กรุงเทพ--22 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งข้าราชการไปร่วมสังเกตการณ์ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย โดยเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2541 ได้มีการชุมนุมของผู้สนับสนุนนาย Anwar Ibrahim อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของมาเลเซียประมาณ 3,000-4,000 คน ที่บริเวณจัตุรัส Merdeka ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกับหน้าศาลแขวงของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประชาชนเหล่านี้ได้เฝ้ารอการพิพากษาของศาลในคดีของนาย Anwar Ibrahim ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ามาเตือนให้ผู้ชุมนุมสลายตัว แต่หลังจากนั้นยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนไม่เคลื่อนย้ายออกจากบริเวณจตุรัส จึงทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้กำลังบ้างและใช้แก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุมที่เหลือ สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบมาว่า ในการการเข้าสลายครั้งนี้ได้มีผู้ชุมนุมถูกจับกุมประมาณ 40 คน และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันได้มีประชาชนมาชุมนุมที่บริเวณจตุรัส Merdeka อีกครั้ง เนื่องจากต้องการมาฟังคำพิพากษาและก็ต้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายโดยการใช้แก๊สน้ำตาและมีการจับกุมผู้ชุมนุมบางคนหลังจากนั้น กรมตำรวจได้ออกมาแถลงให้ประชาชนทราบว่า นาย Anwar Ibrahim อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของมาเลเซียได้ถูกจับกุมภายใต้กฎหมายว่าด้วยความ มั่นคงภายใน(Internal Security Act) ซึ่งตามกฎหมายนี้ผู้ถูกจับกุมไม่จำเป็นที่จะต้องมาขึ้นศาลเพื่อรับแจ้งข้อหา และทางการสามารถควบคุมตัวไว้ได้เป็นเวลา 2 ปี
ในช่วงบ่ายมีรายงานข่าวว่า ตำรวจได้บุกเข้าไปตรวจค้นบ้านของนาย Anwar Ibrahim แต่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ได้รับรายละเอียดของการตรวจค้น และมีรายงานว่านายกรัฐมนตรี Mahathir Mohammad ได้เรียกประชุมคณะมนตรีสูงสุด (Supreme Council) ของพรรค UMNO ที่ทำเนียบของนายกรัฐมนตรี แต่ไม่มีการรายงานผลการประชุมครั้งนี้ในสื่อมวลชน
ในวันนี้ (22 ก.ย.41) สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานว่า มีการจับกุมผู้สนับสนุนนาย Anwar Ibrahim เพิ่มขึ้น อาทิ นาย Zahid Hamidi ผู้นำกลุ่มยุวชนของพรรค UMNO (UMNO Youth) รวมทั้งผู้นำศาสนา อิสลามที่เคยให้การสนับสนุนต่อนาย Anwar Ibrahim ซึ่งบุคคลทั้งหมดที่ถูกจับนี้ได้ถูกแจ้งข้อหาว่า กระทำการละเมิดความมั่นคงภายในซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายใน สำหรับสถานการณ์โดยทั่วไปอยู่ในขั้นปกติ ไม่มีการประท้วง
สำหรับคนไทยที่พำนักอาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีจำนวนประมาณ 400 คน ยังไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้มีการติดต่อกับชุมชนไทยเป็นระยะอยู่แล้ว นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 24 ชั่วโมงไว้กับผู้นำชุมชนไทยแล้ว
สถิติคนไทยที่เดินทางไปประกอบอาชีพในมาเลเซีย เป็นคนงานที่ทำงานถูกกฎหมายประมาณ 20,000 คน โดยเป็นคนงานในภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง และงานแม่บ้าน นอกจากนั้นยังมีคนงานผิดกฎหมายประมาณ 50,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคเกษตรกรรมและเป็นแรงงานตาม ฤดูกาล
