บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป)

ข่าวการเมือง Tuesday February 27, 2001 12:26 —รัฐสภา

                         บันทึกการประชุมวุฒิสภา
ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันศุกร์ที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา
เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว นายสนิท วรปัญญา ประธานวุฒิสภา
และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการวุฒิสภาอ่าน
พระบรมราชโองการให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้
- พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายเดช บุญ-หลง เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
นายปองพล อดิเรกสาร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายวราเทพ รัตนากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์
นายนที ขลิบทอง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
นายประชา มาลีนนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายพงศกร เลาหวิเชียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายอดิศัย โพธารามิก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นายสุวรรณ วลัยเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายสมบัติ อุทัยสาง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม
นายสนธยา คุณปลื้ม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
นายเกษม วัฒนชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายจำลอง ครุฑขุนทด เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายพิเชษฐ สถิรชวาล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายสุธรรม แสงประทุม เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ เป็นต้นไป
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ส่งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
ที่ ๔/๒๕๔๔ เรื่อง ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของสมาชิกวุฒิสภา (นายวิชิต พูลลาภ กับคณะ)
ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีสิบคน สิ้นสุดลงเฉพาะตัว
กรณีดำรงตำแหน่งในห้างหุ้นส่วนและบริษัท หรือไม่ มาเพื่อทราบ
๒. ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้ลงมติ กำหนดให้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สัปดาห์ละ ๒ วัน คือ ทุกวันพุธ
และวันพฤหัสบดี เริ่มตั้งแต่เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา และกำหนดใหัวันที่ ๑ สิงหาคม เป็นวันเริ่ม
สมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติของรัฐสภา
๓. นายอุดร ตันติสุนทร ขอถอนญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งกรรมาธิการสามัญ
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ
เรื่องด่วน คือ เลือกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) หลังจากมีสมาชิกฯ อภิปราย
ประธานวุฒิสภาได้สั่งให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ไปก่อน
จากนั้น ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำญัตติ เรื่อง ขอให้ตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงกรณีสมาชิกวุฒิสภามีพฤติกรรมเรียกรับเงินในการเลือกตั้งกรรมการกิจการโทรคมนาคม
แห่งชาติ (กทช.) ซึ่งนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ และนายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา เป็นผู้เสนอ ซึ่งที่ประชุม
มีมติเห็นชอบ และมีมติให้ดำเนินการประชุมลับตามที่มีสมาชิกร้องขอ เพื่อพิจารณาญัตติดังกล่าว
หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย แล้ว ที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวน
ข้อเท็จจริงกรณีเรียกรับเงินในการเลือกกรรมการ กทช. จำนวน ๙ คน ประกอบด้วย
๑. พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ ๒. พลตรี มนูญกฤต รูปขจร
๓. นายสุนทร จินดาอินทร์ ๔. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๕. นายชุมพล ศิลปอาชา ๖. พลตำรวจเอก สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์
๗. พลตำรวจเอก มีชัย นุกูลกิจ ๘. นายวิเชียร เปาอินทร์
๙. นายสัก กอแสงเรือง
โดยมีกำหนดเวลาปฏิบัติภารกิจภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติ
ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดนี้
เลิกประชุมเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
(ลายเซ็น)
(นายพินิต อารยะศิริ)
เลขาธิการวุฒิสภา
ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๕๖๘
โทรสาร ๒๔๔๑๕๖๖

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