แท็ก
หมู่เกาะ
กรุงเทพ--17 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศไทยกับสาธารณรัฐนาอูรูได้ตกลงสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในวันที่ 14 มกราคม 2548 โดยการสถาปนาความสัมพันธ์ดังกล่าวสอดรับกับนโยบายการทูตเชิงรุกของไทยในการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสาธารณรัฐนาอูรูจะเป็นจุดเริ่มต้นและพื้นฐานความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองทั้งในเวทีการเมืองระหว่างประเทศและ ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศทั้งสอง ในอนาคต รวมทั้งความร่วมมือในกรอบ Pacific Islands Forum ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของไทย ในการขยายความร่วมมือกับประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้
อนึ่ง นาย Ludwig Scotty ประธานาธิบดีนาอูรูและคณะจะเดินทางมาเยือน ประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการระหว่างวันที่ 16 — 18 มกราคม 2547 สาธารณรัฐนาอูรูตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ห่างจากเส้นศูนย์สูตรประมาณ 40 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 21ตารางกิโลเมตร และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 320,000 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นสาธารณรัฐอิสระที่เล็กที่สุดในโลก มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นลมมรสุม สาธารณรัฐนาอูรูไม่มีเมืองหลวงเป็นทางการ แต่ส่วนราชการตั้งอยู่ที่เขตยาเรน (Yaren) มีประชากรประมาณ 12,800 คน ส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากไมโครนีเซีย และบางส่วน มาจากคิริบาส ตูวาลู และจีน ชาวนาอูรูนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 67 นับถือนิกาย โปรแตสแตนท์ และร้อยละ 33 นับถือนิกายคาทอลิก ภาษาทางการคือภาษานาอูรวน (Nauruan) และใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างเพร่หลาย
สาธารณรัฐนาอูรูพ้นจากการปกครองของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ สหราชอาณาจักรภายใต้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2511(ค.ศ.1968) ซึ่งถือเป็นวันประกาศอิสรภาพ มีระบอบการปกครองประชาธิปไตยระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล
เศรษฐกิจของสาธารณรัฐนาอูรูขึ้นอยู่กับการส่งออกฟอสเฟต และการให้สัมปทาน ประมงแก่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันและสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ นิวซีแลนด์ รายได้ประชาชาติปี 2547 ประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้ประชาชาติต่อหัว 100 ดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับนาอูรูมีน้อยมาก โดยเฉพาะในช่วงปี 2545 — 2546 ไทยนำเข้าสินค้าจากนาอูรูเพียง 1 — 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ และไม่ได้ส่งออกสินค้าใดไปนาอูรู แต่คาดว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถขยายการค้าและการลงทุนด้านประมงเมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว
สาธารณรัฐนาอูรูเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2542 (ค.ศ.1999) และเป็นสมาชิก Pacific Islands Forum (PIF) ซึ่งเป็นองค์กรหลักของภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ตั้งเมื่อปี 2514 สำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงซูวา สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ ปัจจุบันไทยมีสถานะเป็นประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) ของ PIF และมีความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกแล้ว 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ ปาปัวนิวกินี ตองกา ซามัว ปาเลา โซโลมอน มาร์แชลล์ วานูอาตู ไมโครนีเซีย นาอูรู
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ประเทศไทยกับสาธารณรัฐนาอูรูได้ตกลงสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในวันที่ 14 มกราคม 2548 โดยการสถาปนาความสัมพันธ์ดังกล่าวสอดรับกับนโยบายการทูตเชิงรุกของไทยในการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสาธารณรัฐนาอูรูจะเป็นจุดเริ่มต้นและพื้นฐานความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองทั้งในเวทีการเมืองระหว่างประเทศและ ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีในด้านต่างๆ ระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศทั้งสอง ในอนาคต รวมทั้งความร่วมมือในกรอบ Pacific Islands Forum ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของไทย ในการขยายความร่วมมือกับประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกใต้
อนึ่ง นาย Ludwig Scotty ประธานาธิบดีนาอูรูและคณะจะเดินทางมาเยือน ประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการระหว่างวันที่ 16 — 18 มกราคม 2547 สาธารณรัฐนาอูรูตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ห่างจากเส้นศูนย์สูตรประมาณ 40 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 21ตารางกิโลเมตร และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ 320,000 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นสาธารณรัฐอิสระที่เล็กที่สุดในโลก มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นลมมรสุม สาธารณรัฐนาอูรูไม่มีเมืองหลวงเป็นทางการ แต่ส่วนราชการตั้งอยู่ที่เขตยาเรน (Yaren) มีประชากรประมาณ 12,800 คน ส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากไมโครนีเซีย และบางส่วน มาจากคิริบาส ตูวาลู และจีน ชาวนาอูรูนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 67 นับถือนิกาย โปรแตสแตนท์ และร้อยละ 33 นับถือนิกายคาทอลิก ภาษาทางการคือภาษานาอูรวน (Nauruan) และใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างเพร่หลาย
สาธารณรัฐนาอูรูพ้นจากการปกครองของออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ สหราชอาณาจักรภายใต้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2511(ค.ศ.1968) ซึ่งถือเป็นวันประกาศอิสรภาพ มีระบอบการปกครองประชาธิปไตยระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้ารัฐบาล
เศรษฐกิจของสาธารณรัฐนาอูรูขึ้นอยู่กับการส่งออกฟอสเฟต และการให้สัมปทาน ประมงแก่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันและสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ นิวซีแลนด์ รายได้ประชาชาติปี 2547 ประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรายได้ประชาชาติต่อหัว 100 ดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับนาอูรูมีน้อยมาก โดยเฉพาะในช่วงปี 2545 — 2546 ไทยนำเข้าสินค้าจากนาอูรูเพียง 1 — 2 แสนดอลลาร์สหรัฐ และไม่ได้ส่งออกสินค้าใดไปนาอูรู แต่คาดว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถขยายการค้าและการลงทุนด้านประมงเมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างกันแล้ว
สาธารณรัฐนาอูรูเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2542 (ค.ศ.1999) และเป็นสมาชิก Pacific Islands Forum (PIF) ซึ่งเป็นองค์กรหลักของภูมิภาคแปซิฟิกใต้ ตั้งเมื่อปี 2514 สำนักเลขาธิการตั้งอยู่ที่กรุงซูวา สาธารณรัฐหมู่เกาะฟิจิ ปัจจุบันไทยมีสถานะเป็นประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) ของ PIF และมีความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกแล้ว 12 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ ปาปัวนิวกินี ตองกา ซามัว ปาเลา โซโลมอน มาร์แชลล์ วานูอาตู ไมโครนีเซีย นาอูรู
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-