อุตสาหกรรมยานยนต์ กระทรวงการคลังได้ออกประกาศ เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 76) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2548 ยกเลิกการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ซึ่งที่ผ่านมาจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 20 โดยรถยนต์ดังกล่าวข้างต้นถูกเปลี่ยนให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 30 หรือ 35 หรือ 40 ตามแต่ขนาดของเครื่องยนต์เช่นเดียวกับรถยนต์นั่งแบบทั่วไป พร้อมนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวได้กำหนดให้รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีความจุกระบอกสูบไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 หากพบว่าเชื้อเพลิงดังกล่าวมีจำหน่ายเป็นการทั่วไปในสถานีบริการน้ำมันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด จะได้รับการปรับลดภาษีสรรพสามิตลงจากร้อยละ 30 หรือ 35 หรือ 40 ตามแต่ขนาดของเครื่องยนต์ เป็นร้อยละ 20 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป อุตสาหกรรมรถยนต์ ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 811,129 คัน และ 504,740 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ร้อยละ 22.60 และ 15.01 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.00 และ 1.32 ตามลำดับ แต่การผลิตรถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 10.81 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ร้อยละ 25.15, 72.52 และ 2.33 ตามลำดับ ในส่วนการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.88 แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆลดลงร้อยละ 12.99 และ 0.44 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะราคาน้ำมันที่ยังคงสูง และไม่ค่อยมีการนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่สำคัญทำให้การผลิตและจำหน่ายรถยนต์นั่งในช่วง 9 เดือนแรกของ2548 หดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังหันไปนิยมรถยนต์ประเภทอื่น เช่น PPV (Pick-up Passenger Vehicle) ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล และสามารถตอบสนองความต้องการได้คล้ายรถยนต์นั่ง สำหรับรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นรถยนต์ที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกัน ตลาดรถยนต์ปิกอัพยังคงมีการแข่งขันสูง ทั้งมีการแนะนำรถรุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ที่ประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น ตลอดจน พัฒนารูปแบบให้หรูหรา สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ซึ่งสัดส่วนการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ คิดเป็น ร้อยละ 26.13, 67.10 และ 6.77 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.36 และ 13.29 ตามลำดับ โดยมีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.12 แต่มีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 7.04 และ 5.56 ตามลำดับ ในส่วนของการจำหน่าย รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.96 แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 17.98 และ 17.25 ตามลำดับ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ภาวะการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1ตัน ในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากในช่วงนี้ของปี 2547 ผู้บริโภคได้ชะลอการตัดสินใจซื้อ เพื่อรอรถรุ่นใหม่ที่ออกสู่ตลาดช่วงปลายไตรมาส แต่สำหรับรถยนต์นั่ง ในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หดตัวลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในช่วงต้นไตรมาสที่สามของปี 2547 ภาครัฐได้มีการปรับปรุงโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ทำให้รถยนต์บางประเภท โดยเฉพาะมีขนาดเครื่องยนต์ที่ประหยัดพลังงาน มีภาระภาษีที่ลดลงกว่าเดิม ซึ่งเป็นปัจจัยที่กระตุ้นตลาดรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ทำให้ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในช่วงดังกล่าวขยายตัวมากขึ้น หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2548 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.73 แต่การจำหน่าย ลดลงร้อยละ 11.47 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.14 และ 10.88 ตามลำดับ แต่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 7.84 ในส่วนของการจำหน่าย ทั้งรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 15.04, 8.55 และ 24.56 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากช่วงไตรมาสที่สามของทุกปีเป็นช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะในปีนี้มีภาวะภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ ในด้านการส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์(CBU) จำนวน 311,737 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2547 เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.03 คิดเป็นสัดส่วนต่อรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งหมดร้อยละ 38.43 ชึ่งเป็นสัดส่วนที่มากกว่าปีที่ผ่านมา และคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 145,528.