บทนำ
ปัจจุบันสินค้าในกลุ่มของขวัญ เครื่องใช้และเครื่องประดังตกแต่งบ้านของไทย ได้มีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งในด้านการผลิตและการส่งออก โดยสามารถทำรายได้ให้แก่ประเทศได้มากกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้เพราะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านไทยเคยมีความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภทที่สามารถหาได้ง่ายภายในประเทศ อีกทั้งแรงงานก็มีฝีมือปราณีตสามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพมาตราฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค นอกจากนี้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยยังพัฒนารูปแบบของสินค้า ให้มีความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การส่งออกขยายตัวจากมูลค่า 27,311.10 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 30,024.10 ล้านบาท ในปี 2539 โดยที่อัตราการขยายตัวจะมีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉลี่ยร้อยละ 2.6 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยเริ่มมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เพราะความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ และแรงงาน เริ่มลดลง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง ที่ผลิตในต้นทุนที่ต่ำกว่าได้
สินค้าของขวัญเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน จะครอบคลุมสินค้าประเภทต่าง ๆ ค่อนข้างมาก โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวทำด้วยไม้ เซรามิกส์ สแตนเลส พลาสติก และแก้ว อีกประเภท คือ เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น เครื่องใช้ในเทศกาลคริสต์มาส ดอกไม้ประดิษฐ์ ของชำร่วยและเครื่องประดับเซรา-มิกส์ รูปแกะสลักและเครื่องประดับไม้ และโลหะสามัญประเภทต่าง ๆ รวมทั้งของเล่น สินค้าทั้ง 2 ประเภท สามารถนำมาให้กันเป็นของขวัญในเทศกาลต่าง ๆ ได้
การผลิต
สินค้าของขวัญ เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้านมีการผลิตตั้งแต่ในลักษณะของครัวเรือน เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ รูปแกะสลักไม้ ของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิกส์ ไปจนถึงการผลิตในลักษณะโรงงานที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เช่น เครื่องใช้ในครัวและบนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกส์ พลาสติกและสแตนเลส เป็นต้น ทั้งนี้การผลิตในปัจจุบันได้มีการพัฒนามากขึ้น ทั้งในด้านวัสดุใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ และรูปแบบ สีสรร ตามความต้องการของผู้ซื้อในแต่ละประเทศ
การส่งออก
การส่งออกของขวัญเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้านของไทย ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ในปี 2538 การส่งออกมีมูลค่า 32,592.1 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 30,677.10 ล้านบาท ในปี 2537 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24 ปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 30,024.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของโลกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงทำให้อำนาจซื้อต่ำลง อีกทั้งการผลิตสินค้าของไทยเริ่มมีเทคโนโลยีที่ล้าสมัยจึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย นอกจากนี้สินค้าในกลุ่มนี้ยังมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทั้งในด้านคุณภาพและรูปแบบของสินค้า จึงทำให้การส่งออกขยายตัวในอัตราที่ลดลง โดยที่การส่งออกแต่ละตลาดจะแตกต่างกันดังนี้
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
1.สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.1 ของมูลค่าการส่งออกในปี 2539 หรือมีมูลค่า 12,350.7 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 13,011.3 ล้านบาท ในปี 2539 หรือมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 5.1 ทั้งนี้เพราะตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสินค้าจากจีน และเม็กซิโกเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยมากขึ้น
