คุณสมบัติพื้นฐานของสินค้าอาหารสำหรับการบริโภคที่ต้องการนำเข้าสหรัฐฯ ก็คือ จะต้องอยู่ในมาตรฐานระดับเดียวกับสินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศสหรัฐฯ และอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับเดียวกันกล่าวคือ ได้รับการผลิตขึ้นในสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ผลิตภัณฑ์มีความสะอาด มีความปลอดภัยสำหรับการบริโภคและถูกบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่มีฉลากข้อมูลที่เป็นจริงและไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ข้อมูลต่างๆ ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือมีภาษาอังกฤษกำกับ
การนำเข้าสหรัฐฯ สินค้าอาหารทุกชนิดอยู่ภายใต้การควบคุมตามบทบัญญัติต่างๆ ของกฏหมาย Federal Food, Drug, and Cosmetic Act (FD & C Act) ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของหน่วยงาน Food And Drug Administration ของ U.S. Department of Health and Human Service ทั้งนี้สินค้าจากผลิตผลทางการเกษตรและการปศุสัตว์ จะต้องเป็นไปตามกฏข้อบังคับของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ - U.S. Department of Agricultural และสินค้าอาหารทะเลจะต้องเป็นไปตามกฏข้อบังคับของ National Marine Fisheries Service ของ National Oceanic and Atmosphere Administration, U.S. Department of Commerce อีกด้วย
สาระสำคัญของกฎหมาย FD & C Act ก็คือห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่
1. มีการเจือปนด้วยสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อการบริโภค ซึ่งหมายถึงสารผสมเจือปนที่เป็นอันตรายหรือทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่บริสุทธิ หรือทำให้เกิดการแปรสภาพไป เป็นต้น
2. มีการปิดฉลากไม่ถูกต้อง (misbranded) ซึ่งรวมถึงข้อความบนฉลาก การออกแบบ และรูปภาพที่ติดบนฉลาก ที่ไม่เป็นความจริง หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าตามที่กฎหมายกำหนด
3. ชำรุดเสียหาย (defect)
4. ไม่ปลอดภัยในการบริโภค
5. สกปรกไม่ถูกสุขลักษณะ (Filthy) เช่น มีเศษผง ชิ้นส่วนของแมลง หรือมูลของสัตว์เจือปน เป็นต้น
4.ถูกผลิตขึ้นในสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
ผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายสหรัฐฯ นี้เมื่อถูกส่งถึงสหรัฐฯ จะต้องได้รับการตรวจสอบโดย FDA เป็นด่านแรก โดยปกติแล้ว การตรวจสอบสินค้าของ FDA จะเป็นการตรวจสิ่งสกปรก (filth) สีแบคทีเรียที่เป็นพิษ และสสารที่เป็นพิษ (เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว สารปรอท และ alfatoxin เป็นต้น) ความบริสุทธิของผลิตภัณฑ์ การปิดฉลากและมาตรฐานของอาหารเป็นต้น หากเมื่อดำเนินการตามขบวนการตรวจสอบของ FDA จนถึงที่สุดแล้วและผลสรุปออกมาว่า FDA ปฏิเสธไม่ให้นำเข้า สินค้านั้นก็ไม่สามารถผ่านเข้าสหรัฐฯ ได้ FDA จะสั่งให้ทำลายหรือให้ส่งกลับ การทำลายหรือส่งกลับจะอยู่ภายใต้การควบคุมของศุลกากรสหรัฐฯ สินค้าที่ประสบปัญหาขณะนำเข้า ผู้นำเข้าจะต้องเป็นผุ้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดนับตั้งแต่เมื่อสินค้านั้นถูกสั่งกักจนถึงผลสรุปสุดท้ายว่า ให้ผ่าน ให้ทำลาย หรือให้ส่งออก
ผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดเมื่อเดินทางมาถึงสหรัฐฯ จะถูกกักกันโดยอัตโนมัติ Automatic Detentions โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบตัวสินค้าก่อนแต่อย่างใด โดยปกติแล้วการกักกันสินค้าโดยอัตโนมัตินี้ FDA กระทำโดยพิจารณาประวัติของสินค้า ประวัติผู้ผลิตหรือข้อมูลอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นๆ อาจจะฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของ FDA เมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูก Automatic Detention สินค้านั้นๆ จะไม่สามารถถูกนำเข้าสหรัฐฯ ได้จนกว่าผู้นำเข้าจะทำการพิสูจน์ว่าสินค้านั้นๆ เป็นไปตามกฎข้อบังคับของ FDA บ่อยครั้งที่ FDA ให้สินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือจากภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งเป็นสินค้าที่ต้องถูกกักกันโดยอัตโนมัติเพราะการฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของ FDA ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ อย่างไรก็ดี มาตรการกักกันอัตโนมัติในลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหมดวิถีทางที่จะป้องกันการฝ่าฝืนแล้วจริงๆ
สรุปขั้นตอนการนำเข้าและการตรวจสอบสินค้าอาหารโดยหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ
1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นข้อมูลการนำเข้าต่อศุลกากรสหรัฐฯ ภายใน 5 วันทำการ (Working day) นับตั้งแต่วันที่สินค้าเดินทางมาถึงท่านำเข้า
2. แจ้งให้ FDA ทราบว่ามีการนำเข้าสินค้าอาหารที่อยู่ภายใต้กฏข้อบังคับโดยวิธีการหนึ่งดังนี้
