1. คำนำ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของไทย ได้มีการพัฒนาทางด้านการผลิตมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตบางขั้นตอน สามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพดีทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ส่งออกได้มูลค่าปีละประมาณ 30,000 ล้านบาท
สินค้าของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้าน ประกอบด้วยสินค้าต่าง ๆ หลากหลายชนิด และมีขนาดอุตสาหกรรมแตกต่างกันไป คือ มีตั้งแต่โรงงานขนาดเล็กไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ หลายพันรายทำการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายตลาดภายในประเทศ และยังมุ่งเน้นส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีโรงงานบางโรงที่มีบริษัทต่างชาติร่วมลงทุนผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเพียงอย่างเดียว
ประเภทสินค้า ของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้าน ที่มีศักยภาพการส่งออกในที่นี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.1 เครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะของ อาหารและเครื่องครัวทำด้วยไม้ เซรามิกแสตนเลส พลาสติก อลูมิเนียม แก้ว โลหะมีค่า และทองแดง ในปี 2540 มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดร้อยละ 45.91
1.2 เครื่องตกแต่งบ้าน ได้แก่ กรอบรูปไม้ เครื่องใช้ในเทศกาลคริสต์มาส ของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิก ดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ รูปแกะสลักและเครื่องประดับไม้ รูปหล่อและเครื่องประดับโลหะสามัญ ในปี 2540 มีสัดส่วนในการส่งออกร้อยละ 27.83
1.3 ของขวัญอื่น ๆ ได้แก่ ของเล่น ปากกาและส่วนประกอบ รวมทั้งการ์ดอวยพรต่าง ๆ ในปี 2540 มีสัดส่วนในการส่งออกร้อยละ 26.26
2. การส่งออก
2.1 มูลค่าการส่งออกของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของไทยในช่วง 3 ปี (2538-2540) ที่ผ่านมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไป คือในปี 2538 ส่งออกได้มูลค่าทั้งสิ้น 31,897.1 ล้านบาท ปี 2539 ส่งออกลดเหลือ ลงเหลือมูลค่า 29,610.2 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.2 และในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่าเพิ่มขึ้น 34,705.1 ล้านบาท และในปีต่อไปคาดว่าจะส่งออกได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.2 ตลาดส่งออก สินค้าของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านที่สำคัญตามลำดับสัดส่วนการส่งออก ปี 2540 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 45.02 สหภาพยุโรป ร้อยละ 19.87 ญี่ปุ่น ร้อยละ 9.87 เอเซีย อื่น ๆ ร้อยละ 3.62 และที่เหลือเป็นตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 21.62 เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับอิมิเรต และซาอุดิอาระเบีย
3. การแข่งขัน
การส่งออกสินค้าของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาสินค้ากับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เม็กซิกโก แคนาดา และสหภาพยุโรป
4. ปัญหา
4.1 การผลิต
(1) ขาดแคลนวัตถุดิบบางประเภท เช่น เม็ดพลาสติก แผ่นเหล็ก หลอดแก้ว หลอด-ไฟ โซดาไฟ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาแพงและเสียภาษีนำเข้าสูง นอกจากนี้วัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เช่น ดินขาว ดินเหนียว ทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน
(2) ค่าจ้างแรงงานสูง และขาดแคลนแรงงานฝีมือ รวมทั้งช่างเทคนิค
(3) เทคโนโลยี ในการผลิตเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทำให้ล้าหลังกว่าเทคโนโลยีของไต้หวันและเกาหลีใต้
(4) ขาดเงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อวัตถุดิบมาผลิตเพื่อส่งออก
4.2 การตลาด
(1) สินค้าแต่ละประเภท มีช่องทางการจำหน่ายแตกต่างกัน หากผู้ผลิตส่งออกวาง สินค้าไม่ถูกต้องกับตำแหน่งการขายหรือกลุ่มผู้บริโภคแล้วจะเกิดความเสียหายได้
(2) สินค้าบางประเภทมีตลาดค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่ขึ้นอยู่กับแฟชั่นสมัยนิยมในการตกแต่งบ้านของแต่ละประเทศ ทำให้วงจรผลิตสินค้าค่อนข้างสั้น
(3) อัตราแลกเปลี่ยนค่าของเงินที่ขึ้นลงรวดเร็วเปลี่ยนแปลงมากทำให้ผู้ส่งออกมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสูง
5. แนวโน้มการส่งออก