2. ญี่ปุ่น เป็นตลาดสำคัญรองลงมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.69 ของการส่งออกในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 3,811 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 3,797.9 ล้านบาท ในปี 2538 หรืออัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
3. เยอรมนี เป็นตลาดสำคัญรองจากตลาดญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 6.76 ของการส่งออกในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 2,028.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 2,499.6 ล้านบาท ในปี 2538 หรือมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 18.9
4. สหราชอาณาจักร เป็นตลาดสำคัญเช่นกัน มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 5.56 ของการส่งออกในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 1,669.2 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 1,880.6 ล้านบาทในปี 2538 หรือลดลงร้อยละ 12.2
5. ฝรั่งเศส เป็นตลาดสำคัญที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 2.93 ของการส่งออกในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 880.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 1,219.2 ล้านบาท ในปี 2538 หรือลดลงร้อยละ 27.8
แนวโน้มการส่งออกของไทย
ในปี 2540 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย คือมูลค่า 31,870 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของโลก โดยเฉพาะสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา เริ่มมีภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น อีกทั้งการพัฒนารูปแบบสินค้าของไทยยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องทำให้สินค้ากลุ่มนี้ขยายตัวมากขึ้นในตลาดสำคัญ นอกจากนี้ ไทยยังมีการประชาสัมพันธ์ให้สินค้าเป็นที่รู้จักของตลาดมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ผู้นำเข้าจึงเริ่มหันมาสั่งซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้น
กลยุทธด้านการตลาดและสินค้า
ปัจจุบันแนวโน้มของสินค้าของขวัญ เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน ในตลาดต่างประเทศได้มีการพัฒนาไปสู่แนวโน้มของสินค้าที่เรียกว่า “Home Accent ” มากขึ้น กล่าวคือ การผลิตและการจำหน่ายสินค้า จะไม่ใช่เฉพาะสินค้าในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น แต่เป็นการนำสินค้าทุกประเภทในกลุ่มนี้มาผสมผสานกัน ทั้งในด้านการผลิตและการนำเข้า ของผู้ผลิต/ผู้นำเข้าในต่างประเทศ ซึ่งแต่เดิมนั้น ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าในต่างประเทศ จะนำเข้าสินค้าเฉพาะประเภทของขวัญ เครื่องใช้ในบ้าน หรือเครื่องประดับตกแต่งบ้านเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หันมานำเข้าสินค้าทั้ง 3 ประเภท โดยนำมาจัดแต่งให้สินค้าทั้งหมดมีความกลมกลืนกันและเข้ากันได้ดี ทั้งประเภท รูปแบบ และสีสรร ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีกที่นำเข้าเฉพาะดอกไม้ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ จะหันมานำเข้า อุปกรณ์ตกแต่งและภาชนะที่มีรูปแบบแปลกใหม่ สามารถนำมาใช้จัดดอกไม้ประดิษฐ์ได้อย่างสวยงาม เช่น แจกัน กระถาง หรือภาชนะบรรจุทำด้วยไม้ พลาสติกและเซรามิกต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก เพื่อใช้ตกแต่งให้เข้ากันได้กับดอกไม้ที่จัดเป็นชุด ๆด้วย เช่น โต๊ะขนาดเล็ก สำหรับวางแจกันหรือกระถางต้นไม้ ใบไม้ประดิษฐ์ เพื่อนำมาตกแต่งบ้านให้ดูแปลกใหม่ และสวยงามมากขึ้น นอกจากนี้สินค้าที่ออกแบบใหม่ ๆ ควรเน้นประโยชน์ใช้สอยให้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคในต่างประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภคสินค้ากลุ่มนี้ จากการที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทำให้ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งบ้านขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นจึงมีการแสวงหาสินค้าที่จะนำมาตกแต่งในลักษณะ Home Accent ให้บ้านดูสวยงามน่าอยู่ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงสีของสินค้าที่จะนำมาตกแต่งด้วย เพื่อให้บ้านมีความกลมกลืนและน่าอยู่มากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทย ควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยเฉพาะด้านสินค้า ดังนี้
