แท็ก
เกษตรกร
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายดอกชนิดดี ไม่มีรายงานราคา
ราคาฝ้ายดอกชนิดรองสัปดาห์นี้มีราคากิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาฝ้ายดอกชนิดคละสัปดาห์นี้มีราคากิโลกรัมละ 17.32 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาฝ้ายปุยชนิดดี ไม่มีรายงานราคา
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สิ่งทอจีนได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเซีย
จีนเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่วิกฤตการณ์การเงินในเอเซียส่งผลให้ราคาสินค้าจากจีนแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่นในเอเชีย แต่จีนยังหวังที่จะพลิกฟื้นสถานการณ์ โดยค่าเงินจีนที่ยังแข็งตัวส่งผลดีต่อการนำเข้าวัตถุดิบ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งค่าเงินอ่อนตัวลง ทำให้ต้องลดการนำเข้าวัตถุดิบลง สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและเศรษฐกิจ กล่าวว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า จีนจะต้องลดการจ้างงานหรือโยกย้ายแรงงานจากภาคสิ่งทอ 1.2 ล้านคน และโล๊ะทิ้งเครื่องปั่นด้าย จำนวน 10 ล้านเครื่อง ในปีนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอได้ลดการจ้างงานหรือโยกย้ายแรงงานไปแล้ว 6 แสนคนและโล๊ะทิ้งเครื่องปั่นด้าย จำนวน 4.8 ล้านเครื่อง ซึ่งช่วยลดความสูญเสียได้ถึง 3 พันล้านหยวนหรือ 361 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ICAC คาดผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยของโลกทรงตัว
กรรมาธิการที่ปรึกษาฝ้ายนานาชาติ (ICAC) รายงานว่า ผลผลิตฝ้ายโลกมีอัตราเพิ่มต่ำ เนื่องจากเทคดนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น โดยที่ความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีพันธ์วิศวกรรม ถูกจำกัดด้ยลิขสิทธิ์สายพันธุ์ และในอีก 6 ปี ข้างหน้า สัดส่วนการใช้ฝ้าย เมื่อเทียบกับเส้นใยอื่น ๆ จะลดลงในปี 2548 คาดว่าความต้องการใช้เส้นใยฝ้ายประมาณ 22.3 ล้านตัน จากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและรายได้สูงขึ้น แต่ผลผลิตจะไม่พอแก่ความต้องการใช้ และเส้นใยฝ้ายจะมีราคาสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและผลผลิตต่อไร่กลับลดลง
คาดว่าในกลุ่มประเทศ 5 อันดับผู้ผลิตรายใหญ่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของผลผลิตฝ้ายโลก คือ สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน อุชเบกีสถาน ผลผลิตต่อไร่จะคงที่ อินเดียจะมีผลผลิตต่อไร่ลดลง และผลผลิตต่อไร่ของจีนจะสูงขึ้น ปี 2540/41 คาดว่าจะมีผลผลิตฝ้ายดลก 19.9 ล้านตัน และความต้องการใช้ฝ้าย 19.5 ล้านตัน ส่วนปี 2541/42 คาดว่าจะมีผลผลิต 19.3 ล้านตัน และความต้องการใช้ฝ้ายคงที่ โดยราคาฝ้ายที่ลดต่ำลง อาจส่งผลให้พื้นที่ปลูกฝ้ายในปี 2541/42 ลดลง และเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งจะทำให้ราคาฝ้ายสูงขึ้นได้
ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาบ่งชี้ตลาดลิเวอร์พูล (Liverpool Cotton Outlook Indices)
ราคาฝ้ายเกรด A สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.83 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 62.87 บาท ราคาสูงขึ้นจากปอนด์ละ 68.31 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 67.41 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.54 บาท
ราคาฝ้ายเกรด B สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.60 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 61.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากปอนด์ละ 66.74 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 65.86 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.12 บาท
ราคาฝ้าย 1 1/16 นิ้วสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.27 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 62.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากปอนด์ละ 66.26 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 65.38 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.03 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 3.02 บาท
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2541 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.45 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 64.35 บาท ราคาสูงขึ้นจากปอนด์ละ 68.18 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 67.28 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.93 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 16-22 มี.ค.41--
