แท็ก
มาเลเซีย
กรุงเทพ--30 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่รัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศนโยบายและมาตรการควบคุมตลาดปริวรรตเงินตราของมาเลเซีย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 และที่นโยบายตลอดจนมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541
โดยที่ในวันพรุ่งนี้ (1 ตุลาคม 2541) นโยบายและมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ กระทรวงการต่างประเทศจึงขอแจ้งให้ประชาชนไทยทุกคนที่จะเดินทางไปเยือนประเทศมาเลเซียได้โปรดระมัดระวังในมาตรการที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ ดังต่อไปนี้
1. การนำเงินเข้า-ออกประเทศมาเลเซีย
- สำหรับคนไทยที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศมาเลเซีย ทางการมาเลเซียจะอนุมัติให้นำเงินสกุลริงกิตของมาเลเซียเข้าไปได้ไม่เกิน 1,000 ริงกิต สำหรับเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นจะสามารถนำเข้าโดยไม่จำกัด แต่ทั้งนี้จะต้องแจ้งจำนวนเงินตราสกุลอื่นที่จะนำเข้าไปในมาเลเซียกับศุลกากรประจำด่านที่เดินทางเข้าประเทศมาเลเซีย โดยบันทึกลงในสมุดที่เรียกว่า “ใบสำคัญแสดงทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว” หรือ “Travellers Declaration Form (TDF)” ซึ่งจะต้องเก็บรักษาไว้จนกระทั่งเดินทางออกจากประเทศมาเลเซีย
- สำหรับคนไทยที่จะเดินทางออกนอกประเทศมาเลเซียจะสามารถนำเงินสกุลริงกิตของมาเลเซียออกมาได้ไม่เกิน 1,000 ริงกิต เช่นกันและเงินตราสกุลอื่น ๆ ออกมาจำนวน เท่ากับหรือไม่เกิน ที่ได้บันทึกลงในใบสำคัญ (TDF)
- อนึ่ง สำหรับชาวมาเลเซียเองเมื่อเดินทางออกนอกประเทศจะสามารถนำเงินตราสกุลริงกิตออกไปได้ไม่เกิน 1,000 ริงกิต และเงินตราสกุลต่างประเทศอื่น ๆ รวมกันไม่เกิน 10,000 ริงกิต
2. การลงทุนของต่างประเทศในมาเลเซีย
- ชาวต่างประเทศซึ่งมาลงทุนในประเทศมาเลเซียสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้สำหรับโครงการการลงทุนนั้น ๆ ได้ โดยไม่มีการจำกัดจำนวน
3. การลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศ
- รัฐบาลมาเลเซียเคยชี้แจงแล้วว่า มาตรการนี้จะไม่มีผลกระทบต่อนักลงทุนชาวมาเลเซียที่ประสงค์จะนำเงินออกไปลงทุนในโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่แล้วในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย สำหรับการลงทุนในโครงการใหม่ซึ่งจะเริ่มหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2541 นั้น การนำเงินออกนอกประเทศจะต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลเสียก่อน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำเงินดังกล่าวไปลงทุนในสาขาที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจภายในของมาเลเซีย 4. คนไทยที่เดินทางไปทำงานและกำลังศึกษาอยู่ในประเทศมาเลเซีย
- มาตรการใหม่นี้จะไม่กระทบกระเทือนต่อแรงงานไทยหรือผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศมาเลเซีย บุคคลในประเภทนี้จะสามารถเปิดบัญชีในธนาคารของมาเลเซียในจำนวนเงินโดยไม่จำกัด แต่จะต้องสามารถแสดงตัวต่อธนาคารว่าเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นแรงงานไทยที่ถูกต้อง
- สำหรับคนไทยที่เดินทางไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียยังสามารถนำรายได้ที่ได้รับออกจากมาเลเซียได้ แต่จะต้องเป็นเงินตราสกุลอื่นที่ไม่ใช่เงินสกุลริงกิต และจะต้องแสดงหลักฐานที่มาของรายได้ดังกล่าวด้วย สำหรับเงินสดที่เป็นเงินริงกิตสามารถนำออกมาจากประเทศมาเลเซียได้ไม่เกิน 1,000 ริงกิต
อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำว่าคนไทยที่เดินทางไปประเทศมาเลเซียไม่ควรนำเงินสดสกุลริงกิตออกจากประเทศมาเลเซีย ถึงแม้ว่าจะเป็นจำนวนน้อยกว่า 1,000 ริงกิตก็ตาม
5. ผลต่อนักธุรกิจและพ่อค้าที่ทำธุรกิจกับมาเลเซีย
- นักธุรกิจและพ่อค้าชาวไทยที่ทำการค้าขายกับมาเลเซีย ควรตกลงชำระหนี้กันด้วยเงินตราสกุลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินสกุลริงกิต
- สำหรับธนบัตรใบละ 1,000 ริงกิต และ 500 ริงกิต นั้น ทางการจะยังให้ใช้ได้จนกระทั่งถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ทั้งนี้ การยกเลิกธนบัตร (demonitisation) ใบละ 1,000 ริงกิต และ 500 ริงกิต จะมีผลตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 2542
6. อนึ่งตามที่มีรายงานข่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทยบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียที่ถือเงินริงกิตเป็นจำนวนมาก และได้พยายามเทขายทำให้ค่าเงินริงกิตต่ำลง เมื่อเทียบกับเงินบาท เนื่องจากไม่มีความเข้าใจในมาตรการใหม่ของมาเลเซียมากนัก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์และกระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจงว่า ไม่ควรตื่นตระหนกที่จะขายเงินตราสกุลริงกิตจนกว่าทางหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรงของสองประเทศ (ธนาคารแห่งประเทศไทยและ Bank Negara ของมาเลเซีย) จะสามารถหาทางออกในเรื่องนี้และมาตรการดังกล่าวนี้เป็นมาตรการที่ผู้นำมาเลเซียย้ำเสมอว่า เป็นมาตรการชั่วคราว แต่ทั้งนี้อาจจะใช้บังคับไม่ต่ำกว่าหนึ่งถึงสองปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--
ตามที่รัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศนโยบายและมาตรการควบคุมตลาดปริวรรตเงินตราของมาเลเซีย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 และที่นโยบายตลอดจนมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2541
โดยที่ในวันพรุ่งนี้ (1 ตุลาคม 2541) นโยบายและมาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ กระทรวงการต่างประเทศจึงขอแจ้งให้ประชาชนไทยทุกคนที่จะเดินทางไปเยือนประเทศมาเลเซียได้โปรดระมัดระวังในมาตรการที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ ดังต่อไปนี้
1. การนำเงินเข้า-ออกประเทศมาเลเซีย
- สำหรับคนไทยที่จะเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศมาเลเซีย ทางการมาเลเซียจะอนุมัติให้นำเงินสกุลริงกิตของมาเลเซียเข้าไปได้ไม่เกิน 1,000 ริงกิต สำหรับเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นจะสามารถนำเข้าโดยไม่จำกัด แต่ทั้งนี้จะต้องแจ้งจำนวนเงินตราสกุลอื่นที่จะนำเข้าไปในมาเลเซียกับศุลกากรประจำด่านที่เดินทางเข้าประเทศมาเลเซีย โดยบันทึกลงในสมุดที่เรียกว่า “ใบสำคัญแสดงทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว” หรือ “Travellers Declaration Form (TDF)” ซึ่งจะต้องเก็บรักษาไว้จนกระทั่งเดินทางออกจากประเทศมาเลเซีย
- สำหรับคนไทยที่จะเดินทางออกนอกประเทศมาเลเซียจะสามารถนำเงินสกุลริงกิตของมาเลเซียออกมาได้ไม่เกิน 1,000 ริงกิต เช่นกันและเงินตราสกุลอื่น ๆ ออกมาจำนวน เท่ากับหรือไม่เกิน ที่ได้บันทึกลงในใบสำคัญ (TDF)
