กรุงเทพ--26 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (26 มีนาคม 2542) ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในเรื่องต่างๆ สรุปดังนี้
1. ความคืบหน้ากรณีเจ้าหน้าที่การทูตเกาหลีเหนือ
1.1 ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีนักการทูตเกาหลีเหนือ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ กล่าวว่า ปัญหาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่การทูตของเกาหลีเหนือคงจะยุติในวันนี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่การทูต 6 คนซึ่งถูกขอให้ออกจากประเทศไทยนั้น จะเดินทางออกนอกประเทศภายในวันนี้ตามที่ฝ่ายไทยได้กำหนดไว้ ส่วนเจ้าหน้าที่ของเกาหลีเหนืออีก 4 คนได้เข้ามอบตัวต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว และกำลังถูกสอบปากคำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งหลังจากการสอบปากคำแล้ว คงจะมีความกระจ่างขึ้นว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไรกับเจ้าหน้าที่ที่ถูกออกหมายจับ ส่วนเรื่องการดำเนินคดีต่อไปอย่างไรนั้น คงต้องเป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การสะสางปัญหานี้ ได้ใช้เวลาอีกเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาทางการทูตนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และไม่สามารถดำเนินตามใจชอบได้ ทั้งนี้ฝ่ายไทยมีภาระหน้าที่ทางตามกฎหมายระหว่างประเทศ และธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูต ดังนั้นการดำเนินการครั้งนี้จึงต้องรอบคอบและระมัดระวัง แต่ผลที่ออกมานั้นก็เป็นไปตามที่ฝ่ายไทยได้กำหนดไว้ กล่าวคือการปล่อยตัวบุตรชายนาย Hong อย่างปลอดภัย และการดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือตามที่ฝ่ายไทยเห็นสมควร
1.2 ต่อข้อถามเกี่ยวกับการขอลี้ภัยของนาย Hong และครอบครัวนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังพิจารณาอยู่ แต่คงไม่สามารถไปกำหนดได้ว่า ประเทศใด หรือองค์กรใดจะรับนาย Hong และครอบครัว โดยต้องพิจารณาว่า UNHCR และรัฐบาลของประเทศที่สามอื่นๆ มีดำริในเรื่องนี้อย่างไร แต่ในขณะนี้ ทราบว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือกำลังทำเรื่องขอให้ส่งตัวนาย Hong กลับไป ซึ่งไทยจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 โดยรัฐบาลเกาหลีเหนือจะต้องส่งหมายจับและหลักฐานประกอบเพื่อให้ไทยพิจารณาภายใน 60 วัน ว่า หลักฐานดังกล่าวเพียงพอต่อการส่งตัวกลับไปหรือไม่
2. ความคืบหน้ากรณีการสมัครชิงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO ของ ฯพณฯ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ตามที่องค์การการค้าโลก ( WTO )ได้มีการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2542ซึ่งมีผลให้เหลือผู้สมัครเพียง 2 ท่านคือ ฯพณฯ ดร. ศุภชัยฯ และนายไมค์ มัวร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์และทางประธานคณะมนตรีมีมติว่าการเลือกสรรตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO ควรบรรลุข้อสรุปได้ชัดเจนภายใน 31 มีนาคม 2542 และผลการประชุมดังกล่าว ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ เป็นผู้มีคะแนนเสียงนำและได้รับเสียงสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการที่จะสรุปเรื่องดังกล่าวเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสหรัฐฯ เพียงประเทศเดียวและปัจจุบันประเทศไทยไม่มีความห่วงกังวลเท่าใดนักเนื่องจากเมื่อครั้งนางแมดาลีน อัลไบรต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อกุมภาพันธ์ 2542 นางอัลไบรต์ได้ได้แจ้งกับฝ่ายไทยว่า สหรัฐฯ ไม่มีนโยบายที่จะคัดค้าน ดร. ศุภชัยฯ และเมื่อนาย Hecklinger เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยมาพบ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ยืนยันอีกครั้งว่าสหรัฐฯ ไม่มีนโยบายคัดค้าน ดร. ศุภชัยฯ
อนึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เท่าที่ผ่านมาประชาชนไทยได้ตระหนักว่า สหรัฐฯ ได้เคยทอดทิ้งประเทศไทยมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อครั้งที่ประเทศไทยประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงนั้นประเทศไทยอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่ อย่างไรก็ตาม ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ กล่าวว่า ตนเชื่อในความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและยาวนานระหว่างไทย-สหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ไม่น่าจะคัดค้านสหรัฐฯ ถ้าหากคัดค้าน สหรัฐฯ ก็คงจะทำให้ประเทศไทยและประชาชนไทยรวมทั้งตนด้วยเสียความรู้สึกอย่างมาก
3. วิกฤตการณ์โคโซโว ตามที่นาย Hecklinger เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เข้าพบ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ แจ้งความจำเป็นของสหรัฐฯ ที่ตัดสินใจใช้กำลังทหารในปัญหาโคโซโว เนื่องจากสหรัฐฯ เกรงจะเกิดผลกระทบด้านมนุษยชนอย่างกว้างขวางในยุโรปที่จะขยายตัวออกไป นอกจากนี้ผู้นำของยูโกสลาเวียเองไม่ยอมรับแผนสันติภาพของนาโต้ สหรัฐฯ จึงจำเป็นต้องคุ้มครองชนกลุ่มน้อยเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้แจ้งท่าทีของประเทศไทยว่า ประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงและวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อปัญหาดังกล่าวและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้กำลัง และหันหน้าเข้าเจรจากันตามกรอบและกลไกขององค์การสหประชาชาติ--จบ--
วันนี้ (26 มีนาคม 2542) ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในเรื่องต่างๆ สรุปดังนี้
1. ความคืบหน้ากรณีเจ้าหน้าที่การทูตเกาหลีเหนือ
1.1 ต่อข้อซักถามเกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีนักการทูตเกาหลีเหนือ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ กล่าวว่า ปัญหาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่การทูตของเกาหลีเหนือคงจะยุติในวันนี้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่การทูต 6 คนซึ่งถูกขอให้ออกจากประเทศไทยนั้น จะเดินทางออกนอกประเทศภายในวันนี้ตามที่ฝ่ายไทยได้กำหนดไว้ ส่วนเจ้าหน้าที่ของเกาหลีเหนืออีก 4 คนได้เข้ามอบตัวต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว และกำลังถูกสอบปากคำอยู่ในขณะนี้ ซึ่งหลังจากการสอบปากคำแล้ว คงจะมีความกระจ่างขึ้นว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไรกับเจ้าหน้าที่ที่ถูกออกหมายจับ ส่วนเรื่องการดำเนินคดีต่อไปอย่างไรนั้น คงต้องเป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การสะสางปัญหานี้ ได้ใช้เวลาอีกเล็กน้อย เนื่องจากปัญหาทางการทูตนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และไม่สามารถดำเนินตามใจชอบได้ ทั้งนี้ฝ่ายไทยมีภาระหน้าที่ทางตามกฎหมายระหว่างประเทศ และธรรมเนียมปฏิบัติทางการทูต ดังนั้นการดำเนินการครั้งนี้จึงต้องรอบคอบและระมัดระวัง แต่ผลที่ออกมานั้นก็เป็นไปตามที่ฝ่ายไทยได้กำหนดไว้ กล่าวคือการปล่อยตัวบุตรชายนาย Hong อย่างปลอดภัย และการดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือตามที่ฝ่ายไทยเห็นสมควร
