กรุงเทพ--14 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมระหว่างประเทศเพื่อทบทวนการอนุวัติแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (International Meeting to review the implementation of the Programme of Action for the Sustainable Development of Small Island developing States-SIDS) ณ ประเทศมอริเซียส มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การประชุมครั้งนี้ เป็นผลจากการประชุม UN Conference on the Environment and Development (หรือ การประชุม Earth Summit หรือ Rio Summit) เมื่อเดือนมิถุนายน 1992 โดย ได้เรียกร้องให้จัดการประชุมระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก Global Conference on the Sustainable Development of Small Island Developing States
2. ต่อมาได้มีการจัดประชุม Global Conference on the Sustainable Development of Small Island Developing States เมื่อเดือน เมษายน-พฤษภาคม 1994 เพื่อยืนยันท่าทีของประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กต่อเอกสารที่เป็นผลของการประชุม Earth Summit ดังกล่าว อาทิ ปฏิญญาริโอ และแผนปฏิบัติการ 21 เป็นต้น และที่ประชุมได้รับรองเอกสารปฏิญญาบาร์เบดอส (Barbados Declaration) และแผนปฏิบัติการบาร์เบดอส (Barbados Programme of Action)
3. การประชุม World Summit on Sustainable Development ได้มีมติให้จัดการประชุมเพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการบาร์เบดอส ณ ประเทศมอริเซียส ว่า เท่าที่ได้มีการดำเนินการตามแผนดังกล่าว ประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กมีปัญหาหรือไม่อย่างไร เนื่องจากประเทศหมู่เกาะดังกล่าวเป็นประเทศที่มีลักษณะพิเศษ อาทิ เป็นประเทศขนาดเล็ก ระบบเศรษฐกิจไม่ใหญ่โตนัก และมีประชากรน้อย เป็นต้น
4. สำหรับการประชุมครั้งนี้ ไทยจะมีบทบาทในการปลุกกระแสความคิดในด้านต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นสิ่งท้าทายใหม่ๆ ที่ได้มีการระบุในเอกสาร Draft Strategy อาทิ เรื่อง ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ โดยเฉพาะภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ ซึ่งประเทศไทยได้ผ่านวิกฤตการณ์ดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งไทยจะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ และเห็นว่าทุกประเทศต้องเตรียมตัวที่จะรับมือกับภัยพิบัติดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม และไทยเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่อง ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพื่อที่จะพยายามลดทอนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ได้
5. นอกจากนี้ ไทยต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยได้เคยผ่านวิกฤตการณทางเศรษฐกิจมาแล้ว โดยการพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้าของไทยให้เข้มแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยสามารถกลับมายืนได้ด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไทยได้ดำเนินการสร้างเศรษฐกิจรากหญ้าให้แข็งแรงโดยมาตรการต่างๆ อาทิ การส่งเสริมสินค้า OTOP และการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
6. สิ่งที่ไทยมีประสบการณ์อย่างดีประการหนี่งคือ การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งในปัจจุบันไทยประสบความสำเร็จในการรณรงค์ป้องกันการแพร่เชื้อ และไทยสามารถผลิตยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้แล้ว เกี่ยวกับเรื่องนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เคยกล่าวในการประชุม APEC เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ ประเทศชิลี เชิญชวนให้ประเทศต่างๆ จัดซื้อยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเอดส์ดังกล่าวจากไทยในราคาต้นทุน เพื่อนำไปบริจาคให้ประเทศด้อยพัฒนาที่กำลังเผชิญกับปัญหาโรคเอดส์
7. สิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไทยมีประสบการณ์เป็นอย่างดี และไทยพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือในการให้คำปรึกษาแนะนำ หากมีประเทศใดสนใจแนวทางการดำเนินการดังกล่าว
8. สำหรับเรื่อง ระบบการเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้านั้น ดร. สรจักรฯ กล่าวว่า ในการประชุม Tsunami Summit เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ณ กรุงจาการ์ตา ไทยสนับสนุนการพัฒนาระบบการเตือนภัยล่วงหน้าในมหาสมุทรอินเดีย และไทยได้เสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยจะเชิญประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ รวมถึงประเทศที่มีผู้เสียชิวิตและบาดเจ็บจำนวนมากมาร่วมการประชุมด้วย
9. สำหรับความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าวนั้น ไทยประสงค์ความช่วยเหลือในด้านวิชาการและประสบการณ์ด้านการจัดการกับภัยพิบัติ รวมถึงความร่วมมือในการขยายและยกระดับศูนย์ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) ในประเทศไทย รวมถึงการขยายความร่วมมือระหว่างศูนย์ดังกล่าวของไทยกับศูนย์ Asian Disaster Reduction Center ของญี่ปุ่นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมระหว่างประเทศเพื่อทบทวนการอนุวัติแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (International Meeting to review the implementation of the Programme of Action for the Sustainable Development of Small Island developing States-SIDS) ณ ประเทศมอริเซียส มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การประชุมครั้งนี้ เป็นผลจากการประชุม UN Conference on the Environment and Development (หรือ การประชุม Earth Summit หรือ Rio Summit) เมื่อเดือนมิถุนายน 1992 โดย ได้เรียกร้องให้จัดการประชุมระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก Global Conference on the Sustainable Development of Small Island Developing States
2. ต่อมาได้มีการจัดประชุม Global Conference on the Sustainable Development of Small Island Developing States เมื่อเดือน เมษายน-พฤษภาคม 1994 เพื่อยืนยันท่าทีของประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กต่อเอกสารที่เป็นผลของการประชุม Earth Summit ดังกล่าว อาทิ ปฏิญญาริโอ และแผนปฏิบัติการ 21 เป็นต้น และที่ประชุมได้รับรองเอกสารปฏิญญาบาร์เบดอส (Barbados Declaration) และแผนปฏิบัติการบาร์เบดอส (Barbados Programme of Action)
3. การประชุม World Summit on Sustainable Development ได้มีมติให้จัดการประชุมเพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการบาร์เบดอส ณ ประเทศมอริเซียส ว่า เท่าที่ได้มีการดำเนินการตามแผนดังกล่าว ประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็กมีปัญหาหรือไม่อย่างไร เนื่องจากประเทศหมู่เกาะดังกล่าวเป็นประเทศที่มีลักษณะพิเศษ อาทิ เป็นประเทศขนาดเล็ก ระบบเศรษฐกิจไม่ใหญ่โตนัก และมีประชากรน้อย เป็นต้น
4. สำหรับการประชุมครั้งนี้ ไทยจะมีบทบาทในการปลุกกระแสความคิดในด้านต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นที่เป็นสิ่งท้าทายใหม่ๆ ที่ได้มีการระบุในเอกสาร Draft Strategy อาทิ เรื่อง ปัญหาการแพร่กระจายของโรคเอดส์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ โดยเฉพาะภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ ซึ่งประเทศไทยได้ผ่านวิกฤตการณ์ดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งไทยจะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ได้ และเห็นว่าทุกประเทศต้องเตรียมตัวที่จะรับมือกับภัยพิบัติดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบที่จะมีต่อด้านเศรษฐกิจและสังคม และไทยเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่อง ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพื่อที่จะพยายามลดทอนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ได้
5. นอกจากนี้ ไทยต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยได้เคยผ่านวิกฤตการณทางเศรษฐกิจมาแล้ว โดยการพัฒนาเศรษฐกิจรากหญ้าของไทยให้เข้มแข็ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไทยสามารถกลับมายืนได้ด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไทยได้ดำเนินการสร้างเศรษฐกิจรากหญ้าให้แข็งแรงโดยมาตรการต่างๆ อาทิ การส่งเสริมสินค้า OTOP และการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
6. สิ่งที่ไทยมีประสบการณ์อย่างดีประการหนี่งคือ การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ซึ่งในปัจจุบันไทยประสบความสำเร็จในการรณรงค์ป้องกันการแพร่เชื้อ และไทยสามารถผลิตยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้แล้ว เกี่ยวกับเรื่องนี้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เคยกล่าวในการประชุม APEC เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 ณ ประเทศชิลี เชิญชวนให้ประเทศต่างๆ จัดซื้อยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเอดส์ดังกล่าวจากไทยในราคาต้นทุน เพื่อนำไปบริจาคให้ประเทศด้อยพัฒนาที่กำลังเผชิญกับปัญหาโรคเอดส์
7. สิ่งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไทยมีประสบการณ์เป็นอย่างดี และไทยพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือในการให้คำปรึกษาแนะนำ หากมีประเทศใดสนใจแนวทางการดำเนินการดังกล่าว
8. สำหรับเรื่อง ระบบการเตือนภัยคลื่นยักษ์ล่วงหน้านั้น ดร. สรจักรฯ กล่าวว่า ในการประชุม Tsunami Summit เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2548 ณ กรุงจาการ์ตา ไทยสนับสนุนการพัฒนาระบบการเตือนภัยล่วงหน้าในมหาสมุทรอินเดีย และไทยได้เสนอจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้า โดยจะเชิญประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ รวมถึงประเทศที่มีผู้เสียชิวิตและบาดเจ็บจำนวนมากมาร่วมการประชุมด้วย
9. สำหรับความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าวนั้น ไทยประสงค์ความช่วยเหลือในด้านวิชาการและประสบการณ์ด้านการจัดการกับภัยพิบัติ รวมถึงความร่วมมือในการขยายและยกระดับศูนย์ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) ในประเทศไทย รวมถึงการขยายความร่วมมือระหว่างศูนย์ดังกล่าวของไทยกับศูนย์ Asian Disaster Reduction Center ของญี่ปุ่นด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-