การส่งออกของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านไทย ในปี 2541 คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้
5.1 ภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป มีอัตราการขยายตัวเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น
5.2 โครงสร้างอายุของประชากรโลก ปัจจุบันมีคนวัยทำงานมากขึ้น ซึ่งมีรายได้เพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยและของใช้เพื่อนำมาประดับและตกแต่งบ้านมากขึ้น
5.3 ค่าของเงินบาทลดลง ทำให้ราคาสินค้าของไทยถูกลงในสายตาของลูกค้าในต่างประเทศ และจะสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
5.4 การดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและพยายามเร่งรัดผลักดันการส่งออกตลอดปี 2540 ที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและเอกชนได้กระทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
5.5 การปรับตัวของผู้ผลิต/ส่งออกของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของไทย สามารถพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าได้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขัน
6. แผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก
กรมส่งเสริมการส่งออกได้กำหนดให้สินค้าของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านเป็นสินค้าเป้าหมายการส่งเสริมการส่งออก โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกในปี 2541 ที่สำคัญ ดังนี้
6.1 การจัดงานแสดงสินค้า และเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
6.2 การจัด Instore Promotion ร่วมกับห้างสรรพสินค้าในสหรัฐฯ
6.3 การจัด Information Stand เพื่อให้ข้อมูลสินค้าไทยในงานแสดงสินค้าต่างประเทศที่กรมฯ ยังไม่เคยเข้าร่วมงาน
6.4 การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนไทย (Incoming Mission) และ จัดคณะผู้แทนการค้าไปเยือนต่างประเทศ (Outgoing Mission)
6.5 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ
6.6 การพัฒนาแผนการส่งออกและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ โครงการสัมมนาเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้านในยุโรป/ สหรัฐฯ ช่วงเดือนเมษายน 2541
--กรมส่งเสริมการส่งออก กันยายน 2541--
ปัจจุบันอุตสาหกรรมของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของไทย ได้มีการพัฒนาทางด้านการผลิตมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตบางขั้นตอน สามารถผลิตสินค้าได้คุณภาพดีทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขันอื่น ส่งออกได้มูลค่าปีละประมาณ 30,000 ล้านบาท
สินค้าของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้าน ประกอบด้วยสินค้าต่าง ๆ หลากหลายชนิด และมีขนาดอุตสาหกรรมแตกต่างกันไป คือ มีตั้งแต่โรงงานขนาดเล็กไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่ หลายพันรายทำการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายตลาดภายในประเทศ และยังมุ่งเน้นส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีโรงงานบางโรงที่มีบริษัทต่างชาติร่วมลงทุนผลิตสินค้าเพื่อส่งออกเพียงอย่างเดียว
ประเภทสินค้า ของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้าน ที่มีศักยภาพการส่งออกในที่นี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1.1 เครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะของ อาหารและเครื่องครัวทำด้วยไม้ เซรามิกแสตนเลส พลาสติก อลูมิเนียม แก้ว โลหะมีค่า และทองแดง ในปี 2540 มีสัดส่วนในการส่งออกมากที่สุดร้อยละ 45.91
1.2 เครื่องตกแต่งบ้าน ได้แก่ กรอบรูปไม้ เครื่องใช้ในเทศกาลคริสต์มาส ของชำร่วยและเครื่องประดับเซรามิก ดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ รูปแกะสลักและเครื่องประดับไม้ รูปหล่อและเครื่องประดับโลหะสามัญ ในปี 2540 มีสัดส่วนในการส่งออกร้อยละ 27.83
1.3 ของขวัญอื่น ๆ ได้แก่ ของเล่น ปากกาและส่วนประกอบ รวมทั้งการ์ดอวยพรต่าง ๆ ในปี 2540 มีสัดส่วนในการส่งออกร้อยละ 26.26
2. การส่งออก
