กรุงเทพฯ--23 มิ.ย.--ธสน.
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต และส่งออกยางธรรมชาติ รายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ ปี 2534 มีสัดส่วนการผลิตประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตรวมของโลก และมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติในตลาดโลก ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ไทยส่งออกแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- ผลิตภัณฑ์ยางกึ่งสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปขั้นต้น เป็นผลผลิตจากการแปรรูปขั้นต้นจากน้ำยางที่กรีดได้ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางต่อไป
- ผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูป เป็นผลผลิตที่ได้จากการแปรรูปยางขั้นต้น เป็นสินค้าสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ เช่น ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย สายพาน ท่อยาง ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้นที่แปรรูปมาจากน้ำยางดิบ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้
1. ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet : RSS)
ผลิตจากน้ำยางสดโดยเติมสารเคมีให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน แล้วรีดก้อนยางให้เป็นแผ่นด้วยเครื่องรีด และผึ่งลมให้หมาด จะได้ยางแผ่นดิบ จากนั้นจึงนำส่งโรงงานรมควัน ซึ่งจะอบยางแผ่นดิบให้แห้งโดยใช้ควันไฟรมยางให้แห้ง
ยางแผ่นรมควันจะถูกคัดเลือกจัดชั้นด้วยสายตา (Visual Grading) ออกเป็น 5 ระดับ ตามคุณสมบัติด้านความใส ความแห้ง ความสม่ำเสมอของสีและเนื้อยาง ฯลฯ ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ถือเป็นชั้นที่มีคุณภาพดีที่สุด ยางแผ่นรมควันที่ไทยผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นคุณภาพปานกลาง คือ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 และชั้น 4 ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึงประมาณร้อยละ 95 ของผลผลิตยางแผ่นรมควันทั้งหมดของไทย ยางแผ่นรมควันส่วนใหญ่มักนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมผลิตยางยานพาหนะ
2. ยางแท่ง (Technically Specified Rubber : TSR)
ผลิตจากน้ำยางสดหรืออาจใช้ยางที่จับตัวแล้วหรือยางแห้ง เช่น ยางแผ่นดิบ ยางก้นถ้วย ขี้ยาง เศษยาง เป็นวัตถุดิบก็ได้ วิธีการผลิตคือ ตัดย่อยก้อนยางให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ล้างสิ่งสกปรกออก แล้วนำยางไปอบแห้ง และอัดเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ มาเลเซียเป็นประเทศแรกที่คิดค้นพัฒนาการผลิตยางแท่งเพื่อแข่งขันกับยางสังเคราะห์ และใช้วิธีตรวจสอบคุณสมบัติของยางตามมาตรฐานสากลเป็นเกณฑ์กำหนดชั้นของยาง แทนการจัดชั้นด้วยสายตาแบบที่ใช้กับยางแผ่นรมควัน ต่อมาประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติอื่น ๆ ก็ได้ผลิตยางแท่ง และกำหนดมาตรฐานการจัดชั้นยางแท่งแบบเดียวกับมาเลเซีย แต่ใช้ชื่อเรียกต่างออกไปเป็นของตนเอง
ประเทศไทยก็ได้กำหนดมาตรฐานยางแท่งของตนเองเป็น STR (Standard Thai Rubber) ซึ่งสอด-คล้องกับมาตรฐานสากล จำแนกออกเป็น 5 ประเภท ยางแท่งที่ไทยส่งออกเป็นส่วนใหญ่เป็นประเภทใกล้เคียงกับของมาเลเซียและอินโดนีเซีย
ยางแท่งส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางยานพาหนะ และปัจจุบันประเทศผู้ซื้อมีแนวโน้มเปลี่ยนมาใช้ยางแท่งทดแทนยางแผ่นรมควันมากขึ้น เพราะยางแท่งมีการกำหนดคุณภาพเป็นมาตรฐานดีกว่ายางแผ่น-รมควัน ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น นำไปแปรรูปได้ง่ายกว่า และขนส่งเคลื่อนย้ายโดยเครื่องจักรได้สะดวกกว่ายางแผ่นที่ต้องระมัดระวังมิให้ฉีกขาด
3. น้ำยางข้น (Concentrate Latex)