2.1 แจ้งผ่านทางคอมพิวเตอร์ไปที่ US Customs ACS/ABI
2.2 จัดส่งสำเนา Custom Entry Documents (CF3461,CF3451, ALT, CF7501 หรือแบบฟอร์มทดแทนอื่นๆ) และสำเนา Commercial Invoice ที่เป็นภาษาอังกฤษ
3. FDA จะทำการตรวจสอบเอกสารนำเข้าของผู้นำเข้าเพื่อตัดสินว่าสมควรที่จะทำการตรวจตัวสินค้า (physical examination) ตรวจที่เก็บสินค้าที่ท่าขนส่ง (Wharf examination) และตรวจสุ่มตัวอย่างสินค้า (sample examination) หรือไม่
4. ก. ในกรณีที่ FDA ตัดสินใจที่จะไม่ทำการจัดเก็บตัวอย่าง FDA จะส่งหมายแจ้งปล่อยสินค้าหรือ "May Proceed Notice" ไปยังศุลกากรและผู้นำเข้าที่มีชื่อระบุอยู่ในเอกสารนำเข้า ขั้นตอนนี้สำหรับ FDA ถือว่าการส่งสินค้านั้นๆ ได้รับการยินยอมโดย FDA ให้ผ่านเข้าสหรัฐฯ ได้แล้ว หรือ
ข.ในกรณีที่ FDA ตัดสินใจที่จะจัดเก็บตัวอย่างสินค้า การตัดสินใจดังกล่าวจะกระทำโดยพิจารณาจาก
- ชนิดของสินค้า (nature of the product)
-สินค้าที่ FDA ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และ
-ประวัติในอดีตของสินค้านั้นๆ
FDA จะส่งหมายแจ้งการสุ่มตัวอย่าง "Notice of Sampling" ไปยังศุลกากรและผู้นำเข้าฯ สินค้าดังกล่าวจะต้องถูกเก็บไว้โดยไม่มีการแกะออกมา (intact) เพื่อรอว่าจะมีหมายแจ้งมาให้ทำอย่างไรกับสินค้านั้นต่อไป ตอนนี้จะมีการเก็บตัวอย่างจากสินค้านั้น ผุ้นำเข้าที่มีชื่อระบุอยู่ในเอกสารนำเข้าอาจจะเคลื่อนย้ายสินค้านั้นออกจากท่าเทียบเรือไปยังท่าเรือไปยังท่าหรือโกดังอื่นๆ ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของศุลกากรสหรัฐฯ
5.FDA จะเก็บตัวอย่างสินค้า (physical sample) และส่งไปยังห้องทดลองของ FDA หรือ FDA District Laboratory เพื่อทำการจัย
6. ก. ในกรณีที่การวิจัยของ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นถูกต้องตามกฏข้อบังคับ FDA จะส่งหมายแจ้งปล่อยค้า "Release Notice" ไปยังศุลกากรสหรัฐฯ และผู้นำเข้าที่มีชื่อระบุอยู่ในเอกสารนำเข้า หรือ
ข. ในกรณีที่การวิจัยของ FDA พบว่าตัวอย่างนั้น "ดูเหมือนว่าจะฝ่าฝืนกฎหมาย FD & C (FD&C Act) และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง" FDA จะส่งหมายแจ้งศุลกากรสหรัฐฯ และผู้นำเข้าที่มีชื่อระบุอยู่ในเอกสารนำเข้าให้ทราบว่าสินค้าจะถูกกักและต้องพิจารณา "Notice of Detention and Hearing" ในหมายแจ้งจะ
1. ระบุ ชนิดของการฝ่าฝืน และ
2. ให้เวลาผู้นำเข้าที่มีชื่อระบุในเอกสารนำเข้านาน 10 วันทำการ (Working day) ในการยื่นคำให้การในหัวข้อที่ว่าสินค้านั้นๆ สามารถจะได้รับการยอมรับให้นำเข้าสหรัฐได้
พิจารณา (hearing) เป็นโอกาสเดียวของผู้นำเข้าที่จะแสดงการปกป้องการนำเข้า และ/หรือ นำเสนอหลักฐานว่าจะสามารถทำให้สินค้านั้นมีคุณสมบัติถูกต้องและสามารถนำเข้าสหรัฐ ฯ ได้
7. ก. ผู้รับของ (consignee) เจ้าของที่แท้จริง (true owner) ผู้นำเข้าตามที่ระบุไว้ในเอกสารนำเข้า หรือตัวแทนที่ได้รับการระบุชื่อไว้ จะตอบสนองต่อหมายแจ้ง "Notice of Detention and hearing" การตอบสนองตอบหมายแจ้งดังกล่าวจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการนำสืบคำให้การ ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษร เพื่อให้มีการยอมรับสินค้านั้น ๆ หรือ
ข. ผู้รับของ เจ้าของที่แท้จริง ผู้นำเข้าฯ หรือผู้แทนตามที่ได้มีการระบุไว้ ไม่ตอบสนองต่อหมายแจ้ง "Notice of Dentention and Hearing" และไม่ร้องขอให้มีการขยายเวลาการพิจารณาออกไป
8. ก. FDA จะทำการพิจารณา (hearing) ในเรื่องการยอมรับสินค้านั้นให้นำเข้าสหรัฐฯ ได้ การพิจารณานี้จะเป็นโอกาสที่จะนำเสนอสาระที่เกี่ยวข้องและจะถูกจำกัดวงอยู่แต่ในเรื่องการยื่นหลักฐานที่ตรงเป้าหรือเข้าเรื่องกับเรื่องที่กำลังพิจารณาอยู่เท่านั้น หรือ
ข. FDA จะออกหมายแจ้งห้ามนำเข้า "Notice of Refusal of Admission" ไปยังผู้นำเข้าฯ ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือบริษัทเดียวกันกับที่ได้รับหมายแจ้ง "Notice of Sampling" อนึ่ง ทุกคนที่ได้รับหมายแจ้ง "Notice of Sampling" และ "Notice of Detention and Hearing" จะได้รับสำเนาหมายแจ้ง "Notice of Refusal of Admission" นี้ด้วย
9. ก. ผู้นำเข้าฯ นำเสนอหลักฐานที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามกฎข้อบังคับของ FDA และอาจจะนำเสนอผลของการวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้า ที่ได้รับการรับรองว่าถูกต้อง (Certified) ที่มาจากการตรวจสอบโดยห้องทดลองที่เชื่อถือได้ และที่เป็นไปตามแนวทางที่ได้มีการประกาศไว้แล้วสำหรับระดับต่าง ๆ ของการถูกทำให้มีเชื้อโรคสิ่งสกปรกเจือปน (comtaminants) และการทำให้เกิดความบกพร่อง (defect) ในอาหารสำหรับการบริโภคโดยมนุษย์ หรือ
