กรุงเทพฯ--16 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (15 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกรณีพบเชื้อแอนแทรกซ์ในสหรัฐฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.เป็นที่ยืนยันแล้วว่าผงสีขาวที่ปนเปื้อนในซองจดหมายในสหรัฐฯ มีเชื้อ แอนแทรกซ์และเป็นสาเหตุให้ชาวสหรัฐฯ ติดเชื้อดังกล่าวจำนวน 5 ราย เสียชีวิตแล้วจำนวน 1 ราย โดยทางสหรัฐฯ ได้ประกาศให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะบรรดาทหารในหน่วยต่างๆ ว่า ระมัดระวังและพิจารณาซองจดหมายอย่างรอบคอบ เช่น ไม่เปิดซองที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้ส่ง หากมีซองจดหมายที่น่าสงสัยก็ไม่ต้องเปิดออกอ่านและห้ามดมจดหมาย เป็นต้น และขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบที่มาของซองจดหมายจากผู้ที่ได้รับเชื้อแอนแทรกซ์รายก่อนๆ แล้ว
2. เชื้อแอนแทรกซ์สามารถติดต่อได้ 3 ทางด้วยกันคือ ทางระบบทางเดินหายใจ ทางระบบย่อยอาหาร และทางผิวหนัง เชื้อแอนแทรกซ์เป็นเชื้อที่พบในสัตว์ แต่ก็ได้มีการนำเอาเชื้อโรคดังกล่าวมาผลิตเป็นอาวุธเชื้อโรคที่นำอันตรายมาสู่มนุษย์ ปกติแล้วเชื้อแอนแทรกซ์จะไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ผู้ที่ได้รับเชื้อแอนแทรกซ์ประมาณ 12 ชั่วโมงถึง 5 วัน หลังจากที่ได้รับเชื้อ ดังกล่าวจะเกิดอาการคันตามผิวหนัง และผิวหนังในบริเวณนั้นจะค่อยๆ คล้ำขึ้น จากนั้นเชื้อก็จะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และในที่สุดก็เข้าไปสู่ระบบภูมิคุ้มกันจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยปกติแล้วหากได้รับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ โอกาสในการรอดชีวิตจะน้อยมากดังเช่นผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตรายแรกในสหรัฐฯ แต่หากได้รับเชื้อผ่านทางผิวหนังจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่า ยาที่ใช้รักษาเชื้อแอนแทรกซ์ได้นั้น ได้แก่ เพนิซิลินและซิโบรฟร็อกซิน โดยจะต้องใช้ยาทั้งสองขนานนี้ควบคู่กัน
3. รัฐบาลไทยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านความมั่นคงให้ระมัดระวังและเตรียมพร้อมเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว สำหรับกระทรวงสาธารณสุขก็เตรียมพร้อมเรื่องยารักษา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่อยากให้เป็นข่าวจนเกิดความตื่นตระหนก การป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายจะต้องมีความพอดี หากรัฐบาลไม่ดำเนินการอะไรเลยก็จะกลายเป็นว่าขาดความรอบคอบ หากเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนทราบมากจนเกินไปก็อาจจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ก่อการร้ายที่ต้องการให้เกิดความตื่นตระหนกต่อประชาคมโลกจนไม่อาจดำเนินกิจกรรมตามปกติใได้
4. ข้อสังเกตทั่วไปของอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ
- อาวุธเคมีมักอยู่ในรูปของเหลว และจะมีผลในทันทีหรืออาจใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนที่จะออกฤทธิ์
- อาวุธเคมีมีกลิ่นและสี ในขณะที่อาวุธชีวภาพไม่มีกลิ่นหรือสีใดๆ และอาจอยู่ในรูปของเหลวหรือเป็นผง
- อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพแพร่ทางอากาศได้ดีที่สุด
5. การปฏิบัติตนเมื่อถูกอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพ
- ในเบื้องต้นให้ล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสบู่จำนวนมากเพื่อลดการดูดซึมทางผิวหนัง
- หากไม่มีน้ำให้โรยแป้งฝุ่นหรือแป้งข้าวเจ้าลงบนบริเวณที่ผิวหนังที่สัมผัส ให้รอประมาณ 30 วินาทีและให้เช็ดออกด้วยผ้า (แป้งจะเป็นตัวดูดซึมสารเคมีจึงต้องเช็ดออกให้หมด) ทั้งนี้ ควรใช้ถุงมือยางประกอบ
- สารเคมีหรือสารทางชีวภาพจะกระจายตัวได้รวดเร็วในแสงแดด ในน้ำ หรือกระแสลม
6. ข้อสังเกตการโจมตีด้วยอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพ
- มีหยดน้ำเป็นแผ่นเหมือนแผ่นฟิลม์บางๆ อยู่บนพื้นผิวทั่วไป
- มีสัตว์ตายผิดปกติในบริเวณนั้น
- มีกลิ่นผิดปกติ
- ผู้ที่ได้รับอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพจะมีอาการคลื่นไส้ หายใจลำบาก
- มีผู้คนแต่งกายผิดฤดูกาล เช่น สวมใส่เสื้อนอกในฤดูร้อน หรือสวมใส่หน้ากากในที่มีคนพลุกพล่าน
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Website: http://www.thaiembdc.org
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
