กรุงเทพ--21 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้พบกันวันนี้ เพื่อย้ำถึงความเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งระหว่างสหรัฐฯ —ไทย และความสำคัญของความร่วมมือทวิภาคีในระดับภูมิภาคและโลก ผู้นำทั้งสองตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นพิเศษระหว่างประเทศและระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งเห็นได้ล่าสุดจากความร่วมมือที่ใกล้ชิดหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาและเฮอริเคนคาทรีนาเมื่อเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบุชได้แสดงความชื่นชมต่อความตั้งใจของประชาชนไทยและรัฐบาลในการฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัย โดยได้ให้ความช่วยเหลือสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ประธานาธิบดีได้รับทราบถึงความพยายามของประเทศไทยในการสนับสนุนการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าระดับภูมิภาค
นายกรัฐมนตรีทักษิณได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งอีกครั้งหนึ่งต่อชาวอเมริกันที่ประสบภัยจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเฮอริเคนคาทรีนา ประธานาธิบดีบุชได้แสดงความซาบซึ้งต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยที่ได้พระราชทานข้าวแก่ประชาชนที่ได้รับ
ผลกระทบจากเฮอริเคนคาทรีนา ประธานาธิบดีบุชได้แสดงความชื่นชมต่อประเทศไทยที่ได้สนับสนุนคณะนิติเวชและสิ่งของบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน
ผู้นำทั้งสองมีความยินดีต่อการขยายและกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง ซึ่งสืบเนื่องจากการมอบสถานะไทยเป็นพันธมิตรหลักนอกนาโต้ และได้หารือถึงแผนการจัดการหารือทวิภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงเกี่ยวกับประเด็นยุทธศาสตร์และความมั่นคงที่กรุงเทพฯ ในฤดูใบไม้ร่วงนี้
ทั้งสองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ร่วมกันดำเนินการเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ที่ครอบคลุมความร่วมมือสำคัญๆ ทั้งหมด โดยให้เป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาผลประโยชน์สูงสุดจากความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ที่เป็นประโยชน์และใกล้ชิด ในการนี้ ผู้นำทั้งสองได้ย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือสามฝ่าย เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมในประเทศที่สามผู้นำทั้งสองได้หารือถึงความสำคัญในการพัฒนาความพยายามที่จะป้องกันการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูง และการสนับสนุนความร่วมมือในกรอบ Proliferation Security Initiative (PSI) ประธานาธิบดีได้รับทราบถึงความร่วมมือทางทหารที่เป็นพิเศษระหว่างสหรัฐฯ และไทยในการฝึกอบรมร่วม Cobra Gold ในปีนี้ ผู้นำทั้งสองได้แสดงความห่วงกังวลต่อความเป็นไปล่าสุดในพม่า โดยได้ย้ำถึงเป้าประสงค์ ร่วมกันในการสนับสนุนประชาธิปไตยและกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะมี การหารืออย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้ ผู้นำทั้งสองได้รับทราบว่า ได้เคยเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และแกนนำทางการเมืองที่ถูกครอบคลุมตัวโดยทันทีในช่วงที่ได้พบกันในปี ค.ศ. 2003 โดยเห็นว่าเป็นขั้นตอนจำเป็นต่อกระบวนการหารือทางการเมืองที่น่าเชื่อถือของทุกฝ่าย นายกรัฐมนตรีทักษิณได้อธิบายให้ประธานาธิบดีบุชเกี่ยวกับความพร้อมของกรุงเทพฯ ต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ของไทยในขณะที่มีการรักษาการมีเสรีภาพและประชาธิปไตย ซึ่งไทยเป็นผู้นำในด้านนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประธานาธิบดีได้แสดงความเห็นต่อการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติของนายกรัฐมนตรี ซึ่งประสงค์ให้มีการพัฒนาในภาคใต้อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านความมั่นคง การพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน และการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ผู้นำทั้งสองได้ตกลงที่จะมีความพยายามอย่างเต็มที่ในการบรรลุข้อสรุปเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรีสหรัฐฯ —ไทยในปีหน้า ทั้งสองได้แสดงถึงความพอใจต่อการเจรจารอบที่ 4 ที่จัดขึ้นที่มลรัฐมอนแทนาในเดือนกรกฎาคมและมุ่งหวังต่อการเจรจารอบต่อไปที่มลรัฐฮาวาย ประธานาธิบดีบุชและนายกรัฐมนตรีทักษิณได้ตกลงว่าความตกลงการค้าเสรีต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยมีความร่วมมือรอบด้าน และระบุถึงประเด็นสำคัญของทั้งสองฝ่าย ผู้นำทั้งสองยินดีต่อการลงนามในความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ทั้งสอง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เดินทางนักธุรกิจและจะขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสองต่อไป