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.02 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.16 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ15.68 จากข้อมูลข้างต้น การขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง จากการที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายใช้ฐานการผลิตรถยนต์ในประเทศไทย เพื่อส่งรถยนต์ไปจำหน่ายในตลาดอาเซียน และตลาดทั่วโลก ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งจากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ได้แก่ อินโดนีเชีย และออสเตรเลีย โดยมีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ประมาณร้อยละ 15.60 และ 231.13 ตามลำดับ ตลาดส่งออกรถแวนและปิกอัพที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย มีการขยายตัวประมาณร้อยละ 91.80 และมีตลาดส่งออกที่น่าสนใจ คือ นิวซีแลนด์ และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 164.84 และ 78.08 ตลาดส่งออกรถบัสและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรเลีย มีการขยายตัว ประมาณร้อยละ 22.48 การนำเข้ารถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับ 9 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 15.86 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.69 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 41.78 แต่รถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.81 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2548 แล้ว มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 1.68 และ 49.69 ตามลำดับ ซึ่งแหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ได้แก่ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น แหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น และเยอรมนี สำหรับข้อมูลจากกรมศุลกากร ซึ่งได้รายงานผลการนำเข้ารถยนต์นั่ง ที่ผ่านพิธีการศุลกากร ณ สำนักงานศุลกากรแหลมฉบัง, สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ, สำนักงานศุลกากรนำเข้าท่าเรือกรุงเทพ, สำนักสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพ ปรากฏว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีการนำเข้ารถยนต์นั่งรวมจำนวน 20,722 คัน โดยแบ่งเป็น รถยนต์ญี่ปุ่น 13,400 คัน รถยนต์เกาหลี 4,300 คัน รถยนต์ยุโรป 2,976 คัน และรถยนต์สหรัฐอเมริกา 46 คัน แม้ว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อาทิ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังคงสูง อัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย ที่สูงขึ้น ประกอบกับ ภาวะภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ แต่โดยภาพรวมแล้วระบบเศรษฐกิจยังคงมีเสถียรภาพ ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และในเดือนพฤศจิกายนของไตรมาสสุดท้ายปี 2548 นี้ การผลิตรถยนต์จะครบ 1 ล้านคัน และจะเป็นปีที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสามารถผลิตรถยนต์เกิน 1 ล้านคัน เป็นปีแรก ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า สภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์จะเป็นไปตามที่ประมาณการไว้ กล่าวคือ จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 1.10 ล้านคัน และมีการจำหน่ายในประเทศ 0.70 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ร้อยละ 18.52 และ 11.81 ตามลำดับ อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีจำนวน 1,736,968 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 18.97 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2548 มีการผลิต 557,525 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 19.14 ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญมาจากการที่สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย มีการเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บข้อมูล โดยข้อมูลการผลิตรถจักรยานยนต์ในปี 2547 ได้รวม CBU และ CKD ไว้ด้วยกัน แต่ในปี 2548 จัดเก็บเฉพาะ CBU เท่านั้น จึงทำให้การเปรียบเทียบข้อมูลการผลิตรถจักรยานยนต์ทั้งสองช่วงเวลาดังกล่าวไม่สะท้อนภาวการณ์การผลิตที่แท้จริง เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2548 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 4.25 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ตลดลงร้อยละ 3.05 และ 31.05 ตามลำดับ สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีจำนวน 1,537,026 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 ร้อยละ 3.59 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.50 และ 13.94 ตามลำดับ ซึ่งรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึงร้อยละ 99.07 อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารถจักรยานยนต์แบบสปอร์ตจะไม่เป็นที่นิยมของตลาดในประเทศมากนัก แต่สำหรับตลาดส่งออกแล้ว เป็นที่ต้องการมากขึ้น เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.71 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.69 และ 11.98 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2548 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 2.35 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 2.32 และ 5.46 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพตลาดรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่สามของปีนี้ แม้ว่าจะได้รับการกระตุ้นจากกิจกรรมส่งเสริมการจำหน่าย แต่เป็นช่วงฤดู ซึ่งไม่ใช่ฤดูการจำหน่าย ประกอบกับ ภาวะภัยธรรมชาติจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ จึงทำให้ปริมาณการจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่สามนี้ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ด้านการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) จำนวน 994,117 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ร้อยละ60.47 โดยคิดเป็นมูลค่า 16,777.