กรุงเทพ--17 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2548 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมระว่างประเทศเพื่อทบทวนการอนุวัติแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (International Meeting to review the Implementation of the Programme of Action for the Sustainable Development of Small Island Developing States-SIDS) ณ ประเทศมอริเซียส ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การประชุม SIDS เป็นการประชุมภายใต้กรอบสหประชาชาติที่เชิญผู้นำประเทศ รัฐมนตรี และผู้แทนของรัฐบาลต่างๆ มากล่าวถ้อยแถลง เพื่อแสดงข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาแบบยั่งยืนและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ทั้งนี้ ดร. สรจักรฯ ซึ่งได้รับมอบหมายจากพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้มีโอกาส กล่าวถ้อยแถลงด้วย
2. ในถ้อยแถลงดังกล่าว ดร. สรจักรฯ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์และผลกระทบของภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ (Tsunami Disaster) ในประเทศไทย โดยเห็นว่าการจัดตั้งระบบการเฝ้าระวังและการเตือนภัยล่วงหน้าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญสูงสุด รวมทั้งได้กล่าวถึงประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ซึ่งยกตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างความแข็งกร่งแก่เศรษฐกิจรากหญ้า
3. ดร. สรจักรฯ ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเห็นว่าประเทศที่เป็นหมู่เกาะนั้น มีทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติได้ และเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนความร่วมมือด้านการจัดการสำหรับการท่องเที่ยวแก่ประเทศที่ประสงค์
4. นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงเรื่อง การมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในประเทศ รวมถึงการป้องกัน การแพร่ขยายของโรคเอดส์ ซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก และในขณะนี้ ไทยสามารถผลิตยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับโรคเอดส์ได้แล้ว และในระหว่างการประชุมเอเปคที่ผ่านมา ณ ประเทศชิลี นายกรัฐมนตรีได้เคยกล่าวเชิญชวนให้ประเทศพัฒนาแล้ว ซื้อยาดังกล่าวจากไทยในราคาต้นทุน เพื่อนำไปบริจาคแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ที่กำลังประสบกับปัญหาโรคเอดส์
5. สำหรับเรื่องภัยพิบัติจาดคลื่นยักษ์นั้น ผู้นำและผู้แทนรัฐบาลส่วนใหญ่กล่าวถึงภัยและผลกระทบที่เกิดจากคลื่นยักษ์ และทุกฝ่ายเห็นพ้องกันเกี่ยวกับความจำเป็นของการมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาค นอกจากนี้ ได้มีการเสนอให้สหประชาชาติจัดตั้งกองทุนสำหรับการจัดทำระบบการเตือนภัยล่วงหน้า เนื่องจากหลายประเทศไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการจัดตั้งระบบดังกล่าว
6. นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบเกี่ยวกับการเตรียมการจัดประชุมโลกเพื่อลดภัยพิบัติทางธรรมชาติ (World Conference on Disaster Reduction) ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม ศกนี้ และการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ณ จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ซึ่งประเทศที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ หลายประเทศแสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมการประชุม ณ จังหวัดภูเก็ตด้วย โดยในชั้นนี้ จะเชิญประเทศที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบโดยตรงในภูมิภาคนี้ รวมถึงประเทศชายฝั่งด้านตะวันออกของแอฟริกาเข้าร่วมด้วย
7. ที่ประชุมเห็นว่าระบบการเตือนภัยล่วงหน้าได้มีการจัดตั้งในมหาสมุทรแปซิฟิคแล้ว ดังนั้น ก็ควรมีการจัดตั้งระบบเตือนภัยในมหาสมุทรอินเดียด้วยเช่นกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในการประชุมระดับ รัฐมนตรีด้านระบบการเตือนภัยล่วงหน้าที่จะมีขึ้น ณ จังหวัดภูเก็ต ฝ่ายไทยจะเสนอให้ยกระดับ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการจัดตั้งระบบ เตือนภัยในมหาสมุทรอินเดีย และจะเสนอให้รวมและครอบคลุมไปถึงประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออกด้วย
8. นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างการประชุม SIDS ดร. สรจักรฯ ได้มีโอกาสพบปะหารือกับรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญต่างๆ ด้วย ดังนี้
8.1 การหารือกับนาย Ricardo Cabrisas Ruiz รัฐมนตรีประจำทำเนียบประธานาธิบดี คิวบา โดยฝ่ายคิวบา แสดงความสนใจเกี่ยวกับความร่วมมือหลายๆด้านกับไทย อาทิ การค้าขายน้ำตาล และการปลูกอ้อยของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการฟื้นฟูไร่อ้อยภายหลังการเกิดภัยธรรมชาติ และเห็นว่าไทยกับคิวบาสามารถเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ ได้อีก นอกจากนี้ ไทยได้ให้การสนับสนุนคิวบา ในการดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด(Non Align Movement-NAM) ในปี 2006 ด้วย
8.2 การหารือกับนาย Kaliopate Tavola รัฐมนตรีต่างประเทศและการค้าฟิจิ ซึ่งฝ่ายฟิจิ ได้แสดงความเสียใจต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเห็นว่าระบบเศรษฐกิจของไทยมีลักษณะยืดหยุ่น สูง ดังนั้น จึงเชื่อว่าภัยพิบัติดังกล่าวจะสร้างผลกระทบในระยะสั้นต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ แสดงความขอบคุณฟิจิที่ให้การสนับสนุนไทยเข้าเป็นสมาชิก Pacific Island Forum (PIF) และฝ่ายฟิจิกล่าวว่าจะให้การพิจารณาด้วยดีเกี่ยวกับการเสนอชื่อ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ เข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
8.3 การหารือกับนาย Evripidis Stylianidis รัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศกรีซ โดยฝ่ายกรีซได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และกล่าววว่าอยู่ระหว่างการรวบรวมเงินเพื่อบริจาคให้กับประเทศที่ประสบภัยโดยผ่านสหภาพยุโรป และจะใช้เงินส่วนหนึ่งในการบริจาคแบบทวิภาคีด้วย ซึ่งเรื่องนี้ ดร. สรจักรฯ ได้กล่าวขอบคุณกรีซที่ช่วยส่งทีมกู้ภัย ยาและอุปกรณ์ต่างๆ ไปประเทศไทย สำหรับความช่วยเหลือนั้น รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูแล้ว อย่างไรก็ตามหากกรีซประสงค์ที่จะช่วยเหลือก็อาจพิจารณาสร้างที่พักอาศัย โรงเรียนหรือโรงพยาบาล พร้อมมอบอุปกรณ์จำเป็นสำหรับชุมชนนั้นๆ ในการประกอบอาชีพเช่นเดียวกับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เสนอจะดำเนินการ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศกรีซแสดงความสนใจ โดยจะมอบหมายให้เอกอัครราชทูตกรีซ ประจำประเทศไทยมาหารือใน รายละเอียดกับกระทรวงการต่างประเทศต่อไป
8.4 การหารือกับนาย Jaya Krishna Cuttaree รัฐมนตรีต่างประเทศ กาค้าและความร่วมมือมอริเซียส ซึ่งได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้เชิญผู้แทนมอริเซียสเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านระบบการเตือนภัยล่วงหน้าที่จังหวัดภูเก็ตด้วย
8.5 การเข้าเยี่ยมคารวะนาย Jean Ping ประธานสมัชชาใหญ่ สหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 59 ซึ่งไทยแสดงการสนับสนุนให้สมัชชาใหญ่ สหประชาชาติ จัดการประชุม High Level Plenary Meeting ขึ้นในเดือนกันยายน ศกนี้ เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ ทั้งนี้ นาย Jean Ping ได้แต่งตั้งให้คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ เป็นหนึ่งในคณะทำงาน 10 ท่านเพื่อเตรียมการประชุมดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ นาย Jean Ping ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศกาบองด้วย กล่าวว่า ไทยกับกาบองควรมีความร่วมมือมากขึ้นโดยเฉพาะด้านการค้าและเศรษฐกิจ ซึ่ง ดร. สรจักรฯ กล่าวว่าในปีนี้ เป็นปีแอฟริกา (African Year) ซึ่งไทยจะให้ ความสำคัญกับแอฟริกามากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2548 ดร. สรจักร