ในฐานะที่เป็นผู้ประสานระหว่างการหารืออาเซียนสหรัฐฯ ประเทศไทยได้แสดงบทบาทสำคัญต่อการมีบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประธานาธิบดีบุชและนายกรัฐมนตรีทักษิณได้หารือถึงประเด็นในภูมิภาคและการพัฒนา และแนวทางการขยายความร่วมมือสหรัฐฯ —ไทย ในกรอบภูมิภาค โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ARF) และอาเซียน PMC และความสำคัญต่อประเด็นเศรษฐกิจ การค้าและความมั่นคงที่เอเปค ประธานาธิบดีบุชได้รับทราบและหวังที่จะได้ประชุมร่วมกับผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดเอเปคที่ปูซานในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผู้นำทั้งสองได้แสดงการสนับสนุนต่อข้อตกลงสันติภาพอาเจ๊ะที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียและชื่นชมต่อความพยายามอย่างจริงจังของทั้งสองฝ่ายในการบรรลุความสำเร็จนี้
ผู้นำทั้งสองได้ย้ำถึงความสำคัญของการต่อสู้กับโรคระบาด โดยเฉพาะความเร่งด่วนของ ปัญหาไข้หวัดนก ประธานาธิบดีได้แสดงความชื่นชมความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีทักษิณในการตอบสนองการระบาดในประเทศ ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องถึงความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีความโปร่งใส การติดตามอย่างใกล้ชิดและความร่วมมือข้ามสาขากับองค์กรด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศโดยทุกประเทศ ผู้นำทั้งสอง ได้สนับสนุนที่จะกระชับความร่วมมือและความพยายามระดับโลกต่อการตอบสนองประเด็นที่มีความสำคัญนี้
ประธานาธิบดีบุชและนายกรัฐมนตรีทักษิณเห็นพ้องถึงศักยภาพที่จะสามารถขยายมีความร่วมมือมากขึ้นในประเด็นที่มีความห่วงกังวลและสนใจร่วมกัน โดยหวังจะได้พบกันอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ที่การประชุมเอเปค
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช และนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้พบกันวันนี้ เพื่อย้ำถึงความเป็นพันธมิตรที่เข้มแข็งระหว่างสหรัฐฯ —ไทย และความสำคัญของความร่วมมือทวิภาคีในระดับภูมิภาคและโลก ผู้นำทั้งสองตระหนักถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและเป็นพิเศษระหว่างประเทศและระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งเห็นได้ล่าสุดจากความร่วมมือที่ใกล้ชิดหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาและเฮอริเคนคาทรีนาเมื่อเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบุชได้แสดงความชื่นชมต่อความตั้งใจของประชาชนไทยและรัฐบาลในการฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัย โดยได้ให้ความช่วยเหลือสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ประธานาธิบดีได้รับทราบถึงความพยายามของประเทศไทยในการสนับสนุนการจัดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าระดับภูมิภาค
นายกรัฐมนตรีทักษิณได้แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งอีกครั้งหนึ่งต่อชาวอเมริกันที่ประสบภัยจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเฮอริเคนคาทรีนา ประธานาธิบดีบุชได้แสดงความซาบซึ้งต่อพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยที่ได้พระราชทานข้าวแก่ประชาชนที่ได้รับ
ผลกระทบจากเฮอริเคนคาทรีนา ประธานาธิบดีบุชได้แสดงความชื่นชมต่อประเทศไทยที่ได้สนับสนุนคณะนิติเวชและสิ่งของบรรเทาทุกข์ฉุกเฉิน
ผู้นำทั้งสองมีความยินดีต่อการขยายและกระชับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง ซึ่งสืบเนื่องจากการมอบสถานะไทยเป็นพันธมิตรหลักนอกนาโต้ และได้หารือถึงแผนการจัดการหารือทวิภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงเกี่ยวกับประเด็นยุทธศาสตร์และความมั่นคงที่กรุงเทพฯ ในฤดูใบไม้ร่วงนี้