1. ควรศึกษาแนวโน้มรูปแบบ และสีสรรของสินค้าที่ผลิตให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ในตลาดต่างประเทศแต่ละประเทศรวม ทั้งสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่เราผลิตด้วย เพื่อให้ทิศทางของสินค้าเป็นไปในแนวทางเดียวกันซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการเสนอขายผู้นำเข้าในต่างประเทศ
2. หากสามารถขยายกำลังการผลิตออกไปได้ ควรพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีรูปแบบและหลากหลายประเภทมากขึ้น อาจผลิตสินค้าที่ต่อเนื่องและเข้ากันได้ดีกับสินค้าของเราด้วย เช่น ผู้ผลิตโคมไฟอาจจะต้องขยายการผลิตโต๊ะตั้งโคมไฟประกอบด้วย
3. ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยควรมีการรวมกลุ่มกันในเรื่องการผลิต และการส่งออก โดยเฉพาะการจัดแสดงสินค้า ควรมีโชว์รูมแสดงสินค้าในกลุ่มแสดงสินค้าในกลุ่มนี้ที่เข้ากันได้เป็นเซ็ทและเกี่ยวข้องกัน หรืออาจจะเข้าร่วมแสดงสินค้าถาวรของกรมส่งเสริมการส่งออกก็ได้ จะทำให้ช่วยขยายตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทย ควรมีการปรึกษาหารือกันถึงแนวโน้มของสินค้าแต่ละประเภทที่ตนผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. ควรเพิ่มการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเอง โดยการใช้สื่อที่ง่ายและประหยัดมากขึ้น เช่น การจัดทำโปสการ์ดแสดงสินค้าที่ตนเองผลิต เพื่อใช้แจกจ่ายผู้นำเข้าต่างประเทศหรือลงโฆษณาในวารสารต่าง ๆ ของต่างประเทศ เพื่อให้ผู้เข้ารู้จักสินค้าไทยมากขึ้น
กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก
สินค้าของขวัญ เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน เป็นสินค้าเป้าหมายที่กรมส่งเสริมการส่งออกได้ให้การสนับสนุนในด้านกิจกรรมต่าง ๆ ทางการตลาดอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2540 มีกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญ ดังนี้
1. การเข้ารว่มงานแสดงสินค้า
1.1 งานแสดงสินค้าในประเทศ ได้แก่
- งานแสดงสินค้า BKK International Gifts & Houseware Fair 97 (8th) จัดที่กรุง เทพฯ ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2540
- งานแสดงสินค้า Made in Thailand Gift Show 97 (7th) จัดที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12-21 ธันวาคม 2540
1.2 งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ได้แก่
- งาน Int l Housewares Show, Chicago, U.S.A. ระหว่างวันที่ 12-15 มกราคม 2540
- งาน Premiere (Christmas World), Frankfurt, Germany ระหว่างวันที่ 25-29 มกราคม 2540
- งาน Birmingham (Int l Spring Fair), Birmingham, U.K. ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2540
- งาน Macef Primavera, Milan, Italy ระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2540
- งาน Ambiente (Int l Spring Fair), Frankfurt, Gernany ระหว่างวันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ 2540
- งาน Tokyo Int l Houseware Show, Tokyo, JAPAN ระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2540
- งาน New York Int l Gift Fair, New York, U.S.A. ระหว่างวันที่ 10-14 สิงหาคม 2540
- งาน Tendence (Int l Autum Fair), Frankfurt, Germany, ระหว่างวันที่23-27 สิงหาคม 2540
- งาน Tokyo Int l Gift Show, Tokyo, JAPAN เดือนกันยายน 2540
2. การจัด Information Stand เพื่อให้ข้อมูลสินค้าไทยในงานแสดงสินค้าที่กรมฯ ยังไม่เคยเข้าร่วมงาน ได้แก่