วันนี้ (15 ตุลาคม 2544) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกรณีพบเชื้อแอนแทรกซ์ในสหรัฐฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.เป็นที่ยืนยันแล้วว่าผงสีขาวที่ปนเปื้อนในซองจดหมายในสหรัฐฯ มีเชื้อ แอนแทรกซ์และเป็นสาเหตุให้ชาวสหรัฐฯ ติดเชื้อดังกล่าวจำนวน 5 ราย เสียชีวิตแล้วจำนวน 1 ราย โดยทางสหรัฐฯ ได้ประกาศให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะบรรดาทหารในหน่วยต่างๆ ว่า ระมัดระวังและพิจารณาซองจดหมายอย่างรอบคอบ เช่น ไม่เปิดซองที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้ส่ง หากมีซองจดหมายที่น่าสงสัยก็ไม่ต้องเปิดออกอ่านและห้ามดมจดหมาย เป็นต้น และขณะนี้ทางการสหรัฐฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบที่มาของซองจดหมายจากผู้ที่ได้รับเชื้อแอนแทรกซ์รายก่อนๆ แล้ว
2. เชื้อแอนแทรกซ์สามารถติดต่อได้ 3 ทางด้วยกันคือ ทางระบบทางเดินหายใจ ทางระบบย่อยอาหาร และทางผิวหนัง เชื้อแอนแทรกซ์เป็นเชื้อที่พบในสัตว์ แต่ก็ได้มีการนำเอาเชื้อโรคดังกล่าวมาผลิตเป็นอาวุธเชื้อโรคที่นำอันตรายมาสู่มนุษย์ ปกติแล้วเชื้อแอนแทรกซ์จะไม่ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ผู้ที่ได้รับเชื้อแอนแทรกซ์ประมาณ 12 ชั่วโมงถึง 5 วัน หลังจากที่ได้รับเชื้อ ดังกล่าวจะเกิดอาการคันตามผิวหนัง และผิวหนังในบริเวณนั้นจะค่อยๆ คล้ำขึ้น จากนั้นเชื้อก็จะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และในที่สุดก็เข้าไปสู่ระบบภูมิคุ้มกันจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยปกติแล้วหากได้รับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ โอกาสในการรอดชีวิตจะน้อยมากดังเช่นผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิตรายแรกในสหรัฐฯ แต่หากได้รับเชื้อผ่านทางผิวหนังจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่า ยาที่ใช้รักษาเชื้อแอนแทรกซ์ได้นั้น ได้แก่ เพนิซิลินและซิโบรฟร็อกซิน โดยจะต้องใช้ยาทั้งสองขนานนี้ควบคู่กัน
3. รัฐบาลไทยได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านความมั่นคงให้ระมัดระวังและเตรียมพร้อมเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว สำหรับกระทรวงสาธารณสุขก็เตรียมพร้อมเรื่องยารักษา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่อยากให้เป็นข่าวจนเกิดความตื่นตระหนก การป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายจะต้องมีความพอดี หากรัฐบาลไม่ดำเนินการอะไรเลยก็จะกลายเป็นว่าขาดความรอบคอบ หากเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณชนทราบมากจนเกินไปก็อาจจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ซึ่งจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ก่อการร้ายที่ต้องการให้เกิดความตื่นตระหนกต่อประชาคมโลกจนไม่อาจดำเนินกิจกรรมตามปกติใได้
4. ข้อสังเกตทั่วไปของอาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพ
- อาวุธเคมีมักอยู่ในรูปของเหลว และจะมีผลในทันทีหรืออาจใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนที่จะออกฤทธิ์
- อาวุธเคมีมีกลิ่นและสี ในขณะที่อาวุธชีวภาพไม่มีกลิ่นหรือสีใดๆ และอาจอยู่ในรูปของเหลวหรือเป็นผง
- อาวุธเคมีและอาวุธชีวภาพแพร่ทางอากาศได้ดีที่สุด
5. การปฏิบัติตนเมื่อถูกอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพ
- ในเบื้องต้นให้ล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสบู่จำนวนมากเพื่อลดการดูดซึมทางผิวหนัง
- หากไม่มีน้ำให้โรยแป้งฝุ่นหรือแป้งข้าวเจ้าลงบนบริเวณที่ผิวหนังที่สัมผัส ให้รอประมาณ 30 วินาทีและให้เช็ดออกด้วยผ้า (แป้งจะเป็นตัวดูดซึมสารเคมีจึงต้องเช็ดออกให้หมด) ทั้งนี้ ควรใช้ถุงมือยางประกอบ
- สารเคมีหรือสารทางชีวภาพจะกระจายตัวได้รวดเร็วในแสงแดด ในน้ำ หรือกระแสลม
6. ข้อสังเกตการโจมตีด้วยอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพ
- มีหยดน้ำเป็นแผ่นเหมือนแผ่นฟิลม์บางๆ อยู่บนพื้นผิวทั่วไป
- มีสัตว์ตายผิดปกติในบริเวณนั้น
- มีกลิ่นผิดปกติ
- ผู้ที่ได้รับอาวุธเคมีหรืออาวุธชีวภาพจะมีอาการคลื่นไส้ หายใจลำบาก
- มีผู้คนแต่งกายผิดฤดูกาล เช่น สวมใส่เสื้อนอกในฤดูร้อน หรือสวมใส่หน้ากากในที่มีคนพลุกพล่าน
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก Website: http://www.thaiembdc.org
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-