นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่การส่งออกขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับผลผลิตทางการเกษตรเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีความสามารถที่จะขยายตัวได้ต่อไปจากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
2. แรงกดดันต่อเสถียรภาพภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวในเกณฑ์สูงและอาจเร่งตัวเกินช่วงเป้าหมายของนโยบายการเงินในปี 2549 อย่างไรก็ดี เสถียรภาพต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากแนวโน้มการชะลอตัวของการนำเข้า ประกอบกับการเร่งตัวของการส่งออก ซึ่งส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับดีขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา
3. คณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง และปัจจัยลบเริ่มคลี่คลายลง แต่ความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวมีมากขึ้นโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นต่อไป เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมต่อการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ อันจะเอื้อต่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจในระยะยาว
คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ร้อยละ 0.50 ต่อปี จากร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปี โดยมีผลทันที
คณะกรรมการฯ เชื่อว่า การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราร้อยละ 0.50 ในครั้งที่แล้วและครั้งนี้น่าจะช่วยดูแลแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ได้ดีขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2548 อุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัวลง แต่การส่งออกขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับผลผลิตทางการเกษตรเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีความสามารถที่จะขยายตัวได้ต่อไปจากแนวโน้มการส่งออกและการลงทุนทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน
2. แรงกดดันต่อเสถียรภาพภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวในเกณฑ์สูงและอาจเร่งตัวเกินช่วงเป้าหมายของนโยบายการเงินในปี 2549 อย่างไรก็ดี เสถียรภาพต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากแนวโน้มการชะลอตัวของการนำเข้า ประกอบกับการเร่งตัวของการส่งออก ซึ่งส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับดีขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา
3. คณะกรรมการฯ เห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่อง และปัจจัยลบเริ่มคลี่คลายลง แต่ความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวมีมากขึ้นโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายจึงควรอยู่ในทิศทางขาขึ้นต่อไป เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจ และเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในประเทศกลับเข้าสู่ระดับที่เหมาะสมต่อการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ อันจะเอื้อต่อการขยายตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจในระยะยาว
คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ร้อยละ 0.50 ต่อปี จากร้อยละ 3.25 เป็นร้อยละ 3.75 ต่อปี โดยมีผลทันที
คณะกรรมการฯ เชื่อว่า การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอัตราร้อยละ 0.50 ในครั้งที่แล้วและครั้งนี้น่าจะช่วยดูแลแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ได้ดีขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--