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.03 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.95 และคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.80 ทั้งนี้ เพราะความต้องการจากตลาดต่างประเทศมีมากขึ้น ทั้งในตลาดสหรัฐอเมริกา, อาเซียน, ญี่ปุ่น และยุโรป เนื่องจากรถจักรยานยนต์ไทยยังคงมีความได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพและราคา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2548 ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 2.75 โดยคิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 13.55 สำหรับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.73 และเมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.55 หากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2548 แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.35 ซึ่งแหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น จากข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ข้างต้น แม้ว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีการขยายตัวไม่มากนักเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 แต่สำหรับการส่งออกรถจักรยานยนต์ ปรากฏว่า มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก และยังคงมีแนวโน้มที่ดีในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ประกอบกับ ในไตรมาสสุดท้ายเป็นช่วงฤดูการขายประจำปี จึงคาดได้ว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์จะยังคงขยายตัว ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2548 จะยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะมีการขยายตัวไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่า 56,164.64 และ 2,964.72 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ร้อยละ 83.69 และ 42.08 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 8,419.25 และ 554.62 ตามลำดับ ลดลงจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ร้อยละ 13.03 และ 64.63 ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากในปี 2548 การส่งออกส่วนประกอบและชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของไทยได้รับผลกระทบจากการที่จีนได้มีการปรับเป้าหมายที่จะส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ให้เร็วขึ้น จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ 10 ปี เป็นภายใน 5 ปี โดยในปี 2548 จีนได้เริ่มมีการผลิตอะไหล่รถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น ส่งออกเพิ่มขึ้น และลดการนำเข้าอะไหล่รถจักรยานยนต์ด้วย ซึ่งจากเหตุดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ทั่วโลก ทั้งนี้ สำหรับผู้ผลิตส่วนประกอบและชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของไทยก็ได้มีการปรับตัวรองรับสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งเห็นได้จากการหดตัวของมูลค่าการส่งออกลดน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.09 และ 49.89 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.29 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 9.90 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2548 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.58 และ 23.59 ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.05 แต่ชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 8.55 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สหรัฐอเมริกา และแอฟริกาใต้ โดยมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 9.67, 76.43, 115.70, 8.84 และ 84.44 ตามลำดับ ส่วนประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย, เวียดนาม และฟิลิปปินส์ โดยมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 53.35, 35.94 และ 28.33 ตามลำดับ จากข้อมูลการขยายตัวของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ข้างต้น ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ในปี 2548 จะขยายตัวมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เพราะผู้ประกอบการได้ขยายการลงทุนและมีการผลิตเพื่อการส่งออกตามการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์ อย่างไรก็ตาม สำหรับส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ ผู้ผลิตไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อแข่งขันกับจีน ด้วยการปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เทียบเท่าหรือสูงกว่ามาตรฐานสากล ซึ่งในขณะนี้ ภาครัฐและเอกชนกำลังเร่งดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานของไทย โดยใช้แนวทางของ UN-ECE เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ของไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วนที่นำเข้าด้วย ด้านการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่า 97,117.