กรุงเทพ--6 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามบัญชาของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ นายมหดี วิมานะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมเตรียมการฮัจย์สำหรับผู้แสวงบุญจากประเทศไทย ประจำปี 2542 ที่กระทรวงฮัจย์ เมืองเจดดาห์ ซาอุดิอารเบีย เมื่อวันที่ 30 กันยายน ศกนี้
ในการประชุมดังกล่าว คณะผู้แทนไทยประกอบด้วยเอกอัครราชทูตฯ ในฐานะหัวหน้าคณะ โดยมีนายอับดุลวาฮับ อับดุลวาฮับ รองประธานกรรมการกลางอิสลาม นายมานะ มโนรมย์ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ และเจ้าหน้าที่จากกรมการศาสนาและกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมด้วย ส่วนคณะผู้แทนฝ่ายซาอุดิอารเบีย ประกอบด้วย ฯพณฯ ดร. มะห์มูด บิน มูฮัมหมัดซาฟัร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฮัจย์ เป็นหัวหน้าคณะ โดยมีปลัดกระทรวงฮัจย์ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ประธานองค์การบริหารฮัจย์ (มูอัซซาซะห์)-กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย
ผลการหารือ สรุปได้ดังนี้
1. การเก็บศพผู้แสวงบุญ ในฤดูฮัจย์ตั้งแต่ปีนี้ ซาอุดิอารเบียจะเก็บรักษาศพของผู้แสวงบุญที่เสียชีวิตไว้ไม่เกิน 2 เดือน และโรงพยาบาลต่าง ๆ ในซาอุดิอารเบียจะแจ้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาร์ดและสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์เมื่อผู้แสวงบุญไทยเสียชีวิต
2. การพลีกรรมบริเวณยาบัลกุรบั่น ในปีที่ผ่านมา ผู้แสวงบุญจำนวนมากได้นำสัตว์ไปเชือดเพื่อพลีกรรม และแจกเนื้อทำบุญที่บริเวณยาบัลกุรบั่น โดยเชื่อว่าจะได้ผลบุญแรง ซาอุดิอารเบียแจ้งว่า ตั้งแต่ฤดูฮัจย์นี้เป็นต้นไป ซาอุดิอารเบียห้ามการเชือดสัตว์ ณ ที่นั้น ด้วยเหตุผลทางสุขอนามัย ทั้งศาสนาก็ไม่ได้บัญญัติให้ต้องทำเช่นนั้น
3. การจองหน่วยงานที่ดูแลผู้แสวงบุญ (มักตับ) คณะผู้แทนไทยแสดงความจำนงขอจอง 5 มักตับ เพื่อรองรับผู้แสวงบุญชาวไทย ซึ่งประเมินว่าจะมีจำนวนอย่างสูง 11,000 คน ในฤดูฮัจย์ปี 2542 ทั้งนี้ ในฤดูฮัจย์ที่ผ่านมา มักตับหนึ่งจะดูแลผู้แสวงบุญ 2,500 คน
4. การจัดเต็นท์ คณะผู้แทนไทยขอให้ซาอุดิอารเบียจัดเต็นท์ทั้งในเขตอะรอฟะต์และเขตมีนา เช่นเดียวกับในการแสวงบุญครั้งที่ผ่านมา โดยขอให้แต่ละมักตับจัดเต็นท์สำหรับเจ้าหน้าที่อะมีรุ้ลฮัจย์ 1 เต็นท์ และเต็นท์สำหรับหน่วยพยาบาล 1 เต็นท์ โดยขอให้มีเจ้าหน้าที่กระทรวงฮัจย์หรือเจ้าหน้าที่มูอัซซาซะห์จัดเวรมาประจำหรือมาเยี่ยมเยียนที่เต็นท์อะมีรุ้ลฮัจย์เป็นครั้งคราวในแต่ละวันเพื่อประสานงานด้วย
5. ห้องน้ำ ห้องสุขา ก๊อกอาบน้ำ ซาอุดิอารเบียจะจัดห้องน้ำ ห้องสุขา และก๊อกอาบน้ำละหมาด เช่นเดียวกับในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตมีนานั้น แต่ละมักตับจะมีห้องสุขาที่มีก๊อกน้ำและไฟฟ้าสำหรับชายและหญิง รวม 30 ห้อง และก๊อกอาบน้ำละหมาดแยกต่างหากเช่นปีที่แล้ว
