แท็ก
หมู่เกาะ
กรุงเทพ--25 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศไทยกับหมู่เกาะคุกได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในวันที่ 24 พฤษภาคม 2548 การสถาปนาความสัมพันธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายเชิงรุกทางการทูตและเศรษฐกิจของไทยในการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศ
ในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศทั้งสอง รวมทั้งความร่วมมือในเวทีเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกรอบ Pacific Islands Forum (PIF) ที่ไทยเป็นสมาชิกประเทศคู่เจรจาตั้งแต่ปี 2547
หมู่เกาะคุกตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 240 ตารางกิโลเมตร และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 1,830,000 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิภาคประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและภูเขาไฟ มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น เมืองหลวงคือกรุงอะวารัว (Avarua) มีประชากรประมาณ 21,200 คน โดยร้อยละ 81.3 เป็นชาวโพลินีเซีย และร้อยละ 18.7 เป็นชาวยุโรป และลูกผสมระหว่างโพลินีเซียกับชาวยุโรปหรือโพลินีเซียกับพวกที่มิใช่ชาวยุโรป ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาคริสต์ ภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาเมารีอย่างแพร่หลายหมู่เกาะคุกพ้นจากการปกครองของนิวซีแลนด์ด้วยการใช้หลัก “กำหนดใจตนเอง” (สิทธิของประชาชนในการเลือกรูปแบบการปกครองและรัฐบาลของตน) ขององค์การสหประชาชาติ ส่งผลให้หมู่เกาะคุกเป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2508 ปัจจุบันมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรทรงเป็นประมุข และมีความสัมพันธ์แบบ Free Association กับนิวซีแลนด์ เศรษฐกิจของหมู่เกาะคุกขึ้นอยู่กับรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออกมะพร้าวแห้ง ผลไม้สด ผลไม้กระป๋อง ไข่มุกดำ และเสื้อผ้า ประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา รายได้ประชาชาติปี 2546 ประมาณ 138.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้ประชาชาติต่อหัว 7,800 ดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับหมู่เกาะคุกอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก แต่มีแนวโน้มที่จะขยายการค้าการลงทุนระหว่างกันมากขึ้นในช่วงปี 2546-2547 ไทยส่งสินค้าออกไปยังหมู่เกาะคุก 4-6 แสนดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ที่ไทยส่งออกไปหมู่เกาะคุกเพียงแค่ 3 แสนดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น แม้หมู่เกาะคุกจะยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ แต่ให้ความสำคัญกับบทบาท
และภาพลักษณ์ในเวทีระหว่างประเทศ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Pacific Island Forum (PIF) ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ตั้งแต่ปี 2514
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ประเทศไทยกับหมู่เกาะคุกได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในวันที่ 24 พฤษภาคม 2548 การสถาปนาความสัมพันธ์ดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายเชิงรุกทางการทูตและเศรษฐกิจของไทยในการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศ
ในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศทั้งสอง รวมทั้งความร่วมมือในเวทีเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในกรอบ Pacific Islands Forum (PIF) ที่ไทยเป็นสมาชิกประเทศคู่เจรจาตั้งแต่ปี 2547
หมู่เกาะคุกตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ มีพื้นที่ทั้งหมด 240 ตารางกิโลเมตร และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 1,830,000 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิภาคประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและภูเขาไฟ มีสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นและอบอุ่น เมืองหลวงคือกรุงอะวารัว (Avarua) มีประชากรประมาณ 21,200 คน โดยร้อยละ 81.3 เป็นชาวโพลินีเซีย และร้อยละ 18.7 เป็นชาวยุโรป และลูกผสมระหว่างโพลินีเซียกับชาวยุโรปหรือโพลินีเซียกับพวกที่มิใช่ชาวยุโรป ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนับถือศาสนาคริสต์ ภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาเมารีอย่างแพร่หลายหมู่เกาะคุกพ้นจากการปกครองของนิวซีแลนด์ด้วยการใช้หลัก “กำหนดใจตนเอง” (สิทธิของประชาชนในการเลือกรูปแบบการปกครองและรัฐบาลของตน) ขององค์การสหประชาชาติ ส่งผลให้หมู่เกาะคุกเป็นเอกราชตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2508 ปัจจุบันมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรทรงเป็นประมุข และมีความสัมพันธ์แบบ Free Association กับนิวซีแลนด์ เศรษฐกิจของหมู่เกาะคุกขึ้นอยู่กับรายได้จากการท่องเที่ยวและการส่งออกมะพร้าวแห้ง ผลไม้สด ผลไม้กระป๋อง ไข่มุกดำ และเสื้อผ้า ประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา รายได้ประชาชาติปี 2546 ประมาณ 138.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้ประชาชาติต่อหัว 7,800 ดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับหมู่เกาะคุกอยู่ในอัตราที่ไม่สูงมาก แต่มีแนวโน้มที่จะขยายการค้าการลงทุนระหว่างกันมากขึ้นในช่วงปี 2546-2547 ไทยส่งสินค้าออกไปยังหมู่เกาะคุก 4-6 แสนดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2545 ที่ไทยส่งออกไปหมู่เกาะคุกเพียงแค่ 3 แสนดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น แม้หมู่เกาะคุกจะยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ แต่ให้ความสำคัญกับบทบาท
และภาพลักษณ์ในเวทีระหว่างประเทศ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Pacific Island Forum (PIF) ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ตั้งแต่ปี 2514
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-