2.1 งาน Canadian Houseware/Hardware/Home Improvement Show, Toronto, CANADA ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2540
2.2 งาน ASEAN Hometextile Exhibition, Tokyo, JAPAN ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2540
2.3 งาน Deco - In, Berlin, Germany ระหว่างวันที่ 20-23 มีนาคม 2540
2.4 งาน Chicago Gift Show, Chicago, U.S.A. ในเดือนกรกฎาคม 2540
2.5 งาน CGTA Gift Show, Toronto, CANADA ในเดือนสิงหาคม 2540
2.6 งาน Comfortex, Leipzig (Trade Fair for Interior Furnishings & Decoration) ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2540
2.7 งาน Cadeaux, Leipzig, (Trade Fair for Gift & Ideas for the Home), Germany ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2540
3. การจัดคณะผู้แทนการค้า (Trade Mission) แบ่งเป็น
3.1 การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนไทย (Incoming Mission) เป็นการเชิญผู้นำเข้าจากต่างประเทศมาสั่งซื้อสินค้าในงาน Bkk Int'l Gift and Houseware 97 ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน 2540
3.2 การจัดคณะผู้แทนการค้าของไทยไปเยือนต่างประเทศ (Outgoing Mission) ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ผลิตและอุตสาหกรรมของขวัญของชำร่วย ขยายตลาดญี่ปุ่น โดยเข้าร่วมงาน Tokyo Int'l Gift และส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย ระหว่างวันที่ 19-30 กุมภาพันธ์ 25401
4.การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
4.1 โครงการให้ความสนับสนุนด้านประชาสัมพันธ์แก่ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ที่นำเข้าสินค้าไทย (Importer Assistance Program) ในสหรัฐอเมริกา
4.2 การจัดทำโบว์ชัวสินค้า เช่น Wooden Gift Household Products include. Plastic, Wood, Metal, Glass
4.3 การประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้า (Fair Promotion) ได้แก่โครงการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ และการเข้าร่วมงาน Int'l Houseware Fair, Chicago, U.S.A. และลงโฆษณาในวารสาร และโครงการประชามสัมพันธ์งาน BIG โดยโฆษณาในวารสารต่างประเทศ
4.4 การประชาสัมพันธ์ให้แก่สื่อมวลชน (Press Pelation) ได้แก่ โครงการเชิญคณะผู้สื่อข่าวต่างประเทศมางานแสดงสินค้าของไทย และโครงการเชิญผู้สื่อข่าวนักธุรกิจ อาจารย์จากภูมิภาคมาเยี่ยมชมงานในส่วนกลาง
5. การพัฒนาแผนการส่งออกและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
5.1 โครงการบรรยายพิเศษและจัดนิทรรศการ Trend Forum โดย Nelly Rodi ในงาน BIG 97 จากยุโรป
5.2 Desing Consultancy โดย ENTHOVEN จากประเทศเบลเยียม
5.3 Special Lecture and Design Trend in U.S.A. โดย Ms. Michelle Lamb ประเทศสหรัฐอเมริกา
5.4 การประกวดแบบบรรจุภัณฑ์ และแบบลวดลายผ้า
5.5 โครงการจัดหาผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาให้คำแนะนำด้านการออกแบบ และพัฒนาสินค้าเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน
5.6 การจัดนิทรรศการสินค้าตกแต่งบ้าน
5.7 การศึกษาข้อมูลการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ทำด้วยไม้ เครื่องแก้ว โลหะ ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องใช้เครื่องตกแต่งในเทศกาลคริสต์มาสและเคหะสิ่งทอ ในตลาดสำคัญ เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
5.8 โครงการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญสินค้าเครื่องใช้ในบ้าน จากญี่ปุ่นมาให้คำแนะนำด้านสินค้า และตลาดแก่ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทย
5.9 การจัดสัมมนา เจาะตลาดเครื่องประดับตกแต่งบ้านในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หากผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยสนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว กรุณาติดต่อโดยตรงที่กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก โทร 511-5066-77--จบ
โดย : รังค์สิมา มโนปัญจสิริ
กองข้อมูลการค้า
กรมส่งเสริมการส่งออก
มีนาคม 2540