6. การเช่าบ้าน กระทรวงฮัจย์ย้ำว่าได้กำหนดเขตที่มีบ้านเช่าระดับต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เจ้าของให้เช่าแก่ผู้แสวงบุญได้ โดยเขตดังกล่าวมีรัศมีกว้างขวางรอบมหาวิหารฮารอม มูอัซซาซะห์แนะนำให้แซะห์ไทย (ผู้ประกอบการ) รวมตัวกันเช่าบ้านหลังใหญ่หลังเดียวหรือหลายหลังในที่เดียวกัน เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและได้บ้านที่ดี ซึ่งในปีนี้ ตัวแทนไทยหลายรายได้แสดงความจำนงที่จะรวมตัวกันเช่าบ้านตามที่มูอัซซาซะห์แนะนำแล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฮัจย์เน้นว่า ให้ผู้ประกอบการไทยปฏิบัติตามมาตรการเกี่ยวกับบ้านเช่าที่คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันนี้อย่างเคร่งครัด ในเทศกาลฮัจย์ครั้งนี้เป็นต้นไป ทางการซาอุ-ดิอารเบียจะจับกุมคุมขังผู้ประกอบการหรือผู้แทนที่มีพฤติกรรมหลอกลวงผู้แสวงบุญไทย รวมทั้งการไปเช่าบ้านอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งทำให้ผู้แสวงบุญต้องได้รับความยากลำบากและได้รับอันตรายทางสุขภาพ
7. อาหาร กระทรวงฮัจย์แจ้งว่า ทางการซาอุดิอารเบียไม่ได้ห้ามการนำอาหารเข้าไปในเต็นท์ หากมีการกีดกันดังกล่าว ทางการซาอุดิอารเบียจะลงโทษผู้กีดกันดังกล่าว ส่วนคณะผู้แทนไทยได้ชมเชยการจัดอาหารของมูอัซซาซะห์ในฮัจย์ครั้งที่ผ่านมา และขอให้มูอัซซาซะห์เสนอราคาอาหารราคาเดียวในเมนูมาตรฐาน ยกเว้นมูอัซซาซะห์จะมีเมนูอาหารให้เลือกหลายราคา และให้สั่งจองภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น เพื่อลดความสับสนที่เกิดขึ้น
กระทรวงฮัจย์เน้นด้วยว่า เท่าที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการไทยบางคนนำผู้แสวงบุญไปซื้ออาหารตามแผงลอย หรือพาผู้แสวงบุญเข้าออกระหว่างเมืองมีนาและนครเมกกะห์ระหว่างพิธีแสวงบุญ เพื่อพาไปรับประทานอาหารและเพื่อความสะดวกอย่างอื่น บางรายพาผู้แสวงบุญไปพักตามสถานที่อันไม่สมควร เช่น ใต้สะพาน เป็นต้น พฤติกรรมเช่นนี้ซาอุดิอารเบียถือว่าเข้าข่ายหลอกลวงผู้แสวงบุญ เนื่องจากการทำฮัจย์คือการบำเพ็ญศาสนา ณ สถานที่ที่กำหนด การนำผู้แสวงบุญออกจากสถานที่ไปตามที่ต่าง ๆ ในช่วงประกอบพิธี ทำให้ผู้แสวงบุญไม่ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความสงบ และผู้แสวงบุญที่สูงอายุบางคนเหน็ดเหนื่อยถึงล้มป่วยหรืออาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากกระทรวงฮัจย์ตรวจพบว่าผู้ประกอบการชาติใดมีพฤติกรรมเช่นนี้ในพิธีฮัจย์ครั้งนี้ จะจับกุมคุมขังและดำเนินคดีผู้ประกอบการดังกล่าว
สถานเอกอัครราชทูตฯ รายงานด้วยว่า การประชุมเตรียมการครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนซาอุดิอารเบียอย่างมาก นับเป็นปีแรกที่มีการเผยแพร่ข่าวทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ หลังจากที่โทรทัศน์และวิทยุซาอุดิอารเบีย ซึ่งเป็นเครือข่ายของรัฐบาล ไม่ได้ลงข่าวเกี่ยวกับไทยในเรื่องนี้มาหลายปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ตามบัญชาของ ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ นายมหดี วิมานะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมเตรียมการฮัจย์สำหรับผู้แสวงบุญจากประเทศไทย ประจำปี 2542 ที่กระทรวงฮัจย์ เมืองเจดดาห์ ซาอุดิอารเบีย เมื่อวันที่ 30 กันยายน ศกนี้
