการเดินทางกลับต่างประเทศนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ขอความร่วมมือโรงแรมในกรุงเทพฯ จำนวน 35 แห่ง จัดเตรียม ห้องพักสำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางมาจากพื้นที่ประสบภัยพิบัติ จำนวน 520 ราย นอกจากนี้ หน่วยราชการไทยได้ประสานกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในการสำรองห้องพัก ณ หอพัก สำหรับชาวต่างประเทศ 300 คน
4. สำหรับปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในขณะนี้ คือ การชันสูตรศพ การพิสูจน์สัญชาติ และการเก็บรักษาศพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดแคลนตู้เก็บศพ ซึ่งได้มีการแจ้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้จัดหามาในโอกาสแรก ทั้งนี้ ประเทศออสเตรเลียได้ให้ความ ช่วยเหลือจัดส่งตู้เย็นสำหรับเก็บศพจำนวน 2 ตู้ ซึ่งมาถึงประเทศไทยด้วยแล้ว นอกจากนี้ การลำเลียงศพ เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนประการหนึ่ง ดังนั้น ความต้องการโลงศพที่ทำจากโลหะ จึงเป็นความต้องการสำคัญ ทั้งนี้ หากรัฐบาลของประเทศต่างๆ จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
5. กระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดตั้งระบบบริหารจัดการแบบ One Stop Service ณ ที่ทำการของจังหวัดภูเก็ต โดยจะมีการทำระบบการรายงานผู้บาดเจ็บ สูญหายและเสียชีวิต แยกแสดงแต่ละโรงพยาบาลและสถานที่เก็บศพที่ชัดเจน รวมถึงการดำเนินการเกี่ยวกับศพเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และสถานเอกอัครราชทูต และญาติ พี่น้องของผู้ที่เสียชีวิต
6. นาย Michel Banier รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ได้เดินทางโดยเครื่องบิน พิเศษไปยัง จ. ภูเก็ต เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2547 พร้อมทีมเจ้าหน้าที่กู้ภัย และได้พบกับ ดร. โภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยแสดงความขอบคุณที่รัฐบาลไทยได้ดำเนินการช่วยเหลือชาวต่างประเทศอย่างเต็มที่ และฝรั่งเศสพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือกับฝ่ายไทยต่อไป รวมทั้งได้เดินทางไปดูพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติด้วย
7. นาง Laila Freivalds รัฐมนตรีต่างประเทศสวีเดน ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยวันนี้ และได้พบปะหารือกับ ดร. โภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และไปตรวจเยี่ยมการดำเนินการงานของคณะเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต และเดินทางไปตรวจ พื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติ
8. สำหรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในขณะนี้ สรุปได้ ดังนี้
- ฝรั่งเศส : หน่วยกู้ภัย 12 คน พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์ เดินทางถึงจังหวัดภูเก็ตแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 ทั้งนี้ จะส่งเครื่องบินตรวจการณ์และเครื่องบิน ขนส่งพร้อมทีมค้นหามาอีก
- สวีเดน : ทีมกู้ภัยมาถึงแล้ววันนี้ (29 ธันวาคม 2547)
- เยอรมัน :ทีมค้นหาและกู้ภัยพร้อมเครื่องบินพิเศษ มาถึงเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547
- อิตาลี : ทีมแพทย์ และเครื่องบินพิเศษ มาถึงเมื่อวันที่ 28 และ 29 ธันวาคม 2547
- สวิตเซอร์แลนด์ : ทีมแพทย์ พร้อมเครื่องบินพิเศษ มาถึงแล้ว เมื่อวันที่ 28 และ 29 ธันวาคม 2547
- ตุรกี : ยาจำนวน 11 กล่อง โดยมอบให้หน่วยงานของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
- กรีซ : เครื่องบินพิเศษพร้อมยารักษาโรค จะเดินทางถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2547
- จีน : เอกอัครราชทูตจีน ประจำประเทศไทย ได้มอบเงินบริจาคจำนวน 3 แสนเหรียญสหรัฐฯ แก่ ดร. สุรเกียรติ์ฯ แล้วในวันนี้
- ญี่ปุ่น : ทีมค้นหาและทีมแพทย์พร้อมด้วยเรือกู้ภัยและเฮลิคอปเตอร์จะเดินทางถึงประเทศไทยในวันนี้
- เกาหลีใต้ : เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ ประจำประเทศไทย ได้มอบเงินบริจาคจำนวน 1 แสนเหรียญสหรัฐฯ แก่ ดร. สุรเกียรติ์ฯ แล้วในวันนี้ และจะส่งทีมกู้ภัยมาด้วย
- ไต้หวัน : ได้ส่งทีมกู้ภัยมาแล้ว
- สหรัฐฯ : เครื่องบินกู้ภัยและเครื่องบินขนส่ง เดินทางถึงประเทศไทยแล้วเมื่อวันที่ 27 และ 28 ธันวาคม 2547 และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย จะมอบเงิน 1 แสนเหรียญแก่สภากาชาดไทย
- ออสเตรเลีย : ส่งตู้เย็นสำหรับเก็บศพ 2 ตู้ มาถึงประเทศไทยวันนี้
- อิสราเอล : ทีมแพทย์ จำนวน 15 ราย เดินทางถึงประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547
- อิหร่าน : ส่งเวชภัณฑ์ เครื่องนุ่งห่ม และยา จำนวน 23 ตัน ถึงประเทศไทยแล้ว ในวันนี้
- UNDP : มอบเงินจำนวน 1 แสนเหรียญสหรัฐให้กระทรวงการต่างประเทศแล้ว และได้ส่งทีมบรรเทาทุกข์ไปในพื้นที่แล้ววันนี้
- นอกจากนี้ ยังมีองค์การระหว่างประเทศ และประเทศอื่นๆ ได้แสดงความจำนงที่จะให้ความช่วยเหลืออีก
- ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานของมนุษยธรรม และรัฐบาลไทยได้แสดงความขอบคุณในไมตรีจิตเหล่านั้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-