ข. ผู้นำเข้าฯ ยื่นใบขออำนาจในการปรับสภาพ (recondition) หรือกรรมวิธีการอื่น ๆ "Application for Authorization to Recondition or to Perform Other Action" (แบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD766) แบบฟอร์มนี้จะเป็นการร้องขอคำอนุญาตให้มีการทำให้อาหารซึ่งถูกเจือปน (adulterated) หรือปิดฉลากผิด (misbranded) ถูกต้องตามกฎข้อบังคับโดยการปิดฉลากใหม่หรือโดยปฏิบัติการอื่น ๆ หรือโดยการปรับเปลี่ยน (convert) เป็นสินค้าที่ไม่ใช่สำหรับเป็นอาหาร (non-food use) อีกต่อไป ทั้งนี้ผู้นำเข้าฯ จะต้องยื่นรายละเอียดกรรมวิธีที่จะทำให้อาหารนั้นถูกต้องตามกฎระเบียบที่กำหนดให้แก่ FDA หรือ
ค. FDA ได้รับการยืนยัน (verifaction) การส่งออกหรือการทำลายสินค้านั้น ๆ จากศุลกากรสหรัฐฯ การส่งออกหรือการทำลายสินค้าที่ถูกระบุไว้ใน "Notice of Refusal of Admission" จะถูกกระทำภายใต้การชี้แนะของศุลกากรสหรัฐฯ
10. ก. FDA เก็บตัวอย่างตามหลัง (follow-up sample) อีกครั้ง เพื่อตัดสินใจว่าสินค้านั้นเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ หรือ
ข. FDA ประเมินขบวนการปรับสภาพ (recondition) ที่ผู้นำเข้าฯ เสนอ ผู้นำเข้าต้องยื่นใบประกัน (bond) สำหรับชำระค่าใช้จ่ายในการที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาควบคุมดูแล (supervision) ขบวนการเปลี่ยนสภาพนี้
11. ก. ในกรณีที่ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นเป็นไปตามกฎระเบียบ "in compliance" FDA จะส่งหมายแจ้งการปล่อยสินค้า "Release Notice (แบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD717)" พร้อมด้วยข้อความว่าสินค้านั้นเคยถูกกักกันแต่ตอนนี้ได้รับการปลดปล่อยแล้ว "Orginally Detained and Now Released" ไปยังศุลกากรสหรัฐฯ และผู้นำเข้าฯ หรือ
ข. ในกรณีที่ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นยังคงไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ "not in compliance" ผู้นำเข้าอาจจะยื่นใบสมัครขออำนาจในการเปลี่ยนสภาพฯ "Application of Authorization to Recondition or to Perform Other Action" (ดูข้อ 9 ข) หรือ FDA จะออก "Notice of Refusal of Admission" (ดูข้อ 8 ข) หรือ
ค. FDA ยอมรับขบวนการปรับสภาพของผู้นำเข้าฯ ใบยื่นขอปรับสภาพที่ได้รับยอมรับและแล้วจะมีข้อความระบุว่าสินค้านั้นควรที่จะถูกเก็บไว้โดยไม่มีการแยกกระจาย (intact) รอจนกว่าจะได้รับหมายแจ้งปล่อยจาก FDA "Merchandise Should Be Hold Intact Pending the Receipt of FDA's Release Notice"
ง. FDA ไม่ยอมรับขบวนการปรับสภาพของผู้นำเข้าฯ ถ้าประสพการณ์ในอดีตแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่เสนอมานั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จ การร้องขอเป็นครั้งที่สองและครั้งสุดท้ายจะไม่ได้รับการพิจารณานอกเสียจากว่าในคำร้องขอนั้นจะระบุการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผลของขบวนการปรับสภาพที่จะเป็นการประกันว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผลและจะทำให้การปรับสภาพนั้นประสบผลสำเร็จได้ ผู้ยื่นใบร้องขอนี้จะได้รับการติดต่อจาก FDA โดยการแจ้งผ่านบนแบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD766
12. ผู้นำเข้าฯ ที่ทำขบวนการปรับสภาพเสร็จสมบูรณ์และแจ้งให้ FDA ทราบว่าสินค้านั้น ๆ พร้อมสำหรับการตรวจสอบและการสุ่มเก็บตัวอย่าง
13. FDA จัดทำการตรวจและการสุ่มเก็บตัวอย่างตามหลังอีกครั้งหนึ่ง (fllow-up inspection/ sample collection) เพื่อตัดสินว่าสินค้านั้นเป็นไปตามกฎข้อบังคับในแง่ของการได้รับอำนาจให้มีการปรับสภาพหรือไม่
14. ก. การวิจัยของ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นเป็นไปตามกฎข้อบังคับ FDA จะส่งหมายแจ้งปล่อย "Notice of Release" (แบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD717) ไปยังผู้นำเข้าฯ และศุลกากรสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายสำหรับการควบคุมดูแล (Supervision) โดย FDA จะถูกประเมินไว้บนแบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD790 สำเนาของแบบฟอร์มจะถูกส่งไปยังศุลกากรซึ่งจะรับผิดชอบในการเก็บค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นซึ่งจะรวมถึงค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกิดขี้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศุลกากรเข้าไปด้วย หรือ
ข. การวิจัยของ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นยังคงไม่เป็นไปตามกฎข้อบังคับ FDA จะประเมินค่าใช้จ่ายในการควบคุมดูแลโดย FDA ลงบนฟอร์ม FD790 สำเนาจะถูกส่งไปยังศุลกากรสหรัฐฯ ซึ่งจะรับผิดชอบในการเก็บค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศุลกากรด้วยข้อเสนอแนะในการลดปัญหาการส่งสินค้าอาหารเข้าสหรัฐฯ
ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสามารถหลีกเลี่ยงจากการที่สินค้าถูกกักกันและทำให้สามารถนำสินค้าอาหารเช้า สหรัฐฯ ได้โดยรวดเร็วยิ่งขึ้นโดย
1. ก่อนที่จะจัดส่งสินค้าต้องให้แน่ใจว่าสินค้าที่จะนำเข้าสหรัฐฯ นั้นมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายสหรัฐฯ
