กรุงเทพ--17 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (17 มีนาคม) นายกิตติ วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก ปฏิบัติราชการแทนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงกับผู้สื่อข่าวว่าคณะผู้แทนเกาหลีเหนือ นำโดยนาย Li Do Sop อธิบดีกรมพิธีการทูต อดีตเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำประเทศไทย (2534-2538) ได้เดินทางถึงกรุงเทพฯ เมื่อคืนนี้ (อังคารที่ 16 มีนาคม) และขอเข้าพบกับฝ่ายไทย เพื่อชี้แจงท่าทีของเกาหลีเหนือ และกระทรวงฯ ได้ให้คณะผู้แทนเกาหลีเหนือเข้าพบหารือกับอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกในบ่ายวันนี้ (ที่ 17 มีนาคม) ทั้งนี้ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีบัญชาย้ำท่าทีของฝ่ายไทยที่ให้ความสำคัญในอันดับต้นแก่การปล่อยและส่งมอบตัวบุตรชายของนาย Hong Sun Gyong ให้แก่ทางการไทยโดยเร็วที่สุด ด้วยความปลอดภัย และไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ เรื่องนี้มิใช่เรื่องที่จะต้องเจรจา (not negotiable)
ต่อข้อถามเกี่ยวกับรายงานข่าวที่ว่าทางตำรวจได้ออกหมายจับเฉพาะชาวเกาหลีเหนือ 4 คน ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยยังมิได้ออกหมายจับเจ้าหน้าที่ทางการทูตและเจ้าหน้าที่สถานทูตเกาหลีเหนือ ที่มิใช่เจ้าหน้าที่ทางการทูต นั้น นายกิตติฯ ชี้แจงว่าตำรวจได้ติดต่อหารือกับกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับคณะทูตและเจ้าหน้าที่สถานทูตอื่น ๆ ซึ่งตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1961 นั้น มาตรา 29 — มาตรา 36 ได้ให้ความคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่ทางการทูต รวมทั้งความคุ้มกันจากการดำเนินคดีในประเทศผู้รับ ส่วนเจ้าหน้าที่สถานทูตฝ่ายบริหารและฝ่ายเทคนิคที่มิได้มีสัญชาติ / มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศผู้รับก็จะได้รับความคุ้มกันทำนองเดียวกัน นอกจากการดำเนินคดีทางแพ่งและพาณิชย์และ (civil and administrative jurisdiction) ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติการ นอกเหนือจากหน้าที่ของตน (มาตรา 37) ส่วนการออกหมายจับหรือไม่อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะพิจารณา
สำหรับกรณีที่มีรายงานข่าวคลาดเคลื่อนว่าทางการไทยยังไม่พอใจกับคำขอโทษของฝ่ายเกาหลีเหนือนั้น นายกิตติฯ ชี้แจงว่าหนังสือของสถานเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือ ลงวันที่ 14 มีนาคม 2542 ออกโดยได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ และแสดงท่าทีในนามของประเทศเกาหลีเหนือ นอกจากนั้น ถ้อยคำแสดงความเสียใจ (regret) ในทางการทูตมีนัยยะแสดงความขอโทษ ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ การที่ทางการเกาหลีเหนือขอส่งคณะผู้แทนจากเมืองหลวงมาดำเนินการในเรื่องนี้ก็แสดงถึงการที่เกาหลีเหนือให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งท่าทีและคำร้องขอของฝ่ายไทย--จบ--
วันนี้ (17 มีนาคม) นายกิตติ วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก ปฏิบัติราชการแทนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงกับผู้สื่อข่าวว่าคณะผู้แทนเกาหลีเหนือ นำโดยนาย Li Do Sop อธิบดีกรมพิธีการทูต อดีตเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำประเทศไทย (2534-2538) ได้เดินทางถึงกรุงเทพฯ เมื่อคืนนี้ (อังคารที่ 16 มีนาคม) และขอเข้าพบกับฝ่ายไทย เพื่อชี้แจงท่าทีของเกาหลีเหนือ และกระทรวงฯ ได้ให้คณะผู้แทนเกาหลีเหนือเข้าพบหารือกับอธิบดีกรมเอเชียตะวันออกในบ่ายวันนี้ (ที่ 17 มีนาคม) ทั้งนี้ ฯพณฯ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีบัญชาย้ำท่าทีของฝ่ายไทยที่ให้ความสำคัญในอันดับต้นแก่การปล่อยและส่งมอบตัวบุตรชายของนาย Hong Sun Gyong ให้แก่ทางการไทยโดยเร็วที่สุด ด้วยความปลอดภัย และไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ เรื่องนี้มิใช่เรื่องที่จะต้องเจรจา (not negotiable)
ต่อข้อถามเกี่ยวกับรายงานข่าวที่ว่าทางตำรวจได้ออกหมายจับเฉพาะชาวเกาหลีเหนือ 4 คน ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยยังมิได้ออกหมายจับเจ้าหน้าที่ทางการทูตและเจ้าหน้าที่สถานทูตเกาหลีเหนือ ที่มิใช่เจ้าหน้าที่ทางการทูต นั้น นายกิตติฯ ชี้แจงว่าตำรวจได้ติดต่อหารือกับกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศ เกี่ยวกับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับคณะทูตและเจ้าหน้าที่สถานทูตอื่น ๆ ซึ่งตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1961 นั้น มาตรา 29 — มาตรา 36 ได้ให้ความคุ้มกันแก่เจ้าหน้าที่ทางการทูต รวมทั้งความคุ้มกันจากการดำเนินคดีในประเทศผู้รับ ส่วนเจ้าหน้าที่สถานทูตฝ่ายบริหารและฝ่ายเทคนิคที่มิได้มีสัญชาติ / มีถิ่นพำนักถาวรในประเทศผู้รับก็จะได้รับความคุ้มกันทำนองเดียวกัน นอกจากการดำเนินคดีทางแพ่งและพาณิชย์และ (civil and administrative jurisdiction) ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติการ นอกเหนือจากหน้าที่ของตน (มาตรา 37) ส่วนการออกหมายจับหรือไม่อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะพิจารณา
สำหรับกรณีที่มีรายงานข่าวคลาดเคลื่อนว่าทางการไทยยังไม่พอใจกับคำขอโทษของฝ่ายเกาหลีเหนือนั้น นายกิตติฯ ชี้แจงว่าหนังสือของสถานเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือ ลงวันที่ 14 มีนาคม 2542 ออกโดยได้รับมอบอำนาจจากกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ และแสดงท่าทีในนามของประเทศเกาหลีเหนือ นอกจากนั้น ถ้อยคำแสดงความเสียใจ (regret) ในทางการทูตมีนัยยะแสดงความขอโทษ ซึ่งถือว่าเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่งแล้ว นอกจากนี้ การที่ทางการเกาหลีเหนือขอส่งคณะผู้แทนจากเมืองหลวงมาดำเนินการในเรื่องนี้ก็แสดงถึงการที่เกาหลีเหนือให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งท่าทีและคำร้องขอของฝ่ายไทย--จบ--