ปัจจุบันสินค้าในกลุ่มของขวัญ เครื่องใช้และเครื่องประดังตกแต่งบ้านของไทย ได้มีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งในด้านการผลิตและการส่งออก โดยสามารถทำรายได้ให้แก่ประเทศได้มากกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้เพราะในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านไทยเคยมีความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบซึ่งมีอยู่มากมายหลายประเภทที่สามารถหาได้ง่ายภายในประเทศ อีกทั้งแรงงานก็มีฝีมือปราณีตสามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพมาตราฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค นอกจากนี้ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยยังพัฒนารูปแบบของสินค้า ให้มีความแปลกใหม่อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้การส่งออกขยายตัวจากมูลค่า 27,311.10 ล้านบาท ในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 30,024.10 ล้านบาท ในปี 2539 โดยที่อัตราการขยายตัวจะมีขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉลี่ยร้อยละ 2.6 ต่อปี อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยเริ่มมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้เพราะความได้เปรียบในด้านวัตถุดิบ และแรงงาน เริ่มลดลง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่ง ที่ผลิตในต้นทุนที่ต่ำกว่าได้
สินค้าของขวัญเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน จะครอบคลุมสินค้าประเภทต่าง ๆ ค่อนข้างมาก โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวทำด้วยไม้ เซรามิกส์ สแตนเลส พลาสติก และแก้ว อีกประเภท คือ เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เช่น เครื่องใช้ในเทศกาลคริสต์มาส ดอกไม้ประดิษฐ์ ของชำร่วยและเครื่องประดับเซรา-มิกส์ รูปแกะสลักและเครื่องประดับไม้ และโลหะสามัญประเภทต่าง ๆ รวมทั้งของเล่น สินค้าทั้ง 2 ประเภท สามารถนำมาให้กันเป็นของขวัญในเทศกาลต่าง ๆ ได้
การผลิต
สินค้าของขวัญ เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้านมีการผลิตตั้งแต่ในลักษณะของครัวเรือน เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ รูปแกะสลักไม้ ของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิกส์ ไปจนถึงการผลิตในลักษณะโรงงานที่มีขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เช่น เครื่องใช้ในครัวและบนโต๊ะอาหารทำด้วยเซรามิกส์ พลาสติกและสแตนเลส เป็นต้น ทั้งนี้การผลิตในปัจจุบันได้มีการพัฒนามากขึ้น ทั้งในด้านวัสดุใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ และรูปแบบ สีสรร ตามความต้องการของผู้ซื้อในแต่ละประเทศ
การส่งออก
การส่งออกของขวัญเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้านของไทย ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา ในปี 2538 การส่งออกมีมูลค่า 32,592.1 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 30,677.10 ล้านบาท ในปี 2537 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.24 ปี 2539 การส่งออกมีมูลค่า 30,024.1 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับปี 2538 ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของโลกขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงทำให้อำนาจซื้อต่ำลง อีกทั้งการผลิตสินค้าของไทยเริ่มมีเทคโนโลยีที่ล้าสมัยจึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะจีน อินโดนีเซีย และอินเดีย นอกจากนี้สินค้าในกลุ่มนี้ยังมีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทั้งในด้านคุณภาพและรูปแบบของสินค้า จึงทำให้การส่งออกขยายตัวในอัตราที่ลดลง โดยที่การส่งออกแต่ละตลาดจะแตกต่างกันดังนี้
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