2. จ้างห้องทดลองเอกชนทำการตราวจสอบตัวอย่างสินค้าที่นำเข้าและรับรองการวิจัยของผู้ผลิตแม้ว่าการกระทำดังกล่าวนี้จะไม่ได้เป็นหลักประกันว่าสินค้าจะสามารถผ่านเข้าสหรัฐฯ ได้อย่างแน่นอน แต่การวิจัยเหล่านี้จะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าถึงความสามารถของผู้ผลิตว่าสามารถที่จะผลิตสินค้าที่ถูกกฎหมายและเป็นที่ยอมรับได้
3. ก่อนที่จะจัดส่งสินค้า ควรที่จะต้องรู้ข้อบังคับทางกฎหมายของ FDA ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. ขอความช่วยเหลือจากสำนักงาน FDA ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของท่าเรือที่สินค้าจะถูกนำเข้า
5. เข้าใจขบวนการนำเข้าสินค้าอาหารตามที่ระบุไว้ข้างต้น
6. จัดส่งข้อมูลการนำเข้าให้ FDA ทางคอมพิวเตอร์เพื่อช่วย FDA ในการพิจารณา commercial invoice ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นข้อควรปฏิบัติของการผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ
1. สินค้าอาหารกระป๋องที่ถือเป็น low-acid canned food ที่นำเข้าสหรัฐฯ บริษัทผู้ผลิตจะต้องทำการจดทะเบียนและส่งมอบข้อมูลการผลิตกับ FDA ก่อนที่จะส่งสินค้าออกไปยังสหรัฐฯ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่แตกต่างกันจะต้องทำการจดทะเบียนและส่งมอบข้อมูลการผลิตแยกกัน หลังจากที่ผู้ผลิตได้จดทะเบียนกับสหรัฐฯ แล้ว FDA จะออกหมายเลข FCE (Food Canning Establiashment Number) ให้เมื่อสินค้าเดินทางมาถึงสหรัฐฯ ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องถูกแสดงต่อ FDA ที่ท่าน้ำเข้า
2. ภายใต้กฎหมาย Nutrition Labeling and Education Act of 1990 สินค้าอาหารเกือบทุกชนิดจะต้องได้การปิดฉลากสินค้าตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ชื่อสินค้า ผู้ผลิต จำนวนคุณค่าทางโภชนการที่คาดจะได้รับการต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง ส่วนผสม การอ้างสรรพคุณและคุณสมบัติของสินค้า ไปจนถึงรูปลักษณ์ของตัวฉลาก ทั้งนี้หน่วย FDA จะเป็นผู้ควบคุมดูแลการปิดฉลากสินค้าอาหารทั่ว ๆ ไป ภายใต้ Nutrition Labeling and education Act ขณะที่หน่วยงาน USDA จะดูแลอาหารประเภทเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกภายใต้ Federal Meat Inspection Act และ Poultry Products Inspection
3. เงื่อนไขสำคัญที่สุดของส่งสินค้าอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลเข้าไปยังสหรัฐฯ ก็คือการผลิตตามแนวทางของระบบ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Points) ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาโดยเริ่มกับอาหารทะเลเป็นอันดับแรก HACCP ต่างกับการตรวจสอบอาหารที่ผลิตเสร็จแล้วและส่งเข้าสหรัฐฯ ในแง่ที่ว่าการตรวจสอบเมื่ออาหารผลิตเสร็จแล้วเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเมื่อความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว ในขณะที่ HACCP เป็นระบบการป้องกันก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้นเนื่องจาก HACCP หมายถึงระบบการควบคุมสามัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการด้านอาหารตั้งแต่เริ่มขบวนการจนถึงขั้นตอนสุดท้ายเมื่ออาหารถูกส่งถึงมือผู้บริโภค หลักการพื้นฐานของ HACCP ก็คือ การวิเคราะห์หาความเสี่ยงในขบวนการผลิต (hazard analysis) ระบุจุดวิกฤตที่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นและจะต้องได้รับการควบคุม (critical points control) จุดวิกฤตคือ จุดที่ความสกปรกและการเจือปนโดยสิ่งแปลกปลอมจะเกิดขึ้น สหรัฐฯ เชื่อว่าระบบนี้จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหาร ไม่ว่าอาหารนั้นจะผลิตมาจากประเทศใดก็ตาม เพราะสหรัฐฯ กำหนดว่าผู้นำเข้าจะต้องแสดง HACCP Plan ของตนและของโรงงานผู้ผลิตสินค้าเมื่อต้องการนำสินค้านั้นเข้าสหรัฐฯ
HACCP Plan คือระบบการเก็บบันทึกข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การเขียนแบบร่างขบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ มีการระบุว่าอะไรคือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิต และกรรมวิธีใช้การป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ความเสี่ยง ๆ นั้น เกิดขึ้น ขั้นตอนหลักของ HACCP มีอยู่ 7 ขั้น ตอนด้วยกันคือ
1. ระบุความเสี่ยงและประเมินระดับความเสี่ยงว่ามากน้อยเพียงใด (harzard analysis)
2. ระบุจุดวิฤติหรือจุดที่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้น (critical control points)
3. ควบคุมจำกัดความเสี่ยงในแต่ละจุดวิกฤติ (critical control limitis)
4. เฝ้าดูจุดวิกฤติและทำการจดบันทึกข้อมูล
5. ทำการแก้ไขทันทีเมื่อความเสี่ยงในแต่ละจุดวิกฤติสูงเกินขีดจำกัด
6. จัดระบบการเก็บข้อมูลการผลิตในระบบ HACCP อย่างละเอียดและมีประสิทธิภาพ
7. จัดทำขบวนการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบ HACCP ที่ใช้อยู่นั้นมีประสิทธิผลดี