1.2 ต่อข้อถามเกี่ยวกับการขอลี้ภัยของนาย Hong และครอบครัวนั้น ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า ในขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังพิจารณาอยู่ แต่คงไม่สามารถไปกำหนดได้ว่า ประเทศใด หรือองค์กรใดจะรับนาย Hong และครอบครัว โดยต้องพิจารณาว่า UNHCR และรัฐบาลของประเทศที่สามอื่นๆ มีดำริในเรื่องนี้อย่างไร แต่ในขณะนี้ ทราบว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือกำลังทำเรื่องขอให้ส่งตัวนาย Hong กลับไป ซึ่งไทยจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 โดยรัฐบาลเกาหลีเหนือจะต้องส่งหมายจับและหลักฐานประกอบเพื่อให้ไทยพิจารณาภายใน 60 วัน ว่า หลักฐานดังกล่าวเพียงพอต่อการส่งตัวกลับไปหรือไม่
2. ความคืบหน้ากรณีการสมัครชิงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO ของ ฯพณฯ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ ตามที่องค์การการค้าโลก ( WTO )ได้มีการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2542ซึ่งมีผลให้เหลือผู้สมัครเพียง 2 ท่านคือ ฯพณฯ ดร. ศุภชัยฯ และนายไมค์ มัวร์ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์และทางประธานคณะมนตรีมีมติว่าการเลือกสรรตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ WTO ควรบรรลุข้อสรุปได้ชัดเจนภายใน 31 มีนาคม 2542 และผลการประชุมดังกล่าว ฯพณฯ ดร.ศุภชัยฯ เป็นผู้มีคะแนนเสียงนำและได้รับเสียงสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างไรก็ตามการที่จะสรุปเรื่องดังกล่าวเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับสหรัฐฯ เพียงประเทศเดียวและปัจจุบันประเทศไทยไม่มีความห่วงกังวลเท่าใดนักเนื่องจากเมื่อครั้งนางแมดาลีน อัลไบรต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อกุมภาพันธ์ 2542 นางอัลไบรต์ได้ได้แจ้งกับฝ่ายไทยว่า สหรัฐฯ ไม่มีนโยบายที่จะคัดค้าน ดร. ศุภชัยฯ และเมื่อนาย Hecklinger เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยมาพบ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ยืนยันอีกครั้งว่าสหรัฐฯ ไม่มีนโยบายคัดค้าน ดร. ศุภชัยฯ
อนึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เท่าที่ผ่านมาประชาชนไทยได้ตระหนักว่า สหรัฐฯ ได้เคยทอดทิ้งประเทศไทยมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อครั้งที่ประเทศไทยประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงนั้นประเทศไทยอยู่ในภาวะที่ย่ำแย่ อย่างไรก็ตาม ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ กล่าวว่า ตนเชื่อในความสัมพันธ์อันใกล้ชิดและยาวนานระหว่างไทย-สหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ไม่น่าจะคัดค้านสหรัฐฯ ถ้าหากคัดค้าน สหรัฐฯ ก็คงจะทำให้ประเทศไทยและประชาชนไทยรวมทั้งตนด้วยเสียความรู้สึกอย่างมาก
3. วิกฤตการณ์โคโซโว ตามที่นาย Hecklinger เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ เข้าพบ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ แจ้งความจำเป็นของสหรัฐฯ ที่ตัดสินใจใช้กำลังทหารในปัญหาโคโซโว เนื่องจากสหรัฐฯ เกรงจะเกิดผลกระทบด้านมนุษยชนอย่างกว้างขวางในยุโรปที่จะขยายตัวออกไป นอกจากนี้ผู้นำของยูโกสลาเวียเองไม่ยอมรับแผนสันติภาพของนาโต้ สหรัฐฯ จึงจำเป็นต้องคุ้มครองชนกลุ่มน้อยเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ได้แจ้งท่าทีของประเทศไทยว่า ประเทศไทยไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรงและวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อปัญหาดังกล่าวและเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้กำลัง และหันหน้าเข้าเจรจากันตามกรอบและกลไกขององค์การสหประชาชาติ--จบ--