กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง วันนี้ (5 กรกฎาคม 2543) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2543 ที่กรุงฮานอย สรุปสาระได้ดังนี้
1. มาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2539 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย มีสมาชิกแกนนำ 11 ประเทศ คือ บรูไน กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม เพื่อจะพัฒนาความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกัน ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาประเทศในลุ่มน้ำโขงให้สามารถรวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยได้ตกลงที่จะให้จัดการประชุมเป็นประจำทุกปีเพื่อเร่งรัดความร่วมมือระหว่างกันให้บังเกิดผล แต่เนื่องจากประเทศต่างๆ ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ การประชุมจึงชะงักไปช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นการฟื้นฟูความร่วมมือนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
2. ที่ประชุมครั้งนี้ได้พิจารณาผลการศึกษาและผลการสำรวจเส้นทางรถไฟเชื่อมสิงคโปร์-กรุงเทพฯ-คุนหมิงในประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งคณะศึกษาของมาเลเซียได้จัดทำขึ้น 6 เส้นทาง คือ
ก. เส้นทางผ่านกัมพูชา-เวียดนาม (สิงค์โปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ปอยเปต-ศรีโสภณ-พนมเปญ-โฮจิมินห์-ลาวไค-คุนหมิง)
ข.เส้นทางผ่านพม่า (สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-ด่านเจดีย์สามองค์-ย่าง กุ้ง-ลาวเฉียว-ต้าลี่-คุนหมิง)
ค. เส้นทางผ่านลาว ซึ่งกระทำได้ 3 เส้นทาง
- สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-บ่อเต้น-คุนหมิง
- สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-ท่าแขก-วุงอาง- ฮานอย-ลาวไค-คุนหมิง
- สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-สะหวันนะเขต-ดองฮา-ฮานอย-ลาวไค- เฮเกา-คุนหมิง
ที่ประชุมมีมติยืนยันเจตนารมย์ในการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมสิงคโปร์-กรุงเทพฯ-คุนหมิง ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนใต้ และให้นำผลการสำรวจเส้นทางทั้งหมดเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งอาเซียน (ASEAN Transport Ministers ’ Meeting) ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนกันยายน ศกนี้ ที่บรูไน พิจารณาหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดต่อไป แต่ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกแกนนำทั้ง 11 ประเทศจะต้องมีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าวด้วย
3. อย่างไรก็ดี ที่ประชุมเห็นว่าอาจมีปัญหาในการระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงทางรถไฟนี้ ซึ่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินของความร่วมมืออาเซียน-ลุ่มน้ำโขง เพื่อพิจารณารูปแบบในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงได้รายงานข้อเสนอแนะของคณะทำงานฯ เกี่ยวกับรูปแบบการระดมทุนในการดำเนินโครงการอาเซียน-แม่น้ำโขง 4 รูปแบบ คือ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค (Technical Assistance) การทำการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) การลงทุนของภาคเอกชน (Equity) และการออกพันธบัตรหรือตราสารหนี้ (Debt) ซึ่งที่ประชุมครั้งนี้เห็นควรให้มีการพิจารณารูปแบบการระดมทุนดังกล่าวในรายละเอียดต่อไป โดยประเทศไทยรับจะประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่สามารถจะให้การสนับ สนุนเงินทุนได้ เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และเอสแคป ต่อไป
4. ที่ประชุมครั้งนี้เห็นพ้องที่จะต้อนรับญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เข้าเป็นสมาชิกแกนนำใหม่ด้วย หากทั้งสองประเทศมีความประสงค์เช่นนั้น เนื่องจากประเทศทั้งสองสนใจในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างมาก โดยเฉพาะการลงทุนในระยะยาวซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อาทิ ญี่ปุ่น ได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการ East-West Corridor ซึ่งเชื่อมระหว่าง จ.มุกดาหารและท่าเรือดานังในเวียดนาม เป็นต้น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวด้วยว่าไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการ เนื่องจากยังมีเรื่องและขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องพิจารณาอีกมาก อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงทุกประเทศในลุ่มน้ำโขงเข้าด้วยกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง วันนี้ (5 กรกฎาคม 2543) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเรื่องผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2543 ที่กรุงฮานอย สรุปสาระได้ดังนี้
1. มาเลเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2539 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดย มีสมาชิกแกนนำ 11 ประเทศ คือ บรูไน กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม เพื่อจะพัฒนาความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกัน ทั้งทางด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาประเทศในลุ่มน้ำโขงให้สามารถรวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยได้ตกลงที่จะให้จัดการประชุมเป็นประจำทุกปีเพื่อเร่งรัดความร่วมมือระหว่างกันให้บังเกิดผล แต่เนื่องจากประเทศต่างๆ ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ การประชุมจึงชะงักไปช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงถือได้ว่าเป็นการฟื้นฟูความร่วมมือนี้ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
2. ที่ประชุมครั้งนี้ได้พิจารณาผลการศึกษาและผลการสำรวจเส้นทางรถไฟเชื่อมสิงคโปร์-กรุงเทพฯ-คุนหมิงในประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งคณะศึกษาของมาเลเซียได้จัดทำขึ้น 6 เส้นทาง คือ
ก. เส้นทางผ่านกัมพูชา-เวียดนาม (สิงค์โปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ปอยเปต-ศรีโสภณ-พนมเปญ-โฮจิมินห์-ลาวไค-คุนหมิง)
ข.เส้นทางผ่านพม่า (สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-ด่านเจดีย์สามองค์-ย่าง กุ้ง-ลาวเฉียว-ต้าลี่-คุนหมิง)
ค. เส้นทางผ่านลาว ซึ่งกระทำได้ 3 เส้นทาง
- สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-บ่อเต้น-คุนหมิง
- สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-ท่าแขก-วุงอาง- ฮานอย-ลาวไค-คุนหมิง
- สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-สะหวันนะเขต-ดองฮา-ฮานอย-ลาวไค- เฮเกา-คุนหมิง
ที่ประชุมมีมติยืนยันเจตนารมย์ในการสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมสิงคโปร์-กรุงเทพฯ-คุนหมิง ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจีนตอนใต้ และให้นำผลการสำรวจเส้นทางทั้งหมดเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านการขนส่งอาเซียน (ASEAN Transport Ministers ’ Meeting) ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนกันยายน ศกนี้ ที่บรูไน พิจารณาหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดต่อไป แต่ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกแกนนำทั้ง 11 ประเทศจะต้องมีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์จากเส้นทางดังกล่าวด้วย
3. อย่างไรก็ดี ที่ประชุมเห็นว่าอาจมีปัญหาในการระดมเงินทุนเพื่อสนับสนุนการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงทางรถไฟนี้ ซึ่งประเทศไทยในฐานะประธานคณะทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินของความร่วมมืออาเซียน-ลุ่มน้ำโขง เพื่อพิจารณารูปแบบในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงได้รายงานข้อเสนอแนะของคณะทำงานฯ เกี่ยวกับรูปแบบการระดมทุนในการดำเนินโครงการอาเซียน-แม่น้ำโขง 4 รูปแบบ คือ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค (Technical Assistance) การทำการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) การลงทุนของภาคเอกชน (Equity) และการออกพันธบัตรหรือตราสารหนี้ (Debt) ซึ่งที่ประชุมครั้งนี้เห็นควรให้มีการพิจารณารูปแบบการระดมทุนดังกล่าวในรายละเอียดต่อไป โดยประเทศไทยรับจะประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่สามารถจะให้การสนับ สนุนเงินทุนได้ เช่น ธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และเอสแคป ต่อไป
4. ที่ประชุมครั้งนี้เห็นพ้องที่จะต้อนรับญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เข้าเป็นสมาชิกแกนนำใหม่ด้วย หากทั้งสองประเทศมีความประสงค์เช่นนั้น เนื่องจากประเทศทั้งสองสนใจในการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างมาก โดยเฉพาะการลงทุนในระยะยาวซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อาทิ ญี่ปุ่น ได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในโครงการ East-West Corridor ซึ่งเชื่อมระหว่าง จ.มุกดาหารและท่าเรือดานังในเวียดนาม เป็นต้น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวด้วยว่าไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินโครงการ เนื่องจากยังมีเรื่องและขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องพิจารณาอีกมาก อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงทุกประเทศในลุ่มน้ำโขงเข้าด้วยกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-