อนึ่ง แม้ว่าโรงงานผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะมี HACCP Plan ที่เป็นที่ยอมรับ FDA แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อสินค้านั้น ๆ เดินทางมาถึงท่านำเข้าสหรัฐฯ แล้วสินค้านั้น ๆ จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ FDA แต่อย่างใด ๆ สินค้านั้น ๆ ยังคงจะต้องถูกตรวจสอบตามปกติ
ที่มา : ศูนย์พาณิชยกรรม ณ นครลอสแอนเจลิส
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6/31 มีนาคม 2542--
การนำเข้าสหรัฐฯ สินค้าอาหารทุกชนิดอยู่ภายใต้การควบคุมตามบทบัญญัติต่างๆ ของกฏหมาย Federal Food, Drug, and Cosmetic Act (FD & C Act) ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของหน่วยงาน Food And Drug Administration ของ U.S. Department of Health and Human Service ทั้งนี้สินค้าจากผลิตผลทางการเกษตรและการปศุสัตว์ จะต้องเป็นไปตามกฏข้อบังคับของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ - U.S. Department of Agricultural และสินค้าอาหารทะเลจะต้องเป็นไปตามกฏข้อบังคับของ National Marine Fisheries Service ของ National Oceanic and Atmosphere Administration, U.S. Department of Commerce อีกด้วย
สาระสำคัญของกฎหมาย FD & C Act ก็คือห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่
1. มีการเจือปนด้วยสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อการบริโภค ซึ่งหมายถึงสารผสมเจือปนที่เป็นอันตรายหรือทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่บริสุทธิ หรือทำให้เกิดการแปรสภาพไป เป็นต้น
2. มีการปิดฉลากไม่ถูกต้อง (misbranded) ซึ่งรวมถึงข้อความบนฉลาก การออกแบบ และรูปภาพที่ติดบนฉลาก ที่ไม่เป็นความจริง หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าตามที่กฎหมายกำหนด
3. ชำรุดเสียหาย (defect)
4. ไม่ปลอดภัยในการบริโภค
5. สกปรกไม่ถูกสุขลักษณะ (Filthy) เช่น มีเศษผง ชิ้นส่วนของแมลง หรือมูลของสัตว์เจือปน เป็นต้น
4.ถูกผลิตขึ้นในสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
ผลิตภัณฑ์อาหารที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายสหรัฐฯ นี้เมื่อถูกส่งถึงสหรัฐฯ จะต้องได้รับการตรวจสอบโดย FDA เป็นด่านแรก โดยปกติแล้ว การตรวจสอบสินค้าของ FDA จะเป็นการตรวจสิ่งสกปรก (filth) สีแบคทีเรียที่เป็นพิษ และสสารที่เป็นพิษ (เช่น ยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว สารปรอท และ alfatoxin เป็นต้น) ความบริสุทธิของผลิตภัณฑ์ การปิดฉลากและมาตรฐานของอาหารเป็นต้น หากเมื่อดำเนินการตามขบวนการตรวจสอบของ FDA จนถึงที่สุดแล้วและผลสรุปออกมาว่า FDA ปฏิเสธไม่ให้นำเข้า สินค้านั้นก็ไม่สามารถผ่านเข้าสหรัฐฯ ได้ FDA จะสั่งให้ทำลายหรือให้ส่งกลับ การทำลายหรือส่งกลับจะอยู่ภายใต้การควบคุมของศุลกากรสหรัฐฯ สินค้าที่ประสบปัญหาขณะนำเข้า ผู้นำเข้าจะต้องเป็นผุ้รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดนับตั้งแต่เมื่อสินค้านั้นถูกสั่งกักจนถึงผลสรุปสุดท้ายว่า ให้ผ่าน ให้ทำลาย หรือให้ส่งออก
ผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดเมื่อเดินทางมาถึงสหรัฐฯ จะถูกกักกันโดยอัตโนมัติ Automatic Detentions โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบตัวสินค้าก่อนแต่อย่างใด โดยปกติแล้วการกักกันสินค้าโดยอัตโนมัตินี้ FDA กระทำโดยพิจารณาประวัติของสินค้า ประวัติผู้ผลิตหรือข้อมูลอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นๆ อาจจะฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของ FDA เมื่อใดก็ตามที่สินค้าถูก Automatic Detention สินค้านั้นๆ จะไม่สามารถถูกนำเข้าสหรัฐฯ ได้จนกว่าผู้นำเข้าจะทำการพิสูจน์ว่าสินค้านั้นๆ เป็นไปตามกฎข้อบังคับของ FDA บ่อยครั้งที่ FDA ให้สินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือจากภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งเป็นสินค้าที่ต้องถูกกักกันโดยอัตโนมัติเพราะการฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของ FDA ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ อย่างไรก็ดี มาตรการกักกันอัตโนมัติในลักษณะนี้เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหมดวิถีทางที่จะป้องกันการฝ่าฝืนแล้วจริงๆ
สรุปขั้นตอนการนำเข้าและการตรวจสอบสินค้าอาหารโดยหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯ
1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนยื่นข้อมูลการนำเข้าต่อศุลกากรสหรัฐฯ ภายใน 5 วันทำการ (Working day) นับตั้งแต่วันที่สินค้าเดินทางมาถึงท่านำเข้า
2. แจ้งให้ FDA ทราบว่ามีการนำเข้าสินค้าอาหารที่อยู่ภายใต้กฏข้อบังคับโดยวิธีการหนึ่งดังนี้
2.1 แจ้งผ่านทางคอมพิวเตอร์ไปที่ US Customs ACS/ABI
2.2 จัดส่งสำเนา Custom Entry Documents (CF3461,CF3451, ALT, CF7501 หรือแบบฟอร์มทดแทนอื่นๆ) และสำเนา Commercial Invoice ที่เป็นภาษาอังกฤษ
