สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้สุกรมีชีวิตเริ่มปรับราคาดีขึ้น เนื่องจากการซื้อขายในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างคล่องตัวทำให้ปริมาณสุกรเริ่มลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โดยรวมก็ยังคงซบเซาและมีแนวโน้มว่าราคาจะอ่อนตัวลงอีก เพราะผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในขณะนี้ ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
จากปัญหาราคาสุกรมีชีวิตตกต่ำอย่างต่อเนื่องและทางกรมการค้าภายในได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหามาเป็นลำดับ แต่ยังไม่สามารถพยุงราคาให้สูงขึ้นได้นั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตรเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมาที่ประชุมได้มีมติให้แทรกแซงตลาดสุกรเพิ่มเติมจากที่ได้ดำเนินการอยู่คือ 1) ชำแหละสุกรขุนเก็บสต็อก 50,000 ตัว 2) กำหนดราคาเป้าหมายนำสุกรมีชีวิต กิโลกรัมละ 35.20 บาท โดยขอใช้เงินคชก.จำนวน 150 ล้านบาท ให้ผู้เลี้ยงสุกร ผู้ค้าและโรงงานแปรรูป ยืมเป็นทุนหมุนเวียนในการเก็บสต็อกเนื้อสุกรในช่วงต้นปี 2541 นอกจากนี้ประชุมยังมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศ ศึกษาภาวะตลาดสุกรที่สิงคโปร์เพื่อหาตลาดส่งออกเนื้อสุกร
ผลจากการประชุมดังกล่าวจะนำเสนอในการประชุมคชก.คราวต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 29.39 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.71 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 27.68 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 28.12 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.68 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.47 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 250 บาท ลดลงจากตัวละ 350 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ28.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อยังคงอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้การบริโภคภายในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม ผลจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงในขณะนี้ทำให้การส่งออกค่อนข้างดีและโรงงานชำแหละไก่ส่วนใหญ่ได้ปรับทิศทางไปเป็นการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกาให้สินเชื่อมูลค่า 400 ล้านเหรียญแก่เกาหลีใต้ อาจส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์ไทย
ข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้ดำเนินการให้เกาหลีใต้ได้รับสินเชื่อมูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินเชื่อจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์อาหารและฝ้าย ซึ่งสินเชื่อที่จะให้เกาหลีใต้นี้ภายใต้อยู่ภายใต้โครงการ GSM-102 Export Credit Program มูลค่า 1,000 ล้านเหรียญและคาดว่าจะช่วยให้เกาหลีใต้สามารถรักษาเสถียรภาพและฟื้นฟูตลาดได้ สำหรับสินค้าที่สหรัฐฯ จะจัดให้เกาหลีใต้ ประกอบด้วย ฝ้าย ข้าวโพด ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ข้าวสาลี เนื้อโค เนื้อสุกร เนื้อไก่และพืชผัก-ผลไม้
การจัดหาสินเชื่อให้เกาหลีใต้ดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯ จะเป็นผู้ประกันเงินสินเชื่อให้แก่สถาบันการเงินของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการในการจัดซื้อสินค้าเกษตรส่งให้แก่เกาหลีใต้
โดยความเป็นจริง เกาหลีใต้ขอสินเชื่อจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ มูลค่าสูงถึง 1,600 ล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าที่เม็กซิโกจะได้รับความช่วยเหลือในปีนี้ มูลค่า 1,250 ล้านเหรียญ การที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ช่วยเหลือ โดยจัดหาสินเชื่อให้เพียง 400 ล้านเหรียญ เพื่อซื้ออาหารและสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ นั้น คาดว่าจะช่วยรักษาเสถียรภาพของเกาหลีใต้ให้ยังคงเป็นตลาดหลักสำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ต่อไปได้
สินเชื่อ 400 ล้านเหรียญ ได้จำแนกเป็นค่าใช้จ่ายไว้สำหรับซื้อฝ้ายมูลค่า 130 ล้านเหรียญ ข้าวสาลี 85 ล้านเหรียญ ข้าวโพดและกากถั่วเหลือง 80 ล้านเหรียญ ถั่วเหลือง 55 ล้านเหรียญ เนื้อไก่ เนื้อโค เนื้อสุกรและพืชผัก-ผลไม้ รวม 50 ล้านเหรียญ การซื้อขายสินค้าดังกล่าวจะดำเนินการในเดือนกันยายน 2541 และจะส่งมอบสินค้าภายในเดือนพฤศจิกายน 2541
การดำเนินการจัดหาสินเชื่อในรูปสินค้าเกษตรมูลค่า 400 ล้านเหรียญให้แก่เกาหลีใต้ดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยด้วย เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกมันอัดเม็ดและไก่สดแช่แข็งของไทย ซึ่งอาจทำให้เกาหลีใต้ลดการซื้อสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทยลง ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังต้องซื้อถั่วเหลือง ข้าวโพดและกากถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ การให้สินเชื่อในรูปของสินค้าเหล่านี้แก่เกาหลีใต้ อาจมีผลให้ราคาสินค้า 3 ชนิดดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการนำเข้าของไทยที่ต้องใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศมากขึ้นไปอีกและผลกระทบที่ชัดเจนจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์ของไทยมากขึ้น จึงควรที่รัฐจะต้องเร่งรัดเพิ่มการผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดให้มากขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้า รวมทั้งการหาตลาดอื่นรองรับไก่สดแช่แข็งและมันอัดเม็ดทดแทนตลาดเกาหลีใต้ด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 29.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.27 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 29.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 28.59 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.71 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.65 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัทซี.พี.มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.63