- อนึ่ง สำหรับชาวมาเลเซียเองเมื่อเดินทางออกนอกประเทศจะสามารถนำเงินตราสกุลริงกิตออกไปได้ไม่เกิน 1,000 ริงกิต และเงินตราสกุลต่างประเทศอื่น ๆ รวมกันไม่เกิน 10,000 ริงกิต
2. การลงทุนของต่างประเทศในมาเลเซีย
- ชาวต่างประเทศซึ่งมาลงทุนในประเทศมาเลเซียสามารถนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาใช้สำหรับโครงการการลงทุนนั้น ๆ ได้ โดยไม่มีการจำกัดจำนวน
3. การลงทุนของมาเลเซียในต่างประเทศ
- รัฐบาลมาเลเซียเคยชี้แจงแล้วว่า มาตรการนี้จะไม่มีผลกระทบต่อนักลงทุนชาวมาเลเซียที่ประสงค์จะนำเงินออกไปลงทุนในโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่แล้วในต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย สำหรับการลงทุนในโครงการใหม่ซึ่งจะเริ่มหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2541 นั้น การนำเงินออกนอกประเทศจะต้องได้รับการอนุญาตจากรัฐบาลเสียก่อน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำเงินดังกล่าวไปลงทุนในสาขาที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจภายในของมาเลเซีย 4. คนไทยที่เดินทางไปทำงานและกำลังศึกษาอยู่ในประเทศมาเลเซีย
- มาตรการใหม่นี้จะไม่กระทบกระเทือนต่อแรงงานไทยหรือผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศมาเลเซีย บุคคลในประเภทนี้จะสามารถเปิดบัญชีในธนาคารของมาเลเซียในจำนวนเงินโดยไม่จำกัด แต่จะต้องสามารถแสดงตัวต่อธนาคารว่าเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นแรงงานไทยที่ถูกต้อง
- สำหรับคนไทยที่เดินทางไปทำงานที่ประเทศมาเลเซียยังสามารถนำรายได้ที่ได้รับออกจากมาเลเซียได้ แต่จะต้องเป็นเงินตราสกุลอื่นที่ไม่ใช่เงินสกุลริงกิต และจะต้องแสดงหลักฐานที่มาของรายได้ดังกล่าวด้วย สำหรับเงินสดที่เป็นเงินริงกิตสามารถนำออกมาจากประเทศมาเลเซียได้ไม่เกิน 1,000 ริงกิต
อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำว่าคนไทยที่เดินทางไปประเทศมาเลเซียไม่ควรนำเงินสดสกุลริงกิตออกจากประเทศมาเลเซีย ถึงแม้ว่าจะเป็นจำนวนน้อยกว่า 1,000 ริงกิตก็ตาม
5. ผลต่อนักธุรกิจและพ่อค้าที่ทำธุรกิจกับมาเลเซีย
- นักธุรกิจและพ่อค้าชาวไทยที่ทำการค้าขายกับมาเลเซีย ควรตกลงชำระหนี้กันด้วยเงินตราสกุลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินสกุลริงกิต
- สำหรับธนบัตรใบละ 1,000 ริงกิต และ 500 ริงกิต นั้น ทางการจะยังให้ใช้ได้จนกระทั่งถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2542 ทั้งนี้ การยกเลิกธนบัตร (demonitisation) ใบละ 1,000 ริงกิต และ 500 ริงกิต จะมีผลตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 2542
6. อนึ่งตามที่มีรายงานข่าวว่า ปัจจุบันมีคนไทยบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซียที่ถือเงินริงกิตเป็นจำนวนมาก และได้พยายามเทขายทำให้ค่าเงินริงกิตต่ำลง เมื่อเทียบกับเงินบาท เนื่องจากไม่มีความเข้าใจในมาตรการใหม่ของมาเลเซียมากนัก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์และกระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจงว่า ไม่ควรตื่นตระหนกที่จะขายเงินตราสกุลริงกิตจนกว่าทางหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรงของสองประเทศ (ธนาคารแห่งประเทศไทยและ Bank Negara ของมาเลเซีย) จะสามารถหาทางออกในเรื่องนี้และมาตรการดังกล่าวนี้เป็นมาตรการที่ผู้นำมาเลเซียย้ำเสมอว่า เป็นมาตรการชั่วคราว แต่ทั้งนี้อาจจะใช้บังคับไม่ต่ำกว่าหนึ่งถึงสองปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 225 0096 หรือ 225 7900-43--จบ--