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2541 เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้เข้าพบนาย Zeti Akhtar Aziz รองผู้ว่าการธนาคารชาติมาเลเซียเพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบต่าง ๆ ของมาตรการควบคุมการปริวรรตเงินตราของมาเลเซียในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและได้รับการยืนยันจากทางรองผู้ว่าการธนาคารชาติมาเลเซียว่า มาตรการที่จะประกาศใช้และจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2541 นั้น จะไม่มีผลต่อนักลงทุนมาเลเซียที่ประสงค์จะนำเงินออกไปลงทุนในโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่แล้ว สำหรับการนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศในโครงการใหม่จะต้องได้รับอนุญาตก่อน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นการลงทุนในสาขาที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจภายในของมาเลเซีย แต่ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการระบุถึงสาขาการลงทุนแต่อย่างใด
สำหรับประเด็นเรื่องเงินริงกิตที่อยู่นอกประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะในส่วนที่อยู่ในประเทศไทย นั้น ขณะนี้ ยังไม่มีการประมาณการจำนวนเงินริงกิตที่อยู่ในประเทศไทย แต่หากพิจารณาจากตัวเลขรายรับของผู้ส่งออก เมื่อปี 2540 ปรากฏว่า การส่งออกของไทยไปมาเลเซียในปี 2540 มีมูลค่าการส่งออก 77,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า รายรับ 5 % เป็นรายรับเงินสกุลริงกิตซึ่งคิดเป็นเงิน 350 ล้าน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2541 การส่งออกของไทยไปมาเลเซียมีมูลค่าการส่งออก 32,000 ล้านบาท โดยเงิน 30 % เป็นเงินสกุลริงกิต คิดเป็นเงินประมาณ 900 ล้านดังนั้นรายได้จากการส่งออกของไทยตั้งแต่ปี 2540 - 2541 คิดเป็น 1,250 ล้าน นอกจากนี้ยังมีเงินรายได้ที่เป็นเงินสกุลริงกิตจากการค้าชายแดน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยน เงินตราบริเวณชายแดนอีกจำนวนหนึ่ง ดังนั้น จึงมีการประมาณว่ามีเงินสกุลริงกิตในประเทศไทยขณะนี้ประมาณ 2,000-3,000 ล้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ยกประเด็นขึ้นหารือกับรองผู้ว่าธนาคารชาติมาเลเซียและได้รับคำแนะนำว่า ให้บุคคลที่ถือเงินริงกิตและอยู่นอกประเทศนำเงินริงกิตไปเปิดบัญชี external accounts ในมาเลเซียหรือซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย แต่กำไรจากการซื้อ-ขายหุ้นนั้นจะต้องเก็บไว้ในมาเลเซียเป็นเวลา 1 ปีก่อนนำออกนอกประเทศมาเลเซีย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้เสนอข้อคิดเห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะมีการหารือกับธนาคารชาติของมาเลเซียเพื่อหาวิธีที่จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อเงินริงกิตภายในประเทศได้ทั้งหมดและนำไปแลกกับธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย เนื่องจากเกิดตลาดมืดรับแลกเปลี่ยนเงินตราในภาคใต้ในอัตรา 8 บาท ต่อ 1 ริงกิต (อัตราทางการประมาณ 10 บาท ต่อ 1 ริงกิต) เพื่อที่จะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนนี้ไว้ ซึ่งในประเด็นนี้คงจะได้มีการหารือต่อไป
อย่างไรก็ตาม พบว่า จำนวนเงินริงกิตในประเทศไทยมีจำนวนไม่สูงนักเมื่อเทียบกับในประเทศอื่น อาทิ สิงคโปร์ ซึ่งมีเงินริงกิตถึง 20,000 ล้านริงกิต ซึ่งทางสิงคโปร์ได้ประกาศให้ผู้ที่ถือเงินริงกิตนำเงินไป แลกเป็นเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางของสิงคโปร์ภายในวันที่ 20 กันยายน 2541