3. FDA จะทำการตรวจสอบเอกสารนำเข้าของผู้นำเข้าเพื่อตัดสินว่าสมควรที่จะทำการตรวจตัวสินค้า (physical examination) ตรวจที่เก็บสินค้าที่ท่าขนส่ง (Wharf examination) และตรวจสุ่มตัวอย่างสินค้า (sample examination) หรือไม่
4. ก. ในกรณีที่ FDA ตัดสินใจที่จะไม่ทำการจัดเก็บตัวอย่าง FDA จะส่งหมายแจ้งปล่อยสินค้าหรือ "May Proceed Notice" ไปยังศุลกากรและผู้นำเข้าที่มีชื่อระบุอยู่ในเอกสารนำเข้า ขั้นตอนนี้สำหรับ FDA ถือว่าการส่งสินค้านั้นๆ ได้รับการยินยอมโดย FDA ให้ผ่านเข้าสหรัฐฯ ได้แล้ว หรือ
ข.ในกรณีที่ FDA ตัดสินใจที่จะจัดเก็บตัวอย่างสินค้า การตัดสินใจดังกล่าวจะกระทำโดยพิจารณาจาก
- ชนิดของสินค้า (nature of the product)
-สินค้าที่ FDA ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และ
-ประวัติในอดีตของสินค้านั้นๆ
FDA จะส่งหมายแจ้งการสุ่มตัวอย่าง "Notice of Sampling" ไปยังศุลกากรและผู้นำเข้าฯ สินค้าดังกล่าวจะต้องถูกเก็บไว้โดยไม่มีการแกะออกมา (intact) เพื่อรอว่าจะมีหมายแจ้งมาให้ทำอย่างไรกับสินค้านั้นต่อไป ตอนนี้จะมีการเก็บตัวอย่างจากสินค้านั้น ผุ้นำเข้าที่มีชื่อระบุอยู่ในเอกสารนำเข้าอาจจะเคลื่อนย้ายสินค้านั้นออกจากท่าเทียบเรือไปยังท่าเรือไปยังท่าหรือโกดังอื่นๆ ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของศุลกากรสหรัฐฯ
5.FDA จะเก็บตัวอย่างสินค้า (physical sample) และส่งไปยังห้องทดลองของ FDA หรือ FDA District Laboratory เพื่อทำการจัย
6. ก. ในกรณีที่การวิจัยของ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นถูกต้องตามกฏข้อบังคับ FDA จะส่งหมายแจ้งปล่อยค้า "Release Notice" ไปยังศุลกากรสหรัฐฯ และผู้นำเข้าที่มีชื่อระบุอยู่ในเอกสารนำเข้า หรือ
ข. ในกรณีที่การวิจัยของ FDA พบว่าตัวอย่างนั้น "ดูเหมือนว่าจะฝ่าฝืนกฎหมาย FD & C (FD&C Act) และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง" FDA จะส่งหมายแจ้งศุลกากรสหรัฐฯ และผู้นำเข้าที่มีชื่อระบุอยู่ในเอกสารนำเข้าให้ทราบว่าสินค้าจะถูกกักและต้องพิจารณา "Notice of Detention and Hearing" ในหมายแจ้งจะ
1. ระบุ ชนิดของการฝ่าฝืน และ
2. ให้เวลาผู้นำเข้าที่มีชื่อระบุในเอกสารนำเข้านาน 10 วันทำการ (Working day) ในการยื่นคำให้การในหัวข้อที่ว่าสินค้านั้นๆ สามารถจะได้รับการยอมรับให้นำเข้าสหรัฐได้
พิจารณา (hearing) เป็นโอกาสเดียวของผู้นำเข้าที่จะแสดงการปกป้องการนำเข้า และ/หรือ นำเสนอหลักฐานว่าจะสามารถทำให้สินค้านั้นมีคุณสมบัติถูกต้องและสามารถนำเข้าสหรัฐ ฯ ได้
7. ก. ผู้รับของ (consignee) เจ้าของที่แท้จริง (true owner) ผู้นำเข้าตามที่ระบุไว้ในเอกสารนำเข้า หรือตัวแทนที่ได้รับการระบุชื่อไว้ จะตอบสนองต่อหมายแจ้ง "Notice of Detention and hearing" การตอบสนองตอบหมายแจ้งดังกล่าวจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการนำสืบคำให้การ ไม่ว่าจะโดยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษร เพื่อให้มีการยอมรับสินค้านั้น ๆ หรือ
ข. ผู้รับของ เจ้าของที่แท้จริง ผู้นำเข้าฯ หรือผู้แทนตามที่ได้มีการระบุไว้ ไม่ตอบสนองต่อหมายแจ้ง "Notice of Dentention and Hearing" และไม่ร้องขอให้มีการขยายเวลาการพิจารณาออกไป
8. ก. FDA จะทำการพิจารณา (hearing) ในเรื่องการยอมรับสินค้านั้นให้นำเข้าสหรัฐฯ ได้ การพิจารณานี้จะเป็นโอกาสที่จะนำเสนอสาระที่เกี่ยวข้องและจะถูกจำกัดวงอยู่แต่ในเรื่องการยื่นหลักฐานที่ตรงเป้าหรือเข้าเรื่องกับเรื่องที่กำลังพิจารณาอยู่เท่านั้น หรือ
ข. FDA จะออกหมายแจ้งห้ามนำเข้า "Notice of Refusal of Admission" ไปยังผู้นำเข้าฯ ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือบริษัทเดียวกันกับที่ได้รับหมายแจ้ง "Notice of Sampling" อนึ่ง ทุกคนที่ได้รับหมายแจ้ง "Notice of Sampling" และ "Notice of Detention and Hearing" จะได้รับสำเนาหมายแจ้ง "Notice of Refusal of Admission" นี้ด้วย
9. ก. ผู้นำเข้าฯ นำเสนอหลักฐานที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามกฎข้อบังคับของ FDA และอาจจะนำเสนอผลของการวิเคราะห์ตัวอย่างสินค้า ที่ได้รับการรับรองว่าถูกต้อง (Certified) ที่มาจากการตรวจสอบโดยห้องทดลองที่เชื่อถือได้ และที่เป็นไปตามแนวทางที่ได้มีการประกาศไว้แล้วสำหรับระดับต่าง ๆ ของการถูกทำให้มีเชื้อโรคสิ่งสกปรกเจือปน (comtaminants) และการทำให้เกิดความบกพร่อง (defect) ในอาหารสำหรับการบริโภคโดยมนุษย์ หรือ
ข. ผู้นำเข้าฯ ยื่นใบขออำนาจในการปรับสภาพ (recondition) หรือกรรมวิธีการอื่น ๆ "Application for Authorization to Recondition or to Perform Other Action" (แบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD766) แบบฟอร์มนี้จะเป็นการร้องขอคำอนุญาตให้มีการทำให้อาหารซึ่งถูกเจือปน (adulterated) หรือปิดฉลากผิด (misbranded) ถูกต้องตามกฎข้อบังคับโดยการปิดฉลากใหม่หรือโดยปฏิบัติการอื่น ๆ หรือโดยการปรับเปลี่ยน (convert) เป็นสินค้าที่ไม่ใช่สำหรับเป็นอาหาร (non-food use) อีกต่อไป ทั้งนี้ผู้นำเข้าฯ จะต้องยื่นรายละเอียดกรรมวิธีที่จะทำให้อาหารนั้นถูกต้องตามกฎระเบียบที่กำหนดให้แก่ FDA หรือ