เกษมสุวรรณ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนเกี่ยวกับการประชุมระว่างประเทศเพื่อทบทวนการอนุวัติแผนปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก (International Meeting to review the Implementation of the Programme of Action for the Sustainable Development of Small Island Developing States-SIDS) ณ ประเทศมอริเซียส ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. การประชุม SIDS เป็นการประชุมภายใต้กรอบสหประชาชาติที่เชิญผู้นำประเทศ รัฐมนตรี และผู้แทนของรัฐบาลต่างๆ มากล่าวถ้อยแถลง เพื่อแสดงข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาแบบยั่งยืนและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ทั้งนี้ ดร. สรจักรฯ ซึ่งได้รับมอบหมายจากพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้มีโอกาส กล่าวถ้อยแถลงด้วย
2. ในถ้อยแถลงดังกล่าว ดร. สรจักรฯ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์และผลกระทบของภัยพิบัติจากคลื่นยักษ์ (Tsunami Disaster) ในประเทศไทย โดยเห็นว่าการจัดตั้งระบบการเฝ้าระวังและการเตือนภัยล่วงหน้าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญสูงสุด รวมทั้งได้กล่าวถึงประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก ซึ่งยกตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง และการสร้างความแข็งกร่งแก่เศรษฐกิจรากหญ้า
3. ดร. สรจักรฯ ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเห็นว่าประเทศที่เป็นหมู่เกาะนั้น มีทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งชาติได้ และเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนความร่วมมือด้านการจัดการสำหรับการท่องเที่ยวแก่ประเทศที่ประสงค์
4. นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงเรื่อง การมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในประเทศ รวมถึงการป้องกัน การแพร่ขยายของโรคเอดส์ ซึ่งประเทศไทยมีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก และในขณะนี้ ไทยสามารถผลิตยาเสริมสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับโรคเอดส์ได้แล้ว และในระหว่างการประชุมเอเปคที่ผ่านมา ณ ประเทศชิลี นายกรัฐมนตรีได้เคยกล่าวเชิญชวนให้ประเทศพัฒนาแล้ว ซื้อยาดังกล่าวจากไทยในราคาต้นทุน เพื่อนำไปบริจาคแก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ที่กำลังประสบกับปัญหาโรคเอดส์
5. สำหรับเรื่องภัยพิบัติจาดคลื่นยักษ์นั้น ผู้นำและผู้แทนรัฐบาลส่วนใหญ่กล่าวถึงภัยและผลกระทบที่เกิดจากคลื่นยักษ์ และทุกฝ่ายเห็นพ้องกันเกี่ยวกับความจำเป็นของการมีระบบเตือนภัยล่วงหน้าในภูมิภาค นอกจากนี้ ได้มีการเสนอให้สหประชาชาติจัดตั้งกองทุนสำหรับการจัดทำระบบการเตือนภัยล่วงหน้า เนื่องจากหลายประเทศไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการจัดตั้งระบบดังกล่าว
6. นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบเกี่ยวกับการเตรียมการจัดประชุมโลกเพื่อลดภัยพิบัติทางธรรมชาติ (World Conference on Disaster Reduction) ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 18-22 มกราคม ศกนี้ และการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านระบบการเตือนภัยล่วงหน้า ณ จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 28-29 มกราคม 2548 ซึ่งประเทศที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ หลายประเทศแสดงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมการประชุม ณ จังหวัดภูเก็ตด้วย โดยในชั้นนี้ จะเชิญประเทศที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบโดยตรงในภูมิภาคนี้ รวมถึงประเทศชายฝั่งด้านตะวันออกของแอฟริกาเข้าร่วมด้วย
7. ที่ประชุมเห็นว่าระบบการเตือนภัยล่วงหน้าได้มีการจัดตั้งในมหาสมุทรแปซิฟิคแล้ว ดังนั้น ก็ควรมีการจัดตั้งระบบเตือนภัยในมหาสมุทรอินเดียด้วยเช่นกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ในการประชุมระดับ รัฐมนตรีด้านระบบการเตือนภัยล่วงหน้าที่จะมีขึ้น ณ จังหวัดภูเก็ต ฝ่ายไทยจะเสนอให้ยกระดับ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการจัดตั้งระบบ เตือนภัยในมหาสมุทรอินเดีย และจะเสนอให้รวมและครอบคลุมไปถึงประเทศต่างๆ ในแอฟริกาตะวันออกด้วย
8. นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างการประชุม SIDS ดร. สรจักรฯ ได้มีโอกาสพบปะหารือกับรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญต่างๆ ด้วย ดังนี้
8.1 การหารือกับนาย Ricardo Cabrisas Ruiz รัฐมนตรีประจำทำเนียบประธานาธิบดี คิวบา โดยฝ่ายคิวบา แสดงความสนใจเกี่ยวกับความร่วมมือหลายๆด้านกับไทย อาทิ การค้าขายน้ำตาล และการปลูกอ้อยของไทย โดยเฉพาะความสามารถในการฟื้นฟูไร่อ้อยภายหลังการเกิดภัยธรรมชาติ และเห็นว่าไทยกับคิวบาสามารถเสริมสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ ได้อีก นอกจากนี้ ไทยได้ให้การสนับสนุนคิวบา ในการดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด(Non Align Movement-NAM) ในปี 2006 ด้วย
8.2 การหารือกับนาย Kaliopate Tavola รัฐมนตรีต่างประเทศและการค้าฟิจิ ซึ่งฝ่ายฟิจิ ได้แสดงความเสียใจต่อภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเห็นว่าระบบเศรษฐกิจของไทยมีลักษณะยืดหยุ่น สูง ดังนั้น จึงเชื่อว่าภัยพิบัติดังกล่าวจะสร้างผลกระทบในระยะสั้นต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยได้ แสดงความขอบคุณฟิจิที่ให้การสนับสนุนไทยเข้าเป็นสมาชิก Pacific Island Forum (PIF) และฝ่ายฟิจิกล่าวว่าจะให้การพิจารณาด้วยดีเกี่ยวกับการเสนอชื่อ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ ต่างประเทศ เข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการสหประชาชาติ
8.3 การหารือกับนาย Evripidis Stylianidis รัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศกรีซ โดยฝ่ายกรีซได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น และกล่าววว่าอยู่ระหว่างการรวบรวมเงินเพื่อบริจาคให้กับประเทศที่ประสบภัยโดยผ่านสหภาพยุโรป และจะใช้เงินส่วนหนึ่งในการบริจาคแบบทวิภาคีด้วย ซึ่งเรื่องนี้ ดร. สรจักรฯ ได้กล่าวขอบคุณกรีซที่ช่วยส่งทีมกู้ภัย ยาและอุปกรณ์ต่างๆ ไปประเทศไทย สำหรับความช่วยเหลือนั้น รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูแล้ว อย่างไรก็ตามหากกรีซประสงค์ที่จะช่วยเหลือก็อาจพิจารณาสร้างที่พักอาศัย โรงเรียนหรือโรงพยาบาล พร้อมมอบอุปกรณ์จำเป็นสำหรับชุมชนนั้นๆ ในการประกอบอาชีพเช่นเดียวกับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เสนอจะดำเนินการ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการต่างประเทศกรีซแสดงความสนใจ โดยจะมอบหมายให้เอกอัครราชทูตกรีซ ประจำประเทศไทยมาหารือใน รายละเอียดกับกระทรวงการต่างประเทศต่อไป
8.4 การหารือกับนาย Jaya Krishna Cuttaree รัฐมนตรีต่างประเทศ กาค้าและความร่วมมือมอริเซียส ซึ่งได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้เชิญผู้แทนมอริเซียสเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านระบบการเตือนภัยล่วงหน้าที่จังหวัดภูเก็ตด้วย
8.5 การเข้าเยี่ยมคารวะนาย Jean Ping ประธานสมัชชาใหญ่ สหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 59 ซึ่งไทยแสดงการสนับสนุนให้สมัชชาใหญ่ สหประชาชาติ จัดการประชุม High Level Plenary Meeting ขึ้นในเดือนกันยายน ศกนี้ เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิรูปสหประชาชาติ ทั้งนี้ นาย Jean Ping ได้แต่งตั้งให้คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธ์ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ เป็นหนึ่งในคณะทำงาน 10 ท่านเพื่อเตรียมการประชุมดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ นาย Jean Ping ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศกาบองด้วย กล่าวว่า ไทยกับกาบองควรมีความร่วมมือมากขึ้นโดยเฉพาะด้านการค้าและเศรษฐกิจ ซึ่ง ดร. สรจักรฯ กล่าวว่าในปีนี้ เป็นปีแอฟริกา (African Year) ซึ่งไทยจะให้ ความสำคัญกับแอฟริกามากขึ้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : [email protected]จบ--
-พห-