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 ร้อยละ 7.36 สำหรับการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มี มูลค่า 4,472.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.18 และเมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2548 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.92 การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.79 และเมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองปี 2548 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.62 ส่วนการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.18 ซึ่งแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2548 ได้แก่ ญี่ปุ่น และแหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และ อินโดนีเชีย ตารางการผลิตยานยนต์ หน่วย : คันประเภทยานยนต์ ปี 2546 ปี 2547 ม.ค.-ก.ย.2547 ม.ค.-ก.ย.2548 % เปลี่ยนแปลง รถยนต์ 750,512 928,081 661,619 811,129 22.6 รถยนต์นั่ง 260,649 304,349 228,702 203,982 -10.81 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 468,938 597,914 414,270 588,254 42 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 20,925 25,818 18,647 18,893 1.32 รถจักรยานยนต์ 2,424,676 3,028,070 2,143,509 1,736,968 -18.97 ครอบครัว 2,368,270 2,936,738 2,085,497 1,668,762 -19.98 สปอร์ต 56,406 91,332 58,012 68,206 17.57 ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสถาบันยานยนต์ หน่วย : คัน ประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ปี 2548 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง รถยนต์ 267,168 293,156 9.73 214,994 293,156 36.36 รถยนต์นั่ง 66,584 72,005 8.14 77,462 72,005 -7.04 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 193,873 214,966 10.88 130,983 214,966 64.12 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 6,711 6,185 -7.84 6,549 6,185 -5.56 รถจักรยานยนต์ 582,294 557,525 -4.25 689,473 557,525 -19.14 ครอบครัว 557,228 540,243 -3.05 669,386 540,243 -19.29 สปอร์ต 25,066 17,282 -31.05 20,087 17,282 -13.96 ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และสถาบันยานยนต์ ตารางการจำหน่ายยานยนต์ในประเทศ หน่วย : คันประเภทยานยนต์ ปี 2546 ปี 2547 ม.ค.-ก.ย.2547 ม.ค.-ก.ย.2548 % เปลี่ยนแปลง รถยนต์ 533,176 626,039 438,869 504,740 15.01 รถยนต์นั่ง 179,005 209,042 151,593 131,904 -12.99 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 309,114 368,911 252,973 338,684 33.88 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 45,057 48,086 34,303 34,152 -0.44 รถจักรยานยนต์ 1,755,297 2,033,766 1,483,789 1,537,026 3.59 ครอบครัว 1 1,735,446 2,017,319 1,471,311 1,522,808 3.5 สปอร์ต 19,851 16,447 12,478 14,218 13.94 ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และกรมการขนส่งทางบก หมายเหตุ : 1 เป็นตัวเลขจำหน่ายรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบสกู๊ตเตอร์ หน่วย : คันประเภทยานยนต์ ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 % เปลี่ยน ปี 2548 ปี 2548 แปลง ปี 2547 ปี 2548 แปลง รถยนต์ 179,411 158,838 -11.47 140,209 158,838 13.29 รถยนต์นั่ง 48,362 41,086 -15.04 50,092 41,086 -17.98 รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 117,985 107,896 -8.55 78,206 107,896 37.96 รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 13,064 9,856 -24.56 11,911 9,856 -17.25 รถจักรยานยนต์ 510,754 498,773 -2.35 454,633 498,773 9.71 ครอบครัว 1 506,007 494,285 -2.32 450,625 494,285 9.69 สปอร์ต 4,747 4,488 -5.46 4,008 4,488 11.98 ที่มา : สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และกรมการขนส่งทางบก หมายเหตุ : 1 เป็นตัวเลขจำหน่ายรวมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต และแบบสกู๊ตเตอร์ ตารางการส่งออกยานยนต์ประเภทยานยนต์ ปี 2546 ปี 2547 ม.ค.-ก.ย.2547 ม.ค.-ก.ย. 2548 % เปลี่ยนแปลงรถยนต์ (CBU) (คัน) 235,042 332,053 236,119 311,737 32.03 มูลค่า (ล้านบาท) รถยนต์ 102,208.05 149,232.80 105,440.19 145,528.11 38.02 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์(OEM) 27,720.03 43,873.39 30,575.97 56,164.64 83.69 เครื่องยนต์ 5,290.96 4,316.07 3,142.87 6,246.74 98.76 ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 2,182.00 2,909.43 2,086.66 2,964.72 42.8 รถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) (คัน) 604,995 846,619 619,509 994,117 60.47 มูลค่า (ล้านบาท) รถจักรยานยนต์ 8,732.62 15,430.62 10,044.69 16,777.89 67.03 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 9,680.23 8,419.25 -13.03 6,634.37 14,883.59 (ยังมีต่อ)