ค. FDA ได้รับการยืนยัน (verifaction) การส่งออกหรือการทำลายสินค้านั้น ๆ จากศุลกากรสหรัฐฯ การส่งออกหรือการทำลายสินค้าที่ถูกระบุไว้ใน "Notice of Refusal of Admission" จะถูกกระทำภายใต้การชี้แนะของศุลกากรสหรัฐฯ
10. ก. FDA เก็บตัวอย่างตามหลัง (follow-up sample) อีกครั้ง เพื่อตัดสินใจว่าสินค้านั้นเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ หรือ
ข. FDA ประเมินขบวนการปรับสภาพ (recondition) ที่ผู้นำเข้าฯ เสนอ ผู้นำเข้าต้องยื่นใบประกัน (bond) สำหรับชำระค่าใช้จ่ายในการที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาควบคุมดูแล (supervision) ขบวนการเปลี่ยนสภาพนี้
11. ก. ในกรณีที่ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นเป็นไปตามกฎระเบียบ "in compliance" FDA จะส่งหมายแจ้งการปล่อยสินค้า "Release Notice (แบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD717)" พร้อมด้วยข้อความว่าสินค้านั้นเคยถูกกักกันแต่ตอนนี้ได้รับการปลดปล่อยแล้ว "Orginally Detained and Now Released" ไปยังศุลกากรสหรัฐฯ และผู้นำเข้าฯ หรือ
ข. ในกรณีที่ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นยังคงไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ "not in compliance" ผู้นำเข้าอาจจะยื่นใบสมัครขออำนาจในการเปลี่ยนสภาพฯ "Application of Authorization to Recondition or to Perform Other Action" (ดูข้อ 9 ข) หรือ FDA จะออก "Notice of Refusal of Admission" (ดูข้อ 8 ข) หรือ
ค. FDA ยอมรับขบวนการปรับสภาพของผู้นำเข้าฯ ใบยื่นขอปรับสภาพที่ได้รับยอมรับและแล้วจะมีข้อความระบุว่าสินค้านั้นควรที่จะถูกเก็บไว้โดยไม่มีการแยกกระจาย (intact) รอจนกว่าจะได้รับหมายแจ้งปล่อยจาก FDA "Merchandise Should Be Hold Intact Pending the Receipt of FDA's Release Notice"
ง. FDA ไม่ยอมรับขบวนการปรับสภาพของผู้นำเข้าฯ ถ้าประสพการณ์ในอดีตแสดงให้เห็นว่าวิธีการที่เสนอมานั้นจะไม่ประสบผลสำเร็จ การร้องขอเป็นครั้งที่สองและครั้งสุดท้ายจะไม่ได้รับการพิจารณานอกเสียจากว่าในคำร้องขอนั้นจะระบุการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผลของขบวนการปรับสภาพที่จะเป็นการประกันว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีเหตุผลและจะทำให้การปรับสภาพนั้นประสบผลสำเร็จได้ ผู้ยื่นใบร้องขอนี้จะได้รับการติดต่อจาก FDA โดยการแจ้งผ่านบนแบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD766
12. ผู้นำเข้าฯ ที่ทำขบวนการปรับสภาพเสร็จสมบูรณ์และแจ้งให้ FDA ทราบว่าสินค้านั้น ๆ พร้อมสำหรับการตรวจสอบและการสุ่มเก็บตัวอย่าง
13. FDA จัดทำการตรวจและการสุ่มเก็บตัวอย่างตามหลังอีกครั้งหนึ่ง (fllow-up inspection/ sample collection) เพื่อตัดสินว่าสินค้านั้นเป็นไปตามกฎข้อบังคับในแง่ของการได้รับอำนาจให้มีการปรับสภาพหรือไม่
14. ก. การวิจัยของ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นเป็นไปตามกฎข้อบังคับ FDA จะส่งหมายแจ้งปล่อย "Notice of Release" (แบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD717) ไปยังผู้นำเข้าฯ และศุลกากรสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายสำหรับการควบคุมดูแล (Supervision) โดย FDA จะถูกประเมินไว้บนแบบฟอร์ม FDA หมายเลข FD790 สำเนาของแบบฟอร์มจะถูกส่งไปยังศุลกากรซึ่งจะรับผิดชอบในการเก็บค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นซึ่งจะรวมถึงค่าใช้จ่ายใด ๆ ที่เกิดขี้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศุลกากรเข้าไปด้วย หรือ
ข. การวิจัยของ FDA พบว่าตัวอย่างนั้นยังคงไม่เป็นไปตามกฎข้อบังคับ FDA จะประเมินค่าใช้จ่ายในการควบคุมดูแลโดย FDA ลงบนฟอร์ม FD790 สำเนาจะถูกส่งไปยังศุลกากรสหรัฐฯ ซึ่งจะรับผิดชอบในการเก็บค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานศุลกากรด้วยข้อเสนอแนะในการลดปัญหาการส่งสินค้าอาหารเข้าสหรัฐฯ
ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสามารถหลีกเลี่ยงจากการที่สินค้าถูกกักกันและทำให้สามารถนำสินค้าอาหารเช้า สหรัฐฯ ได้โดยรวดเร็วยิ่งขึ้นโดย
1. ก่อนที่จะจัดส่งสินค้าต้องให้แน่ใจว่าสินค้าที่จะนำเข้าสหรัฐฯ นั้นมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายสหรัฐฯ
2. จ้างห้องทดลองเอกชนทำการตราวจสอบตัวอย่างสินค้าที่นำเข้าและรับรองการวิจัยของผู้ผลิตแม้ว่าการกระทำดังกล่าวนี้จะไม่ได้เป็นหลักประกันว่าสินค้าจะสามารถผ่านเข้าสหรัฐฯ ได้อย่างแน่นอน แต่การวิจัยเหล่านี้จะเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าถึงความสามารถของผู้ผลิตว่าสามารถที่จะผลิตสินค้าที่ถูกกฎหมายและเป็นที่ยอมรับได้
