กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับนาย ไซ ฮามิด อัลบาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียระหว่างการประชุมผู้นำเอเปคที่นครเซี่ยงไฮ้ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้แสดงความกังวลว่าจะมีผู้คนจำนวนมากเข้าใจจุดยืนของมาเลเซียในเรื่องของการก่อการร้ายคลาดเคลื่อน เนื่องจากมีผู้พยายามแสดงท่าทีแทนตน ซึ่งที่จริงแล้วมาเลเซียมีท่าทีเป็นอันหนึ่งอันเดียวร่วมกับประเทศอื่นคือ เห็นว่าการก่อการร้ายเป็นการก่อการร้ายต่อทุกคน และจะร่วมมือกับนานาประเทศในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย และโดยที่องค์การ Organization of Islamic Conference (OIC) ซึ่งเป็นองค์การที่มีประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นสมาชิก เช่น อิรัก อิหร่าน และรวมถึงมาเลเซียด้วยนั้น ก็ได้ประกาศจุดยืนร่วมกันในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย
2. เนื่องจากการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายเป็นกระบวนการที่ยาวนานที่ต้องมีขั้นตอนและความร่วมมือในหลายด้าน อาทิ ข้อมูลข่าวสาร ข่าวกรอง การจับกุมผู้ ก่อการร้าย การดำเนินคดีในศาล ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีคำจำกัดความของการก่อการร้ายที่ชัดเจน เนื่องจากมีหลายประเด็นที่จะต้องหารือ เช่น การก่อการร้ายของผู้ต่อสู้เพื่ออิสระภาพ (freedom fighters) การก่อการร้ายในประเทศ การก่อการร้ายสากล เป็นต้น
3. ฝ่ายมาเลเซียเห็นด้วยที่ไทยเสนอให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนพบกันอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายสากลให้เป็นรูปธรรม อาทิ ด้านข่าวกรอง ความมือของประเทศที่มีพรมแดนติดกัน โดยจะต้องช่วยกันคิดหาทางเลือกในการดำเนินคดีผู้ก่อการร้าย หากมีทางเลือกที่มีความเป็นกลางมากขึ้นในการดำเนินคดีกับผู้ ก่อการร้ายก็จะทำให้ประชาคมโลกให้ความร่วมมือมากขึ้น โดยดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า “อาเซียนเป็นองค์กรสำคัญที่มีสมาชิกถึง 10 ประเทศจึงควรมีบทบาทในเวทีโลกและมีทางเลือกให้กับโลก เนื่องจากสมาชิกอาเซียนมีความหลากหลายมาก ดังนั้นหากประเทศที่มีความหลากหลายมากสามารถหาทางเลือกให้กับโลกได้เช่น ทางเลือกในการดำเนินคดีผู้ก่อการร้าย เรื่องของการทำให้มีสันติภาพในโลก จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น” นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า น่าจะมีการจัดตั้งอนุกรรมการอาเซียน (ASEAN Subcommittee) โดยให้มีผู้เชี่ยวชาญของประเทศต่างๆ จัดทำข้อมูลเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ กำหนดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอาจมีขึ้นก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ ประเทศบรูไน ช่วงวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544 หรือหลังวันที่ 16 ธันวาคม ศกนี้
4. ตามที่ได้มีการประชุมความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของประเทศ อาเซียน (ASEAN Mekong Basin Development Cooperation — AMBDC) ที่จังหวัดเชียงรายเมื่อต้นเดือนตุลาคม ศกนี้ และที่ประชุมได้ตกลงกันว่า จะส่งเรื่องไปยังที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้ความเห็นชอบในเรื่องทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิงเนื่องจากมีความสำคัญลำดับต้น และให้ความเห็นชอบในเรื่องเส้นทางรถไฟ คือ สิงคโปร์-ไทย-กัมพูชา-ลาว-เวียดนาม-คุนหมิง ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งฝ่ายมาเลเซียว่าไทยจะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมสุดยอดอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ และขอให้ มาเลเซียช่วยสนับสนุนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2544 