ไข่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไข่ไก่
สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัวเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าราคาในสัปดาห์นี้จะอ่อนตัวลง เนื่องจากผลผลิตมีปริมาณมากในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงอีกเพราะอยู่ในช่วงฤดูหนาวที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยให้อัตราการให้ไข่ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณมากขึ้น
จากการที่ราคาไข่ไก่ลดต่ำลงในขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทางสมาคมผู้ค้าและผู้ส่งออกไข่ไก่ได้มีหนังสือร้องเรียนถึงปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตรเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติให้แทรกแซงตลาดไข่ไก่ปี 2541 ดังนี้ 1) กำหนดราคาเป้าหมายนำฟองละ 1.35 บาท เท่ากับปี 2540 2) สนับสนุนเงินคชก.ปลอดดอกเบี้ย 50 ล้านบาทให้สมาคมหรือสถาบันเกษตรกร รวบรวมไข่ไก่เข้าห้องเย็นในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2541 เพื่อระบายออกสู่ตลาดในระยะต่อไป และมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศติดต่อหาตลาดส่งออกไข่ไก่ที่ฮ่องกง ซึ่งประเทศไทยน่าจะได้เปรียบประเทศผู้ส่งออกรายอื่นเพราะการลดค่าเงินบาท
ผลจากการประชุมดังกล่าว จะได้นำเสนอในการประชุมคชก.คราวต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 154 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 155 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 166 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 145 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 167 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 164 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
- ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 188 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ187 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 188 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 190 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 190 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 177 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 247 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 25.20 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.83 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 15.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 1 ประจำวันที่ 5-11 ม.ค. 2541--
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้สุกรมีชีวิตเริ่มปรับราคาดีขึ้น เนื่องจากการซื้อขายในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างคล่องตัวทำให้ปริมาณสุกรเริ่มลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โดยรวมก็ยังคงซบเซาและมีแนวโน้มว่าราคาจะอ่อนตัวลงอีก เพราะผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำในขณะนี้ ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
จากปัญหาราคาสุกรมีชีวิตตกต่ำอย่างต่อเนื่องและทางกรมการค้าภายในได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหามาเป็นลำดับ แต่ยังไม่สามารถพยุงราคาให้สูงขึ้นได้นั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตรเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมาที่ประชุมได้มีมติให้แทรกแซงตลาดสุกรเพิ่มเติมจากที่ได้ดำเนินการอยู่คือ 1) ชำแหละสุกรขุนเก็บสต็อก 50,000 ตัว 2) กำหนดราคาเป้าหมายนำสุกรมีชีวิต กิโลกรัมละ 35.20 บาท โดยขอใช้เงินคชก.จำนวน 150 ล้านบาท ให้ผู้เลี้ยงสุกร ผู้ค้าและโรงงานแปรรูป ยืมเป็นทุนหมุนเวียนในการเก็บสต็อกเนื้อสุกรในช่วงต้นปี 2541 นอกจากนี้ประชุมยังมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศ ศึกษาภาวะตลาดสุกรที่สิงคโปร์เพื่อหาตลาดส่งออกเนื้อสุกร
ผลจากการประชุมดังกล่าวจะนำเสนอในการประชุมคชก.คราวต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 29.39 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.71 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 27.68 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 28.12 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.68 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 34.47 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 250 บาท ลดลงจากตัวละ 350 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ28.57
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละในตลาดกรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาไก่เนื้อยังคงอ่อนตัวลงจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ทำให้การบริโภคภายในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม ผลจากการที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงในขณะนี้ทำให้การส่งออกค่อนข้างดีและโรงงานชำแหละไก่ส่วนใหญ่ได้ปรับทิศทางไปเป็นการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
สหรัฐอเมริกาให้สินเชื่อมูลค่า 400 ล้านเหรียญแก่เกาหลีใต้ อาจส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์ไทย
ข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้ดำเนินการให้เกาหลีใต้ได้รับสินเชื่อมูลค่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยสินเชื่อจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์อาหารและฝ้าย ซึ่งสินเชื่อที่จะให้เกาหลีใต้นี้ภายใต้อยู่ภายใต้โครงการ GSM-102 Export Credit Program มูลค่า 1,000 ล้านเหรียญและคาดว่าจะช่วยให้เกาหลีใต้สามารถรักษาเสถียรภาพและฟื้นฟูตลาดได้ สำหรับสินค้าที่สหรัฐฯ จะจัดให้เกาหลีใต้ ประกอบด้วย ฝ้าย ข้าวโพด ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ข้าวสาลี เนื้อโค เนื้อสุกร เนื้อไก่และพืชผัก-ผลไม้