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายดอกชนิดดี ไม่มีรายงานราคา
ราคาฝ้ายดอกชนิดรองสัปดาห์นี้มีราคากิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาฝ้ายดอกชนิดคละสัปดาห์นี้มีราคากิโลกรัมละ 17.32 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาฝ้ายปุยชนิดดี ไม่มีรายงานราคา
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สิ่งทอจีนได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเซีย
จีนเป็นผู้ส่งออกสิ่งทอรายใหญ่ที่สุดในโลก แต่วิกฤตการณ์การเงินในเอเซียส่งผลให้ราคาสินค้าจากจีนแพงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่นในเอเชีย แต่จีนยังหวังที่จะพลิกฟื้นสถานการณ์ โดยค่าเงินจีนที่ยังแข็งตัวส่งผลดีต่อการนำเข้าวัตถุดิบ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ซึ่งค่าเงินอ่อนตัวลง ทำให้ต้องลดการนำเข้าวัตถุดิบลง สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและเศรษฐกิจ กล่าวว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า จีนจะต้องลดการจ้างงานหรือโยกย้ายแรงงานจากภาคสิ่งทอ 1.2 ล้านคน และโล๊ะทิ้งเครื่องปั่นด้าย จำนวน 10 ล้านเครื่อง ในปีนี้อุตสาหกรรมสิ่งทอได้ลดการจ้างงานหรือโยกย้ายแรงงานไปแล้ว 6 แสนคนและโล๊ะทิ้งเครื่องปั่นด้าย จำนวน 4.8 ล้านเครื่อง ซึ่งช่วยลดความสูญเสียได้ถึง 3 พันล้านหยวนหรือ 361 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ICAC คาดผลผลิตต่อไร่เฉลี่ยของโลกทรงตัว
กรรมาธิการที่ปรึกษาฝ้ายนานาชาติ (ICAC) รายงานว่า ผลผลิตฝ้ายโลกมีอัตราเพิ่มต่ำ เนื่องจากเทคดนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวยให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น โดยที่ความก้าวหน้าของการใช้เทคโนโลยีพันธ์วิศวกรรม ถูกจำกัดด้ยลิขสิทธิ์สายพันธุ์ และในอีก 6 ปี ข้างหน้า สัดส่วนการใช้ฝ้าย เมื่อเทียบกับเส้นใยอื่น ๆ จะลดลงในปี 2548 คาดว่าความต้องการใช้เส้นใยฝ้ายประมาณ 22.3 ล้านตัน จากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและรายได้สูงขึ้น แต่ผลผลิตจะไม่พอแก่ความต้องการใช้ และเส้นใยฝ้ายจะมีราคาสูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและผลผลิตต่อไร่กลับลดลง
คาดว่าในกลุ่มประเทศ 5 อันดับผู้ผลิตรายใหญ่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของผลผลิตฝ้ายโลก คือ สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน อุชเบกีสถาน ผลผลิตต่อไร่จะคงที่ อินเดียจะมีผลผลิตต่อไร่ลดลง และผลผลิตต่อไร่ของจีนจะสูงขึ้น ปี 2540/41 คาดว่าจะมีผลผลิตฝ้ายดลก 19.9 ล้านตัน และความต้องการใช้ฝ้าย 19.5 ล้านตัน ส่วนปี 2541/42 คาดว่าจะมีผลผลิต 19.3 ล้านตัน และความต้องการใช้ฝ้ายคงที่ โดยราคาฝ้ายที่ลดต่ำลง อาจส่งผลให้พื้นที่ปลูกฝ้ายในปี 2541/42 ลดลง และเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งจะทำให้ราคาฝ้ายสูงขึ้นได้
ความเคลื่อนไหวของราคาฝ้ายในตลาดโลก ประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาบ่งชี้ตลาดลิเวอร์พูล (Liverpool Cotton Outlook Indices)
ราคาฝ้ายเกรด A สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.83 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 62.87 บาท ราคาสูงขึ้นจากปอนด์ละ 68.31 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 67.41 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.54 บาท
ราคาฝ้ายเกรด B สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 67.60 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 61.74 บาท ราคาสูงขึ้นจากปอนด์ละ 66.74 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 65.86 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.29 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.12 บาท
ราคาฝ้าย 1 1/16 นิ้วสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.27 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 62.36 บาท ราคาสูงขึ้นจากปอนด์ละ 66.26 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 65.38 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.03 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 3.02 บาท
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าเพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2541 ทำสัญญาสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 70.45 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 64.35 บาท ราคาสูงขึ้นจากปอนด์ละ 68.18 เซนต์ หรือกิโลกรัมละ 67.28 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.33 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.93 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 11 ประจำวันที่ 16-22 มี.ค.41--