ในการประชุมดังกล่าว คณะผู้แทนไทยประกอบด้วยเอกอัครราชทูตฯ ในฐานะหัวหน้าคณะ โดยมีนายอับดุลวาฮับ อับดุลวาฮับ รองประธานกรรมการกลางอิสลาม นายมานะ มโนรมย์ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ์ และเจ้าหน้าที่จากกรมการศาสนาและกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมด้วย ส่วนคณะผู้แทนฝ่ายซาอุดิอารเบีย ประกอบด้วย ฯพณฯ ดร. มะห์มูด บิน มูฮัมหมัดซาฟัร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฮัจย์ เป็นหัวหน้าคณะ โดยมีปลัดกระทรวงฮัจย์ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี ประธานองค์การบริหารฮัจย์ (มูอัซซาซะห์)-กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย
ผลการหารือ สรุปได้ดังนี้
1. การเก็บศพผู้แสวงบุญ ในฤดูฮัจย์ตั้งแต่ปีนี้ ซาอุดิอารเบียจะเก็บรักษาศพของผู้แสวงบุญที่เสียชีวิตไว้ไม่เกิน 2 เดือน และโรงพยาบาลต่าง ๆ ในซาอุดิอารเบียจะแจ้งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาร์ดและสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์เมื่อผู้แสวงบุญไทยเสียชีวิต
2. การพลีกรรมบริเวณยาบัลกุรบั่น ในปีที่ผ่านมา ผู้แสวงบุญจำนวนมากได้นำสัตว์ไปเชือดเพื่อพลีกรรม และแจกเนื้อทำบุญที่บริเวณยาบัลกุรบั่น โดยเชื่อว่าจะได้ผลบุญแรง ซาอุดิอารเบียแจ้งว่า ตั้งแต่ฤดูฮัจย์นี้เป็นต้นไป ซาอุดิอารเบียห้ามการเชือดสัตว์ ณ ที่นั้น ด้วยเหตุผลทางสุขอนามัย ทั้งศาสนาก็ไม่ได้บัญญัติให้ต้องทำเช่นนั้น
3. การจองหน่วยงานที่ดูแลผู้แสวงบุญ (มักตับ) คณะผู้แทนไทยแสดงความจำนงขอจอง 5 มักตับ เพื่อรองรับผู้แสวงบุญชาวไทย ซึ่งประเมินว่าจะมีจำนวนอย่างสูง 11,000 คน ในฤดูฮัจย์ปี 2542 ทั้งนี้ ในฤดูฮัจย์ที่ผ่านมา มักตับหนึ่งจะดูแลผู้แสวงบุญ 2,500 คน
4. การจัดเต็นท์ คณะผู้แทนไทยขอให้ซาอุดิอารเบียจัดเต็นท์ทั้งในเขตอะรอฟะต์และเขตมีนา เช่นเดียวกับในการแสวงบุญครั้งที่ผ่านมา โดยขอให้แต่ละมักตับจัดเต็นท์สำหรับเจ้าหน้าที่อะมีรุ้ลฮัจย์ 1 เต็นท์ และเต็นท์สำหรับหน่วยพยาบาล 1 เต็นท์ โดยขอให้มีเจ้าหน้าที่กระทรวงฮัจย์หรือเจ้าหน้าที่มูอัซซาซะห์จัดเวรมาประจำหรือมาเยี่ยมเยียนที่เต็นท์อะมีรุ้ลฮัจย์เป็นครั้งคราวในแต่ละวันเพื่อประสานงานด้วย
5. ห้องน้ำ ห้องสุขา ก๊อกอาบน้ำ ซาอุดิอารเบียจะจัดห้องน้ำ ห้องสุขา และก๊อกอาบน้ำละหมาด เช่นเดียวกับในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตมีนานั้น แต่ละมักตับจะมีห้องสุขาที่มีก๊อกน้ำและไฟฟ้าสำหรับชายและหญิง รวม 30 ห้อง และก๊อกอาบน้ำละหมาดแยกต่างหากเช่นปีที่แล้ว