การจัดหาสินเชื่อให้เกาหลีใต้ดังกล่าว รัฐบาลสหรัฐฯ จะเป็นผู้ประกันเงินสินเชื่อให้แก่สถาบันการเงินของภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการในการจัดซื้อสินค้าเกษตรส่งให้แก่เกาหลีใต้
โดยความเป็นจริง เกาหลีใต้ขอสินเชื่อจากกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ มูลค่าสูงถึง 1,600 ล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าที่เม็กซิโกจะได้รับความช่วยเหลือในปีนี้ มูลค่า 1,250 ล้านเหรียญ การที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ช่วยเหลือ โดยจัดหาสินเชื่อให้เพียง 400 ล้านเหรียญ เพื่อซื้ออาหารและสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ นั้น คาดว่าจะช่วยรักษาเสถียรภาพของเกาหลีใต้ให้ยังคงเป็นตลาดหลักสำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ต่อไปได้
สินเชื่อ 400 ล้านเหรียญ ได้จำแนกเป็นค่าใช้จ่ายไว้สำหรับซื้อฝ้ายมูลค่า 130 ล้านเหรียญ ข้าวสาลี 85 ล้านเหรียญ ข้าวโพดและกากถั่วเหลือง 80 ล้านเหรียญ ถั่วเหลือง 55 ล้านเหรียญ เนื้อไก่ เนื้อโค เนื้อสุกรและพืชผัก-ผลไม้ รวม 50 ล้านเหรียญ การซื้อขายสินค้าดังกล่าวจะดำเนินการในเดือนกันยายน 2541 และจะส่งมอบสินค้าภายในเดือนพฤศจิกายน 2541
การดำเนินการจัดหาสินเชื่อในรูปสินค้าเกษตรมูลค่า 400 ล้านเหรียญให้แก่เกาหลีใต้ดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยด้วย เนื่องจากเกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกมันอัดเม็ดและไก่สดแช่แข็งของไทย ซึ่งอาจทำให้เกาหลีใต้ลดการซื้อสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทยลง ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังต้องซื้อถั่วเหลือง ข้าวโพดและกากถั่วเหลืองจากสหรัฐฯ การให้สินเชื่อในรูปของสินค้าเหล่านี้แก่เกาหลีใต้ อาจมีผลให้ราคาสินค้า 3 ชนิดดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อการนำเข้าของไทยที่ต้องใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศมากขึ้นไปอีกและผลกระทบที่ชัดเจนจะเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และอาหารสัตว์ของไทยมากขึ้น จึงควรที่รัฐจะต้องเร่งรัดเพิ่มการผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดให้มากขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้า รวมทั้งการหาตลาดอื่นรองรับไก่สดแช่แข็งและมันอัดเม็ดทดแทนตลาดเกาหลีใต้ด้วย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 29.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 29.27 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 29.93 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 28.59 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 28.71 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 33.65 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัทซี.พี.มีราคาอยู่ที่ตัวละ 10.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 38 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.63
ไข่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- ไข่ไก่
สถานการณ์โดยรวมยังทรงตัวเช่นเดียวกับสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าราคาในสัปดาห์นี้จะอ่อนตัวลง เนื่องจากผลผลิตมีปริมาณมากในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลงอีกเพราะอยู่ในช่วงฤดูหนาวที่สภาพอากาศเอื้ออำนวยให้อัตราการให้ไข่ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตไข่ไก่มีปริมาณมากขึ้น
จากการที่ราคาไข่ไก่ลดต่ำลงในขณะที่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทางสมาคมผู้ค้าและผู้ส่งออกไข่ไก่ได้มีหนังสือร้องเรียนถึงปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตรเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีมติให้แทรกแซงตลาดไข่ไก่ปี 2541 ดังนี้ 1) กำหนดราคาเป้าหมายนำฟองละ 1.35 บาท เท่ากับปี 2540 2) สนับสนุนเงินคชก.ปลอดดอกเบี้ย 50 ล้านบาทให้สมาคมหรือสถาบันเกษตรกร รวบรวมไข่ไก่เข้าห้องเย็นในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2541 เพื่อระบายออกสู่ตลาดในระยะต่อไป และมอบหมายให้กรมการค้าต่างประเทศติดต่อหาตลาดส่งออกไข่ไก่ที่ฮ่องกง ซึ่งประเทศไทยน่าจะได้เปรียบประเทศผู้ส่งออกรายอื่นเพราะการลดค่าเงินบาท
ผลจากการประชุมดังกล่าว จะได้นำเสนอในการประชุมคชก.คราวต่อไป
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 154 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 155 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 166 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 145 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 167 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 16 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 164 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
- ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 188 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ187 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 188 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 190 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 190 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 177 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เฉลี่ยร้อยฟองละ 247 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 25.20 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.83 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.49
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 15.25 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 1 ประจำวันที่ 5-11 ม.ค. 2541--