สำหรับการลงทุนของมาเลเซียในประเทศไทยในปี 2540 มีมูลค่า 5,589 ล้านบาท สำหรับในช่วง 7 เดือนของปี 2541 มีการลงทุนของมาเลเซียเพิ่มขึ้นอีก 2,793 ล้านบาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศมาเลเซียอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ส่งข้าราชการไปร่วมสังเกตการณ์ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย โดยเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2541 ได้มีการชุมนุมของผู้สนับสนุนนาย Anwar Ibrahim อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของมาเลเซียประมาณ 3,000-4,000 คน ที่บริเวณจัตุรัส Merdeka ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกับหน้าศาลแขวงของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประชาชนเหล่านี้ได้เฝ้ารอการพิพากษาของศาลในคดีของนาย Anwar Ibrahim ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้ามาเตือนให้ผู้ชุมนุมสลายตัว แต่หลังจากนั้นยังมีผู้ชุมนุมบางส่วนไม่เคลื่อนย้ายออกจากบริเวณจตุรัส จึงทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้กำลังบ้างและใช้แก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุมที่เหลือ สถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบมาว่า ในการการเข้าสลายครั้งนี้ได้มีผู้ชุมนุมถูกจับกุมประมาณ 40 คน และในช่วงบ่ายของวันเดียวกันได้มีประชาชนมาชุมนุมที่บริเวณจตุรัส Merdeka อีกครั้ง เนื่องจากต้องการมาฟังคำพิพากษาและก็ต้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายโดยการใช้แก๊สน้ำตาและมีการจับกุมผู้ชุมนุมบางคนหลังจากนั้น กรมตำรวจได้ออกมาแถลงให้ประชาชนทราบว่า นาย Anwar Ibrahim อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของมาเลเซียได้ถูกจับกุมภายใต้กฎหมายว่าด้วยความ มั่นคงภายใน(Internal Security Act) ซึ่งตามกฎหมายนี้ผู้ถูกจับกุมไม่จำเป็นที่จะต้องมาขึ้นศาลเพื่อรับแจ้งข้อหา และทางการสามารถควบคุมตัวไว้ได้เป็นเวลา 2 ปี
ในช่วงบ่ายมีรายงานข่าวว่า ตำรวจได้บุกเข้าไปตรวจค้นบ้านของนาย Anwar Ibrahim แต่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่ได้รับรายละเอียดของการตรวจค้น และมีรายงานว่านายกรัฐมนตรี Mahathir Mohammad ได้เรียกประชุมคณะมนตรีสูงสุด (Supreme Council) ของพรรค UMNO ที่ทำเนียบของนายกรัฐมนตรี แต่ไม่มีการรายงานผลการประชุมครั้งนี้ในสื่อมวลชน
ในวันนี้ (22 ก.ย.41) สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานว่า มีการจับกุมผู้สนับสนุนนาย Anwar Ibrahim เพิ่มขึ้น อาทิ นาย Zahid Hamidi ผู้นำกลุ่มยุวชนของพรรค UMNO (UMNO Youth) รวมทั้งผู้นำศาสนา อิสลามที่เคยให้การสนับสนุนต่อนาย Anwar Ibrahim ซึ่งบุคคลทั้งหมดที่ถูกจับนี้ได้ถูกแจ้งข้อหาว่า กระทำการละเมิดความมั่นคงภายในซึ่งเป็นการขัดต่อกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายใน สำหรับสถานการณ์โดยทั่วไปอยู่ในขั้นปกติ ไม่มีการประท้วง
สำหรับคนไทยที่พำนักอาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งมีจำนวนประมาณ 400 คน ยังไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้มีการติดต่อกับชุมชนไทยเป็นระยะอยู่แล้ว นอกจากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 24 ชั่วโมงไว้กับผู้นำชุมชนไทยแล้ว
สถิติคนไทยที่เดินทางไปประกอบอาชีพในมาเลเซีย เป็นคนงานที่ทำงานถูกกฎหมายประมาณ 20,000 คน โดยเป็นคนงานในภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง และงานแม่บ้าน นอกจากนั้นยังมีคนงานผิดกฎหมายประมาณ 50,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคเกษตรกรรมและเป็นแรงงานตาม ฤดูกาล