1.สหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นตลาดหลักที่สำคัญของไทยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.1 ของมูลค่าการส่งออกในปี 2539 หรือมีมูลค่า 12,350.7 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 13,011.3 ล้านบาท ในปี 2539 หรือมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 5.1 ทั้งนี้เพราะตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสินค้าจากจีน และเม็กซิโกเข้าไปแย่งส่วนแบ่งตลาดของไทยมากขึ้น
2. ญี่ปุ่น เป็นตลาดสำคัญรองลงมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.69 ของการส่งออกในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 3,811 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 3,797.9 ล้านบาท ในปี 2538 หรืออัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
3. เยอรมนี เป็นตลาดสำคัญรองจากตลาดญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 6.76 ของการส่งออกในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 2,028.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 2,499.6 ล้านบาท ในปี 2538 หรือมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 18.9
4. สหราชอาณาจักร เป็นตลาดสำคัญเช่นกัน มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 5.56 ของการส่งออกในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 1,669.2 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 1,880.6 ล้านบาทในปี 2538 หรือลดลงร้อยละ 12.2
5. ฝรั่งเศส เป็นตลาดสำคัญที่มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 2.93 ของการส่งออกในปี 2539 คิดเป็นมูลค่า 880.4 ล้านบาท เทียบกับมูลค่า 1,219.2 ล้านบาท ในปี 2538 หรือลดลงร้อยละ 27.8
แนวโน้มการส่งออกของไทย
ในปี 2540 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย คือมูลค่า 31,870 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะภาวะเศรษฐกิจของโลก โดยเฉพาะสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา เริ่มมีภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้น อีกทั้งการพัฒนารูปแบบสินค้าของไทยยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องทำให้สินค้ากลุ่มนี้ขยายตัวมากขึ้นในตลาดสำคัญ นอกจากนี้ ไทยยังมีการประชาสัมพันธ์ให้สินค้าเป็นที่รู้จักของตลาดมากขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ผู้นำเข้าจึงเริ่มหันมาสั่งซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้น
กลยุทธด้านการตลาดและสินค้า
ปัจจุบันแนวโน้มของสินค้าของขวัญ เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน ในตลาดต่างประเทศได้มีการพัฒนาไปสู่แนวโน้มของสินค้าที่เรียกว่า “Home Accent ” มากขึ้น กล่าวคือ การผลิตและการจำหน่ายสินค้า จะไม่ใช่เฉพาะสินค้าในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เท่านั้น แต่เป็นการนำสินค้าทุกประเภทในกลุ่มนี้มาผสมผสานกัน ทั้งในด้านการผลิตและการนำเข้า ของผู้ผลิต/ผู้นำเข้าในต่างประเทศ ซึ่งแต่เดิมนั้น ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าในต่างประเทศ จะนำเข้าสินค้าเฉพาะประเภทของขวัญ เครื่องใช้ในบ้าน หรือเครื่องประดับตกแต่งบ้านเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็หันมานำเข้าสินค้าทั้ง 3 ประเภท โดยนำมาจัดแต่งให้สินค้าทั้งหมดมีความกลมกลืนกันและเข้ากันได้ดี ทั้งประเภท รูปแบบ และสีสรร ตัวอย่างเช่น ร้านค้าปลีกที่นำเข้าเฉพาะดอกไม้ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ จะหันมานำเข้า อุปกรณ์ตกแต่งและภาชนะที่มีรูปแบบแปลกใหม่ สามารถนำมาใช้จัดดอกไม้ประดิษฐ์ได้อย่างสวยงาม เช่น แจกัน กระถาง หรือภาชนะบรรจุทำด้วยไม้ พลาสติกและเซรามิกต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก เพื่อใช้ตกแต่งให้เข้ากันได้กับดอกไม้ที่จัดเป็นชุด ๆด้วย เช่น โต๊ะขนาดเล็ก สำหรับวางแจกันหรือกระถางต้นไม้ ใบไม้ประดิษฐ์ เพื่อนำมาตกแต่งบ้านให้ดูแปลกใหม่ และสวยงามมากขึ้น นอกจากนี้สินค้าที่ออกแบบใหม่ ๆ ควรเน้นประโยชน์ใช้สอยให้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคในต่างประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการบริโภคสินค้ากลุ่มนี้ จากการที่ภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทำให้ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งบ้านขนาดใหญ่ได้ ดังนั้นจึงมีการแสวงหาสินค้าที่จะนำมาตกแต่งในลักษณะ Home Accent ให้บ้านดูสวยงามน่าอยู่ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงสีของสินค้าที่จะนำมาตกแต่งด้วย เพื่อให้บ้านมีความกลมกลืนและน่าอยู่มากขึ้น ดังนั้น ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทย ควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยเฉพาะด้านสินค้า ดังนี้
