บันทึกการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๔ ณ ตึกรัฐสภาเริ่มประชุมเวลา ๐๙.๓๕ นาฬิกา เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุมแล้ว พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ประธานวุฒิสภานายพิเชฐ พัฒนโชติ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง และนายบุญทัน ดอกไธสง รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ ประธานวุฒิสภาได้กล่าวเปิดประชุม แล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบว่าในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันพุธที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๔ ที่ประชุมได้พิจารณาและรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๔๒ และ ๒๕๔๓ ของสถาบันพระปกเกล้าแล้ว และในคราวประชุมเดียวกัน ที่ประชุมได้ลงมติให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง พันตำรวจเอก พีรพันธุ์ เปรมภูติ เป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอแล้ว ต่อมา ประธานวุฒิสภาได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำเรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วน ลำดับที่ ๖ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ประธานวุฒิสภาจึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน ตามลำดับ ดังนี้ ๑. พิจารณาให้ความเห็นชอบ เรื่อง การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ หลังจากสมาชิกฯ อภิปราย และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ตอบชี้แจงแล้ว ที่ประชุมได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติและความประพฤติของผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา ๑๘๙ จำนวน ๒๒ คน ประกอบด้วย ๑. นายประยุทธ ศรีมีชัย ๒. พลตำรวจตรี สนาม คงเมือง ๓. นายศรีเมือง เจริญศิริ ๔. นายสุรใจ ศิรินุพงศ์ ๕. นายบรรฑูรย์ เกริกพิทยา ๖. พลเอก บัณฑิตย์ มลายอริศูนย์ ๗. ร้อยตรี อำนวย ไทยานนท์ ๘. นายอาคม ตุลาดิลก ๙. นายปรีชา ปิตานนท์ ๑๐. นายสันติ์ เทพมณี ๑๑. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ๑๒. พลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์ ๑๓. นายบุญญา หลีเหลด ๑๔. นายคำนวณ เหมาะประสิทธิ์ ๑๕. นายวิบูลย์ แช่มชื่น ๑๖. นายสุพร สุภสร ๑๗. นายเด่น โต๊ะมีนา ๑๘. นางวิลาวัณย์ ตันวัฒนะพงษ์ ๑๙. นายพร เพ็ญพาส ๒๐. นายอุทัยพันธุ์ สงวนเสริมศรี ๒๑. นายทองใบ ทองเปาด์ ๒๒. นายมนู วณิชชานนท์ โดยมีกำหนดการพิจารณาศึกษาภายใน ๑๕ วัน ๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. ….ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว หลังจากประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนแถลงรายงานการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของสมาชิกฯตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๐๙ แล้ว ได้มีสมาชิกฯ อภิปราย และรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ตอบชี้แจง ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา จำนวน ๒๓ คน ประกอบด้วย ๑. นางสาวบุษรินทร์ ติยะไพรัช ๒. นายพนัส ทัศนียานนท์ ๓. นายสมบูรณ์ ทองบุราณ ๔. นายมนัส รุ่งเรือง ๕. นายวงศ์พันธ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ๖. พลเอก วัฒนา สรรพานิช ๗. นายวิทยา มะเสนา ๘. นายการุณ ใสงาม ๙. นางสุนีย์ อินฉัตร ๑๐. พลเอก ยุทธนา คำดี ๑๑. พลตำรวจตรี อำพล งามจิตร ๑๒. นายจำเจน จิตรธร ๑๓. นายสุพร สุภสร ๑๔. นายบุญเลิศ ไพรินทร์ ๑๕. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ๑๖. นางมลิวัลย์ เงินหมื่น ๑๗. พลตำรวจตรี วีระ อนันตกูล ๑๘. นายบุญยืน ศุภสารสาทร ๑๙. พลตำรวจเอก วิรุฬห์ พื้นแสน ๒๐. นายประสิทธิ์ พิทูรกิจจา ๒๑. นางจิตรา อยู่ประเสริฐ ๒๒. นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ ๒๓. นายพชร ยุติธรรมดำรง โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ จากนั้น รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ประธานในที่ประชุมได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระ เรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติในวาระที่ ๑ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา และมีมติให้ส่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. …. พิจารณา โดยมีกำหนดการแปรญัตติตามข้อบังคับฯ เลิกประชุมเวลา ๑๒.๕๕ นาฬิกา (ลายเซ็น) (นายจำนงค์ สวมประคำ) รองเลขาธิการวุฒิสภา รักษาราชการแทน เลขาธิการวุฒิสภา สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ รับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจาร ณา จำนวน ๒ ฉบับ คือ ๑. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. …. ๒. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….ฝ่ายระเบียบวาระและรายงานการประชุมกองการประชุมโทร. ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๘โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๑๕๖๖