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2541 เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้เข้าพบนาย Zeti Akhtar Aziz รองผู้ว่าการธนาคารชาติมาเลเซียเพื่อหารือเกี่ยวกับผลกระทบต่าง ๆ ของมาตรการควบคุมการปริวรรตเงินตราของมาเลเซียในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและได้รับการยืนยันจากทางรองผู้ว่าการธนาคารชาติมาเลเซียว่า มาตรการที่จะประกาศใช้และจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ตุลาคม 2541 นั้น จะไม่มีผลต่อนักลงทุนมาเลเซียที่ประสงค์จะนำเงินออกไปลงทุนในโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่แล้ว สำหรับการนำเงินออกไปลงทุนในต่างประเทศในโครงการใหม่จะต้องได้รับอนุญาตก่อน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นการลงทุนในสาขาที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจภายในของมาเลเซีย แต่ทั้งนี้ ยังไม่ได้มีการระบุถึงสาขาการลงทุนแต่อย่างใด
สำหรับประเด็นเรื่องเงินริงกิตที่อยู่นอกประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะในส่วนที่อยู่ในประเทศไทย นั้น ขณะนี้ ยังไม่มีการประมาณการจำนวนเงินริงกิตที่อยู่ในประเทศไทย แต่หากพิจารณาจากตัวเลขรายรับของผู้ส่งออก เมื่อปี 2540 ปรากฏว่า การส่งออกของไทยไปมาเลเซียในปี 2540 มีมูลค่าการส่งออก 77,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า รายรับ 5 % เป็นรายรับเงินสกุลริงกิตซึ่งคิดเป็นเงิน 350 ล้าน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2541 การส่งออกของไทยไปมาเลเซียมีมูลค่าการส่งออก 32,000 ล้านบาท โดยเงิน 30 % เป็นเงินสกุลริงกิต คิดเป็นเงินประมาณ 900 ล้านดังนั้นรายได้จากการส่งออกของไทยตั้งแต่ปี 2540 - 2541 คิดเป็น 1,250 ล้าน นอกจากนี้ยังมีเงินรายได้ที่เป็นเงินสกุลริงกิตจากการค้าชายแดน การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยน เงินตราบริเวณชายแดนอีกจำนวนหนึ่ง ดังนั้น จึงมีการประมาณว่ามีเงินสกุลริงกิตในประเทศไทยขณะนี้ประมาณ 2,000-3,000 ล้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ยกประเด็นขึ้นหารือกับรองผู้ว่าธนาคารชาติมาเลเซียและได้รับคำแนะนำว่า ให้บุคคลที่ถือเงินริงกิตและอยู่นอกประเทศนำเงินริงกิตไปเปิดบัญชี external accounts ในมาเลเซียหรือซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย แต่กำไรจากการซื้อ-ขายหุ้นนั้นจะต้องเก็บไว้ในมาเลเซียเป็นเวลา 1 ปีก่อนนำออกนอกประเทศมาเลเซีย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้เสนอข้อคิดเห็นว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะมีการหารือกับธนาคารชาติของมาเลเซียเพื่อหาวิธีที่จะให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อเงินริงกิตภายในประเทศได้ทั้งหมดและนำไปแลกกับธนาคารแห่งชาติมาเลเซีย เนื่องจากเกิดตลาดมืดรับแลกเปลี่ยนเงินตราในภาคใต้ในอัตรา 8 บาท ต่อ 1 ริงกิต (อัตราทางการประมาณ 10 บาท ต่อ 1 ริงกิต) เพื่อที่จะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนนี้ไว้ ซึ่งในประเด็นนี้คงจะได้มีการหารือต่อไป
อย่างไรก็ตาม พบว่า จำนวนเงินริงกิตในประเทศไทยมีจำนวนไม่สูงนักเมื่อเทียบกับในประเทศอื่น อาทิ สิงคโปร์ ซึ่งมีเงินริงกิตถึง 20,000 ล้านริงกิต ซึ่งทางสิงคโปร์ได้ประกาศให้ผู้ที่ถือเงินริงกิตนำเงินไป แลกเป็นเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารกลางของสิงคโปร์ภายในวันที่ 20 กันยายน 2541
สำหรับการลงทุนของมาเลเซียในประเทศไทยในปี 2540 มีมูลค่า 5,589 ล้านบาท สำหรับในช่วง 7 เดือนของปี 2541 มีการลงทุนของมาเลเซียเพิ่มขึ้นอีก 2,793 ล้านบาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--