3. ก่อนที่จะจัดส่งสินค้า ควรที่จะต้องรู้ข้อบังคับทางกฎหมายของ FDA ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. ขอความช่วยเหลือจากสำนักงาน FDA ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของท่าเรือที่สินค้าจะถูกนำเข้า
5. เข้าใจขบวนการนำเข้าสินค้าอาหารตามที่ระบุไว้ข้างต้น
6. จัดส่งข้อมูลการนำเข้าให้ FDA ทางคอมพิวเตอร์เพื่อช่วย FDA ในการพิจารณา commercial invoice ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นข้อควรปฏิบัติของการผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออกไปยังสหรัฐฯ
1. สินค้าอาหารกระป๋องที่ถือเป็น low-acid canned food ที่นำเข้าสหรัฐฯ บริษัทผู้ผลิตจะต้องทำการจดทะเบียนและส่งมอบข้อมูลการผลิตกับ FDA ก่อนที่จะส่งสินค้าออกไปยังสหรัฐฯ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่แตกต่างกันจะต้องทำการจดทะเบียนและส่งมอบข้อมูลการผลิตแยกกัน หลังจากที่ผู้ผลิตได้จดทะเบียนกับสหรัฐฯ แล้ว FDA จะออกหมายเลข FCE (Food Canning Establiashment Number) ให้เมื่อสินค้าเดินทางมาถึงสหรัฐฯ ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องถูกแสดงต่อ FDA ที่ท่าน้ำเข้า
2. ภายใต้กฎหมาย Nutrition Labeling and Education Act of 1990 สินค้าอาหารเกือบทุกชนิดจะต้องได้การปิดฉลากสินค้าตามแนวทางที่กฎหมายกำหนด ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ชื่อสินค้า ผู้ผลิต จำนวนคุณค่าทางโภชนการที่คาดจะได้รับการต่อการบริโภคหนึ่งครั้ง ส่วนผสม การอ้างสรรพคุณและคุณสมบัติของสินค้า ไปจนถึงรูปลักษณ์ของตัวฉลาก ทั้งนี้หน่วย FDA จะเป็นผู้ควบคุมดูแลการปิดฉลากสินค้าอาหารทั่ว ๆ ไป ภายใต้ Nutrition Labeling and education Act ขณะที่หน่วยงาน USDA จะดูแลอาหารประเภทเนื้อสัตว์และสัตว์ปีกภายใต้ Federal Meat Inspection Act และ Poultry Products Inspection
3. เงื่อนไขสำคัญที่สุดของส่งสินค้าอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลเข้าไปยังสหรัฐฯ ก็คือการผลิตตามแนวทางของระบบ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Points) ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมาโดยเริ่มกับอาหารทะเลเป็นอันดับแรก HACCP ต่างกับการตรวจสอบอาหารที่ผลิตเสร็จแล้วและส่งเข้าสหรัฐฯ ในแง่ที่ว่าการตรวจสอบเมื่ออาหารผลิตเสร็จแล้วเป็นการแก้ที่ปลายเหตุเมื่อความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว ในขณะที่ HACCP เป็นระบบการป้องกันก่อนที่ความเสียหายจะเกิดขึ้นเนื่องจาก HACCP หมายถึงระบบการควบคุมสามัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการด้านอาหารตั้งแต่เริ่มขบวนการจนถึงขั้นตอนสุดท้ายเมื่ออาหารถูกส่งถึงมือผู้บริโภค หลักการพื้นฐานของ HACCP ก็คือ การวิเคราะห์หาความเสี่ยงในขบวนการผลิต (hazard analysis) ระบุจุดวิกฤตที่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้นและจะต้องได้รับการควบคุม (critical points control) จุดวิกฤตคือ จุดที่ความสกปรกและการเจือปนโดยสิ่งแปลกปลอมจะเกิดขึ้น สหรัฐฯ เชื่อว่าระบบนี้จะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการบริโภคอาหาร ไม่ว่าอาหารนั้นจะผลิตมาจากประเทศใดก็ตาม เพราะสหรัฐฯ กำหนดว่าผู้นำเข้าจะต้องแสดง HACCP Plan ของตนและของโรงงานผู้ผลิตสินค้าเมื่อต้องการนำสินค้านั้นเข้าสหรัฐฯ
HACCP Plan คือระบบการเก็บบันทึกข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การเขียนแบบร่างขบวนการผลิตตั้งแต่ต้นจนจบ มีการระบุว่าอะไรคือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิต และกรรมวิธีใช้การป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้ความเสี่ยง ๆ นั้น เกิดขึ้น ขั้นตอนหลักของ HACCP มีอยู่ 7 ขั้น ตอนด้วยกันคือ
1. ระบุความเสี่ยงและประเมินระดับความเสี่ยงว่ามากน้อยเพียงใด (harzard analysis)
2. ระบุจุดวิฤติหรือจุดที่ความเสี่ยงจะเกิดขึ้น (critical control points)
3. ควบคุมจำกัดความเสี่ยงในแต่ละจุดวิกฤติ (critical control limitis)
4. เฝ้าดูจุดวิกฤติและทำการจดบันทึกข้อมูล
5. ทำการแก้ไขทันทีเมื่อความเสี่ยงในแต่ละจุดวิกฤติสูงเกินขีดจำกัด
6. จัดระบบการเก็บข้อมูลการผลิตในระบบ HACCP อย่างละเอียดและมีประสิทธิภาพ
7. จัดทำขบวนการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบ HACCP ที่ใช้อยู่นั้นมีประสิทธิผลดี
อนึ่ง แม้ว่าโรงงานผู้ผลิตและผู้นำเข้าจะมี HACCP Plan ที่เป็นที่ยอมรับ FDA แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อสินค้านั้น ๆ เดินทางมาถึงท่านำเข้าสหรัฐฯ แล้วสินค้านั้น ๆ จะได้รับการยกเว้นจากการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ FDA แต่อย่างใด ๆ สินค้านั้น ๆ ยังคงจะต้องถูกตรวจสอบตามปกติ
ที่มา : ศูนย์พาณิชยกรรม ณ นครลอสแอนเจลิส
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 6/31 มีนาคม 2542--