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศได้หารือทวิภาคีกับนาย ไซ ฮามิด อัลบาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียระหว่างการประชุมผู้นำเอเปคที่นครเซี่ยงไฮ้ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียได้แสดงความกังวลว่าจะมีผู้คนจำนวนมากเข้าใจจุดยืนของมาเลเซียในเรื่องของการก่อการร้ายคลาดเคลื่อน เนื่องจากมีผู้พยายามแสดงท่าทีแทนตน ซึ่งที่จริงแล้วมาเลเซียมีท่าทีเป็นอันหนึ่งอันเดียวร่วมกับประเทศอื่นคือ เห็นว่าการก่อการร้ายเป็นการก่อการร้ายต่อทุกคน และจะร่วมมือกับนานาประเทศในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย และโดยที่องค์การ Organization of Islamic Conference (OIC) ซึ่งเป็นองค์การที่มีประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นสมาชิก เช่น อิรัก อิหร่าน และรวมถึงมาเลเซียด้วยนั้น ก็ได้ประกาศจุดยืนร่วมกันในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้าย
2. เนื่องจากการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายเป็นกระบวนการที่ยาวนานที่ต้องมีขั้นตอนและความร่วมมือในหลายด้าน อาทิ ข้อมูลข่าวสาร ข่าวกรอง การจับกุมผู้ ก่อการร้าย การดำเนินคดีในศาล ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีคำจำกัดความของการก่อการร้ายที่ชัดเจน เนื่องจากมีหลายประเด็นที่จะต้องหารือ เช่น การก่อการร้ายของผู้ต่อสู้เพื่ออิสระภาพ (freedom fighters) การก่อการร้ายในประเทศ การก่อการร้ายสากล เป็นต้น
3. ฝ่ายมาเลเซียเห็นด้วยที่ไทยเสนอให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนพบกันอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายสากลให้เป็นรูปธรรม อาทิ ด้านข่าวกรอง ความมือของประเทศที่มีพรมแดนติดกัน โดยจะต้องช่วยกันคิดหาทางเลือกในการดำเนินคดีผู้ก่อการร้าย หากมีทางเลือกที่มีความเป็นกลางมากขึ้นในการดำเนินคดีกับผู้ ก่อการร้ายก็จะทำให้ประชาคมโลกให้ความร่วมมือมากขึ้น โดยดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวว่า “อาเซียนเป็นองค์กรสำคัญที่มีสมาชิกถึง 10 ประเทศจึงควรมีบทบาทในเวทีโลกและมีทางเลือกให้กับโลก เนื่องจากสมาชิกอาเซียนมีความหลากหลายมาก ดังนั้นหากประเทศที่มีความหลากหลายมากสามารถหาทางเลือกให้กับโลกได้เช่น ทางเลือกในการดำเนินคดีผู้ก่อการร้าย เรื่องของการทำให้มีสันติภาพในโลก จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น” นอกจากนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า น่าจะมีการจัดตั้งอนุกรรมการอาเซียน (ASEAN Subcommittee) โดยให้มีผู้เชี่ยวชาญของประเทศต่างๆ จัดทำข้อมูลเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ กำหนดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอาจมีขึ้นก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียน ณ ประเทศบรูไน ช่วงวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544 หรือหลังวันที่ 16 ธันวาคม ศกนี้
4. ตามที่ได้มีการประชุมความร่วมมือในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของประเทศ อาเซียน (ASEAN Mekong Basin Development Cooperation — AMBDC) ที่จังหวัดเชียงรายเมื่อต้นเดือนตุลาคม ศกนี้ และที่ประชุมได้ตกลงกันว่า จะส่งเรื่องไปยังที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเพื่อให้ความเห็นชอบในเรื่องทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิงเนื่องจากมีความสำคัญลำดับต้น และให้ความเห็นชอบในเรื่องเส้นทางรถไฟ คือ สิงคโปร์-ไทย-กัมพูชา-ลาว-เวียดนาม-คุนหมิง ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้แจ้งฝ่ายมาเลเซียว่าไทยจะนำเรื่องเสนอเข้าที่ประชุมสุดยอดอาเซียนในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ และขอให้ มาเลเซียช่วยสนับสนุนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-