ทั้งสองได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ร่วมกันดำเนินการเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ที่ครอบคลุมความร่วมมือสำคัญๆ ทั้งหมด โดยให้เป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาผลประโยชน์สูงสุดจากความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ ที่เป็นประโยชน์และใกล้ชิด ในการนี้ ผู้นำทั้งสองได้ย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือสามฝ่าย เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมในประเทศที่สามผู้นำทั้งสองได้หารือถึงความสำคัญในการพัฒนาความพยายามที่จะป้องกันการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูง และการสนับสนุนความร่วมมือในกรอบ Proliferation Security Initiative (PSI) ประธานาธิบดีได้รับทราบถึงความร่วมมือทางทหารที่เป็นพิเศษระหว่างสหรัฐฯ และไทยในการฝึกอบรมร่วม Cobra Gold ในปีนี้ ผู้นำทั้งสองได้แสดงความห่วงกังวลต่อความเป็นไปล่าสุดในพม่า โดยได้ย้ำถึงเป้าประสงค์ ร่วมกันในการสนับสนุนประชาธิปไตยและกระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่า ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะมี การหารืออย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้ ผู้นำทั้งสองได้รับทราบว่า ได้เคยเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี และแกนนำทางการเมืองที่ถูกครอบคลุมตัวโดยทันทีในช่วงที่ได้พบกันในปี ค.ศ. 2003 โดยเห็นว่าเป็นขั้นตอนจำเป็นต่อกระบวนการหารือทางการเมืองที่น่าเชื่อถือของทุกฝ่าย นายกรัฐมนตรีทักษิณได้อธิบายให้ประธานาธิบดีบุชเกี่ยวกับความพร้อมของกรุงเทพฯ ต่อการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ของไทยในขณะที่มีการรักษาการมีเสรีภาพและประชาธิปไตย ซึ่งไทยเป็นผู้นำในด้านนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประธานาธิบดีได้แสดงความเห็นต่อการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติของนายกรัฐมนตรี ซึ่งประสงค์ให้มีการพัฒนาในภาคใต้อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านความมั่นคง การพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน และการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ผู้นำทั้งสองได้ตกลงที่จะมีความพยายามอย่างเต็มที่ในการบรรลุข้อสรุปเกี่ยวกับการเจรจาการค้าเสรีสหรัฐฯ —ไทยในปีหน้า ทั้งสองได้แสดงถึงความพอใจต่อการเจรจารอบที่ 4 ที่จัดขึ้นที่มลรัฐมอนแทนาในเดือนกรกฎาคมและมุ่งหวังต่อการเจรจารอบต่อไปที่มลรัฐฮาวาย ประธานาธิบดีบุชและนายกรัฐมนตรีทักษิณได้ตกลงว่าความตกลงการค้าเสรีต้องเป็นประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยมีความร่วมมือรอบด้าน และระบุถึงประเด็นสำคัญของทั้งสองฝ่าย ผู้นำทั้งสองยินดีต่อการลงนามในความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ทั้งสอง ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เดินทางนักธุรกิจและจะขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสองต่อไป
ในฐานะที่เป็นผู้ประสานระหว่างการหารืออาเซียนสหรัฐฯ ประเทศไทยได้แสดงบทบาทสำคัญต่อการมีบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประธานาธิบดีบุชและนายกรัฐมนตรีทักษิณได้หารือถึงประเด็นในภูมิภาคและการพัฒนา และแนวทางการขยายความร่วมมือสหรัฐฯ —ไทย ในกรอบภูมิภาค โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ARF) และอาเซียน PMC และความสำคัญต่อประเด็นเศรษฐกิจ การค้าและความมั่นคงที่เอเปค ประธานาธิบดีบุชได้รับทราบและหวังที่จะได้ประชุมร่วมกับผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดเอเปคที่ปูซานในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผู้นำทั้งสองได้แสดงการสนับสนุนต่อข้อตกลงสันติภาพอาเจ๊ะที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซียและชื่นชมต่อความพยายามอย่างจริงจังของทั้งสองฝ่ายในการบรรลุความสำเร็จนี้
ผู้นำทั้งสองได้ย้ำถึงความสำคัญของการต่อสู้กับโรคระบาด โดยเฉพาะความเร่งด่วนของ ปัญหาไข้หวัดนก ประธานาธิบดีได้แสดงความชื่นชมความเป็นผู้นำของนายกรัฐมนตรีทักษิณในการตอบสนองการระบาดในประเทศ ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องถึงความสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีความโปร่งใส การติดตามอย่างใกล้ชิดและความร่วมมือข้ามสาขากับองค์กรด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศโดยทุกประเทศ ผู้นำทั้งสอง ได้สนับสนุนที่จะกระชับความร่วมมือและความพยายามระดับโลกต่อการตอบสนองประเด็นที่มีความสำคัญนี้
ประธานาธิบดีบุชและนายกรัฐมนตรีทักษิณเห็นพ้องถึงศักยภาพที่จะสามารถขยายมีความร่วมมือมากขึ้นในประเด็นที่มีความห่วงกังวลและสนใจร่วมกัน โดยหวังจะได้พบกันอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ที่การประชุมเอเปค
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-