2.1 มูลค่าการส่งออกของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของไทยในช่วง 3 ปี (2538-2540) ที่ผ่านมามีมูลค่าเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันไป คือในปี 2538 ส่งออกได้มูลค่าทั้งสิ้น 31,897.1 ล้านบาท ปี 2539 ส่งออกลดเหลือ ลงเหลือมูลค่า 29,610.2 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 7.2 และในปี 2540 ส่งออกได้มูลค่าเพิ่มขึ้น 34,705.1 ล้านบาท และในปีต่อไปคาดว่าจะส่งออกได้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.2 ตลาดส่งออก สินค้าของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านที่สำคัญตามลำดับสัดส่วนการส่งออก ปี 2540 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 45.02 สหภาพยุโรป ร้อยละ 19.87 ญี่ปุ่น ร้อยละ 9.87 เอเซีย อื่น ๆ ร้อยละ 3.62 และที่เหลือเป็นตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 21.62 เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับอิมิเรต และซาอุดิอาระเบีย
3. การแข่งขัน
การส่งออกสินค้าของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของไทยต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพและราคาสินค้ากับประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เม็กซิกโก แคนาดา และสหภาพยุโรป
4. ปัญหา
4.1 การผลิต
(1) ขาดแคลนวัตถุดิบบางประเภท เช่น เม็ดพลาสติก แผ่นเหล็ก หลอดแก้ว หลอด-ไฟ โซดาไฟ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศในราคาแพงและเสียภาษีนำเข้าสูง นอกจากนี้วัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เช่น ดินขาว ดินเหนียว ทำให้เสียเปรียบประเทศคู่แข่งขันอื่น ๆ โดยเฉพาะจีน
(2) ค่าจ้างแรงงานสูง และขาดแคลนแรงงานฝีมือ รวมทั้งช่างเทคนิค
(3) เทคโนโลยี ในการผลิตเปลี่ยนแปลงเร็วมาก ทำให้ล้าหลังกว่าเทคโนโลยีของไต้หวันและเกาหลีใต้
(4) ขาดเงินทุนหมุนเวียนเพื่อซื้อวัตถุดิบมาผลิตเพื่อส่งออก
4.2 การตลาด
(1) สินค้าแต่ละประเภท มีช่องทางการจำหน่ายแตกต่างกัน หากผู้ผลิตส่งออกวาง สินค้าไม่ถูกต้องกับตำแหน่งการขายหรือกลุ่มผู้บริโภคแล้วจะเกิดความเสียหายได้
(2) สินค้าบางประเภทมีตลาดค่อนข้างจำกัด เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่ขึ้นอยู่กับแฟชั่นสมัยนิยมในการตกแต่งบ้านของแต่ละประเทศ ทำให้วงจรผลิตสินค้าค่อนข้างสั้น
(3) อัตราแลกเปลี่ยนค่าของเงินที่ขึ้นลงรวดเร็วเปลี่ยนแปลงมากทำให้ผู้ส่งออกมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสูง
5. แนวโน้มการส่งออก
การส่งออกของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านไทย ในปี 2541 คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้
5.1 ภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป มีอัตราการขยายตัวเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น
5.2 โครงสร้างอายุของประชากรโลก ปัจจุบันมีคนวัยทำงานมากขึ้น ซึ่งมีรายได้เพียงพอที่จะซื้อที่อยู่อาศัยและของใช้เพื่อนำมาประดับและตกแต่งบ้านมากขึ้น
5.3 ค่าของเงินบาทลดลง ทำให้ราคาสินค้าของไทยถูกลงในสายตาของลูกค้าในต่างประเทศ และจะสั่งซื้อสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
5.4 การดำเนินการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและพยายามเร่งรัดผลักดันการส่งออกตลอดปี 2540 ที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและเอกชนได้กระทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
5.5 การปรับตัวของผู้ผลิต/ส่งออกของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านของไทย สามารถพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าได้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขัน
6. แผนส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก
กรมส่งเสริมการส่งออกได้กำหนดให้สินค้าของขวัญและเครื่องใช้ตกแต่งบ้านเป็นสินค้าเป้าหมายการส่งเสริมการส่งออก โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมและพัฒนาการส่งออกในปี 2541 ที่สำคัญ ดังนี้
6.1 การจัดงานแสดงสินค้า และเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
6.2 การจัด Instore Promotion ร่วมกับห้างสรรพสินค้าในสหรัฐฯ
6.3 การจัด Information Stand เพื่อให้ข้อมูลสินค้าไทยในงานแสดงสินค้าต่างประเทศที่กรมฯ ยังไม่เคยเข้าร่วมงาน
6.4 การจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนไทย (Incoming Mission) และ จัดคณะผู้แทนการค้าไปเยือนต่างประเทศ (Outgoing Mission)
6.5 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ
6.6 การพัฒนาแผนการส่งออกและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ โครงการสัมมนาเครื่องใช้และเครื่องประดับตกแต่งบ้านในยุโรป/ สหรัฐฯ ช่วงเดือนเมษายน 2541
--กรมส่งเสริมการส่งออก กันยายน 2541--