1. ควรศึกษาแนวโน้มรูปแบบ และสีสรรของสินค้าที่ผลิตให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ในตลาดต่างประเทศแต่ละประเทศรวม ทั้งสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่เราผลิตด้วย เพื่อให้ทิศทางของสินค้าเป็นไปในแนวทางเดียวกันซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการเสนอขายผู้นำเข้าในต่างประเทศ
2. หากสามารถขยายกำลังการผลิตออกไปได้ ควรพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีรูปแบบและหลากหลายประเภทมากขึ้น อาจผลิตสินค้าที่ต่อเนื่องและเข้ากันได้ดีกับสินค้าของเราด้วย เช่น ผู้ผลิตโคมไฟอาจจะต้องขยายการผลิตโต๊ะตั้งโคมไฟประกอบด้วย
3. ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยควรมีการรวมกลุ่มกันในเรื่องการผลิต และการส่งออก โดยเฉพาะการจัดแสดงสินค้า ควรมีโชว์รูมแสดงสินค้าในกลุ่มแสดงสินค้าในกลุ่มนี้ที่เข้ากันได้เป็นเซ็ทและเกี่ยวข้องกัน หรืออาจจะเข้าร่วมแสดงสินค้าถาวรของกรมส่งเสริมการส่งออกก็ได้ จะทำให้ช่วยขยายตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทย ควรมีการปรึกษาหารือกันถึงแนวโน้มของสินค้าแต่ละประเภทที่ตนผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สินค้าเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. ควรเพิ่มการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเอง โดยการใช้สื่อที่ง่ายและประหยัดมากขึ้น เช่น การจัดทำโปสการ์ดแสดงสินค้าที่ตนเองผลิต เพื่อใช้แจกจ่ายผู้นำเข้าต่างประเทศหรือลงโฆษณาในวารสารต่าง ๆ ของต่างประเทศ เพื่อให้ผู้เข้ารู้จักสินค้าไทยมากขึ้น
กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก
สินค้าของขวัญ เครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน เป็นสินค้าเป้าหมายที่กรมส่งเสริมการส่งออกได้ให้การสนับสนุนในด้านกิจกรรมต่าง ๆ ทางการตลาดอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2540 มีกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญ ดังนี้
1. การเข้ารว่มงานแสดงสินค้า
1.1 งานแสดงสินค้าในประเทศ ได้แก่
- งานแสดงสินค้า BKK International Gifts & Houseware Fair 97 (8th) จัดที่กรุง เทพฯ ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2540
- งานแสดงสินค้า Made in Thailand Gift Show 97 (7th) จัดที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 12-21 ธันวาคม 2540
1.2 งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ได้แก่
- งาน Int l Housewares Show, Chicago, U.S.A. ระหว่างวันที่ 12-15 มกราคม 2540
- งาน Premiere (Christmas World), Frankfurt, Germany ระหว่างวันที่ 25-29 มกราคม 2540
- งาน Birmingham (Int l Spring Fair), Birmingham, U.K. ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2540
- งาน Macef Primavera, Milan, Italy ระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2540
- งาน Ambiente (Int l Spring Fair), Frankfurt, Gernany ระหว่างวันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ 2540
- งาน Tokyo Int l Houseware Show, Tokyo, JAPAN ระหว่างวันที่ 19-21 มกราคม 2540
- งาน New York Int l Gift Fair, New York, U.S.A. ระหว่างวันที่ 10-14 สิงหาคม 2540
- งาน Tendence (Int l Autum Fair), Frankfurt, Germany, ระหว่างวันที่23-27 สิงหาคม 2540
- งาน Tokyo Int l Gift Show, Tokyo, JAPAN เดือนกันยายน 2540
2. การจัด Information Stand เพื่อให้ข้อมูลสินค้าไทยในงานแสดงสินค้าที่กรมฯ ยังไม่เคยเข้าร่วมงาน ได้แก่
