กรุงเทพฯ--14 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นาง Anna Lindh (อันนา ลินด์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวีเดนจะเดินทางมาเยือนไทยในวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2544 โดยกำหนดจะเดินทางจากกรุงฮานอยถึงกรุงเทพฯ เวลา 13.50 น.โดยเที่ยวบินที่ TG 683 และจะเดินทางกลับกรุงสตอกโฮล์มในวันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2544 (คืนวันที่ 13 สิงหาคม) โดยเที่ยวบินที่ TG 960 เวลา 00.40 น. ในระหว่างการเยือนไทยนาง Lindh มีกำหนดการที่จะหารือข้อราชการกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการระทรวงการต่างประเทศ เวลา 16.45 น. ณ โรงแรมโอเรียนเต็ล
นาง Lindh อายุ 44 ปี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวีเดน ตั้งแต่ปี 2541 และในช่วงปี 2544 นาง Lindh มีบทบาทสำคัญในฐานะที่สวีเดนเป็นประธานสหภาพ ยุโรป (EU Presidency) ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2544
การเยือนไทยของนาง Lindh ครั้งนี้จะส่งผลประโยชน์ต่อการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับสวีเดนให้ดำเนินไปอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และยังจะเป็นโอกาสดีที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสอง จะได้หารือข้อราชการกัน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคีของทั้งสองประเทศในด้านต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่บุคคลทั้งสองได้พบปะกันที่กรุงปักกิ่งระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
การหารือระหว่าง ดร.สุรเกียรติ์ฯ กับนาง Lindh ครั้งนี้ จะมุ่งเน้นเรื่องการแสวงหาลู่ทางในการเพิ่มปริมาณการค้าขายและการดึงดูดการลงทุนจากสวีเดน การพัฒนาโครงการความร่วมมือสิ่งแวดล้อมในด้านการบำบัดน้ำเสียกับสวีเดน ซึ่งสวีเดนได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ไทยจำนวนประมาณ 800 ล้านบาท การเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้การหารือจะครอบคลุมประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน อาทิ เรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทย ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 34 และผลการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (PMC) ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 การติดตามผลการหารือจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการความร่วมมือการต่อต้านการค้าสตรีและเด็ก รวมทั้ง การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป
สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สวีเดน ทั้งสองประเทศได้มีความร่วมมือด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา สื่อสารโทรคมนาคม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไทยตระหนักถึงความสำคัญของสวีเดนไม่เพียงเฉพาะเป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านสื่อสารโทรคมนาคม ยานยนต์ และเทคโนโลยี สารสนเทศมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคยุโรป แต่ยังเป็นประเทศที่มีบทบาทแข็งขันในการมี ส่วนร่วมการส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงทั้งในภูมิภาคยุโรปและประชาคมโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
นาง Anna Lindh (อันนา ลินด์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวีเดนจะเดินทางมาเยือนไทยในวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม 2544 โดยกำหนดจะเดินทางจากกรุงฮานอยถึงกรุงเทพฯ เวลา 13.50 น.โดยเที่ยวบินที่ TG 683 และจะเดินทางกลับกรุงสตอกโฮล์มในวันอังคารที่ 14 สิงหาคม 2544 (คืนวันที่ 13 สิงหาคม) โดยเที่ยวบินที่ TG 960 เวลา 00.40 น. ในระหว่างการเยือนไทยนาง Lindh มีกำหนดการที่จะหารือข้อราชการกับ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการระทรวงการต่างประเทศ เวลา 16.45 น. ณ โรงแรมโอเรียนเต็ล
นาง Lindh อายุ 44 ปี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสวีเดน ตั้งแต่ปี 2541 และในช่วงปี 2544 นาง Lindh มีบทบาทสำคัญในฐานะที่สวีเดนเป็นประธานสหภาพ ยุโรป (EU Presidency) ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2544
การเยือนไทยของนาง Lindh ครั้งนี้จะส่งผลประโยชน์ต่อการเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างไทยกับสวีเดนให้ดำเนินไปอย่างใกล้ชิดมากขึ้น และยังจะเป็นโอกาสดีที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทั้งสอง จะได้หารือข้อราชการกัน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคีของทั้งสองประเทศในด้านต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่บุคคลทั้งสองได้พบปะกันที่กรุงปักกิ่งระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป (ASEM) ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
การหารือระหว่าง ดร.สุรเกียรติ์ฯ กับนาง Lindh ครั้งนี้ จะมุ่งเน้นเรื่องการแสวงหาลู่ทางในการเพิ่มปริมาณการค้าขายและการดึงดูดการลงทุนจากสวีเดน การพัฒนาโครงการความร่วมมือสิ่งแวดล้อมในด้านการบำบัดน้ำเสียกับสวีเดน ซึ่งสวีเดนได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ไทยจำนวนประมาณ 800 ล้านบาท การเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้การหารือจะครอบคลุมประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน อาทิ เรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของไทย ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM) ครั้งที่ 34 และผลการประชุมรัฐมนตรี ต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา (PMC) ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 การติดตามผลการหารือจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ASEM ครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการความร่วมมือการต่อต้านการค้าสตรีและเด็ก รวมทั้ง การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป
สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สวีเดน ทั้งสองประเทศได้มีความร่วมมือด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา สื่อสารโทรคมนาคม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไทยตระหนักถึงความสำคัญของสวีเดนไม่เพียงเฉพาะเป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมทางด้านสื่อสารโทรคมนาคม ยานยนต์ และเทคโนโลยี สารสนเทศมากที่สุดประเทศหนึ่งในภูมิภาคยุโรป แต่ยังเป็นประเทศที่มีบทบาทแข็งขันในการมี ส่วนร่วมการส่งเสริมเสถียรภาพและความมั่นคงทั้งในภูมิภาคยุโรปและประชาคมโลก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-