กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
จากการที่ราคาน้ำมันดิบผลักตัวสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์อันได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและประเทศต่างๆ และหลังจากที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบกับเอกอัครราชทูตโอมานเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2543 โดยได้แสดงความห่วงใยผ่านไปยังรัฐบาลโอมานเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น นั้น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2543 ดร. สุรินทร์ฯ ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Cooperation หรือ IOR-ARC) รัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน และรัฐมนตรีต่างประเทศความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) เกี่ยวกับปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลก สรุปตามลำดับ ได้ดังนี้
1. จาก ดร.สุรินทร์ฯ ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศ IOR-ARC ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียที่กำลังฟื้นตัว และประเทศอื่นๆ ในโลกนั้น เป็นประเด็นข้อห่วงกังวลในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 33 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7 Summit) ที่เมืองโอกินาวา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ผู้นำทั้งเจ็ดยังได้แสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบในด้านลบของปัญหาราคาน้ำมันต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความมั่นคงด้านราคาน้ำมันดิบเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันและประเทศผู้บริโภคน้ำมัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความห่วงกังวลต่อผลกระทบของปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง และชื่นชมการตัดสินใจของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปคเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่จะให้มีการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน หลังจากที่ได้มีการจำกัดการผลิตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้นมากและก่อให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันในภูมิภาคนี้ยังมิได้ลดลงมาอยู่ในระดับที่จะทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตต่อเนื่องไปได้ การพิจารณาและสนับสนุนของ IOR-ARC ต่อเรื่องดังกล่าวจะได้รับการชื่นชมยิ่ง 7 2. จาก ดร.สุรินทร์ฯ ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ปัญหาราคาน้ำมันเป็นข้อห่วงกังวลในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7 Summit) ที่เมืองโอกินาวา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ผู้นำทั้งเจ็ดยังได้แสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบในด้านลบของปัญหาราคาน้ำมันต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความมั่นคงด้านราคาน้ำมันดิบเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันและประเทศผู้บริโภคน้ำมัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความห่วงกังวลต่อผลกระทบของปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงหลานเดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้าและวัตถุดิบสูงขึ้น ในการที่จะป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามจนเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้ง ประเทศไทยจึงขอเสนอให้ประเทศอาเซียนร่วมกันถ่ายทอดสารที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เกี่ยวกับผลกระทบในด้านลบของปัญหาดังกล่าวต่อเศรษฐกิจเอเชียที่กำลังฟื้นตัว ไปยังประชาคมโลกโดยเฉพาะประเทศโอเปค
3. จาก ดร.สุรินทร์ฯ ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศเอเปค ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียที่กำลังฟื้นตัว และประเทศอื่นๆ ในโลกนั้น เป็นประเด็นข้อห่วงกังวลในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 33 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศคู่เจรจา ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7 Summit) ที่เมืองโอกินาวา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ผู้นำทั้งเจ็ดยังได้แสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบในด้านลบของปัญหาราคาน้ำมันต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความมั่นคงด้านราคาน้ำมันดิบเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันและประเทศผู้บริโภคน้ำมัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความห่วงกังวลต่อผลกระทบของปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้าและวัตถุดิบสูงขึ้น ในการที่จะป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามจนเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้ง ประเทศไทยจึงใคร่ขอเสนอให้ประเทศอาเซียนร่วมกันถ่ายทอดสารที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เกี่ยวกับผลกระทบในด้านลบของปัญหาดังกล่าวต่อเศรษฐกิจเอเชียที่กำลังฟื้นตัว ไปยังประชาคมโลกโดยเฉพาะประเทศโอเปค ดังมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-
จากการที่ราคาน้ำมันดิบผลักตัวสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์อันได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและประเทศต่างๆ และหลังจากที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พบกับเอกอัครราชทูตโอมานเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2543 โดยได้แสดงความห่วงใยผ่านไปยังรัฐบาลโอมานเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น นั้น เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2543 ดร. สุรินทร์ฯ ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association for Regional Cooperation หรือ IOR-ARC) รัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน และรัฐมนตรีต่างประเทศความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) เกี่ยวกับปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลก สรุปตามลำดับ ได้ดังนี้
1. จาก ดร.สุรินทร์ฯ ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศ IOR-ARC ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียที่กำลังฟื้นตัว และประเทศอื่นๆ ในโลกนั้น เป็นประเด็นข้อห่วงกังวลในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 33 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7 Summit) ที่เมืองโอกินาวา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ผู้นำทั้งเจ็ดยังได้แสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบในด้านลบของปัญหาราคาน้ำมันต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความมั่นคงด้านราคาน้ำมันดิบเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันและประเทศผู้บริโภคน้ำมัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความห่วงกังวลต่อผลกระทบของปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง และชื่นชมการตัดสินใจของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปคเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ที่จะให้มีการเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมัน หลังจากที่ได้มีการจำกัดการผลิตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งได้ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกสูงขึ้นมากและก่อให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันในภูมิภาคนี้ยังมิได้ลดลงมาอยู่ในระดับที่จะทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตต่อเนื่องไปได้ การพิจารณาและสนับสนุนของ IOR-ARC ต่อเรื่องดังกล่าวจะได้รับการชื่นชมยิ่ง 7 2. จาก ดร.สุรินทร์ฯ ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ปัญหาราคาน้ำมันเป็นข้อห่วงกังวลในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7 Summit) ที่เมืองโอกินาวา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ผู้นำทั้งเจ็ดยังได้แสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบในด้านลบของปัญหาราคาน้ำมันต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความมั่นคงด้านราคาน้ำมันดิบเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันและประเทศผู้บริโภคน้ำมัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความห่วงกังวลต่อผลกระทบของปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงหลานเดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้าและวัตถุดิบสูงขึ้น ในการที่จะป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามจนเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้ง ประเทศไทยจึงขอเสนอให้ประเทศอาเซียนร่วมกันถ่ายทอดสารที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เกี่ยวกับผลกระทบในด้านลบของปัญหาดังกล่าวต่อเศรษฐกิจเอเชียที่กำลังฟื้นตัว ไปยังประชาคมโลกโดยเฉพาะประเทศโอเปค
3. จาก ดร.สุรินทร์ฯ ถึงรัฐมนตรีต่างประเทศเอเปค ปัญหาราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียที่กำลังฟื้นตัว และประเทศอื่นๆ ในโลกนั้น เป็นประเด็นข้อห่วงกังวลในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 33 และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศคู่เจรจา ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7 Summit) ที่เมืองโอกินาวา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2543 ผู้นำทั้งเจ็ดยังได้แสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบในด้านลบของปัญหาราคาน้ำมันต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของความมั่นคงด้านราคาน้ำมันดิบเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนทั้งในประเทศผู้ผลิตน้ำมันและประเทศผู้บริโภคน้ำมัน ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความห่วงกังวลต่อผลกระทบของปัญหาดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาสินค้าและวัตถุดิบสูงขึ้น ในการที่จะป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามจนเกิดเป็นวิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้ง ประเทศไทยจึงใคร่ขอเสนอให้ประเทศอาเซียนร่วมกันถ่ายทอดสารที่เป็นหนึ่งเดียวกัน เกี่ยวกับผลกระทบในด้านลบของปัญหาดังกล่าวต่อเศรษฐกิจเอเชียที่กำลังฟื้นตัว ไปยังประชาคมโลกโดยเฉพาะประเทศโอเปค ดังมีรายละเอียดตามเอกสารแนบ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : [email protected] จบ--
-อน-