กรุงเทพ--28 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2548) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศจะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมลงนามกฎบัตร”ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย” (Charter of the Asia Disaster Preparedness Center — ADPC) กับผู้แทนสมาชิก ADPC ซึ่งได้มีหนังสือแสดงความประสงค์ที่จะเป็นสมาชิกก่อตั้งของ ADPC และเมื่อประเทศสมาชิกที่ได้ร่วมลงนามได้ให้สัตยาบันกฎบัตรดังกล่าวแล้วจะทำให้ ADPC มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ
ADPC เป็นศูนย์ระดับภูมิภาคด้านการบรรเทาภัยพิบัติเพื่อชุมชน ตั้งขึ้นในปี 2529 ภายใต้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) โดยการริเริ่มและผลักดันขององค์การบรรเทาภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Disaster Relief Organization — UNDRO) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักประสานงานกิจการ
ด้านมนุษยธรรม (Office for the Coordination of Humanitarian Affairs — OCHA) การดำเนินงานของADPC ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme — UNDP) และประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อเผชิญและจัดการกับภัยพิบัติ โดยมุ่งเน้นด้านการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ ในช่วงระหว่างปี 2529-2542 เกิดภัยพิบัติขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในเอเชีย จนถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ประสบภัยพิบัติมากที่สุดในโลก ทำให้ภารกิจของ ADPC เพิ่มมากขึ้น จึงได้แยกตัวออกมาเป็นอิสระจาก AIT ในเดือนมิถุนายน 2542 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจ จึงได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย มีสมาชิกกว่า 30 ประเทศ และมีคณะกรรมการบริหาร (Board of Trustees) ประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา และเวียดนาม รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ
นักวิชาการในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติอีก 11 คน โดยมี น.พ. ดร. กระแส ชนะวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการฯ และ ดร. สุวิทย์ ยอดมณี เป็นผู้อำนวยการบริหาร (Executive Director) และเลขานุการคณะกรรมการฯ
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ADPC ได้สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ในด้านการบรรเทาภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในกรอบของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission — MRC) และในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกันเพื่อนำมาปรับใช้กับงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติของแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ADPC ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในประเทศไทยกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ การจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน การฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
การที่ ADPC มิได้มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศทำให้มีข้อจำกัดในการขอรับความสนับสนุนทางด้านการเงิน กอปรกับการที่ ADPC ได้ขยายขอบเขตงานและภารกิจเพิ่มขึ้น จึงประสงค์จะขอเปลี่ยนสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งในประเทศไทย ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 เห็นชอบกับร่างกฎบัตรของ ADPC ในการจัดตั้งเป็นองค์การระหว่างประเทศ และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในนามรัฐบาลไทย เป็นผู้ลงนามในกฎบัตร ฯ เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้ง
สำหรับการดำเนินการขั้นต่อไปหลังจากที่กฎบัตร ADPC มีผลบังคับใช้ คือการจัดทำร่าง ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับ ADPC (Host Country Agreement) เกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ ADPC ในประเทศไทย โดย ADPC จะได้รับความคุ้มครองและเอกสิทธิต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับองค์การระหว่างประเทศในระดับเดียวกันทั้งนี้ รัฐบาลไทยจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของ ADPC ในการพัฒนาบทบาทและหน้าที่ให้เป็นศูนย์กลางประสานการเชื่อมโยงระบบเตือนภัยสึนามิล่วงหน้ากับศูนย์ระดับประเทศและระดับอนุภูมิภาคต่าง ๆ ที่อยู่รอบมหาสมุทรอินเดีย ภายใต้กรอบแผนงานของ ADPC ที่วางไว้ โดย
- การจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ฯ เพื่อให้ประเทศสมาชิกแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อการจัดตั้งระบบป้องกันภัยพิบัติที่มีความสอดคล้องกันเป็นระบบเดียวกัน และร่วมกันแสวงหาเทคโนโลยี เพื่อให้การทำงานมีความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ
- สร้างขีดความสามารถและให้ความช่วยเหลือศูนย์เตือนภัยระดับชาติของประเทศสมาชิก
- ประสานและเชื่อมโยงกับระบบและศูนย์เตือนภัยอื่น ๆ ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและทั่วโลกในทุกระดับ
- จัดการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ และจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศต่างๆ
- พัฒนาให้เป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับกิจกรรมการเตรียมความพร้อมและการบรรเทาภัยพิบัติจากสึนามิ
- ส่งเสริมการจัดตั้งระบบฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- การระดมเงินบริจาคเพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ฯ
นอกจากนี้ ในการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางประสานงานการเตือนภัยล่วงหน้าในระดับภูมิภาคในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้ประกาศบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นกองทุนเริ่มต้นในการจัดตั้งกองทุน Voluntary Trust Fund เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกองทุนดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific- UNESCAP) และเป็นกองทุนเปิดที่ประเทศสมาชิกสามารถบริจาคเข้าร่วมกองทุนได้ตามความสมัครใจ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ในวันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2548) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศจะเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมลงนามกฎบัตร”ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย” (Charter of the Asia Disaster Preparedness Center — ADPC) กับผู้แทนสมาชิก ADPC ซึ่งได้มีหนังสือแสดงความประสงค์ที่จะเป็นสมาชิกก่อตั้งของ ADPC และเมื่อประเทศสมาชิกที่ได้ร่วมลงนามได้ให้สัตยาบันกฎบัตรดังกล่าวแล้วจะทำให้ ADPC มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ
ADPC เป็นศูนย์ระดับภูมิภาคด้านการบรรเทาภัยพิบัติเพื่อชุมชน ตั้งขึ้นในปี 2529 ภายใต้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) โดยการริเริ่มและผลักดันขององค์การบรรเทาภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Disaster Relief Organization — UNDRO) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักประสานงานกิจการ
ด้านมนุษยธรรม (Office for the Coordination of Humanitarian Affairs — OCHA) การดำเนินงานของADPC ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme — UNDP) และประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย เพื่อฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติ รวมทั้งให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการเตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อเผชิญและจัดการกับภัยพิบัติ โดยมุ่งเน้นด้านการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ ในช่วงระหว่างปี 2529-2542 เกิดภัยพิบัติขึ้นบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในเอเชีย จนถือได้ว่าเป็นภูมิภาคที่ประสบภัยพิบัติมากที่สุดในโลก ทำให้ภารกิจของ ADPC เพิ่มมากขึ้น จึงได้แยกตัวออกมาเป็นอิสระจาก AIT ในเดือนมิถุนายน 2542 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจ จึงได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย มีสมาชิกกว่า 30 ประเทศ และมีคณะกรรมการบริหาร (Board of Trustees) ประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา และเวียดนาม รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ
นักวิชาการในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภัยพิบัติอีก 11 คน โดยมี น.พ. ดร. กระแส ชนะวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมการฯ และ ดร. สุวิทย์ ยอดมณี เป็นผู้อำนวยการบริหาร (Executive Director) และเลขานุการคณะกรรมการฯ
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ADPC ได้สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ในด้านการบรรเทาภัยพิบัติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในกรอบของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission — MRC) และในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างกันเพื่อนำมาปรับใช้กับงานด้านการบรรเทาภัยพิบัติของแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น ADPC ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในประเทศไทยกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ การจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชน การฝึกอบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล และการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและบรรเทาอุทกภัยของอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
การที่ ADPC มิได้มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศทำให้มีข้อจำกัดในการขอรับความสนับสนุนทางด้านการเงิน กอปรกับการที่ ADPC ได้ขยายขอบเขตงานและภารกิจเพิ่มขึ้น จึงประสงค์จะขอเปลี่ยนสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งในประเทศไทย ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2548 เห็นชอบกับร่างกฎบัตรของ ADPC ในการจัดตั้งเป็นองค์การระหว่างประเทศ และได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในนามรัฐบาลไทย เป็นผู้ลงนามในกฎบัตร ฯ เข้าร่วมเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้ง
สำหรับการดำเนินการขั้นต่อไปหลังจากที่กฎบัตร ADPC มีผลบังคับใช้ คือการจัดทำร่าง ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับ ADPC (Host Country Agreement) เกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ ADPC ในประเทศไทย โดย ADPC จะได้รับความคุ้มครองและเอกสิทธิต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับองค์การระหว่างประเทศในระดับเดียวกันทั้งนี้ รัฐบาลไทยจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของ ADPC ในการพัฒนาบทบาทและหน้าที่ให้เป็นศูนย์กลางประสานการเชื่อมโยงระบบเตือนภัยสึนามิล่วงหน้ากับศูนย์ระดับประเทศและระดับอนุภูมิภาคต่าง ๆ ที่อยู่รอบมหาสมุทรอินเดีย ภายใต้กรอบแผนงานของ ADPC ที่วางไว้ โดย
- การจัดตั้งและพัฒนาศูนย์ฯ เพื่อให้ประเทศสมาชิกแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อการจัดตั้งระบบป้องกันภัยพิบัติที่มีความสอดคล้องกันเป็นระบบเดียวกัน และร่วมกันแสวงหาเทคโนโลยี เพื่อให้การทำงานมีความสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ
- สร้างขีดความสามารถและให้ความช่วยเหลือศูนย์เตือนภัยระดับชาติของประเทศสมาชิก
- ประสานและเชื่อมโยงกับระบบและศูนย์เตือนภัยอื่น ๆ ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและทั่วโลกในทุกระดับ
- จัดการฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ และจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศต่างๆ
- พัฒนาให้เป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับกิจกรรมการเตรียมความพร้อมและการบรรเทาภัยพิบัติจากสึนามิ
- ส่งเสริมการจัดตั้งระบบฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- การระดมเงินบริจาคเพื่อนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์ฯ
นอกจากนี้ ในการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางประสานงานการเตือนภัยล่วงหน้าในระดับภูมิภาคในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิกนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้ประกาศบริจาคเงินจำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นกองทุนเริ่มต้นในการจัดตั้งกองทุน Voluntary Trust Fund เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกองทุนดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific- UNESCAP) และเป็นกองทุนเปิดที่ประเทศสมาชิกสามารถบริจาคเข้าร่วมกองทุนได้ตามความสมัครใจ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-