6. การเช่าบ้าน กระทรวงฮัจย์ย้ำว่าได้กำหนดเขตที่มีบ้านเช่าระดับต่าง ๆ ที่อนุญาตให้เจ้าของให้เช่าแก่ผู้แสวงบุญได้ โดยเขตดังกล่าวมีรัศมีกว้างขวางรอบมหาวิหารฮารอม มูอัซซาซะห์แนะนำให้แซะห์ไทย (ผู้ประกอบการ) รวมตัวกันเช่าบ้านหลังใหญ่หลังเดียวหรือหลายหลังในที่เดียวกัน เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและได้บ้านที่ดี ซึ่งในปีนี้ ตัวแทนไทยหลายรายได้แสดงความจำนงที่จะรวมตัวกันเช่าบ้านตามที่มูอัซซาซะห์แนะนำแล้ว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฮัจย์เน้นว่า ให้ผู้ประกอบการไทยปฏิบัติตามมาตรการเกี่ยวกับบ้านเช่าที่คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันนี้อย่างเคร่งครัด ในเทศกาลฮัจย์ครั้งนี้เป็นต้นไป ทางการซาอุ-ดิอารเบียจะจับกุมคุมขังผู้ประกอบการหรือผู้แทนที่มีพฤติกรรมหลอกลวงผู้แสวงบุญไทย รวมทั้งการไปเช่าบ้านอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งทำให้ผู้แสวงบุญต้องได้รับความยากลำบากและได้รับอันตรายทางสุขภาพ
7. อาหาร กระทรวงฮัจย์แจ้งว่า ทางการซาอุดิอารเบียไม่ได้ห้ามการนำอาหารเข้าไปในเต็นท์ หากมีการกีดกันดังกล่าว ทางการซาอุดิอารเบียจะลงโทษผู้กีดกันดังกล่าว ส่วนคณะผู้แทนไทยได้ชมเชยการจัดอาหารของมูอัซซาซะห์ในฮัจย์ครั้งที่ผ่านมา และขอให้มูอัซซาซะห์เสนอราคาอาหารราคาเดียวในเมนูมาตรฐาน ยกเว้นมูอัซซาซะห์จะมีเมนูอาหารให้เลือกหลายราคา และให้สั่งจองภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น เพื่อลดความสับสนที่เกิดขึ้น
กระทรวงฮัจย์เน้นด้วยว่า เท่าที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการไทยบางคนนำผู้แสวงบุญไปซื้ออาหารตามแผงลอย หรือพาผู้แสวงบุญเข้าออกระหว่างเมืองมีนาและนครเมกกะห์ระหว่างพิธีแสวงบุญ เพื่อพาไปรับประทานอาหารและเพื่อความสะดวกอย่างอื่น บางรายพาผู้แสวงบุญไปพักตามสถานที่อันไม่สมควร เช่น ใต้สะพาน เป็นต้น พฤติกรรมเช่นนี้ซาอุดิอารเบียถือว่าเข้าข่ายหลอกลวงผู้แสวงบุญ เนื่องจากการทำฮัจย์คือการบำเพ็ญศาสนา ณ สถานที่ที่กำหนด การนำผู้แสวงบุญออกจากสถานที่ไปตามที่ต่าง ๆ ในช่วงประกอบพิธี ทำให้ผู้แสวงบุญไม่ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความสงบ และผู้แสวงบุญที่สูงอายุบางคนเหน็ดเหนื่อยถึงล้มป่วยหรืออาจเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากกระทรวงฮัจย์ตรวจพบว่าผู้ประกอบการชาติใดมีพฤติกรรมเช่นนี้ในพิธีฮัจย์ครั้งนี้ จะจับกุมคุมขังและดำเนินคดีผู้ประกอบการดังกล่าว
สถานเอกอัครราชทูตฯ รายงานด้วยว่า การประชุมเตรียมการครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนซาอุดิอารเบียอย่างมาก นับเป็นปีแรกที่มีการเผยแพร่ข่าวทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ หลังจากที่โทรทัศน์และวิทยุซาอุดิอารเบีย ซึ่งเป็นเครือข่ายของรัฐบาล ไม่ได้ลงข่าวเกี่ยวกับไทยในเรื่องนี้มาหลายปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--