กรุงเทพฯ--18 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2544 โดยมีนาย Wong Kan Seng รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสิงคโปร์เป็นประธาน ได้มีมติให้บรรจุข้อความในแถลงการณ์แสดงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะร่วมมือกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติอย่างใกล้ชิดและจริงจังโดยให้มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และการร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน องค์การสหประชาชาติ และทบวงการ ชำนัญพิเศษ ตลอดจนองค์การตำรวจสากล ในการต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และการต่อต้านการก่อการร้าย โดยที่ประชุมฯ ได้ประณามการกระทำที่เป็นการก่อการร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อการร้ายต่อสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 และเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับประชาคมระหว่างประเทศในการเพิ่มพูนความร่วมมือในการป้องกันและต่อสู้กับการก่อการร้าย รวมทั้งการร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายของอาเซียน นอกจากนั้น ที่ประชุมฯ ยังมีมติให้จัดการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาร่างแผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการก่อการร้าย โดยจะจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติสมัยพิเศษในช่วงต้นปี 2545 เพื่อรับรองแผนการดำเนินงานของคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และสำนักเลขาธิการอาเซียน
สำหรับคณะผู้แทนไทยนั้น นำโดยนายสมบัติ อุทัยสาง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งทำหน้าที่รองประธานการประชุมฯ ด้วย และบุคคลในคณะประกอบด้วยข้าราชการระดับสูง ได้แก่ นายไพโรจน์ พรหมสาส์น รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสามารถ ศรียานงค์ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พลตำรวจโท ดร. ชิดชัย วรรณสถิตย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักอัยการสูงสุด กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนด้านการต่อต้าน อาชญากรรมข้ามชาติ โดยการผลักดันในระดับนโยบายในการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนให้ประเทศสมาชิกมีความร่วมมือในด้านนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติจากการที่มีที่ตั้งเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่เปิดเสรีในการเดินทางเข้า-ออก ซึ่งเป็นผลให้มีการ ก่อตั้งกลไกการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติขึ้น
ฉะนั้น ประเทศไทยจึงรับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติครั้งที่ 4 ซึ่งจะมีขึ้นในปี 2546 ความร่วมมือด้านอาชญากรรมข้ามชาติกับประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการมีกรอบนโยบายระดับภูมิภาคที่ชัดเจนระหว่างประเทศสมาชิกในการร่วมมือกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติด้านต่างๆ เช่น การต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด การค้าสตรีและเด็ก การลักลอบขนอาวุธ การฟอกเงิน การก่อการร้าย และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล และประเด็นด้านกฎหมายระหว่างกัน การประสานความร่วมมือกันในการดำเนินคดีต่ออาชญากรรมข้ามชาติ และการมีเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของประเทศสมาชิก ความร่วมมือระดับ ภูมิภาคและความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา รวมทั้งกับองค์การระหว่างประเทศนี้จะเป็นเครื่องมือของไทยที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งทวีมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณและความรุนแรง รวมถึงความซับซ้อนในการดำเนินการ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2544 โดยมีนาย Wong Kan Seng รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสิงคโปร์เป็นประธาน ได้มีมติให้บรรจุข้อความในแถลงการณ์แสดงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะร่วมมือกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติอย่างใกล้ชิดและจริงจังโดยให้มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และการร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาของอาเซียน องค์การสหประชาชาติ และทบวงการ ชำนัญพิเศษ ตลอดจนองค์การตำรวจสากล ในการต่อต้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์และการต่อต้านการก่อการร้าย โดยที่ประชุมฯ ได้ประณามการกระทำที่เป็นการก่อการร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อการร้ายต่อสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 และเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับประชาคมระหว่างประเทศในการเพิ่มพูนความร่วมมือในการป้องกันและต่อสู้กับการก่อการร้าย รวมทั้งการร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายของอาเซียน นอกจากนั้น ที่ประชุมฯ ยังมีมติให้จัดการประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจเพื่อพิจารณาร่างแผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการก่อการร้าย โดยจะจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติสมัยพิเศษในช่วงต้นปี 2545 เพื่อรับรองแผนการดำเนินงานของคณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และสำนักเลขาธิการอาเซียน
สำหรับคณะผู้แทนไทยนั้น นำโดยนายสมบัติ อุทัยสาง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งทำหน้าที่รองประธานการประชุมฯ ด้วย และบุคคลในคณะประกอบด้วยข้าราชการระดับสูง ได้แก่ นายไพโรจน์ พรหมสาส์น รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นายสามารถ ศรียานงค์ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พลตำรวจโท ดร. ชิดชัย วรรณสถิตย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักอัยการสูงสุด กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนด้านการต่อต้าน อาชญากรรมข้ามชาติ โดยการผลักดันในระดับนโยบายในการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนให้ประเทศสมาชิกมีความร่วมมือในด้านนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติจากการที่มีที่ตั้งเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศที่เปิดเสรีในการเดินทางเข้า-ออก ซึ่งเป็นผลให้มีการ ก่อตั้งกลไกการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสและรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติขึ้น
ฉะนั้น ประเทศไทยจึงรับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติครั้งที่ 4 ซึ่งจะมีขึ้นในปี 2546 ความร่วมมือด้านอาชญากรรมข้ามชาติกับประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการมีกรอบนโยบายระดับภูมิภาคที่ชัดเจนระหว่างประเทศสมาชิกในการร่วมมือกันในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติด้านต่างๆ เช่น การต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติด การค้าสตรีและเด็ก การลักลอบขนอาวุธ การฟอกเงิน การก่อการร้าย และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูล และประเด็นด้านกฎหมายระหว่างกัน การประสานความร่วมมือกันในการดำเนินคดีต่ออาชญากรรมข้ามชาติ และการมีเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานของประเทศสมาชิก ความร่วมมือระดับ ภูมิภาคและความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา รวมทั้งกับองค์การระหว่างประเทศนี้จะเป็นเครื่องมือของไทยที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งทวีมากขึ้นทั้งในด้านปริมาณและความรุนแรง รวมถึงความซับซ้อนในการดำเนินการ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : [email protected] จบ--
-อน-