2.1 งาน Canadian Houseware/Hardware/Home Improvement Show, Toronto, CANADA ระหว่างวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2540
2.2 งาน ASEAN Hometextile Exhibition, Tokyo, JAPAN ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2540
2.3 งาน Deco - In, Berlin, Germany ระหว่างวันที่ 20-23 มีนาคม 2540
2.4 งาน Chicago Gift Show, Chicago, U.S.A. ในเดือนกรกฎาคม 2540
2.5 งาน CGTA Gift Show, Toronto, CANADA ในเดือนสิงหาคม 2540
2.6 งาน Comfortex, Leipzig (Trade Fair for Interior Furnishings & Decoration) ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2540
2.7 งาน Cadeaux, Leipzig, (Trade Fair for Gift & Ideas for the Home), Germany ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2540
3. การจัดคณะผู้แทนการค้า (Trade Mission) แบ่งเป็น
3.1 การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนไทย (Incoming Mission) เป็นการเชิญผู้นำเข้าจากต่างประเทศมาสั่งซื้อสินค้าในงาน Bkk Int'l Gift and Houseware 97 ระหว่างวันที่ 17-19 เมษายน 2540
3.2 การจัดคณะผู้แทนการค้าของไทยไปเยือนต่างประเทศ (Outgoing Mission) ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ผลิตและอุตสาหกรรมของขวัญของชำร่วย ขยายตลาดญี่ปุ่น โดยเข้าร่วมงาน Tokyo Int'l Gift และส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทย ระหว่างวันที่ 19-30 กุมภาพันธ์ 25401
4.การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
4.1 โครงการให้ความสนับสนุนด้านประชาสัมพันธ์แก่ผู้นำเข้าสหรัฐฯ ที่นำเข้าสินค้าไทย (Importer Assistance Program) ในสหรัฐอเมริกา
4.2 การจัดทำโบว์ชัวสินค้า เช่น Wooden Gift Household Products include. Plastic, Wood, Metal, Glass
4.3 การประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้า (Fair Promotion) ได้แก่โครงการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ และการเข้าร่วมงาน Int'l Houseware Fair, Chicago, U.S.A. และลงโฆษณาในวารสาร และโครงการประชามสัมพันธ์งาน BIG โดยโฆษณาในวารสารต่างประเทศ
4.4 การประชาสัมพันธ์ให้แก่สื่อมวลชน (Press Pelation) ได้แก่ โครงการเชิญคณะผู้สื่อข่าวต่างประเทศมางานแสดงสินค้าของไทย และโครงการเชิญผู้สื่อข่าวนักธุรกิจ อาจารย์จากภูมิภาคมาเยี่ยมชมงานในส่วนกลาง
5. การพัฒนาแผนการส่งออกและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
5.1 โครงการบรรยายพิเศษและจัดนิทรรศการ Trend Forum โดย Nelly Rodi ในงาน BIG 97 จากยุโรป
5.2 Desing Consultancy โดย ENTHOVEN จากประเทศเบลเยียม
5.3 Special Lecture and Design Trend in U.S.A. โดย Ms. Michelle Lamb ประเทศสหรัฐอเมริกา
5.4 การประกวดแบบบรรจุภัณฑ์ และแบบลวดลายผ้า
5.5 โครงการจัดหาผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาให้คำแนะนำด้านการออกแบบ และพัฒนาสินค้าเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้าน
5.6 การจัดนิทรรศการสินค้าตกแต่งบ้าน
5.7 การศึกษาข้อมูลการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ทำด้วยไม้ เครื่องแก้ว โลหะ ดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องใช้เครื่องตกแต่งในเทศกาลคริสต์มาสและเคหะสิ่งทอ ในตลาดสำคัญ เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
5.8 โครงการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญสินค้าเครื่องใช้ในบ้าน จากญี่ปุ่นมาให้คำแนะนำด้านสินค้า และตลาดแก่ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทย
5.9 การจัดสัมมนา เจาะตลาดเครื่องประดับตกแต่งบ้านในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หากผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยสนใจจะเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว กรุณาติดต่อโดยตรงที่กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก โทร 511-5066-77--จบ
โดย : รังค์สิมา มโนปัญจสิริ
กองข้อมูลการค้า
กรมส่งเสริมการส่งออก
มีนาคม 2540