การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรของอุตสาหกรรมเหล็กของจีนในช่วงไตรมาสนี้ได้ลดลงร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับระยะ
เวลาเดียวกันของปีก่อน โดยประเทศจีนมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วงไตรมาสแรกทั้งสิ้น 4.1 พันล้านเหรียญ
ซึ่งเป็นมูลค่าการลงทุนที่ลดลงประมาณ 57 ล้านเหรียญ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลดการขยายกำลังการผลิตโรงงานที่มี
การผลิตที่ไม่มีคุณภาพ โดยอัตราการขยายตัวของการลงทุนในจีนจะลดลงไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนมีนโยบาย
สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กใหม่ คือผู้ผลิตจะต้องชี้แจงรายละเอียดการลงทุนเพิ่มหรือขยายกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด
เพื่อให้ได้รับการรับรองก่อน ซึ่งนโยบายนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคมนี้
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกของไตร
มาสนี้เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ดังนี้ เหล็กแท่งแบน จาก CIS ณ ท่า Far
East เพิ่มขึ้นจาก 408 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 483 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.53 เหล็กแผ่นรีด
เย็น จาก CIS ณ ท่า Far East เพิ่มขึ้นจาก 532 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 613 สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ
15.27 เหล็กแผ่นรีดร้อน จาก CIS ณ ท่า Far East เพิ่มขึ้นจาก 453 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 522 เหรียญ
สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.20 เศษเหล็ก ชนิด HMS#1 จาก EU เพิ่มขึ้นจาก 233 เหรียญสหรัฐต่อตัน
เป็น 240 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.06 และ เหล็กเส้น จาก CIS ณ ท่า Far East เพิ่มขึ้นจาก
412 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 415 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.84 และ เป็นต้น แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับ
ตัวของราคาลดลงได้แก่ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต จาก CIS ณ ท่า Far East ลดลงจาก 389 เหรียญสหรัฐต่อตัน
เป็น 365 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 6.18
3.แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเมื่อ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งในส่วนของเหล็กทรงยาวและทรงแบน เนื่องจากความต้องการของตลาดใน
ประเทศโดยเฉพาะเหล็กก่อสร้างที่ใช้ในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐยังคงขยายตัวอยู่ขณะที่โครงการหมู่
บ้านจัดสรรของภาคเอกชนก็มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ในส่วนของการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์น่าจะมีอย่าง
ต่อเนื่อง แต่จำนวนผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจในโครงการต่างๆ จะน้อยลง เนื่องจากการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินมี
ความเข้มงวดมากขึ้นตามนโยบายการควบคุมของ ธปท . และสำหรับแนวโน้มของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะขยาย
ตัวดีขึ้น ตามความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มการผลิตเหล็กทรงยาวจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากบริษัทมิลลิเนี่ยมได้วางแผนที่จะขยายกำลัง
การผลิตเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นจาก 0.9 ล้านตัน เป็น 1.15 ล้านตัน โดยกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นจะรวมไปถึงเหล็กลวด
คาร์บอนสูง คาร์บอนปานกลาง และคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ผลผลิตส่วนใหญ่ของบริษัทจะขายภายในประเทศ และที่เหลือจะส่ง
ออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม รวมไปถึงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกันแนวโน้มการผลิตเหล็ก
แผ่นรีดร้อนจะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเนื่องจาก บมจ.สหวิริยาสตีล อินดัสทรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนรายใหญ่ที่สุด
ของประเทศ ได้ขยายกำลังการผลิตจาก 2.4 ล้านตันต่อปี เป็น 4.0 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ จะสามารถผลิตเหล็กแผ่นที่มี
ความหนาได้หลากหลายขึ้นจาก 1.2-13 มิลลิเมตร เป็น 1.0-19 มิลลิเมตร
สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศจีนซึ่งช่วงหลัง
ได้มีการขยายตัวในการส่งออกเพิ่มมากขึ้นได้ประกาศนโยบายยกเลิกการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าส่งออก สำหรับ
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เช่น เหล็กแท่งเล็กและเหล็กแท่งแบน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2548 ขณะเดียวกัน
สำหรับสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะลดการคืนภาษีจากร้อยละ 13 เป็น ร้อยละ 11 ทั้งนี้จะต้อง
ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาจีน ซึ่งถ้าได้รับการอนุมัติ จะเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 พ.ค. 2548 นี้ ซึ่งสาเหตุของการประกาศ
นโยบายดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ผลิตขยายกำลังการผลิตในประเทศมากจนเกินไป
จากการคาดการณ์ของ IISI (International Iron and Steel Institute) พบว่าความต้อง
การเหล็กสำเร็จรูปในปี 2548 จะเพิ่มสูงขึ้นเกินระดับ 1,000 ล้านตันเป็นครั้งแรก โดยความต้องการของโลกในปีนี้
คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 หรือเพิ่มขึ้น 36 ล้านตันเมื่อเทียบกับปี 2547 โดยในทวีปเอเชียจะมีความต้องการ
เหล็กประมาณร้อยละ 29 ของปริมาณความต้องการทั่วโลก และ คิดเป็น ร้อยละ 80 ของการขยายตัวของโลกในปี
2548 ในขณะที่ประเทศอื่นนอกเหนือจากเอเชียมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 1 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ทั้งนี้คาดว่าความ