ผลิตจากน้ำยางสดโดยทำให้น้ำยางมีความเข้มข้นสูงขึ้น คือมีปริมาณเนื้อยางแห้งประมาณร้อยละ 60 เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้วิธีจุ่มขึ้นรูปเช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ลูกโป่ง ฯลฯ
4. ยางเครป (Crepe)
ยางเครปที่ไทยผลิตได้ มี 2 ชนิด คือ เครปสีจาง (Pale Crepe) เป็นยางเครปคุณภาพดี ผลิตจากน้ำ-ยางสด อีกชนิดคือ เครปสีน้ำตาล (Brown Crepe) เป็นยางเครปคุณภาพต่ำ ผลิตจากเศษยางที่จับตัวแล้ว กรรมวิธีการผลิตยางเครปสีน้ำตาลจะยุ่งยากน้อยกว่าการผลิตยางเครปสีจาง
ผลผลิตยางเครปมีลักษณะเป็นแผ่น ส่วนใหญ่มักใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางพื้นรองเท้า ยางขอบประตูหน้าต่าง เป็นต้น
5. ยางอื่น ๆ เช่น
- ยางแผ่นผึ่งแห้ง เป็นยางแผ่นที่มีสีจาง มีกรรมวิธีการผลิตคล้ายกับยางแผ่นรมควัน แต่เป็นการทำให้แผ่นยางแห้งโดยใช้ความร้อนที่ไม่ใช่วิธีการรมควัน และไม่เติมสารเคมีอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต ยางแผ่นผึ่ง-แห้งจะนำไปใช้ในการผลิตยางรัดของและลูกยางชนิดต่าง ๆ
- ยางสกิม ในการผลิตน้ำยางข้น จะมีผลพลอยได้คือ หางน้ำยางที่ยังมีปริมาณเนื้อยางหลงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 8 หางน้ำยางเหล่านี้จะถูกนำไปแปรรูป โดยเติมสารเคมีให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนแล้วนำไปรีดตัด ย่อย อบ อัดแท่งเพื่อให้ได้เป็นยางชนิดสกิมบล็อก หรือนำก้อนยางที่จับตัวไปเข้าเครื่องรีดเป็นยางชนิดสกิมเครป
ยางสกิมเป็นยางที่มีคุณภาพต่ำ และมีราคาถูก จึงมักนำไปใช้เป็นวัตถุดิบรวมกับยางคุณภาพดีเช่นยาง-แผ่นรมควัน หรือยางแท่ง เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
โครงสร้างการผลิตยางธรรมชาติของไทย เป็นการผลิตยางแผ่นรมควันราวร้อยละ 57 ของการผลิตยางแปรรูปขั้นต้นทั้งหมด ยางแท่งประมาณร้อยละ 21 น้ำยางข้นประมาณร้อยละ 13 ยางเครปไม่ถึงร้อยละ 1 ที่เหลือเป็นยางอื่น ๆ รวมประมาณร้อยละ 8--จบ--
-อน-
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต และส่งออกยางธรรมชาติ รายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ ปี 2534 มีสัดส่วนการผลิตประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตรวมของโลก และมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติในตลาดโลก ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ไทยส่งออกแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- ผลิตภัณฑ์ยางกึ่งสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปขั้นต้น เป็นผลผลิตจากการแปรรูปขั้นต้นจากน้ำยางที่กรีดได้ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางต่อไป
- ผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูป เป็นผลผลิตที่ได้จากการแปรรูปยางขั้นต้น เป็นสินค้าสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ เช่น ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย สายพาน ท่อยาง ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้นที่แปรรูปมาจากน้ำยางดิบ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้
1. ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet : RSS)
ผลิตจากน้ำยางสดโดยเติมสารเคมีให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน แล้วรีดก้อนยางให้เป็นแผ่นด้วยเครื่องรีด และผึ่งลมให้หมาด จะได้ยางแผ่นดิบ จากนั้นจึงนำส่งโรงงานรมควัน ซึ่งจะอบยางแผ่นดิบให้แห้งโดยใช้ควันไฟรมยางให้แห้ง
ยางแผ่นรมควันจะถูกคัดเลือกจัดชั้นด้วยสายตา (Visual Grading) ออกเป็น 5 ระดับ ตามคุณสมบัติด้านความใส ความแห้ง ความสม่ำเสมอของสีและเนื้อยาง ฯลฯ ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ถือเป็นชั้นที่มีคุณภาพดีที่สุด ยางแผ่นรมควันที่ไทยผลิตได้ส่วนใหญ่เป็นคุณภาพปานกลาง คือ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 และชั้น 4 ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึงประมาณร้อยละ 95 ของผลผลิตยางแผ่นรมควันทั้งหมดของไทย ยางแผ่นรมควันส่วนใหญ่มักนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมผลิตยางยานพาหนะ
2. ยางแท่ง (Technically Specified Rubber : TSR)
ผลิตจากน้ำยางสดหรืออาจใช้ยางที่จับตัวแล้วหรือยางแห้ง เช่น ยางแผ่นดิบ ยางก้นถ้วย ขี้ยาง เศษยาง เป็นวัตถุดิบก็ได้ วิธีการผลิตคือ ตัดย่อยก้อนยางให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ล้างสิ่งสกปรกออก แล้วนำยางไปอบแห้ง และอัดเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ มาเลเซียเป็นประเทศแรกที่คิดค้นพัฒนาการผลิตยางแท่งเพื่อแข่งขันกับยางสังเคราะห์ และใช้วิธีตรวจสอบคุณสมบัติของยางตามมาตรฐานสากลเป็นเกณฑ์กำหนดชั้นของยาง แทนการจัดชั้นด้วยสายตาแบบที่ใช้กับยางแผ่นรมควัน ต่อมาประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติอื่น ๆ ก็ได้ผลิตยางแท่ง และกำหนดมาตรฐานการจัดชั้นยางแท่งแบบเดียวกับมาเลเซีย แต่ใช้ชื่อเรียกต่างออกไปเป็นของตนเอง
ประเทศไทยก็ได้กำหนดมาตรฐานยางแท่งของตนเองเป็น STR (Standard Thai Rubber) ซึ่งสอด-คล้องกับมาตรฐานสากล จำแนกออกเป็น 5 ประเภท ยางแท่งที่ไทยส่งออกเป็นส่วนใหญ่เป็นประเภทใกล้เคียงกับของมาเลเซียและอินโดนีเซีย
ยางแท่งส่วนใหญ่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางยานพาหนะ และปัจจุบันประเทศผู้ซื้อมีแนวโน้มเปลี่ยนมาใช้ยางแท่งทดแทนยางแผ่นรมควันมากขึ้น เพราะยางแท่งมีการกำหนดคุณภาพเป็นมาตรฐานดีกว่ายางแผ่น-รมควัน ทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น นำไปแปรรูปได้ง่ายกว่า และขนส่งเคลื่อนย้ายโดยเครื่องจักรได้สะดวกกว่ายางแผ่นที่ต้องระมัดระวังมิให้ฉีกขาด
3. น้ำยางข้น (Concentrate Latex)
ผลิตจากน้ำยางสดโดยทำให้น้ำยางมีความเข้มข้นสูงขึ้น คือมีปริมาณเนื้อยางแห้งประมาณร้อยละ 60 เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้วิธีจุ่มขึ้นรูปเช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ลูกโป่ง ฯลฯ
4. ยางเครป (Crepe)
ยางเครปที่ไทยผลิตได้ มี 2 ชนิด คือ เครปสีจาง (Pale Crepe) เป็นยางเครปคุณภาพดี ผลิตจากน้ำ-ยางสด อีกชนิดคือ เครปสีน้ำตาล (Brown Crepe) เป็นยางเครปคุณภาพต่ำ ผลิตจากเศษยางที่จับตัวแล้ว กรรมวิธีการผลิตยางเครปสีน้ำตาลจะยุ่งยากน้อยกว่าการผลิตยางเครปสีจาง
ผลผลิตยางเครปมีลักษณะเป็นแผ่น ส่วนใหญ่มักใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยางพื้นรองเท้า ยางขอบประตูหน้าต่าง เป็นต้น
5. ยางอื่น ๆ เช่น
- ยางแผ่นผึ่งแห้ง เป็นยางแผ่นที่มีสีจาง มีกรรมวิธีการผลิตคล้ายกับยางแผ่นรมควัน แต่เป็นการทำให้แผ่นยางแห้งโดยใช้ความร้อนที่ไม่ใช่วิธีการรมควัน และไม่เติมสารเคมีอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต ยางแผ่นผึ่ง-แห้งจะนำไปใช้ในการผลิตยางรัดของและลูกยางชนิดต่าง ๆ
- ยางสกิม ในการผลิตน้ำยางข้น จะมีผลพลอยได้คือ หางน้ำยางที่ยังมีปริมาณเนื้อยางหลงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 8 หางน้ำยางเหล่านี้จะถูกนำไปแปรรูป โดยเติมสารเคมีให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนแล้วนำไปรีดตัด ย่อย อบ อัดแท่งเพื่อให้ได้เป็นยางชนิดสกิมบล็อก หรือนำก้อนยางที่จับตัวไปเข้าเครื่องรีดเป็นยางชนิดสกิมเครป
ยางสกิมเป็นยางที่มีคุณภาพต่ำ และมีราคาถูก จึงมักนำไปใช้เป็นวัตถุดิบรวมกับยางคุณภาพดีเช่นยาง-แผ่นรมควัน หรือยางแท่ง เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
โครงสร้างการผลิตยางธรรมชาติของไทย เป็นการผลิตยางแผ่นรมควันราวร้อยละ 57 ของการผลิตยางแปรรูปขั้นต้นทั้งหมด ยางแท่งประมาณร้อยละ 21 น้ำยางข้นประมาณร้อยละ 13 ยางเครปไม่ถึงร้อยละ 1 ที่เหลือเป็นยางอื่น ๆ รวมประมาณร้อยละ 8--จบ--
-อน-