ต้องการในจีนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
เวลาเดียวกันของปีก่อน โดยประเทศจีนมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในช่วงไตรมาสแรกทั้งสิ้น 4.1 พันล้านเหรียญ
ซึ่งเป็นมูลค่าการลงทุนที่ลดลงประมาณ 57 ล้านเหรียญ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการลดการขยายกำลังการผลิตโรงงานที่มี
การผลิตที่ไม่มีคุณภาพ โดยอัตราการขยายตัวของการลงทุนในจีนจะลดลงไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนมีนโยบาย
สำหรับอุตสาหกรรมเหล็กใหม่ คือผู้ผลิตจะต้องชี้แจงรายละเอียดการลงทุนเพิ่มหรือขยายกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด
เพื่อให้ได้รับการรับรองก่อน ซึ่งนโยบายนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคมนี้
สำหรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของราคาผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญ (FOB)โดยเฉลี่ยในตลาดโลกของไตร
มาสนี้เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับตัวสูงขึ้น ดังนี้ เหล็กแท่งแบน จาก CIS ณ ท่า Far
East เพิ่มขึ้นจาก 408 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 483 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.53 เหล็กแผ่นรีด
เย็น จาก CIS ณ ท่า Far East เพิ่มขึ้นจาก 532 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 613 สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ
15.27 เหล็กแผ่นรีดร้อน จาก CIS ณ ท่า Far East เพิ่มขึ้นจาก 453 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 522 เหรียญ
สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.20 เศษเหล็ก ชนิด HMS#1 จาก EU เพิ่มขึ้นจาก 233 เหรียญสหรัฐต่อตัน
เป็น 240 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.06 และ เหล็กเส้น จาก CIS ณ ท่า Far East เพิ่มขึ้นจาก
412 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 415 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.84 และ เป็นต้น แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีการปรับ
ตัวของราคาลดลงได้แก่ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต จาก CIS ณ ท่า Far East ลดลงจาก 389 เหรียญสหรัฐต่อตัน
เป็น 365 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 6.18
3.แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวขึ้นเมื่อ
เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งในส่วนของเหล็กทรงยาวและทรงแบน เนื่องจากความต้องการของตลาดใน
ประเทศโดยเฉพาะเหล็กก่อสร้างที่ใช้ในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐยังคงขยายตัวอยู่ขณะที่โครงการหมู่
บ้านจัดสรรของภาคเอกชนก็มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นด้วย ทั้งนี้ในส่วนของการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์น่าจะมีอย่าง
ต่อเนื่อง แต่จำนวนผู้ที่จะเข้ามาทำธุรกิจในโครงการต่างๆ จะน้อยลง เนื่องจากการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินมี
ความเข้มงวดมากขึ้นตามนโยบายการควบคุมของ ธปท . และสำหรับแนวโน้มของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะขยาย
ตัวดีขึ้น ตามความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับแนวโน้มการผลิตเหล็กทรงยาวจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากบริษัทมิลลิเนี่ยมได้วางแผนที่จะขยายกำลัง
การผลิตเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นจาก 0.9 ล้านตัน เป็น 1.15 ล้านตัน โดยกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นจะรวมไปถึงเหล็กลวด
คาร์บอนสูง คาร์บอนปานกลาง และคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ผลผลิตส่วนใหญ่ของบริษัทจะขายภายในประเทศ และที่เหลือจะส่ง
ออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม รวมไปถึงอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกันแนวโน้มการผลิตเหล็ก
แผ่นรีดร้อนจะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเนื่องจาก บมจ.สหวิริยาสตีล อินดัสทรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนรายใหญ่ที่สุด
ของประเทศ ได้ขยายกำลังการผลิตจาก 2.4 ล้านตันต่อปี เป็น 4.0 ล้านตันต่อปี ทั้งนี้ จะสามารถผลิตเหล็กแผ่นที่มี
ความหนาได้หลากหลายขึ้นจาก 1.2-13 มิลลิเมตร เป็น 1.0-19 มิลลิเมตร
สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประเทศจีนซึ่งช่วงหลัง
ได้มีการขยายตัวในการส่งออกเพิ่มมากขึ้นได้ประกาศนโยบายยกเลิกการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าส่งออก สำหรับ
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เช่น เหล็กแท่งเล็กและเหล็กแท่งแบน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ 1 เมษายน 2548 ขณะเดียวกัน
สำหรับสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะลดการคืนภาษีจากร้อยละ 13 เป็น ร้อยละ 11 ทั้งนี้จะต้อง
ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาจีน ซึ่งถ้าได้รับการอนุมัติ จะเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 พ.ค. 2548 นี้ ซึ่งสาเหตุของการประกาศ
นโยบายดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ผลิตขยายกำลังการผลิตในประเทศมากจนเกินไป
จากการคาดการณ์ของ IISI (International Iron and Steel Institute) พบว่าความต้อง
การเหล็กสำเร็จรูปในปี 2548 จะเพิ่มสูงขึ้นเกินระดับ 1,000 ล้านตันเป็นครั้งแรก โดยความต้องการของโลกในปีนี้
คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 หรือเพิ่มขึ้น 36 ล้านตันเมื่อเทียบกับปี 2547 โดยในทวีปเอเชียจะมีความต้องการ
เหล็กประมาณร้อยละ 29 ของปริมาณความต้องการทั่วโลก และ คิดเป็น ร้อยละ 80 ของการขยายตัวของโลกในปี
2548 ในขณะที่ประเทศอื่นนอกเหนือจากเอเชียมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 1 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ทั้งนี้คาดว่าความ
ต้องการในจีนจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-